หญ้าเนเปียร์ พืชพลังงานเพื่อการผลิตก๊าซชีวภาพ
กระทรวงพลังงาน มีแนวทางการส่งเสริมในภาคการเกษตร ให้เกษตรกรปลูก พืชพลังงาน คือ “ หญ้าเนเปียร์ ” เนื่องจากให้ผลผลิต 40 – 60 ตัน / ไร่ / รอบ ใน 1 ปี สามารถปลูกได้ 4 – 5 รอบ มีกระบวนการปลูก หญ้าเนเปียร์ ที่ไม่ซับซ้อน การเก็บเกี่ยว หญ้าเนเปียร์ ก็ไม่ยุ่งยากสามารถใช้เครื่องจักรในการเก็บเกี่ยวได้สะดวก สามารถเก็บเกี่ยวได้ปริมาณมาก หญ้าเนเปียร์ มีรอบการปลูกที่ 6 – 7 ปี ไม่ต้องลงทุนท่อนพันธุ์ หญ้าเนเปียร์ ทุก ๆ ปี ลดต้นทุนการเพาะปลูก มีต้นทุนการเก็บเกี่ยวต่ำ
การให้เงินสนับสนุนโรงไฟฟ้าที่ใช้ Biogas from Energy Crops
เพื่อเป็นการส่งเสริม Biogas from Energy Crops อย่างยั่งยืน ภาครัฐควรจัดหากลไกการส่งเสริมอย่างเป็นระบบและครบวงจรควรมีการจัดสรรพื้นที่รกร้างให้ชุมชนเพาะปลูกพืชพลังงาน การจัดหากลไกการส่งเสริมรวมทั้งกลไกตลาดสำหรับ สารปรับปรุงดินหรือปุ๋ยที่ได้จาก Biogas from Energy Crops อย่างเป็นระบบ การให้เงินสนับสนุนโรงไฟฟ้าที่ใช้ Biogas from Energy Crops โดยแยกเป็น 3 กลุ่ม คือ
- โรงไฟฟ้าชุมชน (< 1 MW ): FIT+ Subsidy( 30% )
- โรงไฟฟ้าระดับ Commercial ( 1 –3 MW ): FIT + Subsidy( ไม่เกิน 10 % เฉพาะช่วง Promotion)
- โรงไฟฟ้าระบบ Bioenergy Park: FIT only และราคาพืชพลังงาน ควรปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาด เพื่อมิให้เกิดการแย่งพื้นที่ปลูกพืชอาหาร
การผลิต ก๊าซชีวภาพ
ก๊าซชีวภาพ หรือ ไบโอก๊าซ คือ ก๊าซที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติจากการหมักย่อยสลายของสารอินทรีย์ภายใต้สภาวะที่ปราศจากออกซิเจน(anaerobic digestion) โดยกระบวนการนี้สามารถเกิดขึ้นได้ในหลุมขยะ กองมูลสัตว์ และก้นบ่อแหล่งน้ำนิ่ง
กล่าวคือเมื่อไหร่ก็ตามที่มีสารอินทรีย์หมักหมมกันเป็นเวลานานก็อาจเกิด ก๊าซชีวภาพ ที่มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นแก๊สมีเทน(CH4) ประมาณ 50-70% และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ( CO2 ) ประมาณ 30 – 40% ส่วนที่เหลือเป็นแก๊สชนิดอื่น ๆ เช่น ไฮโดเจน( H2 ) ออกซิเจน ( O2 ) ไฮโดรเจนซัลไฟด์ ( H2S ) ไนโตรเจน ( N ) และ ไอน้ำ
เปรียบเทียบ ข้อดี – ข้อเสีย ระบบผลิต ก๊าซชีวภาพ
ข้อดี
- ใช้พลังงานไฟฟ้าต่ำ
- มีการเกิดตะกอนส่วนเกินน้อยมาก
- ต้องการสารอาหารโดยเฉพาะ N, P ต่ำ
- สามารถเก็บเชื้อจุลินทรีย์ไว้ได้นาน
- ได้ ก๊าซชีวภาพ มาเป็นพลังงาน
- ไม่ต้องการเติมออกซิเจนให้กับระบบช่วยลดค่าใช้จ่าย
- สามารถรับน้ำเสียที่มีความเข้มข้นของสารอินทรีย์สูงๆ ได้
- ลดกลิ่นของระบบบำบัดน้ำเสีย
ข้อเสีย
- เชื้อจุลินทรีย์เจริญเติบโตช้า
- การเริ่มต้นระบบใช้เวลานาน
- เสถียรภาพของระบบต่ำ
- กลิ่นและแมลงรบกวน ( ถ้าเป็นระบบเปิด )
เทคโนโลยีผลิต ก๊าซชีวภาพ จากพืชผัก – หญ้าเนเปียร์ – กะลามะพร้าว
เทคโนโลยี CSTR ซึ่งมี
- ข้อดี คือ รับน้ำเสียที่มีสารเเขวนลอยสูงได้ดีและประสิทธิภาพการย่อยสลายสูงเนื่องจากการกวนผสมดี
- ข้อเสีย คือ ต้องการพลังงานในการกวนผสม ความเข้มข้นของน้ำเสียขาออกสูงและมีการสูญเสียจุลินทรีย์ในปริมาณที่สูง
เทคโนโลยี UASB มี
- ข้อดี คือ 1.รับภาระบรรทุกสารอินทรีย์ได้สูง 2. ไม่มีปัญหาการอุดตัน (Clogging) ของถังปฏิกิริยา เนื่องจากแบคทีเรียจะรวมกันเป็นเม็ดที่แน่นและตกตะกอนได้ดี 3.สามารถหยุดระบบได้ทันที่ที่ต้องการและพร้อมจะท้างานต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพดังเดิม ในเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ แต่มี
- ข้อเสีย คือ 1.น้ำเสียต้องมีสารเเขวนลอยต่ำ 2.อัตราการสูญเสียจุลินทรีย์จากระบบสูง- การสร้างเม็ดตะกอนทำได้ยาก- ต้องการระบบป้อนน้ำเสียเเละGSS ที่มีประสิทธิภาพสูง- ควบคุมดูเเลยาก 3. ต้องการอัตราการผลิตก๊าซชีวภาพที่เหมาะสมเพื่อช่วยในการกวน 4. ต้องใช้เวลาในการเดินระบบ (Start-Up) ค่อนข้างนาน
เทคโนโลยี Anaerobic Fixed Film มี
- ข้อดี คือ 1.รับภาระบรรทุกสารอินทรีย์ได้สูง 2.มีเสถียรภาพเเละประสิทธิภาพสูง 3.SRT สูง.ต้นทุนเดินระบบต่ำ 4.มีระยะเวลาการสะสมของตะกอนแบคทีเรียสูง 5.ไม่ต้องมีการหมุนเวียนตะกอนกลับเพราะตัวกลางภายในระบบจะดักตะกอนไว้ภายในระบบอยู่แล้ว 6.ระบบสามารถทำงานได้ดีหลังจากที่หยุดทำงานไป 15 วัน โดยไม่ต้องเริ่มต้นเลี้ยงแบคทีเรียใหม่
- ข้อเสีย คือ 1.ต้นทุนระบบเพิ่มขึ้นจากวัสดุตัวกลาง 2.มักอุดตันได้ง่าย 3.ถังกรองไร้อากาศพบการไหลลัดวงจรเเละการกระจายตัวของน้ำเสียไม่ดี เพราะเมื่อใช้งานไปนานๆ อาจมีตะกอนแบคทีเรียสะสมอยู่ในปริมาณสูง 4.ไม่เหมาะกับน้ำเสียที่มีสารแขวนลอยสูง 5.ใช้เวลาในการเริ่มต้นเลี้ยงแบคทีเรียนาน
เทคโนโลยี Covered Lagoon ซึ่งระบบ Lagoon มี
- ข้อดี คือ 1.ก่อสร้างได้ง่ายและประหยัดค่าก่อสร้าง 2. ระบบมีความทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงอัตราภาระบรรทุกสารอินทรีย์หรือสารพิษ เนื่องจากระบบมีขนาดความจุมากและมีเวลากักเก็บตะกอนนาน 3. ประสิทธิภาพในการบ้าบัดของระบบสูง 4. สามารถสร้างบ่อในลักษณะบ่ออนุกรมได้ 5.ต้องการการดูแลรักษาน้อย
- ข้อเสีย 1. การกวนผสมในระบบและการกระจายของน้ำเสียเข้าในบ่อไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ 2.การควบคุมระบบทำงานได้ยากเนื่องจากอาจเกิดการไหลลัดทางได้ หากการกวนผสมไม่ดี 3.ต้องการใช้พื้นที่มากจึงไม่เหมาะกับพื้นที่ที่มีราคาที่ดินสูง อาจมีการซึมของน้ำเสียในบ่อลงสู่ใต้ดิน 4.กรณีที่ก๊าซชีวภาพยังไม่เกิดจะมีปัญหาเกี่ยวกับการท่วมขังของน้ำบนผ้าพลาสติกคลุมบ่อซึ่งต้องมีการสูบน้ำออก
การใช้ระบบผลิตก๊าซชีวภาพในฟาร์มปศุสัตว์
การพิจารณาการใช้ระบบผลิตก๊าซชีวภาพในฟาร์มปศุสัตว์ในปัจจุบัน
- ระบบขนาดเล็กแบบโดมคงที่ ได้แก่ ฟาร์มสุกรและโคนม
- และ Cover lagoon ได้แก่ ฟาร์มสุกรขนาดใหญ่
สำหรับประเทศไทย ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ที่มีการใช้เทคโนโลยีระบบก๊าซชีวภาพมากที่สุด คือ ฟาร์มสุกร โดยแบ่งกลุ่มฟาร์มสุกรออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
- ฟาร์มขนาดใหญ่ เทียบเท่าจานวนสุกรขุนมากกว่า 5,000 ตัว เทคโนโลยีระบบก๊าซชีวภาพที่ใช้ ได้แก่ UASB และ Covered Lagoon
- ฟาร์มขนาดกลาง เทียบเท่าจานวนสุกรขุนตั้งแต่ 500 – 5,000 ตัว เทคโนโลยีระบบก๊าซชีวภาพที่ใช้ ได้แก่ UASBและ Covered Lagoon
- ฟาร์มขนาดเล็ก เทียบเท่าจานวนสุกรขุน 50 – 500 ตัว เทคโนโลยีระบบก๊าซชีวภาพที่ใช้ ได้แก่ Fixed Domeและ Covered Lagoon
ศักยภาพการผลิตไฟฟ้าจากภาคปศุสัตว์
สมมุติฐานการประเมินจานวนสุกร 1 ตัว (น้ำหนัก 60 กิโลกรัม) จะให้ค่าดังนี้
ปริมาณน้าเสียที่เกิดขึ้น27ลิตร/วัน(0.027ลบ.ม./วัน) ได้ปุ๋ยอินทรีย์ (น้ำ)0.36กิโลกรัม/วันได้ปุ๋ยอินทรีย์ (แห้ง)0.12กิโลกรัม/วัน(ความชื้นประมาณ 35%) ศักยภาพการผลิตไฟฟ้าจากภาคปศุสัตว์ (ที่มา: กรมปศุสัตว์)
ข้อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมในภาคปศุสัตว์
ภาครัฐควรสนับสนุนภาคปศุสัตว์ในรูปแบบการจัดการการพัฒนาและส่งเสริมการน้ามูลสัตว์มาผลิตก๊าซชีวภาพแบบ Mix Waste เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบ แม้ศักยภาพในการผลิตไฟฟ้าน้อย แต่ได้ผลตอบแทนในรูปสิ่งแวดล้อม
มูลค่าของก๊าซชีวภาพในการเป็น พลังงานทดแทน
เทคโนโลยีการผลิตก๊าซชีวภาพจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร
1.เทคโนโลยีการผลิตก๊าซชีวภาพแบบเปียก (Wet anaerobic digestion)
2.เทคโนโลยีการผลิตก๊าซชีวภาพแบบแห้ง (Dry anaerobic digestion) Definition) 1.วัตถุดิบที่เข้าระบบจะต้องมีความชื้นต่ำกว่าร้อยละ 70 2.ค่าภาระสารอินทรีย์ของระบบ (OLR) ไม่น้อยกว่า 3.5 kg/m3 day
3.ค่า VFA ของวัตถุดิบออกจากระบบไม่เกิน 2,000 mg/l
ขอขอบคุณข้อมูล อ.เอกสิทธิ์ เดชพิริยะ โทร 080 – 077 – 0626
เอกสารอ้างอิง: แนวทางการผลิตพลังงานทดแทนจากพืชอาหารสัตว์(ไชยวัฒน์ ผลลาภ) โครงการส่งเสริมเทคโนโลยี ก๊าซชีวภาพ สาหรับโรงงานอุตสาหกรรม: สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน : กระทรวงพลังงาน