มะพร้าวสับ เปลือกมะพร้าว ขุยมะพร้าว อย่าทิ้ง ขายเป็นเชื้อเพลิง…ป้อนโรงไฟฟ้าชีวมวลภาคกลาง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

มะพร้าวสับ เปลือกมะพร้าว ขุยมะพร้าว อย่าทิ้ง ขายเป็นเชื้อเพลิง…ป้อนโรงไฟฟ้าชีวมวลภาคกลาง

มะพร้าวสับ เปลือกมะพร้าว กาบมะพร้าวสับ ขุยมะพร้าว  ขุยมะพร้าวสับ โรงไฟฟ้าชีวมวล ขายขุยมะพร้าว ขุยมะพร้าวราคา ราคาขุยมะพร้าว กาบมะพร้าวสับ กาบมะพร้าวสับ กาบมะพร้าวสับ กาบมะพร้าวสับ

มะพร้าวเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพที่นิยมกันอย่างมากทั้งในบ้านเราและส่งออก ด้วยคุณสมบัติเด่น ๆ ของมะพร้าวก็คือ ส่วนต่าง ๆ สามารถนำมาใช้เป็นประโยชน์ได้ทั้งหมดไม่ว่าจะทำเป็นอาหารคาวและอาหารหวานที่ช่วยบำรุงสุขภาพและรักษาโรคต่าง ๆ รวมไปถึงการผลิตเป็นเครื่องดื่ม “น้ำมันมะพร้าว”

รวมไปถึงการทำสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ ขึ้นมาใช้สอยได้มากมาย  ที่สำคัญของเสียจากกระบวนการผลิตหรือบายโปรดักส์อย่าง “เปลือกและกะลามะพร้าว”  นั้นยังสามารถนำมาสับแปรสภาพให้กลายเป็นเชื้อเพลิง ป้อนโรงไฟฟ้าชีวมวลได้เป็นอย่างดีเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าได้อย่างยั่งยืน

เช่นเดียวกับ คุณทวีและคุณศรีนวล จันทร์แดง ที่มีแนวคิดในการนำของเสียจากกระบวนการผลิตในภาคเกษตรทั้ง “เปลือกและกะลามะพร้าว” ที่ได้จากโรงงานแปรรูปมะพร้าวในพื้นที่มาสร้างมูลค่าเพิ่มได้ด้วยการผลิตเป็น “ขุยมะพร้าวคุณภาพเยี่ยม”  ป้อนโรงไฟฟ้าชีวมวลได้อย่างต่อเนื่อง

สร้างความยั่งยืนด้านพลังงานทดแทนภายใต้การจดทะเบียนในนาม “บริษัท วีจันทร์แดง โลจิสติก แอนด์ เอนเนอร์ยี่ จำกัด ”

ปรึกษาฟรี! หากบอกว่ามาจาก พลังเกษตร.com หรือ นิตยสาร พืชพลังงาน 

โฆษณา
AP Chemical Thailand

โทร. 081-571-6608 , 089-740-6351

โดยจะมีเนื้อหาดังต่อไปนี้

  1. ขั้นตอนการทำ ขุยมะพร้าว ป้อนเป็นเชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้าชีวมวล
  2. การใช้เครื่องจักรในการผลิตขุยมะพร้าว
  3. การตากขุยมะพร้าวเพื่อลดความชื้น
  4. การขนส่งขุยมะพร้าวเข้าโรงไฟฟ้าชีวมวล
1.ขุยมะพร้าว-เชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้าชีวมวล
ขุยมะพร้าว – เปลือกมะพร้าว – กาบมะพร้าวสับ เชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้าชีวมวลข

คุณทวีและคุณศรีนวล จันทร์แดง เริ่มต้น โรงงานผลิต มะพร้าวสับ

โดยคุณทวีและคุณศรีนวลได้เผยถึงจุดเริ่มต้นก่อนจะหันมาสร้าง “โรงงานผลิต มะพร้าวสับ ” แห่งนี้ว่าเดิมทีครอบครัวได้ยึดอาชีพทำไร่อ้อยตลอดมา เนื่องจากเป็นการทำไร่อ้อยในพื้นที่ภาคกลางที่มีระบบชลประทานรองรับทำให้ได้ผลผลิตเฉลี่ย 10-15 ตัน/ไร่/ปี

ขึ้นอยู่กับการจัดการและการดูแลรักษาของชาวไร่แต่ละรายเป็นหลักไปพร้อมๆกับการ “รับจ้างบรรทุกอ้อย” ส่งเข้าโรงงานน้ำตาลในพื้นที่ด้วยอัตราค่าจ้างทั่วไปและด้วยความที่คุณทวีเป็นคนช่างสังเกตที่มองเห็นว่าทุกครั้งที่ไปส่งอ้อยเข้าโรงงานน้ำตาลจะเห็นว่ามีการบรรทุก “ชานอ้อย” ออกไปจากโรงงานน้ำตาลเป็นประจำทุกวันในช่วงหีบอ้อย

ไปจนกระทั่งหมดช่วงฤดูเก็บเกี่ยวอ้อยเลยทีเดียว จึงเกิดความสงสัยและได้เข้าไปสอบถามเรื่องราวการผู้รับจ้างขนส่งชานอ้อยจนได้ทราบว่ามี “โรงไฟฟ้าชีวมวล” ในพื้นที่รับซื้อชานอ้อยเพื่อใช้เป็นวัตถุดิในการผลิตกระแสไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง

 

2.คุณทวีและคุณศรีนวล-จันทร์แดง-กับเปลือกและกะลามะพร้าว
คุณทวีและคุณศรีนวล-จันทร์แดง-กับกะลามะพร้าว- เปลือกมะพร้าว – กาบมะพร้าวสับ

การทำขุยมะพร้าวเสริมด้วยไร่อ้อย 100 กว่าไร่

สอดคล้องกับคุณทวีเองก็มีรถสิบล้อไว้บรรทุกอ้อยส่งโรงงานอยู่แล้ว เมื่อว่างเว้นจากงานบรรทุกอ้อยก็แทบจะไม่มีงานให้กับรถบรรทุกจึงมีแนวคิดอยากสร้างรายได้ด้วยรถบรรทุกก็คือการขนชานอ้อยส่งโรงไฟฟ้าบ้าง จึงเดินเข้าไปติดต่อโรงไฟฟ้าที่ จ.สุพรรณบุรี เพื่อรับจ้างขนชานอ้อยเข้าโรงไฟฟ้าซึ่งเป็นที่มาของการเข้าสู่  “ วงการพลังงานชีวมวล”

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ทำให้คุณทวีทราบว่านอกจากชานอ้อยแล้วทางโรงไฟฟ้าชีวมวลยังรับซื้อไม้สับ  ขี้เลื่อย  แกลบ และทะลายปาล์มอีกด้วย ประกอบกับคุณทวีอยากจะพัฒนาตัวเองเพื่อสร้างรายได้รายเดือนจากอาชีพนี้ นอกเหนือจากการปลูกอ้อยไว้เป็นรายได้รายปีบนพื้นที่ 100 กว่าไร่แล้ว

จึงได้ศึกษาหาข้อมูลเพื่อติดต่อเจรจาซื้อขายชานอ้อยกับโรงไฟฟ้าอื่นในพื้นที่ อ. พนมทวน จ.กาญจนบุรี ซึ่งตรงกับความต้องการของโรงไฟฟ้าที่ต้องใช้วัตถุดิบในการผลิตกระแสไฟฟ้า ต่อมาคุณทวีได้เสนอขาย  ไม้สับ ให้กับโรงไฟฟ้าแต่กลับถูกปฏิเสธ เนื่องจากเศษไม้สับไม่สามารถใช้กับเตาเผาของโรงไฟฟ้าได้ แต่ทางโรงไฟฟ้าได้ให้การบ้านมาว่า “ ให้หาเชื้อเพลิงอะไรก็ได้ที่สามารถใช้ลมเป่าแล้วปลิวเข้าเตาเผาได้เลย”

 

3.การทำขุยมะพร้าวเสริมด้วยไร่อ้อย-100-กว่าไร่
การทำขุยมะพร้าวเสริมด้วยไร่อ้อย-100-กว่าไร่

ทำไมต้องเป็น มะพร้าวสับ เป็นเชื้อเพลิงที่ต้องการในตลาด

ในระหว่างทางกลับบ้านคุณทวีก็คิดและสังเกตสิ่งที่เห็นรอบตัวเพื่อหาคำตอบให้กับคำถามของโรงไฟฟ้าให้ได้ จนขับรถผ่านมาเจอ “ มะพร้าวสับ ”  จึงฉุดคิดว่า มะพร้าวสับ มีน้ำหนักเบาและผลิตมาจากของเสียจากกระบวนผลิตแล้วยังสับแปรรูปเป็นพลังงานได้ อีกทั้งของเสียจำพวกนี้แทบจะไม่มีประโยชน์นอกจากนำมาถมที่ดิน และใช้เป็นวัสดุปลูกในวงการไม้ดอกไม้ประดับเท่านั้น

ที่สำคัญมะพร้าวสับราคาต้นทุนการผลิตค่อนข้างถูกจึงได้ทดลองสับมะพร้าวตากแดดให้แห้งแล้วนำไปเสนอโรงไฟฟ้าที่พนมทวน ปรากฏว่าผ่านการอนุมัติและโรงไฟฟ้าให้ทำการจัดส่งมะพร้าวสับให้อย่างต่อเนื่องจึงเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างโรงงานมะพร้าวสับขึ้นเป็นครั้งแรกควบคู่ไปกับการสลวิ่งหาซื้อเครื่องจักรสับกะลาพร้อม เปลือกมะพร้าว

ชนิดแบบสับละเอียดทดแทนเครื่องแยกมะพร้าวสับที่มีราคาสูง  ให้ได้ ก่อนจะเริ่มเสาะแสวงหาแหล่งขายวัตถุดิบคือ “เปลือกและกะลามะพร้าว” ที่ได้รับซื้อจากโรงงานแปรรูปมะพร้าวภายในพื้นที่ที่จะคว้านเอาเนื้อมะพร้าวออกไปแล้วจะเหลือเพียงกะลาที่ซื้อได้ในราคาที่ค่อนข้างต่ำ

4.การใช้เครื่องจักรในการผลิตขุยมะพร้าว
การใช้เครื่องจักรในการผลิต ขุยมะพร้าว

ขั้นตอนการผลิตขุยมะพร้าวคุณภาพ

โดยในช่วงแรกของการสั่งซื้อมะพร้าวสับจากคุณทวี โรงไฟฟ้าต้องการวัตถุดิบค่อนข้างมากต่อวันแต่เครื่องสับมะพร้าวที่โรงงานค่อนข้างเล็กและมีจำกัดด้านการผลิตทำให้โรงงานผลิตมะพร้าวสับไม่ทันตามออเดอร์ที่โรงไฟฟ้ากำหนดจึงจำเป็นต้องซื้อเครื่องสับมะพร้าวเพิ่มอีก 1 เครื่อง รวมเป็น 2 เครื่อง มูลค่าหลายแสนบาท

โฆษณา
AP Chemical Thailand

เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตให้เพียงพอกับความต้องการของลูกค้า แต่ด้วยข้อจำกัดด้านการผลิตในบางช่วงทำให้วัตถุดิบไม่ได้คุณภาพตามสเป็คที่โรงไฟฟ้ากำหนด โดยเฉพาะใน “ช่วงหน้าฝน” ที่ทำให้การตากขุยมะพร้าวไม่แห้งซึ่งเป็นอุปสรรคอย่างมากต่อการจัดการวัตถุดิบให้มีประสิทธิภาพเพื่อป้อนตลาดได้อย่างต่อเนื่อง

แต่ครั้นจะลงทุน “เครื่องอบ” เพื่อลดปัญหานี้ แต่ด้วยตลาดที่ยังไม่กว้างพอจึงทำให้ยังไม่กล้าที่จะลงทุนเพิ่มเติม แต่ถ้าหากมีตลาดรองรับอย่างมั่นคงและชัดเจนมากกว่านี้ก็จะทำให้คุณทวีกล้าที่จะลงทุนแน่นอน โดยมีแผนที่จะสั่งซื้อเครื่องจักรเพิ่มขึ้นอีก 2 เครื่อง เพื่อให้มียอดการผลิตอยู่ที่ 10 ตันต่อวันให้ได้

 

5.ลานตากขุยมะพร้าวเพื่อลดความชื้น
ลานตาก ขุยมะพร้าวสับ เพื่อลดความชื้น

ราคาขายที่ 8,000 บาท/10 ตัน

โดยคุณทวีและคุณศรีนวลภรรยาคู่ใจได้เผยถึงขั้นตอนการผลิตขุยมะพร้าวคุณภาพให้ทราบว่าหลังจากนำกะลามะพร้าวพร้อมเปลือกเข้าเครื่องสับจน 1-2 รอบจนได้เป็นขุยมะพร้าวแล้วก็จะต้องนำขุยมะพร้าวมาลดความชื้นลงด้วยนำไปตากให้แห้งภายในลานตาก ก่อนจะทำการพลิกขุยมะพร้าวให้แห้ง 4-5 ครั้งด้วยแทรกเตอร์ขนาดเล็ก

จนกระทั่งแห้งจนได้ที่ก็จะตักขุยมะพร้าวขึ้นรถบรรทุกสิบล้อส่งเข้าโรงไฟฟ้าได้ทันทีในกรณีที่โรงไฟฟ้าต้องการวัตถุดิบต่อเนื่อง หรือไม่ก็จะหลังจากตากให้แห้งแล้วก็จะดันเก็บไว้เพื่อรอจำหน่ายต่อไป โดยการบรรทุกขุยมะพร้าวจะมีน้ำหนักประมาณ 10 ตัน/คันรถสิบล้อ มีราคาขายที่ 800 บาท/ตันหรือประมาณ 8,000 บาท/คันรถสิบล้อ /เที่ยว

ที่สำคัญขุยมะพร้าวต้องแห้งเพราะถ้าขุยมะพร้าวเปียกก็จะโดนหักค่าความชื้นลงไปจนแทบจะไม่ได้กำไรเลยก็มี  ดังนั้นคุณทวีจึงต้องตาก ขุยมะพร้าวสับ หลายวันขึ้นเพื่อลดความชื้นให้ได้มากที่สุดจะทำให้ปัญหาลดลงได้ทั้งการส่งสินค้าไม่ทันรอบ

การขยายลานตากเพิ่มขึ้นที่เปลี่ยนไร่อ้อยมาเป็นลานตากด้วยการเทพื้นคอนกรีต หนา 20 เซนติเมตรเพื่อลดปัญหาความเสียหายจากการใช้เครื่องจักรพลิกกลับกองขุยมะพร้าวได้ดีเวลาที่รถบรรทุก 10 ล้อหรือรถพ่วงขึ้น-ลง  พื้นจะได้ไม่แตกภายใต้เม็ดเงินลงทุนร่วม  4 แสนบาทเฉพาะเทพื้นเท่านั้น

โฆษณา
AP Chemical Thailand

6.การใช้แทรกเตอร์เล็กพลิกขุยมะพร้าวให้แห้ง
การใช้แทรกเตอร์เล็กพลิก ขุยมะพร้าวสับ ให้แห้ง

มะพร้าวสับคุณภาพต้องมีค่าความชื้นอยู่ที่ 19.8  มีค่าพลังงานอยู่ที่ 3,700 กรัม

“ การทำธุรกิจย่อมมีอุปสรรคเข้ามา บ้าง อย่างช่วงหลังที่เราซื้อเครื่องจักรเพิ่มเข้ามา  เทพื้นปูนขยายลานตากแล้วปรากฏว่าปัญหาที่ตามมาคือยอดการสั่งซื้อจากโรงไฟฟ้าได้หมดสัญญาลงพอดีและอีก 2-3 เดือนถึงจะมีการสั่งซื้อสินค้าอีกรอบ แล้วก็สั่งในจำนวนที่น้อยกว่าเดิม 

แต่เราจำเป็นต้องรับซื้อเปลือกและกะลามะพร้าวจากเจ้าประจำเข้ามาเป็นตลอด จะหยุดไม่ได้เพราะหากหยุดรับซื้อไปหรือขาดการซื้อไป เมื่อต้องการจะซื้อ เปลือกมะพร้าว ล็อตใหม่เข้ามาผลิตมันก็ยิ่งยากเข้าไปอีก แม้กระทั่งคนงานของเราที่จำเป็นต้องจ้างเขาต่อในระหว่างที่เราไม่มียอดการสั่งซื้อเพราะไม่งั้นเราจะไม่มีคนงานเมื่อมีงานเข้ามาจะทำให้การจัดการมีปัญหาได้

ทำให้ตอนนี้เราทำได้เพียงการรับซื้อผลผลิตเพื่อตุนสินค้าเอาไว้รอผลิตและส่งมอบให้กับลูกค้าโรงไฟฟ้า”คุณทวีกล่าว ประกอบกับในช่วงหลังๆนี้ทางโรงไฟฟ้าแม้จะมียอดสั่งซื้อล๊อตใหญ่เข้ามาราว  200 กว่าตันก็จริง แต่ก็มีเงื่อนไขด้วยว่าต้องหาค่าพลังงาน  ค่าความชื้น  ค่าวิเคราะห์ทางเคมีให้ได้

ทำให้คุณทวีต้องนำ ขุยมะพร้าวสับ ส่งเข้าห้องแลปเพื่อวิเคราะห์หาค่าดังกล่าว ก่อนจะนำผลวิเคราะห์ไปยื่นให้กับโรงไฟฟ้าพิจารณาให้มีการสั่งออเดอร์กลับมา ซึ่งผลการวิเคราะห์ทางแลปแจ้งว่าขุยมะพร้าวมีค่าความชื้นของมะพร้าวสับอยู่ที่ 19.8   มีค่าพลังงานอยู่ที่ 3,700 กรัม ซึ่งเหมาะสมกับกระบวนการผลิตเป็นเชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้าได้เป็นอย่างดีที่นำมาซึ่งยอดสั่งซื้อจำนวนมากในเวลาต่อมา

7.การขนส่งขุยมะพร้าวเข้าโรงไฟฟ้าชีวมวล
การขนส่งขุยมะพร้าวสับเข้าโรงไฟฟ้าชีวมวล

ต่อยอดด้วยการอัด ขุยมะพร้าวสับ ให้เป็น “ วู๊ดเพลเลท” ที่ขายได้ราคาดี

ในขณะที่ทางโรงไฟฟ้าก็มีน้ำใจได้ประสานงานให้คุณทวีนำขุยมะพร้าวไปส่งที่โรงไฟฟ้าไทยออยล์ฯ เพื่อเป็นการระบายสินค้าที่ได้ออร์เดอร์ค้างไว้มากกว่า 200 ตันได้ ซึ่งคุณทวีก็ต้องยอมรับว่า กว่าจะผ่านจุดนั้นมาได้ก็ลำบากมามากเพราะการทำธุรกิจความแน่นอนคือความไม่แน่นอน

เราต้องเตรียมตัวรับปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตให้ได้เพื่อที่จะทำให้ธุรกิจของเราเดินหน้าได้โดยไม่สะดุด เราทราบว่าธุรกิจนี้ลงทุนค่อนข้างมาก แล้วอย่างที่ผมทำในทุกวันนี้มันหยุดไม่ได้แล้วเพราะเราลงทุนไปมากพอสมควร ผมจึงต้องพัฒนากระบวนการผลิตให้ดีขึ้นลดระยะเวลาในการจัดส่งสินค้าในน้อยลงและต้องผลิตสินค้าที่มีคุณภาพมากขึ้น

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ด้วยการมีแนวคิดที่จะนำเครื่องวู้ดพาเลท มาอัด ขุยมะพร้าวสับ ให้เป็น “ วู๊ดเพลเลท” ที่ขายได้ราคาดี การขนส่งดีกว่าจะทำให้การผลิตสินค้าและการจัดส่งสินค้าได้รวดเร็วขึ้น คุณทวียืนยัน ซึ่งมั่นใจได้ขุยมะพร้าวที่นี่มีคุณภาพจริงๆ การันตีได้จากลูกค้าในปัจจุบันจากโรงงานและโรงไฟฟ้าหลายแห่งในเขตจังหวัดราชบุรี  ได้มาตรฐาน

ผ่านการวิเคราะห์จากห้องแลปว่ามีค่าความชื้นที่เหมาะสมจึงทำให้โรงไฟฟ้าต่างๆ เกิดความเชื่อมั่นในคุณภาพมะพร้าวสับจากโรงงานคุณทวีตลอดมาควบคู่ไปกับการ “ จำหน่าย มะพร้าวสับ  ขี้เลื่อย ไม้สับ และแกลบ”ได้อีกด้วย

ปรึกษาฟรี! หากบอกว่ามาจาก พลังเกษตร.com หรือ นิตยสาร พืชพลังงาน 

โทร. 081-571-6608 089-740-6351

สนใจสั่งซื้อ ขุยมะพร้าวคุณภาพ วัตถุดิบชั้นดีของโรงไฟฟ้าชีวมวลติดต่อ คุณทวี จันทร์แดง และ คุณ ศรีนวล จันแดง

59/1 ม.8 ต.กรับใหญ่  อ.บ้านโป่ง  จ.ราชบุรี

โฆษณา
AP Chemical Thailand