จำแนก พันธุ์มันสำปะหลัง และ วิธีการปลูกมันสำปะหลัง แบบละเอียด

โฆษณา
AP Chemical Thailand

เป็นที่ทราบกันดีว่า “มันสำปะหลัง” เป็นพืชเศรษฐกิจ และพืชส่งออก ที่สำคัญของประเทศไทย อีกทั้งยังมีชาวไร่มันสำปะหลังกระจายอยู่ในหลายพื้นที่ของไทย ภายใต้สภาพอากาศ และสภาพพื้นที่ ที่แตกต่างกัน

ดังนั้นการคัดเลือกสายพันธุ์ให้เหมาะสมกับการปลูกในแต่ละพื้นที่จึงเป็นสิ่งสำคัญ และทำให้การปลูกมันของเกษตรกรนั้นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ได้ผลผลิตที่ดี มีคุณภาพ เข้าสู่โรงงานก่อนจะผ่านการผลิตและการแปรรูปเป็น “แป้งมัน” ในรูปแบบต่างๆ เพื่อส่งขายให้กับลูกค้า ทั้งในและต่างประเทศ นำรายได้เข้าสู่ประเทศอย่างเป็นกอบเป็นกำ

1.มันสำปะหลังจากชาวไร่มันไทย
1.มันสำปะหลังจากชาวไร่มันไทย

การปลูกและ พันธุ์มันสำปะหลัง

โดยเฉพาะการปลูกมันสำปะหลังในแต่ละพื้นที่ที่มีลักษณะชุดดินที่แตกต่างกันไป จำเป็นต้องเลือกสาย พันธุ์มันสำปะหลัง ให้เหมาะสม ดังนี้

  • • พันธุ์ระยอง 72 (ที่ผ่านการรับรองพันธุ์ในปี พ.ศ.2542) มีลักษณะประจำพันธุ์ และการให้ผลผลิต ดังนี้

ยอดอ่อนสีม่วง ใบแก่มีสีเขียวเข้ม ก้านใบมีสีแดงเข้ม ลำต้นสีเขียวเคลือบเงิน ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่ง 0-1 ระดับ กิ่งทำมุมแคบ ความสูงของลำต้น 175±20 ซม. เปลือกนอกของหัวมีสีขาวนวล เนื้อในสีขาวนวล ให้ผลผลิตหัวสดประมาณ 4.66 ตัน/ไร่  ให้เปอร์เซ็นต์แป้ง (ฤดูฝน) 20.5% ให้ผลผลิตเอทานอล 145 ลิตร/ตันหัวสด มีความต้านทานต่อโรคและแมลง รวมทั้งไรแดงได้ดี อีกทั้งยังมีคุณสมบัติเด่น คือ เป็นสายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง ทนแล้ง (คำแนะนำเพิ่มเติม : สายพันธุ์นี้จะให้เปอร์เซ็นต์แป้งต่ำ เมื่อปลูกในภาคตะวันออก)

  • •พันธุ์ระยอง 7 (มีการรับรองสายพันธุ์ในปี พ.ศ.2548) มีลักษณะประจำพันธุ์ คือ

ยอดอ่อนสีเขียวอ่อน ใบแก่สีเขียวอ่อน ก้านใบสีเขียวอ่อนอมชมพู ลำต้นสีน้ำตาลอ่อน ลำต้นโค้งเล็กน้อย แตกกิ่ง 0-1 ระดับ กิ่งทำมุมแคบ ความสูงของลำต้น 155±20 ซม. เปลือกนอกของหัวสีขาวนวล เนื้อสีขาวนวล ให้ผลผลิตหัวสด 4 ตัน/ไร่ ให้เปอร์เซ็นต์แป้ง (ฤดูฝน) 22.6% มีความต้านทานโรค/แมลงได้ดี มีคุณสมบัติเด่น คือ เป็นสายพันธุ์ที่เหมาะสำหรับปลูกในช่วงปลายฤดูฝน

  • •พันธุ์ระยอง 9 (มีการรับรองพันธุ์ในปี พ.ศ.2549) มีลักษณะประจำพันธุ์ คือ

ยอดอ่อนสีเขียวอ่อนอมน้ำตาล ใบแก่สีเขียวอ่อน ก้านใบสีเขียวอ่อนอมชมพู ลำต้นสีน้ำตาลอ่อน ลำต้นตรง แตกกิ่ง 0-1 ระดับ กิ่งทำมุมแคบ ความสูงของลำต้น  200±20 ซม. เปลือกนอกของหัวสีน้ำตาลอ่อน เนื้อในสีขาว ให้ผลผลิตหัวสด 4.7 ตัน/ไร่ ให้เปอร์เซ็นต์แป้ง (ฤดูฝน) 24.9% ให้ผลผลิตเอทานอล 199 ลิตร/ตันหัวสด ความต้านทานโรค/แมลง และต้านทานโรคใบไหม้ได้ดี และยังมีคุณสมบัติเด่น คือ ให้ผลผลิตเอทานอลสูง (คำแนะนำเพิ่มเติม : ควรเก็บเกี่ยวอายุ 10 เดือนขึ้นไป)

โฆษณา
AP Chemical Thailand
2.การใช้เครื่องจักรปลูกมันสำปะหลัง
2.การใช้เครื่องจักรปลูกมันสำปะหลัง

ขั้นตอนการปลูกมันสำปะหลัง

มันสำปะหลังเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย การระบายน้ำดี ไม่เป็นที่ลุ่มที่มีน้ำขัง หรือมีดินดาน มีความเป็นกรด-ด่าง 4.5-6.0 หากค่าความเป็นกรด-ด่างไม่เหมาะสม อาจมีอาการผิดปกติ และให้ผลผลิตต่ำ เนื่องจากธาตุอาหารไม่สมดุล และการปลูกต้นฤดูฝน (มี.ค.-พ.ค.) และปลายฤดูฝน (ต.ค.-ธ.ค.) ให้ผลดีกว่าการปลูกในช่วงอื่น

แต่พื้นที่ที่เป็นดินเหนียวปะปน ไม่เหมาะสมสำหรับการปลูกมันสำปะหลังปลายฤดูฝน และไถกลบวัชพืช เศษใบ ต้น และเหง้ามันสำปะหลัง ด้วยผาล 3 ให้ลึก 20-30 เซนติเมตร ตากดินไว้ 1 สัปดาห์ ไถอีกครั้งด้วยผาล 7 แล้วยกร่องเมื่อมีความชื้นเหมาะสม ระยะปลูก 80×80 เซนติเมตร

หากต้องการใช้เครื่องทุ่นแรงสามารถขยายระยะระหว่างร่อง และปรับลดระยะระหว่างต้นลง โดยให้มีจำนวนต้น 1,600-3,200 ต้นต่อไร่ การยกร่องทำให้ปลูกง่าย และจำเป็นสำหรับพื้นที่ที่มีการระบายน้ำไม่ดี การปลูกปลายฤดูฝนไม่จำเป็นต้องยกร่อง ควรเลือกท่อน พันธุ์มันสำปะหลัง จากต้น พันธุ์มันสำปะหลัง อายุ 8-12 เดือน ที่สมบูรณ์ ปราศจากโรคและแมลง ขนาดท่อน พันธุ์มันสำปะหลัง ยาว 20 เซนติเมตรขึ้นไป และมีตาถี่ ไม่ควรให้ท่อน พันธุ์มันสำปะหลัง ช้ำ ควรสับท่อนพันธุ์ตรง และปลูกแบบตั้งตรง เพื่อให้ลงหัวรอบต้นอย่างสมดุล

ส่วนการใช้ปุ๋ยอินทรีย์อัตรา 0.5-1.0 ตันต่อไร หว่านก่อนยกร่อง และใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-7-18 หรือสูตรใกล้เคียง อัตรา 50-100 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อมันสำปะหลังอายุ 1-3 เดือน โดยขุดหลุมใส่ระหว่างต้นแล้วฝังกลบ

3.การใช้แรงงานปลูกมันสำปะหลัง
3.การใช้แรงงานปลูกมันสำปะหลัง

การป้องกันกำจัดโรค-แมลง และวัชพืช ในไร่มันสำปะหลัง

ต้องควบคุมวัชพืชให้ดีในช่วง 3-4 เดือนแรก ถ้าขาดแคลนแรงงาน และจำเป็นต้องใช้สารเคมี ให้ควบคุมการงอกของเมล็ดวัชพืชด้วยไดยูรอน หรือเมโทลาคลอร์ โดยฉีดพ่นทันทีหลังปลูก เมื่อสารควบคุมหมดฤทธิ์ และมีวัชพืชงอกอให้กำจัดด้วยสารพาราควอท หรือไกลโฟเสท ตามอัตราและวิธีการที่ระบุในฉลาก และใช้ด้วยความระมัดระวัง เพราะสารเหล่านี้เป็นวัตถุมีพิษต่อผู้ใช้ และต่อมันสำปะหลัง

วิธีการป้องกัน

โฆษณา
AP Chemical Thailand
  • •ใช้ต้นพันธุ์ที่ปราศจากโรค-แมลง
  • เตรียมแปลงให้สะอาด ไม่เป็นแหล่งสะสมโรค หรือแมลง
  • ปลูกพันธุ์ต้านทานในพื้นที่ที่มีปัญหา
  • ทำลายต้นที่เป็นโรค หรือมีแมลงศัตรู หากจำเป็นต้องใช้สารเคมีกำจัดโรคและแมลง ให้ขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่
4.ต้นมันสำปะหลังที่เก็บไว้เป็นท่อน พันธุ์มันสำปะหลัง
4.ต้นมันสำปะหลังที่เก็บไว้เป็นท่อน พันธุ์มันสำปะหลัง

การเก็บเกี่ยวผลผลิตมันสำปะหลัง

เก็บเกี่ยวมันสำปะหลังเมื่ออายุประมาณ 12 เดือน ส่งหัวเข้าโรงงานภายใน 1-2 วัน ส่วนต้นเก็บไว้ทำพันธุ์ โดยวางตั้งให้โคนแตะพื้นดินที่มีการสับหน้าดินให้ร่วนซุย รดน้ำเป็นครั้งคราว เพื่อให้เก็บได้นานขึ้น

ขอขอบคุณข้อมูล โครงการส่งเสริมพัฒนาระบบการผลิตมันสำปะหลัง กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนกลาง ปี 2557

จังหวัดปราจีนบุรี ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรปราจีนบุรี