กัญชง พืชเศรษฐกิจ อนาคตไกล เส้นใยคุณภาพ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

กัญชง สามารถเป็นพืชเศรษฐกิจเต็มตัว ผ้าใยกัญชง ผลงาน สนช. และ ดีดี เนเจอร์ คราฟ ใยกัญชง มีความแข็งแรง เปลือก กัญชง เมล็ดกัญชง ผ้ากัญชง ขอขอบคุณ นิตยสารยางเศรษฐกิจ [กดลิ๊ง]

[อัพเดท] เรื่อง กัญชง ขณะนี้ นายศิรินทร์ยา สิทธิชัย เลขาฯ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส) ให้กัญชง หรือแฮมพ์ ผ่านการพิจารณาจาก ค.ร.ม ให้เป็นพืชเศรษฐกิจ สามารถปลูกเชิงอุตสาหกรรมได้แล้ว โดยใช้ปลูก 6 จังหวัด 15 อำเภอ เชียงใหม่ 4 อำเภอ ได้แก่ แม่วาง แม่ริม สะเมิง และแม่แจ่ม เชียงราย 3 อำเภอ ได้แก่ เทิง เวียงป่าเป้า และแม่สาย น่าน 3 อำเภอ ได้แก่ นาหมื่น สันติสุข และสองแคว ตาก ที่ อ.พบพระ เพชรบูรณ์ 3 อำเภอ ได้แก่ เมืองหล่มเก่า เขาค้อ และ อ.เมืองแม่ฮ่องสอน ซึ่งโรงงานยาสูบจะรับซื้อทั้งหมด

ติดต่อสอบถาม 084-468-6369

พืชที่มีสารเสพติดออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท คนไทยต้องรู้จักกัญชา แต่ถ้าถามว่ารู้จัก กัญชง มั๊ย น้อยคนที่รู้จัก

เป็นพืชที่มีสารออกฤทธิ์เช่นเดียวกับกัญชา จึงเป็นพืชที่ต้องมีกฎหมาย ห้ามครอบครอง ห้ามเสพ และห้ามขาย เพราะเป็นพืชที่มีสารเสพติด

แต่ของทุกอย่างบนโลกใบนี้มักจะมี 2 อย่างอยู่ในตัว มีขั้วบวก มีขั้วลบ มีข้อดี มีข้อเสีย มีประโยชน์ และมีโทษ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ข้อดีของกัญชง

ที่คนไทยกลุ่มหนึ่งมองเห็นตรงกันกับชาวโลกก็คือ เมื่อปลูกแล้วอายุ 4 เดือน ทั้งเปลือก และลำต้น ของกัญชง กลายเป็นวัตถุดิบสำคัญต่อการนำไปพัฒนาเป็นสินค้าต่างๆ ที่ตลาดต้องการ

  1. เรื่อง กัญชง ต่างประเทศมีการวิจัยและพัฒนา ตั้งแต่ ราก ลำต้น และเมล็ด เพื่อหาประโยชน์จากส่วนต่างๆ ใน กัญชง
  2. “ เมล็ดกัญชง  มีโอเมก้า 3 มากกว่าปลาแซลมอนถึง 3 เท่า
  3. น้ำมันที่สกัดจากเม็ดกัญชงมีคุณสมบัติต้านมะเร็งเป็นอย่างดี
  4. เส้นใยของกัญชงแข็งแรงกว่าผ้าคอตตอนถึง 8 เท่า ทำหน้าที่กันน้ำ กันฝุ่น กันเชื้อรา และกันแสงยูวี 25%
  5. นอกจากนี้กัญชงมีลักษณะพิเศษ คือ กันไฟฟ้าสถิตได้ 100% และทนความร้อนได้ดีมาก แม้เจอความร้อนถึง 170 องศาฯ ก็ไม่ไหม้

กัญชง จึงเป็นพืชเศรษฐกิจเต็มตัวในต่างประเทศ ต่างจากไทยเป็นพืชต้องห้าม เพราะเป็นพืชเสพติด รัฐเพียงเปิดช่องเล็ก ทำ ประโยชน์จากกัญชง คือ ให้ชนกลุ่มน้อย เช่น ชาวม้ง ปลูกแล้วนำมาแปรรูปใช้สอยในชุมชน หากเหลือจึงจะขายได้

คุณ อาทิตย์ ฤทธีวารี ผู้แปรรูป กัญชง ให้เป็นสินค้าต่างๆ
คุณ อาทิตย์ ฤทธีวารี ผู้แปรรูป กัญชง ให้เป็นสินค้าต่างๆ

เรื่องนี้ คุณอาทิตย์ ฤทธีราวี เจ้าของ บริษัท ดีดี เนเจอร์ คราฟ จำกัด นักส่งเสริมชาวม้งด้านกัญชง ได้ร่วมกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) เข้าไปศึกษาชาวม้งที่ปลูกกัญชง แล้วมาแปรรูปเอา เส้นใย ของมันมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยทิ้งของเสียไว้บนดอย โดยเฉพาะเปลือกกัญชงที่มองกันว่าเป็นของเสีย ปรากฏว่าเมื่อนำมาปั่นให้ละเอียดแล้วนำไปผสมในเนื้อยางพาราในอัตรากัญชงต่อยาง 25:75 จึงให้ บริษัท เมืองทอง จำกัด ผลิตยางแผ่นใช้ในการทำพื้นพรมในรถยนต์ เนื่องจากกัญชงมีคุณสมบัติในการจุดไฟฟ้าสถิต และยางพาราก็เป็นฉนวนไฟฟ้าอยู่แล้ว พอนำกัญชงไปรวมกับยางทำให้กันไฟฟ้าสถิต 100%

นอกจากนี้ทางบริษัท ดีดีฯ ซึ่งทำธุรกิจ ผ้ากัญชง เป็นหลัก ได้ทดลองนำผ้ากับยางมาติดกัน ด้วยการใช้ความร้อน 170 องศาฯ ละลายยางที่อยู่ด้านบนให้ลงมาติดกับผ้ากัญชงที่อยู่ด้านล่างได้สำเร็จ สร้างความภูมิใจมาสู่ 2 บริษัท และ สนช.

เพราะแผ่นยางแผ่นใหญ่ๆ ที่กำหนด ความหนา ได้กำหนดลายด้านล่างได้ สามารถตัดได้หลายขนาดตามที่ลูกค้าต้องการ เช่น ทำพื้นรองเท้า พรมปูพื้น วัสดุรองพีซียู เพราะมันกันไฟฟ้าสถิตนั่นเอง และ ผ้ากัญชง ระบายความชื้นได้ดี

จึงไม่มีแบคทีเรียและเชื้อรามารบกวน แม้แต่ เศษผ้า ที่เหลือจากการตัดเย็บของชาวม้งเป็นของไร้ค่า บริษัท ดีดีฯ ก็ทำให้เป็นของมีค่า ด้วยการนำไปให้ครูบนดอยสอนให้เด็กทำกระเป๋า เป็นต้น

โฆษณา
AP Chemical Thailand
กระเป๋าเส้นใยกัญชง
กระเป๋าเส้นใยกัญชง

“ ตอนคุยกับ สนช. ถ้าเราจะทำนวัตกรรมกับเขา เราต้องมีเมนโฟกัส ทำเพื่ออะไร เพื่อกลุ่มไหน เมื่อปี 2013 รถอีโคคาร์มาแรง ดันสินค้าเป็นพรมปูพื้นในรถยนต์  คุณอาทิตย์เปิดใจถึงรูปแบบทำงานร่วมกับ สนช. จนกระทั่งผลิตพรมปูพื้นในรถยนต์ยี่ห้อมิราสสำเร็จ

แต่ยังมีจุดอ่อนตรงที่ทำความสะอาดไม่ได้ และพรมทนแรงขัดถูไม่ได้ จึงต้องทำวิจัยและพัฒนาต่อในปีนี้ เพื่อให้สำเร็จในเชิงพาณิชย์ เช่น อาจใช้สารธรรมชาติบางตัวมาผสมแล้วทำให้มันสกปรกน้อยลง

หรือใส่สารบางอย่างที่ทำให้มันสะอาดได้ หรืออาจต้องนำไปทำสิ่งของที่ไม่ต้องขัดถูทุกวันแล้วใช้ได้ทันที ซึ่งเรื่องนี้ ดร.สิงห์ อินทรชูโต อาจารย์คณะสถาปัตย์ฯ ม.เกษตร บางเขน ได้ให้คำปรึกษาเรื่องนี้

รองเท้าผ้ากัญชง
รองเท้าผ้ากัญชง

อย่างไรก็ดีเวลานี้ บริษัท ดีดีฯ มุ่งขายผ้ากัญชง กระเป๋า หรือเส้นใยกัญชง ไปที่ญี่ปุ่นถึง 80% และยุโรป 10% แต่แผ่นยางจากกัญชงขายที่ยุโรป 50% อีก 50% ไปประเทศอื่นๆ

ทางยุโรปและอเมริกาเราจะขายยางเป็นแผ่นๆ ขนาด 1 x 1 เมตร เป็นหลัก คุณอาทิตย์ยืนยัน นอกจากนี้ทางบริษัทยังได้เจรจากับ บริษัท บางกอก รับเบอร์ฯ เครือสหพัฒน์ เรื่องทำตลาด รองเท้าผ้ากัญชง ในแบรนด์ของเขา

อย่างไรก็ดีเมื่อกัญชงเป็นพืชควบคุม ทำให้ขยายปริมาณการผลิตไม่ได้ ทำให้ ผ้ากัญชง ไม่พอ เพราะเวลาโรงงานสั่งมักจะสั่งครั้งละเกือบ 2,000 คู่ จึงยังไม่ได้ผลิตรองเท้าในเชิงพาณิชย์ เพียงแต่ผลิตเฉพาะรองเท้าต้นแบบเท่านั้น

โฆษณา
AP Chemical Thailand

สำหรับตลาดในประเทศ สินค้าตัวไหนขายดี ก็มีคำตอบจากคุณอาทิตย์ว่าพวกเส้นด้ายและผ้าผืนขายดี อย่าง เส้นด้าย ขนาด 50 กรัม ลูกค้าสั่งครั้งละ 2-3 กก. บางคนสั่งครั้งแรก 1 กก. พอผ่านไปอาทิตย์เดียวสั่งอีก 10 กก.

อาทิตย์ต่อมาสั่ง 15 กก. ลูกค้ารายนี้อยู่ภูเก็ต ซื้อด้ายกัญชงไปถักเป็นหมวกขายนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศใบละ 1,200 – 1,500 บาท

สินค้าต่างๆ แปรรูป จาก กัญชง
สินค้าต่างๆ แปรรูป จาก กัญชง

อย่างไรก็ดีเส้น ใยกัญชง ประเทศจีนเป็นผู้ผลิตและส่งออกอันดับ 1 ของโลก โดยผลิตจากเครื่องจักรเป็นหลัก เพราะผลิตครั้งละมากๆ ทำให้ต้นทุนต่ำ ต่างจากไทยที่ผลิตด้วยมืออย่างเดียว

อนาคตหรือครับ มีมาก ถ้าเราไปถูกทาง ก็เหมาะ คือ มันเป็นเสื่อในห้อง ไฟฟ้ามันไม่วิ่ง ดีกว่าเดินบนพื้นกระเบื้อง หรือบนพรม ในต่างประเทศจึงนำไปทำพรมรองพื้นกันลื่น เป็นต้น คุณอาทิตย์มั่นใจใน ตลาดกัญชง

เมื่อถามเรื่องทิศทางธุรกิจ ปี 60 คุณอาทิตย์เปิดเผยว่า คงเน้นเรื่องผ้าและเส้นใยจากกัญชง ดันให้สุดๆ ไปเลย โดยมุ่งเจาะตลาดญี่ปุ่นให้มากขึ้น

ต้องยอมรับความจริงว่าการผลิตเส้นด้ายจาก ต้นกัญชงให้มีคุณภาพที่เป็นจุดขายของบริษัท ดีดีฯ อยู่ที่การใช้นวัตกรรมด้วย นำวิตามิน E ไปต้มกับเส้นด้ายจนนุ่ม แล้วอบโอโซนถึงขั้นเป็นเสื้อยืดได้

โฆษณา
AP Chemical Thailand

เมื่อกรอแล้วทำเป็นม้วนขนาด 50 กรัม ราคาม้วนละ 100 บาท บางวันขายกว่า 200 ม้วน โดยเฉพาะเมื่อเปิดร้านในงานต่างๆ จะขายดีมาก

10 ปี ที่บริษัท ดีดี เนเจอร์ คราฟ บุกเบิกและพัฒนา กัญชง โดยมุ่งส่งเสริมชาวม้งนั้น คุณอาทิตย์ยอมรับว่าประสบความสำเร็จที่ทำให้ชาวโลกรู้จัก HEMP ไทยมากขึ้น ถ้าในทางธุรกิจก็ถือว่ามาครึ่งทางแล้ว แต่ถ้ามองในด้านสังคม เด็กๆ ในชุมชนโตขึ้นมาก ชุมชนมีห้องเก็บกัญชง และมีอุปกรณ์ต่างๆ เป็นต้น

จึงไม่ต้องแปลกใจที่บริษัท ดีดีฯ ได้รับรางวัลนวัตกรรมยอดเยี่ยมจาก สนช. เมื่อปี 2556 และได้รางวัลชมเชย ปี 2559 จากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ

 

บริษัท ดีดี เนเจอร์ คราฟ จำกัด

4 ซอย 1 ตรอก 3 หมู่บ้านสุดจิตต์นิเวศน์ ถ.พระราม 2

แสมดำ บางขุนเทียน กรุงเทพฯ 10150

โฆษณา
AP Chemical Thailand

โทร.081-911-0147

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.)

73/2 ถ.พระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

โทร.02-017-5555

กัญชง

ผ้าใยกัญชง, ผ้ากัญชง, ใยกัญชง, เปลือกกัญชง, เมล็ดกัญชง, สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.), ประโยชน์จากกัญชง, รองเท้าผ้ากัญชง, HEMP