การแปรรูปยางพารา หมอนยางพารา ส่งออก โอกาสทองเพิ่มมูลค่าของชาวสวนยาง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การแปรรูปยางพารา เป็น หมอนยางพารา

ภายใต้สถานการณ์วิกฤติ ใครปรับตัวได้เร็ว นั่นคือ “โอกาส” นี่ไม่ใช่คำกล่าวจาก “ปราชญ์” ใดๆ ทั้งสิ้น แต่เป็นประสบการณ์ “เนื้อๆ” จากเกษตรกรกลุ่มหนึ่งใน จ.พัทลุง ที่กำลังประสบกับวิกฤติราคายางที่ดำเนินมายาวนานแบบ “มาราธอน”  เกษตรกรทุกคนตกอยู่ที่นั่งเดียวกัน คือ มีรายได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง จะไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตแบบวันต่อวัน ไม่ต้องมองถึงอนาคต

สถานการณ์คับขันอย่างนี้ ทำให้เกษตรกรหลายรายจำเป็นต้องโค่นต้นยางเพื่อขายไม้ เพื่อนำเงินมาใช้หนี้ และต่อชีวิต หากยังไม่ทำอะไรสักอย่างเพื่อแก้ไข สัญญาณ “อวสาน” รออยู่ตรงหน้า แต่ด้วยความไม่ยอมรับชะตากรรม และจำนนต่อสถานการณ์ พวกเขาพยายามหาวิธีการแก้ปัญหาหลายทาง และค้นพบว่าทางเดียวที่ต้องทำก็คือ การแปรรูปยางเป็นผลิตภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่ายาง และนั่นคือ แนวทางการเพิ่มรายได้ให้กับสมาชิก

เกษตรกรกลุ่มดังกล่าว คือ กลุ่มอาชีพสหกรณ์บ้านพังดาน ต.แพรกหา อ.ควนขนุน จ.พัทลุง ที่มีสมาชิก 10 กว่ารายเท่านั้น หากแต่การทำงานของพวกเขาใหญ่เกินตัว เมื่อตัดสินใจลงทุนผลิต “ หมอนยางพารา ” ส่งออก แต่ผลที่ได้ดีเหมือนฝัน คุณชาย คงแก้ว ผอ.กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจสหกรณ์ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดพัทลุง

1.การแปรรูปหมอนยางพารา
1.การแปรรูปหมอนยางพารา

ที่มาของแหล่งเงินทุน

ผู้เข้าไปจัดตั้งกลุ่มดังกล่าว ให้ข้อมูลกับ นิตยสารยางเศรษฐกิจ ว่าได้ร่วมกันหาทางออกด้วยการแปรรูปยางเป็นผลิตภัณฑ์ภายใต้ข้อจำกัดด้านเงินทุน หมอนยางพารา คือ คำตอบนั้น แกนนำสมาชิกจึงเข้ามาปรึกษากับสหกรณ์จังหวัดพัทลุง เรื่องช่องทางการจัดหางบประมาณ ก่อนจะเขียนโครงการกู้เงิน ธ.ก.ส. จำนวน 450,000 บาท จนสำเร็จ และระดมทุนจากสมาชิกอีก 30,000 บาท มาลงทุนเครื่องจักรเล็กๆ และส่วนหนึ่งเป็นเงินทุนหมุนเวียน

2.วัตถุดิบสำหรับทำหมอนยางพารา
2.วัตถุดิบสำหรับทำหมอนยางพารา

ด้านตลาดของ หมอนยางพารา ส่งออก

ในเบื้องต้นจะจำหน่ายให้กับสมาชิกและลูกหลาน เพื่อเป็นการทดสอบคุณภาพสินค้าไปในตัว ธุรกิจของกลุ่มฯ บ้านพังดานไปได้สวย หลังจากเริ่มผลิตได้ 5 เดือน เมื่อมีโอกาสส่งออกไปต่างประเทศ โดยมีตลาดจีนให้ความสนใจ และดำเนินการส่งออกไปแล้ว 3 รอบ รวม 1,200 ใบ

จนเมื่อมีข่าวการส่งเสริมเกษตรกรแปรรูปยาง โดยรัฐบาลกลุ่มเล็กๆ แห่งนี้ก็ดังเป็นพลุแตก เมื่อมีผู้ให้ความสนใจจำนวนมาก ทั้งเข้ามาศึกษาเป็นแนวทาง และซื้อไปใช้ เพราะหมอนยางพาราเป็นหมอนเพื่อสุขภาพ ที่สำคัญคุณภาพหมอนที่นี่สูง แต่ราคาต่ำกว่าตลาด

โฆษณา
AP Chemical Thailand

คุณชายบอกว่าปัจจุบันต้องหยุดรับออเดอร์จากต่างประเทศอย่างสิ้นเชิง เพราะมีการปรับรูปแบบการตลาดใหม่ เพราะกำลังการผลิตของกลุ่มทำได้เพียง 200 ใบต่อวัน ขณะที่การสั่งซื้อในประเทศมีจำนวนมาก จนผลิตไม่เพียงพอ และเพื่อเป็นการส่งเสริมสมาชิกกลุ่มสร้างรายได้ จึงเปิดให้สมาชิก หรือลูกหลานที่อยู่ในพื้นที่ และจังหวัดต่างๆ รับหมอนยางพาราไปขายกันในหลายช่องทาง เช่น ทางเฟสบุ๊ค ไลน์ ทางเว็บไซต์ และช่องทางอื่นๆ

ซึ่งวิธีนี้ทำให้กลุ่มสามารถผลิตสินค้าได้อย่างต่อเนื่อง โดยไม่ต้องกังวลเรื่องตลาด และสร้างรายได้ให้สมาชิก “ตอนนี้เรางดส่งออกทั้งหมด เพราะยอดสั่งในประเทศเราค่อนข้างดี มียอดสั่งวันละ 300-400 ใบ แต่เราผลิตไม่ทัน ได้แค่ 200 ใบ/วัน เราขายส่ง 450 บาท สมาชิกรับไปขายทางเว็บไซต์รวมค่าจัดส่งจะอยู่ประมาณ 650 บาท เราจะคุมราคาไม่ให้เกินนี้ ถือเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สร้างรายได้เสริมให้กับครอบครัวของสมาชิก” คุณชายกล่าว

คุณชายบอกว่าทุกวันนี้กลุ่มอาชีพสหกรณ์บ้านพังดานผลิตไม่เพียงพอ ทั้งๆ ที่มีออเดอร์ ต้องจับมือกับกลุ่มเกษตรกร จ.ชุมพร ปทุมธานี และฉะเชิงเทรา เพื่อจะส่งออกต่างประเทศ ขณะที่ความต้องการในประเทศก็สูงขึ้น เพราะเป็นหมอนเพื่อสุขภาพ ราคาไม่สูงนัก

ส่วนโรงงานผลิตหมอนยางพารามีพ่อค้าต่างประเทศ 10 กว่าราย ติดต่อขอซื้อมาแล้ว ตลาดในช่วง 1-2 ปีนี้จึงค่อนข้างสดใส แต่หลังจากนั้นคุณชายมั่นใจว่าจะได้รับความนิยม และเขามั่นใจว่าหมอนยางพารา คือ สินค้าและผลิตภัณฑ์ ไม่ใช่ยางพาราที่เป็นวัตถุดิบ สามารถเก็บสต็อกได้นานไม่ต่ำกว่า 5 ปี ทำให้วางแผนการผลิตได้ง่าย และผลิตครั้งละจำนวนมากๆ เหมาะกับการทำส่งออก

ขณะที่ตลาดในประเทศหากมีการส่งเสริมให้คนไทยใช้หมอนยางพาราในราคาไม่แพงนัก จะช่วยลดการส่งออกยางไปต่างประเทศได้มาก “ถ้าคนไทยแค่ 20 ล้านคน จะทำให้เกิดการใช้ยาง (แห้ง) ประมาณ 30,000 ตัน สำหรับผลิตหมอน คิดดูว่ายางจะหายไปมากแค่ไหน หมอนยางพาราจึงค่อนข้างจะมีทิศทางที่ดี”

3.ทำความสะอาดหมอนยางพารา
3.ทำความสะอาดหมอนยางพารา

ขั้นตอนการผลิตหมอนยางพารา

ส่วนสูตรการผลิตหมอนและขั้นตอนการผลิต สมาชิกเข้าไปศึกษาจากสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร พร้อมกับเห็นช่องทางการตลาดที่สดใส ขณะที่ต้นทุนไม่สูงนัก เพราะจากน้ำยาง 3 กิโลกรัม 100 บาท ทำเป็นน้ำยางข้น และผ่านกระบวนการผลิตเป็นหมอนยางพารา จะได้หมอนยางพาราที่มีคุณภาพราคาลูกละ 500 บาท

โฆษณา
AP Chemical Thailand

สำหรับหมอนยางพาราผลิตจากน้ำยางพารา 100 เปอร์เซ็นต์ จะมีความนุ่มและยืดหยุ่นสูง รองรับศรีษะเวลานอนได้ดี ช่วยในการไหลเวียนของโลหิต ที่สำคัญหมอนยางพาราไม่อับชื้น ไร้ฝุ่น และแบคทีเรีย สามารถทำความสะอาดโดยการซักและปั่นด้วยเครื่องซักผ้า แต่ไม่ควรตากแดด ให้ใช้วิธีการเป่าแห้งแทน

ด้านการผลิตหมอนยางพารา ใช้น้ำยางข้น 60% เป็นส่วนผสมหลัก น้ำยางข้น 2.5 กก. (ยางแห้ง 1.5 กก.) ผลิตหมอนได้ 1 ใบ โดยนำชาโค หรือผงถ่าน จากไม้ไผ่มาผสม ตอนนี้มีชาวบ้านที่เข้ามาร่วมเป็นแรงงานจำนวน 6 คน จึงมีกำลังการผลิตได้แค่เพียงวันละ 200 ใบ เท่านั้น และกำลังสร้างโรงงานขนาดใหญ่เพื่อให้สามารถผลิตได้เพิ่มมากขึ้น

การแปรรูปยางพารา หมอนยางพารา ส่งออก โอกาสทองเพิ่มมูลค่าของชาวสวนยาง
การแปรรูปยางพารา หมอนยางพารา ส่งออก โอกาสทองเพิ่มมูลค่าของชาวสวนยาง

การผลิต หมอนยางพารา

โรงงานขนาดใหญ่ที่กำลังจะสร้าง คุณชายให้ข้อมูลว่าเป็นการลงทุนของสหกรณ์การเกษตรแพรกหาจำกัด ซึ่งเป็น “แม่ข่าย” ของกลุ่มอาชีพสหกรณ์บ้านพังดาน มีกำลังการผลิต 1,200 ใบ/วัน โดยได้งบสนับสนุนจากกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย จำนวน 34 ล้านบาท ขณะที่สหกรณ์ออกเงินสมทบด้านการติดตั้งระบบไฟฟ้าจำนวน 20% และกู้เงินทุนสำหรับใช้หมุนเวียนธุรกิจ จากกองทุนพัฒนาสหกรณ์ กรมส่งเสริมสหกรณ์ ผลิตหมอนและที่นอนยางพารา

“เราเริ่มต้นจากกลุ่มเล็กๆ ก่อน เพื่อให้บริหารจัดการง่าย เมื่อเห็นว่ามีโอกาส มีตลาด จึงต้องขยายโรงงานใหญ่เพื่อรองรับตลาด เป็นหนึ่งในรูปแบบการลงทุนระดับเกษตรกรที่เราวางไว้” ผอ.กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจสหกรณ์บอก ต้องยอมรับว่ากระแสการผลิต หมอนยางพารา กำลังได้รับความสนใจจากเกษตรกรจำนวนมาก

โดยมีตัวอย่างจาก จ.พัทลุง และที่สำคัญใช้เทคโนโลยีการผลิตไม่สูงนัก กลุ่มเกษตรกรมีศักยภาพเพียงพอ หากแต่ปัญหาก็คือ อนาคตเมื่อกลุ่มเกษตรกรหันมาแปรรูปหมอนกันมากๆ ตลาดมีรองรับเพียงพอหรือไม่

4.สร้างรายได้ให้สมาชิกและคนในชุมชน
4.สร้างรายได้ให้สมาชิกและคนในชุมชน  การแปรรูปยางพารา การแปรรูปยางพารา

หมอนยางพารา ของกลุ่มสหกรณ์บ้านพังดานเป็นตัวสะท้อนสถานการณ์ได้อย่างดีว่า “พระอาทิตย์” กำลังขึ้นฝั่งเกษตรกร เพราะสามารถขยับตัวเองจากเกษตรกรผู้ผลิตต้นน้ำสู่การผลิตเป็นสินค้า แน่นอนว่าย่อมจะเพิ่มมูลค่าได้สูง แต่บทพิสูจน์ของเกษตรกรที่ต้องติดตามก็คือ จะยืนระยะการผลิต และการตลาดได้นานแค่ไหน เมื่อต้องแข่งขันกับเอกชน การแปรรูปยางพารา การแปรรูปยางพารา การแปรรูปยางพารา การแปรรูปยางพารา การแปรรูปยางพารา

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ถ้าอยากให้เกษตรกรเกิด ภาครัฐต้องสนับสนุน การแปรรูปยางพารา การแปรรูปยางพารา การแปรรูปยางพารา

ขอขอบคุณ คุณชาย คงแก้ว กลุ่มอาชีพสหกรณ์พังดาน ต.แพรกหา อ.ควนขนุน จ.พัทลุง โทร.09-1776-7685