เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่ในพื้นที่ ต.สระโพนทอง อ.เกษตรสมบูรณ์ จ.ชัยภูมิ นั้น ยังคงยึดอาชีพการทำนาข้าวเป็นหลัก และการ “ทำไร่อ้อย” ยังเป็นเรื่องใหม่สำหรับเกษตรกรในพื้นที่แห่งนี้ แต่ยังมี คุณไพลิน เวียงดินดำเกษตรกรชาวไร่อ้อยหัวก้าวหน้า ที่ได้พัฒนาการจัดการไร่อ้อยให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง กับการทำไร่อ้อย 200 ไร่ มีลูกไร่อีก 50 ไร่ ซึ่งการใช้แรงงานในไร่อ้อยเริ่มหายาก จึงต้องใช้เครื่องจักรทดแทน
เริ่มจากการเตรียมดินด้วยแทรกเตอร์คูโบต้ารุ่น 108 แรงม้า เพื่อไถบุกเบิกพื้นที่ ใช้ใบมีดในการปรับพื้นที่เหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ หากเป็นดินทราย มีปลวกมาก จะใช้น้ำโมลาสจากโรงงานมาปรับพื้นที่ ก่อนจะให้ผาน 8 หรือผานพรวนไถ พรวนดิน ให้ร่วนซุยอีกประมาณ 2 รอบ หรือไถปรับเตรียมดินจนกระทั่งพอใจ ข้อดีของการไถหลายรอบนี้จะช่วยกำจัดหญ้าวัชพืชได้ดี ลดปัญหาในการกำจัดหญ้าวัชพืชในไร่อ้อยได้ค่อนข้างมาก
การปลูกอ้อยในระบบร่องคู่ โดยใช้ เครื่องปลูกอ้อย
เมื่อ “ปลูกอ้อยใหม่” ในช่วงปลายฝน จะใช้ “ เครื่องปลูกอ้อย ตราช้าง SP920” ที่ใช้งานได้คล่องตัว ด้วยระบบรักษาระดับอัตโนมัติของ เครื่องปลูกอ้อย ทำให้เครื่องสามารถตัดท่อนพันธุ์ได้อย่างต่อเนื่อง อ้อยลงดินได้อย่างสม่ำเสมอในความลึกที่เหมาะสม แม้ในสภาพพื้นที่ที่ไม่ราบเรียบ ไม่ต้องใช้แรงงานคอยปลูกอ้อยตามหลัง ปุ๋ยลงดินสม่ำเสมอ ดินกลบท่อนพันธุ์ได้ดี
ส่งผลให้อ้อยได้รับความชื้นเต็มที่ อัตราการงอกมากกว่า 95% อีกทั้งการปลูกในระบบร่องคู่ช่วยให้สามารถจัดการร่องอ้อยด้วยเครื่องจักร และรองรับการเก็บเกี่ยวผลผลิตด้วยเครื่องจักร
การใส่ปุ๋ยให้ต้นอ้อย
การใช้ เครื่องปลูกอ้อย ช่วยลดต้นทุน และอ้อยมีอัตราการงอกที่ดี ลดขั้นตอนในการจัดการ แม้แต่การเตรียมดินด้วยแทรกเตอร์คูโบต้าช่วยให้การเตรียมดินดีขึ้น ดินร่วนซุย ลดการใช้สารเคมีในการกำจัดวัชพืชลงได้ หลังจากที่ปลูกอ้อยใหม่ พร้อมกับการใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 และอินทรีย์ด้วย การใส่ปุ๋ยเคมีที่มีตัวท้ายมากจะมีผลต่อระบบการงอกของอ้อย เสร็จแล้วจะให้น้ำ ให้เกิดความชื้น จะทำให้อ้อยแทงหน่อได้ดี งอกดี ก่อนจะฉีดพ่นสารเคมีคุมหญ้าวัชพืช 1 ครั้ง สามารถคุมหญ้าได้นาน 3 เดือน
ขณะที่ต้นอ้อยจะมีการเจริญเติบโตที่ดี แล้วใช้แทรกเตอร์เล็ก 24 แรงม้า ต่อกับโรตารี่ เข้าไถกลบกำจัดหญ้า จะสามารถควบคุมหญ้าในร่องอ้อยได้อย่างสม่ำเสมอ เมื่ออ้อยอายุ 4-5 เดือน ก็จะใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 21-7-18 หรือ 15-7-18 เพื่อบำรุงต้นอ้อยให้เจริญเติบโตพร้อมที่จะสะสมน้ำตาลไว้ในต้นอ้อย
การบริหารจัดการในไร่อ้อย
“เมื่อก่อนต้องใช้ยาฆ่าหญ้ามากถึง 3 ครั้ง การฉีดยาฆ่าหญ้าแต่ละครั้งจะมีต้นทุนสูงมากประมาณ 800-900 บาท/ถัง ต้องจ้างคนฉีดอีก 300 บาท/ถัง แต่ฉีดได้แค่ 2 ไร่/ถัง เท่านั้น แต่การเตรียมดินที่ดีทำให้ลดการใช้สารเคมีลงได้ ฉีดยาฆ่าหญ้าแค่ครั้งเดียว แล้วใช้แทรกเตอร์เล็กขนาด 24 แรงม้า เข้าทำงานในร่องอ้อยแทนได้ ประหยัดต้นทุน เป็นกิจกรรมในไร่อ้อยที่ลดการใช้แรงงานให้เหลือเพียง 3 คน จากเดิมที่ต้องใช้แรงงานดายหญ้าในร่องอ้อย กลบร่องอ้อย 20 คน ทำให้ได้อ้อยที่มีคุณภาพมากขึ้น” คุณไพลินยืนยันถึงการทำไร่อ้อยแบบลดต้นทุน ลดการใช้สารเคมี
อีกทั้งยังเป็นการทำไร่อ้อยที่มีระบบน้ำรองรับในทุกแปลงในเนื้อที่ 200 ไร่ นี้ ทั้งที่เป็นระบบน้ำ “บ่อบาดาล” สำหรับไร่อ้อยที่มีพื้นที่ขนาดเล็ก และ “การขุดสระ” เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในไร่อ้อยที่มีพื้นที่ค่อนข้างมาก ส่วนใหญ่เป็นการให้น้ำแบบน้ำลาดทั้งหมด ฉะนั้นแหล่งน้ำเป็นปัจจัยสำคัญมากในการทำไร่อ้อยที่สามารถบริหารจัดการได้อย่างทันท่วงที เกิดประโยชน์สูงสุด ที่ทำให้คุณไพลินสามารถดูแลบำรุงตออ้อยเพื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตได้มากกว่า 8 ตอ ภายใต้การจัดการไร่อ้อยที่มีระบบน้ำ และเครื่องจักรกลการเกษตรที่มีประสิทธิภาพ
การเก็บเกี่ยวอ้อย
คุณไพลินเสริมว่าการทำไร่อ้อยในปีที่ผ่านมาที่ยังไม่มีกระบวนการจัดการด้วยเครื่องจักร อ้อยปลูกใหม่จะให้ผลผลิต 12 ตัน/ไร่ อ้อยตอจะให้ผลผลิต 10 ตัน/ไร่ โดยเฉพาะพื้นที่เกือบ 200ไร่ จะให้ผลผลิต 2,000 กว่าตัน เมื่อรวมกับผลผลิตจากลูกไร่ และการรับซื้อผลผลิตจากชาวไร่อ้อยในระบบเหมา จะมีผลผลิตเข้าโควตามากกว่า 5,400 กว่าตัน/ปี มีค่าความหวาน 11-16 CCS.ขึ้นอยู่กับแต่ละช่วงในการเก็บเกี่ยวผลผลิตส่งเข้าโรงงาน ในนาม “มิตรผลภูเขียว” ที่อยู่ห่างจากไร่อ้อยเพียง 36 กม. ที่มีค่าขนส่งอ้อยเข้าโรงงาน 160 บาท/ตัน
การปลูกอ้อยแบบร่องคู่ เพิ่มระยะห่างของร่องเพื่อรองรับการใช้รถตัดอ้อย และใช้เครื่องจักรเข้าจัดการในร่องได้ เปลี่ยนการให้แบบน้ำลาดเป็นการให้น้ำและให้ปุ๋ยด้วยระบบน้ำหยด โดยเฉพาะหลังจากตัดอ้อยแต่ละแปลงเสร็จแล้ว ประมาณ 1 สัปดาห์ จะใส่ปุ๋ยเคมี วีนัส และน้ำโมลาส เพื่อบำรุงทางดิน ซึ่งปีนี้ให้ผลผลิต 18 ตัน/ไร่ อ้อยตอให้ผลผลิตไม่ต่ำกว่า 15 ตัน/ไร่ รวมผลผลิต 3,000 กว่าตัน มีผลผลิตเข้าโควตาตลอดฤดูการหีบนี้มากกว่า 6,000 ตัน ที่สามารถบำรุงตออ้อยได้นาน 7-8 ตอ
“เขตนี้เพิ่งจะมีการส่งเสริมรถตัด ซึ่งยังเป็นของใหม่ เพราะต่อไปแรงงานตัดอ้อยจะไม่มี แต่ตอนนี้เรายังต้องใช้แรงงาน 35 คน เพื่อตัดอ้อยเข้าโรงงาน เพราะพื้นที่ปลูกอ้อยเพิ่มขึ้น ทั้งของเรา ลูกไร่ และรับซื้อผลผลิตจากชาวไร่เพื่อความยั่งยืน แต่ปีหน้าจะลดเหลือเพียง 10 คน เพราะเราใช้เครื่องจักรได้ การปลูกอ้อยใหม่แม้ต้องใช้ต้นทุนสูง แต่ถ้าทำได้ 18 ตัน/ไร่ จะมีกำไรบ้าง แต่ถ้าไว้ตอได้นาน ได้หลายตอ ผลผลิตเพิ่มขึ้น ชาวไร่จะประหยัดต้นทุน มีจุดคุ้มทุน เพราะอ้อยตอคือกำไร” คุณไพลินให้เหตุผล
พร้อมกับย้ำว่าการปลูกอ้อยมีข้อดีหลายอย่าง เพราะมี พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย คุ้มครอง มีการแบ่งผลประโยชน์ให้กับชาวไร่ 70:30 โรงงานมีการส่งเสริมด้านปัจจัยการผลิตและการจัดการที่มีประสิทธิภาพแก่ชาวไร่อ้อย
สอบถามแลกเปลี่ยนข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณไพลิน เวียงดินดำ ที่อยู่ 154/1 หมู่ 4 ต.สระโพนทอง อ.เกษตรสมบูรณ์ จ.ชัยภูมิ โทร.089-722-1224 เครื่องปลูกอ้อย