เทคนิคฟื้นฟู สวนปาล์มน้ำมัน หลังน้ำท่วม ดูแลระบบราก และเชื้อรา

โฆษณา
AP Chemical Thailand

หลากหลายนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เข้ามามีบทบาทในวงการเกษตรมากขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งมีทั้งข้อดี และข้อเสีย หากผู้ที่เลือกใช้ไม่มีการศึกษาที่มาที่ไปให้ดี แต่สิ่งที่เป็นการเรียกความเชื่อมั่น

และทำให้เกษตรกรหลายรายยอมรับได้นั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยเช่นกัน เช่น การเข้าถึงแหล่งผู้ใช้ นั่นพูดคุยและทำความเข้าใจด้วยภาษาง่ายๆไม่มีหลักการและวิชาการจนเกินไปที่จะทำให้ชาวสวนเบื่อหน่าย

ความถี่ในการลงพื้นที่เข้าติดตามผลงานหลังจากมีการเริ่มทดลองใช้ผลิตภัณฑ์นั้นๆ และที่สำคัญที่สุด คือ ประสิทธิภาพของตัวผลิตภัณฑ์ ที่ตอบสนองไปในทางที่ดี คุ้มกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้น เป็นต้น

1.สวนปาล์มน้ำมัน
1.สวนปาล์มน้ำมัน

จุดเริ่มต้นการปลูกปาล์มน้ำมัน

เมื่อไม่นานมานี้ผู้เขียนได้มีโอกาสพูดคุยกับชาวสวนปาล์มทางใต้ ที่ได้รับผลกระทบจาก ภัยพิบัติจากธรรมชาติ ฝนตกมาก น้ำภายในสวนระบายไม่ทัน ส่งผลให้ปาล์มน้ำมันในสวนได้รับความเสียหายเป็นอย่างมาก

คุณจงดี ปรีชามาตร เล่าให้ฟังว่า เขาจบการศึกษามาจากรั่วมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ด้านเศรษฐศาสตร์ แล้วเข้าทำงานกับองค์การโทรศัพท์ตั้งแต่อายุ 29 ปี มาจนกระทั่ง 60 ปี จึงได้เกษียณออกมา จากนั้นหันมายึดอาชีพขายอะไหล่รถมอเตอร์ไซด์อยู่ปากซอยวัชรพล ย่านคลอง 4 ตอนหลังได้ย้ายมาอยู่ที่ตลาดใหม่ดอนเมือง

โดยเสียค่าเช่าเดือนละ 6,000 บาท เพราะที่เดิมทำเลที่ตั้งไม่ค่อยดี และที่จอดรถไม่สะดวกสบาย เมื่อครั้งแรกที่เปิดดำเนินกิจการเขาสั่งของมาลงขายเพียงไม่กี่อย่าง เพื่อทดลองความต้องการของลูกค้า ซึ่งประกอบไปด้วยยางใน ยางนอก น้ำมัน โซ่สเตอร์ และผ้าเบรก ต่อมาก็เริ่มเพิ่มสินค้า เพราะกิจการเริ่มดำเนินไปในทางที่น่าพอใจ จวบจนมาถึงปัจจุบันนี้ก็ล่วงเลยมาได้ 8 ปีแล้ว

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ในขณะเดียวกันที่คุณจงดีเริ่มประกอบอาชีพใหม่ในเมืองหลวง ประจวบเหมาะกับช่วงนั้นมีการเวียนที่คืน ซึ่งเป็นพื้นที่ใกล้ทางด่วนที่จะตัดเข้าตัวเมืองชุมพร ได้งบเวียนคืนมา 1.7 แสนบาท จากนั้นก็นำทุนที่ได้มาบุกเบิกพื้นที่ที่เคยเป็นป่าเพื่อปลูกปาล์มน้ำมัน “ตอนแรกจะปลูกยาง แต่มีคนคัดค้าน โ

ดยให้เหตุผลว่าผมอยู่กรุงเทพ ไม่ค่อยมีเวลาลงมาดู จะก่อให้เกิดผลเสียมากกว่าได้ เพราะยางต้องกรีด 3 วัน เว้น 2 วัน ผมลงมาเฝ้าบ่อยๆไม่ไหว และไม่มีคนคอยคุมคนงาน บางวันอาจจะได้กรีดบ้าง ไม่ได้กรีดบ้าง หรือบางวันกรีดเขาก็อาจจะบอกว่าไม่ได้กรีดก็ได้ แอบทำขี้ยางขายก็ได้  มันเป็นเรื่องที่ทุจริตกันง่าย

แต่หากเป็นปาล์มน้ำมันนี้ 15 วันตัดครั้ง เราไปกลับกรุงเทพ-ชุมพร มันคุ้ม อีกอย่างปาล์มดิบก็มาแอบตัดไปขายไม่ได้ด้วย ก็เลยตัดสินใจเลือกปลูกปาล์มน้ำมัน”

จากเหตุผลบางประการที่ทำให้เขาเลือกปลูกปาล์มน้ำมัน แทนที่จะเป็นยางพาราอย่างที่ตั้งใจไว้ตั้งแต่แรก แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้เขาผิดหวังสำหรับพืชตัวดังกล่าวที่เลือกมาปลูก โชคดีที่คุณจงดีมีเพื่อนที่ปลูกปาล์มน้ำมันอยู่เช่นกัน เขาจึงได้แบ่งซื้อต้นกล้าจำนวน 300 ต้น ในราคาต้นละ 65 บาท แต่ลงปลูกเพียง 130 ต้น ในพื้นที่เพียง 6 ไร่

“พื้นที่ปลูกของผมไม่มาก เพราะเน้นให้ดูแลได้ทั่วถึง อีกอย่างมีที่อยู่เท่านั้น ที่สำคัญ คือ ไม่ค่อยได้มีเวลาลงมาดูแลเท่าไร 15 วัน ถึงจะได้มาดูสวนสักครั้ง ปลูกในพื้นที่น้อยๆ อย่างนี้จะได้ไม่ลำบาก” เขากล่าวด้วยท่าทีสบายๆ ทั้งนี้เพราะการประกอบอาชีพหารายได้เขามีทั้งสองด้าน และไม่ต้องการสิ้นเปลืองเงินว่าจ้างแรงงานเพิ่ม

2.ปาล์มน้ำมันในแปลงยังคงให้ผลผลิตดี
2.ปาล์มน้ำมันในแปลงยังคงให้ผลผลิตดี

การให้ปุ๋ยและน้ำต้นปาล์มน้ำมัน

คุณจงดีเล่าต่อว่าทางสวนไม่ค่อยได้เน้นเคมีเพียงอย่างเดียว แต่จะนำสารชีวภาพอื่นๆ มาใช้ควบคู่ไปด้วย เพราะต้องการให้สภาพดินไม่แข็งกระด้าง ซึ่งจะยากในการกินอาหารของรากพืช วิธีจัดการสวนของเขาทำโดยใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ผสมกับใส่น้ำหมักชีวภาพจาก EM เท่านั้น

โฆษณา
AP Chemical Thailand

“บังเอิญว่าช่วงปี 2547 เป็นช่วงที่กำลังเริ่มทำ สวนปาล์มน้ำมัน ใหม่ๆ ทางการเคหะแห่งชาติได้จัดทัวร์อบรมฟรี ที่ จ.นครราชสีมา เรื่องเกี่ยวกับการทำน้ำหมักชีวภาพจาก EM เป็นเวลา 2 วัน 2 คืน เมื่อกลับมาจากอบรมก็ได้ทดลองทำ และนำมารองก้นหลุมก่อนปลูก หลังจากปลูกใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ใส่ 2 ครั้ง/ปี ผสมกับ EM และตามปกติใส่ปุ๋ยประมาณ 1-2 กิโลกรัม ต่อต้นต่อปี”

ผ่านไปประมาณ 8-12 เดือน ปาล์มน้ำมันที่สวนก็เริ่มออกทะลาย แต่ทางสวนยังไม่ตัดขายเพราะยังทะลายเล็กอยู่ และไม่ค่อยมีน้ำมันเท่าไร จนมาขายได้อีกครั้งเมื่อเช้าช่วงช่วงอายุ 18 เดือน เจ้าของสวนบอกว่าเมื่อครั้งแรกที่ขายได้เงินเพียง 600 บาท เท่านั้น ปัจจุบันปาล์มที่สวนอายุได้ 7-8 ปีแล้ว ผลผลิตโดยเฉลี่ย 3-4 ตัน/ปี/130 ต้น

3.ผลผลิตปาล์มน้ำมัน
3.ผลผลิตปาล์มน้ำมัน

ปัญหาและอุปสรรคใน สวนปาล์มน้ำมัน

การดำเนินกิจการร้านจำหน่ายอุปกรณ์รถจักยานยนต์กำลังดำเนินไปได้ด้วยดี พร้อมๆ กับการทำ สวนปาล์มน้ำมัน ที่สร้างรายได้เพิ่มขึ้นทุกปี เมื่อปาล์มมีอายุเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งทุกอย่างยุดชะงัก หลังจากมหาอุทกภัยครั้งใหญ่ของไทยเกิดขึ้น แม้ว่า สวนปาล์มน้ำมัน จะไม่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมครั้งนี้ หากแต่กิจการที่เปิดดำเนินการในพื้นที่เขตดอนเมืองถูกน้ำท่วมเสียหายหลายแสน ทำให้คุณจงดีไม่ได้ลงมาดูแล สวนปาล์มน้ำมัน เลยเป็นเวลากว่า 7 เดือนเต็ม

“เมื่อตอนน้ำท่วมใหญ่ที่กรุงเทพ บ้านผมก็โดนไปหนักเหมือนกัน เสียหายไปเยอะ เก็บอะไหล่ไม่ทัน หากตีเป็นยอดเงินแล้วก็เสียหายไปไม่ต่ำกว่า 2 แสนบาท และต้องคอยดูอยู่ตลอด ไม่รู้ว่าน้ำมันจะท่วมมากแค่ไหน และนานเท่าไร ทำให้ไม่ได้เข้ามาดูแลสวนเป็นเวลากว่า 7 เดือน กว่าจะเก็บกู้บ้านหลังน้ำท่วมเสร็จ กลับมาดูสวนอีกทีทำใจไม่ได้เลย รกมาก ตัดปาล์มได้แค่ 700 กิโลกรัม เพราะมันออกต้นละทะลาย สองทะลาย เท่านั้น”

แต่เมื่อเก็บกวาดซากที่หลงเหลือจากน้ำท่วมเรียบร้อยแล้ว เขาได้เดินทางไปดูสวนทันที สิ่งที่เขาเห็นแทบทำให้ล้มทั้งยืน เมื่อสภาพ สวนปาล์มน้ำมัน จัดว่ารกมาก ต้นปาล์มขาดธาตุอาหารที่ จำเป็นอย่างรุนแรง การออกทะลายแทบจะไม่มี เมื่อลองแทงทะลายที่พอมีอยู่ต้นละทะลาย สองทะลาย รวมทั้งหมดแล้วไปขายได้แค่ 700 กิโลกรัม เท่านั้นเอง หากแต่เขาได้ฮึดสู้ขึ้นมาอีกครั้ง และเร่งฟื้นฟูสวนปาล์มทันที

ขั้นแรกในขณะที่สภาพแปลงยังคงมีน้ำท่วมขัง หรือดินยังมีความชื้นสูงอยู่ จะงดการนำเครื่องจักรกลหนัก ตลอดจนคน และสัตว์เลี้ยง เข้าไปเหยียบย่ำบริเวณโคนต้นปาล์มในแปลงปลูก เพราะจะทำให้โครงสร้างดินถูกทำลาย และเกิดการอัดแน่นได้ง่าย ส่งผลเสียต่อการไหลซึมของน้ำ และการระบายอากาศ รวมทั้งจะกระทบกระเทือนต่อระบบราก อาจทำให้ต้นทรุดโทรมหรือตายได้ หลังจากนั้นพยายามหาทางระบายน้ำให้ออกจากบริเวณโคนต้นพืชโดยเร็ว รักษาระดับน้ำให้ต่ำกว่าบริเวณโคนต้นปาล์มน้ำมันประมาณ 50 เซนติเมตร

โฆษณา
AP Chemical Thailand

สำหรับในกรณีที่สภาพแปลงที่มีการถูกชะล้างนำเอาหน้าดิน หรือทราย มาทับถมบริเวณแปลง หลังน้ำลดและดินแห้งแล้วควรทำการขุด หรือปรับดินเหล่านั้นออกจากโคนต้น นอกจากนี้ต้นปาล์มน้ำมันที่ล้มหรือเอนเอียงควรจัดการให้ต้นปาล์มน้ำมันตั้งตรงเช่นเดิม

4.เมล็ดและทะลายสมบูรณ์
4.เมล็ดและทะลายสมบูรณ์

การบำรุงดูแลรักษาต้นปาล์มน้ำมัน

ต้นปาล์มน้ำมันที่ให้ผลผลิตแล้ว หากน้ำท่วมทะลายเป็นเวลานานจะทำให้ทะลายเน่า ควรตัดทะลายที่เน่าทิ้ง เพราะถ้าปล่อยคาต้นไว้จะทำให้เชื้อราเข้ามาทำลาย และจะลุกลามไปถึงทะลายอื่นๆ หรืออาจจะทำให้ยอดเน่าถึงกับตายได้ ทั้งนี้เพื่อช่วยให้ต้นปาล์มน้ำมันฟื้นตัวเร็วขึ้นควรมีการฉีดพ่นปุ๋ยทางใบให้บ้าง เพราะระบบรากของพืชยังไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ โดยเลือกใช้ปุ๋ยน้ำสูตร 12-12-12, สูตร 19-9-6 หรือปุ๋ยเกร็ดสูตร 21-21-21 และสูตร 16-21-27

คุณจงดีเผยให้ทราบอีกว่าภายหลังน้ำท่วมมักเกิดปัญหาโรคที่เกิดจากเชื้อราตามมา เช่น ทะลายเน่า รากเน่า ควรใช้สารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อราช่วย ต่อมาเมื่อดินในแปลงแห้งแล้วควรมีการพรวนดินเพื่อเพิ่มออกซิเจนให้แก่ต้นปาล์ม จะช่วยทำให้รากพืชแตกใหม่ได้ดีขึ้น

 “การบำรุงดูแลปาล์มหลังจากน้ำท่วมนี้เป็นงานยากกว่าเราปลูกใหม่อีก แต่ปาล์มเรามันโตแล้ว เราก็ต้องอดทนเอา มันก็ไม่ได้ยากเกินไป เพียงแต่เราต้องรู้วิธีการดูแล ต้องคอยระวังทั้งเรื่องของระบบราก ทั้งเรื่องของเชื้อรา และต้องมีความรู้เรื่องการให้ธาตุอาหารให้ตรงความต้องการสำหรับต้นที่เขาอยู่ในช่วงอ่อนแอ

แต่แล้วผมก็ผ่านมาได้ หลังจากปาล์มฟื้นตัวได้แล้วเขาก็ให้ผลผลิตได้เหมือนเดิม ผมก็มีบ้างที่หาอาหารเสริมอื่นมาใส่บ้าง อันไหนเขาว่าดี หรือช่วยฟื้นฟูสภาพต้นได้เร็ว ผมก็ซื้อมาใส่ ตอนนี้ปาล์มน้ำมันในแปลงผมให้ผลผลิตเป็นที่น่าพอใจครับ”

5.น้ำหนักต่อทะลายเป็นที่น่าพอใจของเจ้าของสวนมาก
5.น้ำหนักต่อทะลายเป็นที่น่าพอใจของเจ้าของสวนมาก

การเก็บเกี่ยวผลผลิตปาล์มน้ำมัน

สิ่งที่ยืนยันได้อีกเรื่อง คือ น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น ทางสวนจะมีการจ้างคนตัดปาล์ม สำหรับผู้ที่ตัดปาล์มเป็นประจำจะสามารถประเมินน้ำหนักต่อทะลายได้ แต่เมื่อได้เข้ามาตัดปาล์มแม้จะมองผิวเผินจะเห็นขนาดของทะลายเท่าเดิม หากแต่น้ำหนักเพิ่มขึ้นกว่า 2-3 กิโลกรัม/ทะลาย และการเก็บผลผลิตที่ผ่านมาได้ 1,200 กิโลกรัม/ปาล์ม 130 ต้น ส่งขายประจำที่สหกรณ์ตำบลบางลึก

โฆษณา
AP Chemical Thailand

เพียงเท่านี้ก็สามารถเรียกความเชื่อมั่นจากคุณจงดีได้มากสำหรับประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ดังกล่าว เพราะทำให้เขาได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

ขอขอบคุณ จงดี ปรีชามาตร