ถุงมือผ้าเคลือบยาง ทำง่าย ลงทุนน้อย เพิ่มมูลค่ายาง 1,000 บาท/กก.
ถุงมือผ้าเคลือบยาง พารา เป็นหนึ่งใน การแปรรูปยางพารา เป็นสินค้าที่ทำได้ง่าย ลงทุนไม่สูง เหมาะสำหรับธุรกิจระดับครัวเรือน กลุ่มเกษตรกร และผู้ประกอบการระดับ SME เพราะวัตถุดิบการผลิตใช้น้ำยางสดจากต้นยางนำมาผลิตได้เลย ไม่ต้องผ่าน การแปรรูปยางพารา เบื้องต้นแต่อย่างใด
คุณสัมฤทธิ์ จำปาดง ประธานวิสาหกิจชุมชนบ้านในสวน จ.สุราษฎร์ธานี ให้ข้อมูลกับ ทีมงาน นิตยสาร ยางเศรษฐกิจ ว่า วิสาหกิจชุมชนบ้านในสวน อ.เวียงสระ จ.สุราษฎร์ธานี เป็นหนึ่งในกลุ่มเกษตรกรหัวก้าวหน้า ที่มองว่าเกษตรกรไม่ควรเป็นแค่ชาวสวนผลิตน้ำยางราคาถูกขายพ่อค้า ซึ่งรู้ดีว่าไร้อำนาจต่อรองราคา
แต่หากขยันและขวนขวายศึกษาหาความรู้เรื่อง การแปรรูปยางพารา ซึ่งมีการสอนและฝึกอบรมอยู่ในหน่วยงานต่างๆ ของรัฐเช่น สถาบันวิจัยยาง ในอดีต หรือ การยาง ในปัจจุบันหรือสถาบันศึกษาในพื้นที่ เกษตรกรก็จะค้นพบช่องทาง และโอกาสในการเพิ่มมูลค่ายางได้หลายเท่าตัว
จนสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ ถุงมือผ้าเคลือบยาง คุณภาพเยี่ยมตอบโจทย์ทุกการใช้งานและ เพิ่มมูลค่ายางได้มากถึง 3 เท่าตัว! เขามีแนวคิดและรูปแบบการทำงานอย่างไร..ตามไปชมกัน
ปรึกษาฟรี! หากบอกว่ามาจาก พลังเกษตร.com โทร 08-1893-3841
แนวคิด การแปรรูปยางพารา
“วันนี้ยางพารา 30 บาท/กก. แต่ถุงมือ 10 โหล ใช้น้ำยางเพียง 3-4 กก. เท่านั้น สมมุติผมมียาง 50 กก. ผมขายให้จุดรับซื้อ 40 กก. อีก 10 กก. เอามาทำถุงมือ สามารถสร้างรายได้เสริมให้กับเรา มันสามารถสร้างมูลค่าของถุงมือขึ้นมาได้มากขึ้นเท่านั้นเอง ส่วนน้ำยางส่วนอื่นๆ เราก็ยังขายที่จุดรับซื้อเหมือนเดิม” คุณสัมฤทธิ์อธิบายเปรียบเทียบการขายน้ำยางสดกับการนำน้ำยางมาชุบถุงมือผ้า
จริงๆ ผมเป็นเกษตรกร เวลาอยู่ในสวนเราก็ใช้ถุงมือตลอด เมื่อก่อนเราก็ใช้ถุงมือผ้าเหมือนคนอื่นทั่วไป วันหนึ่งเราไปเจอถุงมือชุบยางพารานี่ล่ะ พอเราลองใช้ปรากฏว่าทนทานดี เวลาจับอะไรก็แน่นกระชับ
ในฐานะแกนนำ คุณสัมฤทธิ์ได้ทดลองปรับปรุงสูตรน้ำยางสำหรับชุบถุงมือ โดยมีสถาบันวิจัยยางมาให้คำแนะนำ แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จ เพราะหมดงบประมาณไปเสียก่อน
แต่เขายังทดลองปรับสูตรต่อไปจนเริ่มนิ่มขึ้น ได้คุณภาพประมาณ 80% เมื่อมั่นใจว่าน่าจะขายได้แล้วจึงกลับไปพบกับหัวหน้า สกย.จ.สุราษฎร์ธานี คนที่เคยสนับสนุนให้สัมฤทธิ์เข้าไปอบรม เมื่อมีงบเข้ามาจึงนำสูตรน้ำยางนี้ไปปรับต่อจนสมบูรณ์ ได้ความนิ่ม และยืดหยุ่น แบบปัจจุบัน
ขั้นตอนการทำถุงมือชุบน้ำยางพารา
ขั้นตอนเพียงแค่นำถุงมือผ้ามาชุบเคลือบน้ำยางสด แล้วนำเข้าเครื่องอบ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้ถุงมือธรรมดาๆ เป็นถุงมือชั้นดี
แต่ความพิเศษของการทำถุงมือชุบยางพารานี้ คือใช้น้ำยางสดความเข้มข้น 40% มาผสมสารเคมีตามสูตร ชาวบ้านสามารถทำได้ กระบวนการไม่ซับซ้อนนัก โดยมีวัสดุอุปกรณ์ และวิธีการดังนี้
วัสดุ-อุปกรณ์
- น้ำยางสดที่มีความเข้มข้นระหว่าง 38-41% สามารถซื้อได้จากจุดรับซื้อน้ำยาง หรือหากชาวสวนมีน้ำยางสดก็สามารถใช้ได้
- ถุงมือผ้า
- แบบไม้เหลาเป็นรูปนิ้วมือสำหรับใช้ชุบถุงมือกับน้ำยาง
- ภาชนะบรรจุน้ำยาง
- เตาอบ
วิธีทำ
- นำน้ำยางสดที่มีความเข้มข้นระหว่าง 38-41% มาผสมกับสารเคมีตามสูตรจนได้ที่
- ใส่ถุงมือกับแบบไม้ที่ออกแบบมาพิเศษเป็นรูปนิ้วมือ ที่สามารถใส่ได้ทั้ง 5 นิ้ว
- นำถุงมือที่สวมกับแบบไม้มาจุ่มในน้ำยางที่ผสมแล้ว
- นำเข้าไปอบในเตาอบ 4 ชั่วโมง
- แกะถุงมือออกจากแบบไม้แล้วแพ็คกิ้งให้สวยงาม
เทคนิคสำคัญ
เทคนิคสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การใช้ไม้เหลาเป็นรูปมือ เพื่อใช้เป็นเสมือนพิมพ์ก่อนชุบในน้ำยาง สัมฤทธิ์ให้ข้อมูลว่าการนำถุงมือมาสวมบนแบบก่อนนำไปจุ่มน้ำยางมีข้อดี คือ น้ำยางไม่ซึมไปด้านหลังของถุงมือ จึงสามารถชุบได้หนาเป็นพิเศษ นอกจากนั้นยังเป็นการสร้างรูปทรงถุงมือให้มีมิติ และสาเหตุที่ต้องใช้ไม้เหลาเป็นรูปมือเพราะต้องนำแบบไม้เข้าไปอบด้วยความร้อนพร้อมกับถุงมือนั่นเอง
“ตอนนี้เราใช้แบบไม้ที่เหลาเป็นรูปมือ แล้วสวมถุงมือทับก่อนนำไปจุ่ม มีข้อดี คือ งานจะออกมาสวย เนียน น้ำยางเข้าไปถึงขอบ งานจึงออกมาดี สวย เหมือนของโรงงาน
“แต่มีปัญหา คือ แบบไม้เราต้องเหลาเองทีละชิ้น ในอนาคตถ้ามีออเดอร์มากขึ้นอาจจะผลิตไม่ทัน หากต้องการขยายงาน หรือผลิตเชิงอุตสาหกรรม จะต้องมีแบบไม้มากขึ้นด้วย” สัมฤทธิ์พูดถึงข้อดีของการใช้แบบสำหรับชุบถึงมือ ก่อนจะชี้ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น
การผลิตถุงมือชุบน้ำยางพารา 10 โหล/วัน สร้างอาชีพและรายได้ให้คนในชุมชน
ทุกวันนี้ทางวิสาหกิจชุมชนบ้านในสวนมีกำลังการผลิตถุงมือชุบน้ำยาง 10 โหล/วัน เนื่องจากมีแบบไม้รูปมือเพียงร้อยกว่าชิ้นเท่านั้น อีกทั้งเตาอบยังเป็นเตาขนาดเล็ก เป็นระบบเก่า ต้องให้คนคอยเฝ้า ใช้เวลาอบ 4 ชั่วโมง/ครั้ง
“ในอนาคตหากตลาดโตขึ้นต้องเพิ่มจำนวนเตาอบ และนำระบบอัตโนมัติมาใช้เพื่อความสะดวกและรวดเร็วขึ้น พออุปกรณ์ไม่เพียงพอก็เสียเวลา เป็นการเสียโอกาสอย่างหนึ่ง” สัมฤทธิ์สะท้อนปัญหาที่เกิดจากความไม่พร้อมของอุปกรณ์สำหรับทำงาน
แนวทางการลงทุน ทำกำไร 1,000 บาท/กก.
แนวทางการลงทุนสำหรับการซื้อถุงมือผ้าชุบยางพารา สำหรับถุงมือผ้า 10 โหล หรือ 120 คู่
- ยางพารา 4 กก. ราคา 30 บาท/กก. = 120 บาท
- ถุงมือ 1 คู่ ใช้น้ำยางประมาณ 33.33 กรัม (4,000 กรัม/120 คู่)
- หลัง แปรรูปยางพารา เป็นถุงมือผ้าชุบยางพาราแล้ว ราคา 35 บาท/คู่
ฉะนั้นหากนำยางพารา 4 กก. มาผลิตเป็นถุงมือผ้าชุบยางพารา จะสร้างรายได้ 4,200 บาท ในขณะที่ขายเป็นน้ำยางสดได้ราคา 120 บาท คิดเป็นส่วนต่าง 4,080 บาท
หมายเหตุ : ราคานี้คิดในมิติการเพิ่มมูลค่าน้ำยางพาราเท่านั้น ยังไม่รวมต้นทุนวัสดุ-อุปกรณ์ แรงงาน สถานที่ และค่าเดินทาง
โดยมีคุณสมบัติเด่นของ ถุงมือผ้าเคลือบยาง คือ
- ช่วยให้การจับกระชับมือมากขึ้น ไม่เลื่อนหลุดง่าย ทำให้ไม่ต้องเกร็งมือมากเกินไประหว่างการทำงานหนัก เช่น การจับมีด พร้า จอบ เสียม หรือแม้แต่ใช้งานที่มีการใช้เครื่องจักรร่วมด้วย ทำให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงานมากขึ้น
- ช่วยลดแรงกระแทกสำหรับงานที่ต้องใช้แรงมาก และมีแรงกระแทกระหว่างปฏิบัติงาน เช่น การขุดหลุมด้วยจอบ-เสียม ขับรถจักรรถไถ ความนุ่มและยืดหยุ่นของยางพาราจะช่วยซับพอร์ทแรงในส่วนนี้ได้
- ส่วนที่เคลือบยางพารามีความหนาและยืดหยุ่นเพียงพอที่จะ ป้องกันเศษแก้ว หนาม หรือของแหลมคมขนาดเล็กได้
- ส่วนที่เคลือบยางพารามี ความยืดหยุ่นจึงใช้งานสะดวก ไม่กระด้างมือ เกิดจากการปรับปรุงพัฒนาสูตรผลิตน้ำยางสำหรับชุบ คุณภาพโดดเด่นกว่าหลายๆ เจ้าที่กำลังขายในตลาด
- ทนทานกว่าถุงมือผ้าธรรมดา 3-4 เท่า ไม่เป็นขุย ไม่ฉีกขาดง่าย โดยเฉพาะบริเวณปลายนิ้วที่ผู้ใช้ถุงมือประสบปัญหาเป็นประจำ
- ซักทำความสะอาดด้วยผงซักฟอกได้ตามปกติตากแดดได้ยางไม่เหนียวยืด เป็นจุดเด่นสำคัญของถุงมือยางของวิสาหกิจชุมชนชาวสวนยางบ้านในสวน
ตลาดและ ราคาถุงมือยาง
ปัจจุบันถุงมือชุบน้ำยางของวิสาหกิจชุมชนบ้านในสวนกำลังเป็นที่ต้องการของตลาด เพราะมีจุดเด่นที่เนื้อยางอ่อนนิ่ม ไม่ระคายมือ ซัก-ตากแดดได้ ทนทานกว่าถุงมือชุบน้ำยางทั่วไป เพราะผ่านการปรับปรุงสูตรน้ำยางมาอย่างดี ถุงมือมี 2 แบบ คือ ชุบธรรมดา และหนาเป็นพิเศษ เพื่อให้เหมาะกับการใช้งานหลากหลายรูปแบบ
คุณสัมฤทธิ์เล่าต่อไปว่า ถุงมือชุบน้ำยางของวิสาหกิจชุมชนบ้านในสวนจำหน่าย ราคาถุงมือยาง ปลีก 35 บาท/คู่ หากซื้อครบโหล ราคาถุงมือยาง ลดเหลือ 25 บาท/คู่ สำหรับตัวแทนจำหน่ายทางวิสาหกิจจะลด ราคาถุงมือยาง ให้ 50% เพราะตัวแทนต้องมีการจัดโปรโมชั่นให้ลูกค้าเหมือนกัน
อีกตลาดหนึ่งสัมฤทธิ์กำลังมองไปที่ตลาดส่งออก แต่ยังติดปัญหาเรื่องการผลิตเชิงปริมาณ เพราะขาดแคลนวัสดุอุปกรณ์อำนวยความสะดวกหลายอย่าง เช่น โรงเรือน เตาอบแบบอัตโนมัติ และแบบไม้ สำหรับใส่ชุบถุงมือนั่นเอง
“ในอนาคตเราคิดว่าเราอยากจะทำถุงเท้าด้วย ผมคิดว่าตัวนี้ดีมากๆ เพราะยางตัวนี้พอชุบถุงมือก็ช่วยให้จับแน่นกระชับ ไม่เลื่อนหลุด ถ้าปรับมาใช้กับถุงเท้าสำหรับคนแก่กันพื้นลื่น สำหรับนักเรียนที่ต้องเปลี่ยนถุงเท้าบ่อย ได้ใช้ของดี ทนใน ราคาถุงมือยาง ที่ย่อมเยา
ประธานวิสาหกิจชุมชนบ้านในสวนคนเดิมอธิบายต่อไปว่า สิ่งที่พวกเขาทำในวันนี้แม้จะไม่สามารถช่วยให้ราคายางพาราสูงขึ้นได้ แต่มีการนำยางพารามาใช้ประโยชน์ นำมาสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ที่ชาวบ้านสามารถทำได้เอง ไม่จำเป็นต้องทำในรูปแบบอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เหมือน การแปรรูปยางพารา อื่นๆ
สุดท้ายคุณสัมฤทธิ์สะท้อนปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นในวงการยางพาราไทยในปัจจุบันว่า ตอนนี้ยางพาราราคาถูกลง กลุ่มเกษตรกรจึงหันไป แปรรูปยางพารา เป็นผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่าย มีหน่วยงานของรัฐหลายๆ ส่วนเข้ามาช่วยเหลือ ในเรื่องขององค์ความรู้และวิชาการ
แต่อีกอย่างหนึ่งที่เกษตรกรต้องการมากที่สุด คือ ตลาด ทุกวันนี้มีโครงการสนับสนุน การแปรรูปยางพารา มากมาย แต่ยังขาดการสนับสนุนเรื่องตลาด กอปรกับจุดอ่อนของคนไทย คือ พอเห็นใครทำอะไรแล้วดีมักจะทำตาม และตัดราคากันเอง เมื่อสินค้าล้นตลาด
ในส่วนนี้ในฐานะประธานวิสาหกิจชุมชนที่ต่อสู้ด้วยตัวเอง ตั้งแต่พยายามคิดค้นสูตร โดยปรึกษาผู้มีความรู้เรื่องการแปรรูปยางพารา ผลิตภัณฑ์ มีความเห็นว่าเกษตรกรควรเลือก แปรรูปยางพารา ผลิตภัณฑ์ให้หลากหลาย
แต่ละกลุ่มควรมีสินค้าในแบบฉบับของตัวเอง ผลิตสินค้าที่แตกต่างกันออกไป จึงจะเป็นการช่วยเหลือสมาชิกกลุ่ม ช่วยเหลือวงการยางพาราอย่างแท้จริง สัมฤทธิ์เชื่อมั่นว่ามีโครงการดีๆ อีกมากมาย ที่รอให้กลุ่มต่างๆ เข้าไปเรียนรู้ และลองมาทำดู มีตั้งแต่ใช้งบประมาณไม่มากนักจนถึงระดับหลายสิบล้าน การแปรรูปยางพารา การแปรรูปยางพารา
วิสาหกิจชุมชนบ้านในสวนกำลังเติบโตแบบก้าวกระโดด เริ่มมีหน่วยงานต่างๆ เข้ามาสนับสนุน ทั้งเรื่องเงินทุน เตาอบยาง นั่นเป็นเพราะพวกเขาไม่เคยหยุดเรียนรู้ ไม่หยุดทดลอง ถุงมือผ้าเคลือบยาง ของพวกเขาจึงได้เกิดในตลาดอย่างทุกวันนี้ ราคาถุงมือยาง ราคาถุงมือยาง ราคาถุงมือยาง ราคาถุงมือยาง ราคาถุงมือยาง
ขอขอบคุณ คุณสัมฤทธิ์ จำปาดง และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนชาวสวนยางบ้านในสวน 318 ม.17 บ้านเหนือคลอง ต.บ้านส้อง อ.เวียงสระ จ.สุราษฎร์ธานี 84190 โทรศัพท์ 08-1893-3841
ถุงมือผ้าเคลือบยาง ถุงมือกันบาด ถุงมือยางไนไตร ถุงมือยางราคา ราคาถุงมือยาง โรงงานถุงมือยาง แปรรูปยางพารา การแปรรูปยางพารา