ในที่สุดเกษตรกรก็หันมาสนใจพืชน้ำมันที่ชื่อ “ ปาล์ม ” มากขึ้น เพราะราคาปาล์มทะลายพุ่งขึ้นมากกว่าราคาประกัน โดยเฉพาะปาล์มในภาคใต้ / กลาง / ตะวันออก แต่เหนือ / อีสาน ราคายังต่ำ
แต่การปลูกปาล์ม ให้ได้ผลผลิต/ไร่สูง ต้องจัดองค์ประกอบต่างๆ เช่น สายพันธุ์ ดิน อาหาร น้ำ แสงแดด และอากาศ เป็นต้น ให้สมดุล เพื่อปาล์มจะได้เติบโตสมบูรณ์
สภาพพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน
ยกตัวอย่าง สวนปาล์มของ บริษัท อาดีเกษตรพัฒนา จำกัด ในอำเภอองครักษ์ นครนายก 1,300 ไร่ ปาล์ม 34,000 ต้น และที่อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี 2,300 ไร่ ปาล์ม 54,000 ต้น สภาพดินและน้ำไม่เหมาะในการปลูกปาล์ม เพราะค่าความเป็นกรดและด่าง (pH) ต่ำกว่า 4
ดังนั้นตอนเตรียมดินเพื่อการปลูก ทั้งระบบร่อง และระบบไร่ ต้องปรับปรุงดินให้ pH เหมาะสมด้วยรูปแบบต่างๆ
การบริหารจัดการสวนปาล์มน้ำมัน
แปลงที่เมืองปราจีน ปาล์มอายุ 6 ปี และแปลงองครักษ์อายุ 6 ปี เท่ากัน แม้จะให้เจ้าหน้าที่จากกรมวิชาการเกษตรมาให้คำแนะนำเรื่องปรับปรุงดิน หรือให้บริษัทนำโดโลไมท์ หรือฟอสเฟต หรือขี้เถ้าแกลบดำ จากโรงหีบปาล์มมาใส่ pH ก็อยู่ที่ 4 กว่าๆ ที่ปราจีนก็เช่นเดียวกัน
ในการปลูกปาล์ม น้ำเป็นเรื่องใหญ่ น้ำที่นำมาไว้ในสระปรากฏว่า pH 3 และน้ำในร่องปาล์ม pH 5 ดังนั้นเมื่อใช้น้ำก็ไม่ได้ทำให้ pH ดินสูงขึ้นแต่อย่างใด
โจทย์เรื่องการปรับดินให้ pH สูงขึ้น ขณะที่น้ำใช้ pH 5 เป็นงานท้าทาย บริษัท อาดีฯ เป็นอย่างยิ่ง
การปรับปรุงบำรุงดิน
บริษัท พลังเขียวสร้างชาติ จำกัด โดย พายัพ ยังปักษี ได้ลงพื้นที่ และได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับ คุณวิศรุต สุขเจริญ คุณอัญชลี จรลี และทีมงาน เพื่อหาทางปรับ pH ดินให้สูงขึ้น
ผลผลิตปาล์ม ทั้ง 2 แปลง เฉลี่ย 2.4 ตัน/ไร่ จำเป็นต้องปรับปรุงดินเพื่อเพิ่มผลผลิต ซึ่งเป็นงานท้าทายทั้ง 2 บริษัท สนใจความคืบหน้า โทร. 092 – 293 – 1692