ผลพวงจากปัญหาราคายางพาราตกต่ำในปัจจุบัน ทำให้ชาวสวนยางได้รับผลกระทบเป็นวงกว้าง ส่งผลให้ภาครัฐต้องคลอดมาตรการโอบอุ้ม และกระตุ้นการใช้ยางในประเทศ เพื่อใช้เป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาราคายางพาราตกต่ำ และเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยาง การกรีดยาง
เพื่อนำยางมาใช้ในโครงการต่างๆ เช่น แผ่นยางรองรางรถไฟ โครงการโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ เป็นต้น ตลอดจนออกมาตรการเร่งรัดให้หน่วยงานราชการนำยางไปใช้อีกราว 50,000-80,000 ตัน รวมทั้งยังขอความร่วมมือ ทั้งภาคเอกชน และรัฐบาล เร่งซื้อยางมากขึ้น นอกจากนี้ผลต่อเนื่องของการควบคุมอุปทานยางในประเทศอาจมีส่วนช่วยผลักดันราคาให้กระเตื้องขึ้นได้
การปลูกยางพารา
ผลพวงจากปัญหาราคายางพาราตกต่ำในปัจจุบัน ทำให้ชาวสวนยางได้รับผลกระทบเป็นวงกว้าง ส่งผลให้ภาครัฐต้องคลอดมาตรการโอบอุ้ม และกระตุ้นการใช้ยางในประเทศ เพื่อใช้เป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาราคายางพาราตกต่ำ และเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยาง
เพื่อนำยางมาใช้ในโครงการต่างๆ เช่น แผ่นยางรองรางรถไฟ โครงการโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ เป็นต้น ตลอดจนออกมาตรการเร่งรัดให้หน่วยงานราชการนำยางไปใช้อีกราว 50,000-80,000 ตัน รวมทั้งยังขอความร่วมมือ ทั้งภาคเอกชน และรัฐบาล เร่งซื้อยางมากขึ้น นอกจากนี้ผลต่อเนื่องของการควบคุมอุปทานยางในประเทศอาจมีส่วนช่วยผลักดันราคาในไตรมาสแรกปี 2561 ให้กระเตื้องขึ้นได้
สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ปัจจุบันเปรียบเสมือนดินแดนยุคทองของยางพารา โดยเฉพาะจังหวัดบึงกาฬ ถือเป็นศูนย์กลางปลูกยางพาราที่มีศักยภาพสูง โดยมีพื้นที่ปลูกยางมากที่สุดของภาคอีสาน โดยข้อมูลจาก “สำนักงานเศรษฐกิจเกษตร” พบว่า จังหวัดบึงกาฬมีพื้นที่ปลูกยางพาราไม่ต่ำกว่า 1 ล้านไร่ ซึ่งผลผลิตรวมกว่า 760,000 ตัน/ปี หรือคิดเป็นมูลค่ากว่า 18,000 ล้านบาท ด้วยเหตุนี้ จ.บึงกาฬ ที่เปรียบเสมือนเป็นศูนย์กลางการปลูกยางพาราที่มีศักยภาพสูง จึงเป็นแหล่งดึงดูดให้นักลงทุนเข้ามาตั้งโรงงานแปรรูป โดยขณะนี้มีโรงงานรับซื้อยางพารารายใหญ่เข้ามาจัดสร้างหลายโรง และล่าสุดเป็นกลุ่มทุนจากประเทศจีน ซึ่งพร้อมแล้วที่จะตั้งโรงงานแปรรูปยางเพิ่มอีกราย
เหตุที่ จ.บึงกาฬ กลายเป็นจุดโฟกัส และเป็นเป้าหมายปลายทางของอุตสาหกรรมยางพารา เพราะว่าในอนาคต จ.บึงกาฬ จะต้องพัฒนาไปสู่การแปรรูป ภายใต้การขับเคลื่อนของรัฐบาลที่มีนโยบายในการผลักดันให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็น “อุตสาหกรรมยางพาราของประเทศ” และ “เป็นศูนย์กลางยางพาราของอาเซียน” ซึ่งจะต้องมีกระบวนการเตรียมความพร้อมให้ชาวสวนยางและองค์กรเกษตรให้มีความเข้มแข็ง สามารถพัฒนาระบบการบริหารจัดการยางพาราให้มีประสิทธิภาพ เป็นเอกภาพเกี่ยวกับการแก้ปัญหาราคายางพาราตกต่ำ ตามคอนเซ็ปต์ เกษตรไทยแลนด์ 4.0 ต้องมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน
คุณทรงธรรม์ สวนียะ เกษตรกรชาวสวนยาง จ.บึงกาฬ
ด้วยเหตุผลทั้งหมดทั้งมวลที่เกริ่นนำข้างต้นมานี้ นิตยสารพลังเกษตร ขอนำเสนอ “บึงกาฬโมเดล” ที่กำลังได้รับการพัฒนาจากทุกภาคส่วน ให้ยกระดับสู่จังหวัดต้นแบบ และเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมยางพาราที่มีศักยภาพมากที่สุดของประเทศในปัจจุบัน จึงขอนำผู้อ่านมารู้จักกับชาวสวนยางท่านหนึ่งซึ่งอดีตเคยทำงานราชการกรมประชาสงเคราะห์ โดยทำงานอย่างบูรณาการร่วมกับกรมวิชาการเกษตร ในการมุ่งมั่นพัฒนาและส่งเสริมเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ และหลายจังหวัดในพื้นที่ภาคอีสาน ให้หันมาปลูกยางพารา
ตลอดจนมีส่วนช่วยผลักดัน แปรรูปเพิ่มมูลค่าผลผลิต จากพี่น้องชาวสวนยาง เพื่อความอยู่รอด และพัฒนาองค์ความรู้ สร้างความเข้มแข็งในอาชีพปลูกยางอย่างยั่งยืน
บุคคลที่กล่าวถึงนั้น คือ คุณทรงธรรม์ สวนียะ ปัจจุบันมีอาชีพเป็นเกษตรกรชาวสวนยาง อยู่ในพื้นที่หมู่ 12 ต.หอคำ อ.เมืองบึงกาฬ จ.บึงกาฬ โดยคุณทรงธรรม์ คือ ผู้บุกเบิกส่งเสริมการปลูกยางพารามาตั้งแต่ปี พ.ศ.2531 ในพื้นที่จังหวัดหนองคาย ก่อนจะแยกออกมาเป็นจังหวัดบึงกาฬในปัจจุบัน ตลอดจนส่งเสริมการปลูกยางในจังหวัดอื่นๆ ภาคอีสานด้วย
คุณทรงธรรม์เล่าย้อนอดีตเส้นทางการเป็นผู้บุกเบิกและปฏิวัติวงการปลูกยางพาราในภาคอีสานเป็นรายแรกๆ ว่า สมัยก่อนเคยทำงานรับราชการกรมประชาสงเคราะห์ประจำอยู่ที่ภาคใต้ ทำให้ตนเองคลุกคลีและมีความรู้เรื่องการปลูกยางพาราจากชาวสวนยางที่รู้จักในท้องถิ่น ต่อมาได้ย้ายไปประจำในหลายๆ จังหวัด ก่อนชีวิตการทำงานในช่วงท้ายมาประจำอยู่ที่จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งขณะนั้นบทบาทหน้าที่หลักๆ ก็ยังคงเป็นการส่งเสริมให้ชาวบ้านในพื้นที่หันมาปลูกยางพาราแซมการปลูกไม้ผลเพื่อเพิ่มผลผลิต
สมัยนั้นกรมวิชาการเกษตรร่วมกับสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) มีการส่งเสริมและสนับสนุนเงินทุนและพันธุ์กล้ายางให้ชาวสวนปลูกยาง โดยเป็นเรื่องปกติที่ครั้งแรกชาวบ้านและเกษตรกรในพื้นที่จะไม่ยอมรับต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและการประกอบอาชีพของพวกเขา โดยคุณทรงธรรม์บอกว่าได้ทำงานร่วมกับภาครัฐ ภายใต้โครงการ “อีสานเขียว” ของคณะรัฐมนตรีสมัยนั้น ในการอนุมัติเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2554 งบกลาง และรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินโครงการปลูกยางพาราในที่แห่งใหม่ระยะที่ 3 พ.ศ. 2553-พ.ศ.2555 ตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง “มาตรา 21 ทวิ” (พ.ร.บ.การยาง) ในสมัยนั้น
จุดเริ่มต้นการปลูกยางในภาคอีสาน
“สมัยนั้นผมกับเจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตร เราทำงานขับเคลื่อนกันแบบบูรณาการ เป้าหมายเพื่อผลักดันส่งเสริมให้เกษตรกรในพื้นที่ภาคอีสานหันมาให้ความสำคัญและมองเห็นคุณค่าของการปลูกยางพาราผสมผสานกับการปลูกข้าว ปลูกพืชชนิดอื่นๆ ส่วนใหญ่ ได้แก่ มันสำปะหลัง ข้าวโพด เป็นต้น
ทั้งนี้ได้มีการแก้กฎหมายมาตรา 21 ทวิ อนุญาตให้ราษฎรสามารถปลูกยางพาราได้ในเขตนิคมอุตสาหกรรม และเขตที่ดิน สปก. ทั้งนี้ก็เพื่อให้ราษฎรมีรายได้ที่เพิ่มมากขึ้น ผ่านรูปแบบมอบทุนส่งเสริมให้เกษตรกรจำนวนกว่า 4,000 บาท/ราย พร้อมสนับสนุนทุนค่ายา ค่าปุ๋ย ค่าบำรุงรักษา ตลอดจนค่าพันธุ์ยาง โดยสมัยนั้นมีการส่งเสริมให้ปลูกพันธุ์ RRIM600 มากที่สุด เพราะทนทานต่อสภาพอากาศ รวมถึงให้น้ำยางดี
โดยพื้นที่ทดลองนำร่องปลูกในระยะแรก ได้แก่ จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดหนองคาย จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดสกลนคร และจังหวัดมุกดาหาร เป็นต้น โดยมีการทดลองปลูกและเก็บบันทึกข้อมูลภายใต้การทำงานร่วมมือกันของกรมวิชาการเกษตร และ สกย. รวมทั้งศูนย์วิจัยยางสงขลา ซึ่งภายหลังมีการจัดสร้างขยับขยายเป็นศูนย์วิจัยยางหนองคาย โดยผลสรุปงานวิจัยพบว่าคุณภาพยางที่ทดลองปลูกในจังหวัดพื้นที่ภาคอีสานนั้นมีคุณภาพน้ำยางเทียบเท่ากับการปลูกในพื้นที่หลายจังหวัดทางภาคใต้ สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตส่งขาย และส่งออกสร้างรายได้ได้เป็นอย่างดี” คุณทรงธรรม์เล่าย้อนจุดเริ่มต้นของการปลูกยางในภาคอีสาน
เคล็ดลับและเทคนิคการกรีดน้ำยาง การกรีดยาง
ทั้งนี้โดยส่วนตัวคุณทรงธรรม์เมื่อย้อนกลับไปก่อนที่จะเกษียณอายุราชการก็เริ่มต้นทำสวนยางมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2531 โดยเริ่มต้นปลูกยางพาราแปลงแรกพื้นที่ประมาณ 50 ไร่ กระทั่งถึงปัจจุบันนี้คุณทรงธรรม์มีสวนยางในพื้นที่ปลูกกว่า 500 ไร่ จำนวนต้นยางประมาณ 1,500 ต้น
โดยใช้วิธีจ้างเกษตรกรและชาวบ้านในพื้นที่ร่วมกว่า 10 ครอบครัว มาช่วยกรีดน้ำยาง และดูแลจัดการสวนยางทั้งหมด เนื่องจากด้วยอายุที่มากขึ้นของคุณทรงธรรม์จึงไม่สามารถดูแลสวนยางคนเดียวได้อย่างทั่วถึง ซึ่งการบริหารจัดการสวนยางในแต่ละวัน คุณทรงธรรม์ยกตัวอย่างคร่าวๆ ว่าจ้างพี่น้องชาวสวนยางในหมู่บ้านให้กรีดน้ำยางสองวัน เว้นหนึ่งวัน ตลอดจนให้ช่วยกำจัดวัชพืช โดยค่าใช้จ่าย ค่ายา ค่าปุ๋ย ช่วยกันออกคนละครึ่ง
สำหรับเคล็ดลับและเทคนิคการกรีดน้ำยางให้ได้ปริมาณมาก และได้คุณภาพสูง ตลอดจนไม่ทำลายหน้ายาง คุณทรงธรรม์เปิดเผยว่าปัจจุบันชาวสวนยางบึงกาฬทุกคนหันมาใช้ “มีดกรีดยางนกเงือก” คุณสมบัติกรีดได้เร็วขึ้น ย่นระยะการกรีด กรีดง่าย กรีดสบาย สะดวก ประหยัดเวลา ยิ่งปลูกพันธุ์ RRIM600 เปลือกบางจะยิ่งกรีดดี กรีดบาง หน้ายางแคบ ไม่ทำลาย และไม่เปลืองหน้ายาง ให้ผลผลิตน้ำยางออกมาสม่ำเสมอ ซึ่งคุณทรงธรรม์บอกว่าชาวสวนยางทุกคนที่นี่ต้องผ่านการฝึกฝนการใช้มีดนกเงือก โดยเฉพาะคนเปิดกรีดที่ต้องฝึกฝนการใช้มีดนกเงือกให้เกิดความชำนาญเสียก่อน มิฉะนั้นคุณทรงธรรม์เผยว่าจะไม่มีการจ้างงานให้กรีดยาง
คุณมะนายิ ราหู เกษตรกรชาวสวนยาง จ.นราธิวาส
สำหรับ “มีดกรีดยางนกเงือก” ถือเป็นนวัตกรรมและอุปกรณ์การเกษตรที่สำคัญของชาวสวนยาง มีความทนทานกว่ามีดกรีดยางรุ่นเก่า หรือที่เรียกกันว่า “เจ๊ะบง” ทั้งนี้มีดกรีดยางนกเงือกจุดกำเนิดมาจากการคิดค้นประดิษฐ์ขึ้นของชาวสวนยางภาคใต้ ยกตัวอย่าง มีดกรีดยางนกเงือกที่คิดค้นโดย คุณมะนายิ ราหู เกษตรกรชาวสวนยาง อ.แว้ง จ.นราธิวาส ซึ่งปัจจุบันเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในแวดวงสื่อมวลชน และภาคการเกษตรชาวสวนยางทั่วประเทศ
โดยนวัตกรรมมีดกรีดยางนกเงือกได้รับการจดแจ้งอนุสิทธิบัตรอย่างถูกต้อง และได้รับรางวัลดีเด่น อาทิเช่น โครงการประกวดนวัตกรรมมุ่งเป้าประเภทยางพาราปี พ.ศ.2557 จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ NRCT, เกียรติบัตรรางวัลชนะเลิศด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ จากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ประจำปี พ.ศ.2556
สำหรับคุณค่าของมีดกรีดยางนกเงือก ยกตัวอย่าง ตั้งแต่สมัยอดีตพี่น้องชาวสวนยางต้องสูญเสียรายได้มหาศาลจากการใช้มีดกรีดยางรุ่นเก่า (เจ๊ะบง) มาเป็นเวลาเกือบ 100 ปี เพราะการใช้มีดรุ่นเก่ากรีดต้นยาง ใบมีดจะกินหน้ายางลึกกว่า 3-4 มม. ทำให้สูญเสียหน้ายางเกินความจำเป็น ส่งผลต่อการเก็บเกี่ยวผลผลิตครั้งต่อๆ ไป โดยหากหมดหน้ายางกรีดแล้วจำเป็นต้องโค่นทิ้งและปลูกใหม่ ซึ่งต้องใช้เวลาปลูกต้นยางอีกประมาณ 7-8 ปี จึงจะทำการเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ใหม่อีกครั้ง
ต่อมาพี่น้องชาวสวนยางได้รู้จักนวัตกรรมการใช้มีดกรีดยางนกเงือก ซึ่งเป็นที่ยอมรับและเป็นที่รู้จักมากขึ้น ทั้งนี้สิ่งประดิษฐ์ดังกล่าวยังได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ หรือ NIA สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง หรือ สกย. และศูนย์วิจัยยางในแต่ละจังหวัด รวมถึงกรมวิชาการเกษตร เป็นต้น เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้นวัตกรรมมีดนกเงือกให้กับพี่น้องเกษตรกรที่ยังเข้าไม่ถึงนวัตกรรมและองค์ความรู้ดังกล่าว รวมถึงส่งเสริมให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในภาคการเกษตรและการปลูกยางพารา ตลอดจนผลักดันศูนย์วิจัยยางในจังหวัดอื่นๆ เพื่อนำนวัตกรรมมีดนกเงือก พร้อมความรู้เหล่านี้นำไปถ่ายทอดสู่พี่น้องเกษตรกรทั่วประเทศให้ได้มากที่สุด
คุณสมบัติของมีดนกเงือก
1.ใช้มีดนกเงือก น้ำยางเพิ่มขึ้น 10-15 เปอร์เซ็นต์ ประเทศไทยมีสวนยางที่กรีดได้ประมาณ 12 ล้านไร่ เสมือนว่าประเทศไทยมีสวนยางที่ใช้กรีดได้เพิ่มขึ้นอีก 15 เปอร์เซ็นต์ คำนวณรายได้เป็นจำนวนเงินมหาศาล
2.กรีดได้บาง ประมาณ 1 มม. เปรียบเทียบมีดเจ๊ะบง (รุ่นเก่า) ความหนาอยู่ประมาณ 3-4 มม. เสียหน้ายางกรีดโดยใช่เหตุ
3. ใช้มีดนกเงือก จากการประเมินผลกรีด 1 ปี เสียพื้นที่หน้ากรีด 8 นิ้ว หากใช้มีดรุ่นเก่า 1 ปี เสียพื้นที่หน้ากรีด 24 นิ้ว ประหยัดพื้นที่หน้ากรีด 1:3 ช่วยยืดผลผลิตมากถึง 50 ปี หากใช้มีดเจ๊ะบง (รุ่นเก่า) จะกรีดได้เพียง 20- 25 ปี ต้องโค่นและปลูกใหม่ ต้นทุนปลูกใหม่ 1 ไร่ ประมาณ 50,000 บาท/ไร่ คิดเป็น 50,000 บาท x 12 ล้านไร่ (จำนวนสวนยางของประเทศไทยที่กรีดได้) = 600,000 ล้านบาท หากใช้ “มีดนกเงือก” เท่ากับว่าประเทศชาติได้สวนยางเพิ่มขึ้นฟรีๆ อีก 12 ล้านไร่
ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต น้ำยางออกดี 50 ปี ไม่ต้องโค่น
มีดรุ่นเก่า |
นวัตกรรม – มีดนกเงือก |
1.ด้ามมีด 2 ด้าม (250×2) ต่อปี ราคา 500 บาท เป็นมีดที่มีเดือยส่วนคม เมื่อลับมีดจนเดือยสึกหมด ด้ามมีดจะใช้งานไม่ได้ | 1.มีดด้ามเหล็ก อายุการใช้งานนาน 10 ปี ราคา 390 บาท (390 บาท เฉลี่ย 39 บาท/ปี) |
2.ต้องลับมีดทุกครั้งหลังการใช้งาน -หินลับมีดหยาบราคา 60 บาท/ชิ้น -หินลับมีดละเอียดราคา 40 บาท/ชิ้น |
2.ใบมีดมาตรฐาน “รุ่น 4,000” เป็นสแตนเลส ราคา 672 บาท (24 บาท x 28 ใบ) |
3.มีค่าใช้จ่ายเป็นค่าแรงหรือค่าจ้างลับมีด (140 วัน x 10 บาท) เป็นเงิน 1,400 บาท
รวมค่าใช้จ่าย 1 ปี เป็นเงิน 2,100 บาท หมายเหตุ : ผลเสียค่าความเสี่ยงของความ “คงที่” ของความคมของมีดในแต่ละวันในการลับมีด “ไม่คงที่” ของความคมของมีดในแต่ละวันในการลับมีด อยู่กับความคมของการลับมีดในแต่ละวัน |
3.ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการลับมีด โดยใบมีมาตรฐาน “รุ่น 4,000” 1 ใบ สามารถกรีดยางได้จำนวน 4,000 ต้น ใช้แล้วทิ้งเปลี่ยนใหม่ได้ทันที |
รวมค่าใช้จ่าย 1 ปี เป็นเงิน 711 บาท | |
หมายเหตุ : ใน 1 ปี กรีดน้ำยางได้ 140 วัน, ใน 1 วัน กรีดได้ 800 ต้น/ 1 ใบมีด ใช้งานได้ 5 วัน (4,000 ต้น) (140 วัน หาร 5 วัน = 1 ปี ใช้ใบมีด 28 ใบ) |
ประโยชน์การทำเกษตรแบบผสมผสาน
สำหรับปัจจุบันราคายางพาราในตลาดยังไม่สู้ดีนัก ซึ่งคุณทรงธรรม์ได้ฝากให้กำลังใจพี่น้องชาวสวนยางทั่วประเทศ ตลอดจนให้แนวคิดการทำเกษตรผสมผสาน คือ ปลูกยางควบคู่ปลูกพืชไม้ผล และการเลี้ยงสัตว์ควบคู่กันไป เพื่อให้เกษตรกรเก็บเกี่ยวผลผลิต และมีรายได้ตลอดปี
โดยประโยชน์ของการทำเกษตรแบบผสมผสานนั้นนอกจากจะช่วยสร้างและกระจายรายได้ให้แก่เกษตรกรแล้ว ยังช่วยลดความเสี่ยงเรื่องการระบาดของศัตรูพืช และการเปลี่ยนแปลงของราคาผลผลิต การปลูกพืชหมุนเวียนเองก็ถือเป็นรูปแบบการทำเกษตรที่สำคัญอีกรูปแบบหนึ่ง ที่สามารถช่วยเสริมให้การทำเกษตรผสมผสานประสบความสำเร็จได้ดียิ่งขึ้น เนื่องจากการปลูกพืชหมุนเวียนไม่เพียงแค่ช่วยในการฟื้นฟูสภาพดินเท่านั้น แต่ยังมีประโยชน์ในด้านเศรษฐกิจ หรือช่วยให้ผลผลิตไม่ล้นตลาด ทั้งยังช่วยลดการใช้น้ำในหน้าแล้งได้อย่างดีอีกด้วย
ในทางตรงกันข้าม การปลูกพืชเชิงเดี่ยวนั้นนอกจากจะมีความเสี่ยงในเรื่องของโรคและแมลงแล้ว เกษตรกรยังต้องรับความเสี่ยงในเรื่องราคาของผลผลิตที่ไม่แน่นอนด้วย เนื่องจากเมื่อปลูกพืชชนิดเดียว เมื่อราคาตกต่ำก็จะทำให้รายได้ลดลง แต่หากชาวสวนทำเกษตรแบบผสมผสานนั้นก็จะมีส่วนช่วยในการลดความเสี่ยงเรื่องราคาลง เนื่องจากแม้ราคาของผักชนิดหนึ่งลดลง แต่ก็ยังมีรายได้จากผักชนิดอื่นๆ จึงถือเป็นการสร้างรายได้ที่มั่นคงให้กับเกษตรกรได้เป็นอย่างดี
“ทุกครั้งที่ราคายางตกต่ำก็จะส่งผลกระทบโดยตรงกับพี่น้องเกษตรกรทุกคน ผมจึงอยากให้กำลังใจเกษตรกร โดยแนะนำให้ส่งเสริมการปลูกพืชผักเป็นประเภทอื่นๆ เป็นรายได้เสริม หรือแม้แต่การเลี้ยงสัตว์ เช่น เลี้ยงเป็ด ไก่ เพื่อเสริมรายได้ ยกตัวอย่างพื้นที่ปลูกของผม มีปลูกผลไม้ไว้กินและขายด้วย เช่น ทุเรียน มังคุด กระท้อน และสะตอ พืชพื้นบ้านทางภาคใต้ เป็นต้น
หรือพี่น้องชาวสวนยางยังสามารถปลูกพืชผักอย่างอื่นเสริมได้อีก เช่น กะหล่ำปี ต้นหอม ผักกวางตุ้ง มันแกว และข้าวโพด หรือทำแปลงปลูกผักปลอดสารพิษก็สามารถทำได้ เป็นต้น ซึ่งนำไปจำหน่ายที่ตลาดสดในจังหวัดบึงกาฬ ทำให้เกษตรกรมีรายได้เข้ามาหมุนเวียนเป็นค่าใช้จ่ายในครอบครัว มีรายได้เพิ่มมากขึ้น นอกเหนือจากการปลูกยางพาราที่ทำเป็นอาชีพหลัก” คุณทรงธรรม์กล่าวฝากในตอนท้าย
ท้ายที่สุดนี้ทีมงานขอเป็นกำลังใจให้พี่น้องชาวสวนยางอย่าเพิ่งหมดหวัง เพราะปัจจุบันภาครัฐกำลังผลักดันและส่งเสริมให้จังหวัดบึงกาฬให้ดีโดดเด่น เป็นดินแดนแห่งยางพารา พร้อมกับวางแผนผลักดันโครงการต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนจังหวัดบึงกาฬสู่เป้าหมายหลัก คือ “สังคมเป็นสุข” อย่างต่อเนื่อง อาทิ มุ่งพัฒนา “ยางพาราบึงกาฬ 4.0” พลิกฟื้น “การทำสวนผลไม้” ในจังหวัดบึงกาฬ พัฒนามูลค่าเพิ่มข้าวแบบครบวงจร ฯลฯ ทั้งนี้เป็นการนำร่องจังหวัดบึงกาฬเพื่อกรุยทางไปสู่การพัฒนา และยกระดับคุณภาพชีวิตชาวสวนยางในจังหวัดอื่นๆ ในเร็ววันนี้
ขอขอบคุณ คุณทรงธรรม์ สวนียะ เกษตรกรชาวสวนยาง ที่อยู่เลขที่ 45 หมู่ 12 ต.หอคำ อ.เมืองบึงกาฬ จ.บึงกาฬ โทร.081-869-1597