ปกติการใส่ปุ๋ยต้นยางของชาวสวนยางที่นิยมใช้มี 2 วิธีหลักๆ คือ การหว่าน และการฝังกลบ
แต่การใส่ปุ๋ยทั้ง 2 วิธีมีทั้งจุดแข็งและจุดอ่อน พอๆ กัน โดยเฉพาะการให้ปุ๋ยด้วยวิธีการหว่าน ข้อดีมีอย่างเดียวคือ สะดวก และประหยัดแรงงาน
ขณะที่จุดอ่อนเต็มกระบุง…!!!
ไม่ว่าจะเป็น การสูญเสียเนื้อปุ๋ยที่มักจะหมดไปกับ การระเหยไปในอากาศ ของปุ๋ยที่มีแอมโมเนียและเมื่อฝนตกหนักๆ ปุ๋ยจะละลายและไหลไปกับน้ำอย่างรวดเร็ว จึงเกิดการสูญเสียปุ๋ยมหาศาล
ต้นยางอาจจะกินปุ๋ยได้เพียง 20-30% เท่านั้น
ขณะที่การให้ปุ๋ยแบบฝังกลบ คือการตอบโจทย์การใส่ปุ๋ยให้เกิดประสิทธิภาพดีที่สุด เพราะการให้ปุ๋ยวิธีนี้จะขุดหลุมฝังปุ๋ยลงไปในดิน ต้นยางก็จะใช้ประโยชน์จากปุ๋ยได้เต็มที่
แต่การใส่ปุ๋ยวิธีนี้ต้องใช้แรงงานขุดหลุมกว้างประมาณ 3-4 หน้าจอบ แล้วฝังกลบ ต้นละ 4 หลุม แต่มีต้นทุนการขุดหลุมและใส่ปุ๋ย หลุมละอย่างน้อย 2 บาท และต้องขุดหลุมทุกครั้งที่ให้ปุ๋ย ไม่มีวันจบสิ้น
แต่เกษตรกรก็ไม่มีทางเลือกการใส่ปุ๋ยต้นยางที่ได้ประสิทธิภาพสูงสุดเท่าวิธีการฝังกลบอีกแล้ว…!!!
แต่สำหรับ นายขำ นุชิตศิริภัทรา เซียนยางพารารุ่นเก๋าแห่งเมืองตรังบอกว่า การให้ปุ๋ยแบบฝังกลบอาจจะไม่ใช่คำตอบที่ดีที่สุดอีกต่อไป
เมื่อเขาได้เทคนิคการให้ปุ๋ยแบบใหม่มาจากประเทศจีน โดยการ “สร้างโต๊ะจีน” ขึ้นในสวนยาง…???
การให้ปุ๋ยแบบสร้าง “โต๊ะจีน” หรือ “คลังปุ๋ย” ในสวนยาง มีการบริหารจัดการอย่างไร แล้วผลที่จะได้คืออะไรบ้าง นายขำมีคำตอบ
วิธีการขุดบ่อสร้าง “โต๊ะจีน” หรือ “คลังปุ๋ย” ในสวนยาง
ขั้นตอนคือการสร้างหรือขุดบ่อ หรือหลุมขนาดใหญ่ขึ้นตรงร่องกลางระหว่างแถวยาง โดยทั่วไปพื้นที่ส่วนนี้จะกว้าง 7 เมตร นายขำใช้รถแบ็คโฮเล็กทำการขุดหลุมลึกประมาณ 80 ซ.ม. – 1 เมตร แต่ความลึกที่เหมาะสมคือ 1 เมตร กว้างประมาณครึ่งเมตร ยาวประมาณ 9 เมตร หรือ ความยาวเท่ากับต้นยาง 3 ต้น
จากนั้นจะเว้นไปประมาณ 9 เมตร จึงจะขุดหลุมขนาดเท่ากัน แต่ละบ่อจึงห่างกัน 9×9 เมตร ทำอย่างนี้ไปจนสุดแถวยาง และจะขุดอย่างนี้ทุกร่องยาง แบบสลับแนวฟันปลา
ผลจากการขุดบ่อในสวนยางภาพที่เห็นแล้วตกใจคือ รากยางจะ แต่มันจะค่อยๆ งอกรากใหม่ออกมาแล้วเดินลงไปในบ่อ เมื่อใส่ปุ๋ยลงไป รากมันรู้ว่าในหลุมมีปุ๋ยก็จะลงมาหาอาหารเอง
นายขำบอกว่าถ้าจะให้ดีต้องเริ่มขุดตั้งแต่ต้นยางอายุ 3 ปี เพราะต้นยางจะเริ่มปรับตัวได้ง่าย และโตไวเพราะอยู่ในช่วงที่ต้นยางกำลังเจริญเติบโต
“พอยางอายุ 4-5 ปี รากมันจะเดินไปกินปุ๋ยและเป็นช่วงที่ยางกำลังต้องการอาหารและจะโตเต็มที่ ยางจะใหญ่ไว เปิดกรีดเร็ว”
นายขำบอกว่า ควรเลือกขุดบ่อในช่วงหน้าแล้ง ซึ่งเป็นช่วงพักหน้ายาง ไม่มีกิจกรรมใดๆ และเป็นช่วงที่ต้นยางพักตัวการทำงานจึงสะดวกและง่าย
บ่อปุ๋ยในสวนยางสามารถใส่ปุ๋ยเคมีลงไปได้ หลังจากรากจะเดินสมบูรณ์แล้ว นอกจากนั้นยังใส่ ปุ๋ยคอก เช่น ปุ๋ยขี้ไก่ หรือขี้วัว ลงไปในบ่อได้เลย โดยจะใส่ประมาณบ่อละ 4
กระสอบ
“บรรดาใบยาง กิ่งยาง หญ้าที่ตัดดาย ที่ร่วงหล่นลงมาก็จะไปรวมกันอยู่ในบ่อ และจะเกิดกระบวนการหมักโดยธรรมชาติกลายเป็นแหล่งผลิตธาตุอาหารที่เป็นอินทรีย์ให้กับต้นยาง โดยไม่ต้องลงทุนซื้อปุ๋ยอินทรีย์เพิ่มเลย”
นายขำบอกว่าเวลาใส่ปุ๋ย ก็แค่หว่านปุ๋ยลงไปในบ่อนี้ หลุมละประมาณ 2 กิโลกรัม/ครั้ง สำหรับต้นยาง 6 ต้น
เท่ากับว่าภายในบ่อจะอุดมไปด้วยอาหารของต้นยางที่เป็นทั้งอินทรีย์และเคมี เป็น “คลังปุ๋ย”ในสวนยางสำหรับให้ต้นยางกิน หรือที่นายขำบอกว่าบ่อนี้แหละคือ “โต๊ะจีน”
ปุ๋ยคอก ใบยางหมักจนเป็นอินทรีย์ และปุ๋ยเคมี คือเมนูอาหารที่จะยกเสิร์ฟบนโต๊ะ รากยางก็จะมารุมกินโต๊ะจีนกันอย่างอิ่มหมีพีมัน
“การให้ปุ๋ยแบบนี้เราไม่ต้องใช้วิธีหว่านปุ๋ย ซึ่งเป็นการสิ้นเปลือง เกิดการสูญเสีย เวลาฝนตกลงมาหนักๆ ปุ๋ยละลายไปกับน้ำหมดยังประหยัดกว่าการขุดหลุม เพราะการขุดหลุมฝังต้องเสียค่าจ้างหลุมละ 2บาท ต้นหนึ่ง 4 หลุม เท่ากับ 8 บาท/ต้น และต้องขุดหลุมทุกปี หลุมหนึ่ง ประมาณ 3-4 หน้าจอบและรากยางก็กินปุ๋ยได้ไม่เต็มที่อีก แต่การให้ปุ๋ยยางแบบนี้ทำให้ชาวสวนยางจัดการเรื่องปุ๋ยได้ง่ายและรวดเร็ว”
ขอขอบคุณ
นายขำ นุชิตศิริภัทรา
ใส่ปุ๋ยยาง, ใส่ปุ๋ยยาง, ใส่ปุ๋ยยาง
tags: ใส่ปุ๋ยยาง ให้มีประสิทธิภาพ ช่วยลดค่าปุ๋ย 50% ขุดหลุดเพื่อช่วย ใส่ปุ๋ยยาง ไม่ต้องใช้วิธีหว่านปุ๋ย ใช้เปลือง จังหวัดตรัง ใส่ปุ๋ยยาง ปุ๋ยคอก ใบยางหมักอินทรีย์
[wpdevart_like_box profile_id=”112152085551102″ connections=”show” width=”300″ height=”220″ header=”big” cover_photo=”show” locale=”th_TH”]