พรบ การยาง 2558

โฆษณา
AP Chemical Thailand

.ร.บ.การยาง ฯ ติด “ เขี้ยวเล็บ ” ชาวสวนยาง

 พระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ.2558 มีความสำคัญต่อชาวสวนยางอย่างไร…???

คำถามโฟกัสแคบ และตรงประเด็นมากที่สุด กับความรู้สึกของชาวสวนยาง ต่อกฎหมายใหม่ ที่จะมีผลบังคับใช้แทนกฎหมายเดิม ที่ใช้กันมาตั้งแต่ ปี 2503 ซึ่งในวงการยางเรียกว่า พระราชบัญญัติกองทุนเพื่อการปลูกแทน

เพราะ พ.ร.บ.การยางฯ ซึ่งจะเป็นกฎหมายในเร็วๆ นี้ มีการร่างและนำเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร มาอย่างยาวนานกว่า 10 ปี ใน 4 รัฐบาล

แต่ไม่เคยผ่านสภาเลยสักครั้งเดียว

แต่แล้วความฝันของชาวสวนยางกลายเป็นจริง เมื่อรัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี โดยมีนายอำนวย ปะติเส รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นผู้รับผิดชอบทำงานร่วมกับเกษตรกรและสภานิติบัญญัติแห่งชาติ  พ.ร.บ.ฉบับนี้จึงผ่านความเห็นชอบของสภานิติบัญญัติ และเตรียมประกาศใช้เป็นกฎหมาย เร็วๆ นี้

โฆษณา
AP Chemical Thailand

คำถามก็คือ พ.ร.บ.การยางฯ มาราธอน ฉบับนี้ มีความสำคัญอย่างไรต่ออุตสาหกรรมยาง มีความสำคัญอย่างไรต่อชาวสวนยาง และจะนำอาชีพสวนยางสู่ความยั่งยืนได้หรือไม่

ทีมงานยางเศรษฐกิจ สัมภาษณ์พิเศษนายอำนวย ปะติเส รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้มีส่วนสำคัญที่นำ พ.ร.บ.นี้เข้าสู่สภา สนช. ก่อนจะผ่านการอนุมัติร่าง และประกาศใช้เป็นกฎหมายเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2558

นาย อำนวย ปะติเส
นาย อำนวย ปะติเส

สาเหตุที่ต้องปฏิรูปกฎหมายยางพารา

เหตุผลที่ต้องปฏิรูป พ.ร.บ.ด้านยางพาราประการแรก เพราะว่าระบบการบริหารจัดการของหน่วยงานด้านยางพาราที่มีอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) องค์การสวนยาง (อสย.) และ สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร แตกเป็นส่วนๆ มีการแยกกันทำงาน ไม่บูรณาการซึ่งกันและกัน ก่อให้เกิดความซ้ำซ้อน ก่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรไม่เต็มที่ การทำงานไม่มีความเป็นเอกภาพ

ประการที่ 2 ในอดีตที่ผ่านมาประเทศไทยกำหนดตำแหน่ง (Position) ที่จะเป็นผู้ผลิตและส่งออกวัตถุดิบยางพารารายใหญ่ของโลก แต่ปัจจุบันเมื่อโลกเปลี่ยนไปตำแหน่งเรื่องยางพาราของประเทศไทย จึงต้องปรับเปลี่ยนใหม่ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เป็นจริง และเกิดประโยชน์สูงสุดต่ออุตสาหกรรมยางพาราของไทยครบวงจร

เมื่อประเทศไทยกำหนดโพซิชั่นเดิมไว้อย่างนั้น คือ สร้างประเทศไปอยู่ที่การผลิตยางพารามากที่สุดของโลก (วัตถุดิบ-ต้นน้ำ) สิ่งที่เกิดขึ้นคือ สกย.เก็บเงินจากการส่งออกยางเข้ากองทุนสงเคราะห์สวนยางนำไปใช้ 3 ส่วน ได้แก่  1. เพื่อบริหารองค์กร 10% 2.ใช้เพื่องานวิจัย 5% และ 3. ส่วนที่เหลืออีก 85% ใช้เพื่อการปลูกยางทดแทน โคนยางเก่าปลูกยางใหม่ ทำมาอย่างนี้ตั้งแต่ปี 2503 ปัจจุบันก็ยังทำอย่างนี้

โฆษณา
AP Chemical Thailand

เงินส่วนนี้หากจะนำไปพัฒนากลางน้ำ ก็นำมาใช้ไม่ได้ พัฒนาตลาดเพื่อแก้ปัญหาในช่วงวิกฤติยางพาราก็ไม่ได้

เพราะกฎหมายที่เขียนไว้ว่า ต้องนำเงินที่เรียกเก็บจากการส่งออก หรือ เงินเซส (CESS) ไปใช้สนับสนุนการโค่นและปลูกทดแทน โค่นและปลูกแทน…!!!

ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องขยับโครงสร้างยางพาราให้สมบูรณ์ทั้งต้นทาง กลางทาง และปลายทาง หรือต้องพาเกษตรไปส่งถึงตลาด ในฐานะผู้ประกอบการอย่างเต็มตัว

ประการที่ 3 ที่ต้องปฏิรูป เพราะเกษตรกรไม่ได้รับโอกาสในการร่วมกำหนดนโยบายยางพาราของประเทศเป็นครั้งแรก เดิมองค์ประกอบของ คณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ประธานเป็นรัฐมนตรีเกษตรฯ และตัวแทนจากหน่วยงานราชการ มีเกษตรกรเพียง 2-3 คนเท่านั้น คนที่มีความรู้ความสามารถเรื่องการผลิตและตลาดไม่มีโอกาสไปอยู่ในบอร์ดบริหาร

ที่สำคัญคือ นักการเมืองเข้ามายุ่งเรื่องยางพารามากเกินไป สังเกตว่าปีไหนที่การเมืองวุ่นวาย ยางพาราจะวุ่นวายไปด้วย

ไทยผลิตยางแล้วขายเป็นวัตถุดิบมานานหลาบสิบปี กลายเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลก
ไทยผลิตยางแล้วขายเป็นวัตถุดิบมานานหลาบสิบปี กลายเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลก

.ร.บ.การยางฯ มาราธอน 5 รัฐบาล 

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ความจริง พ.ร.บ.นี้มีการร่าง ปรับแก้ และนำเสนอในสภาหลายครั้งหลายสมัย ทำมาแล้ว 4 สมัย แต่ผลักดันให้เกิดผลออกมาเป็นกฎหมายไม่ได้ ตั้งแต่สมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร รัฐบาลสมัคร สุนทรเวช รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แต่ไม่เคยผ่านสภาเป็นกฎหมายได้เลย

แต่ท่านนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ท่านบอกว่าให้เร่งแก้ พ.ร.บ.ฉบับนี้ เพื่อไม่ให้อุตสาหกรรมยางไทยล้าหลัง หลังจากส่งร่าง พ.ร.บ.นี้ไปที่ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีการไปแก้กันที่ สนช. ท่านนายกให้นโยบายว่าเปิดโอกาสให้ทุกคนแก้ได้เต็มที่ เพื่อให้เป็นประโยชน์กับส่วนรวม

หลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ไว้ว่า หลักการที่ให้มีการเก็บภาษีจากการส่งออก หรือ เงิน CESS เพื่อเก็บไว้เป็นกองทุน เพื่อให้คณะกรรมการไปบริหาร ไม่ต้องนำเข้าคลัง ใช้เพื่ออุตสาหกรรมยางพาราของประเทศอย่างแท้จริง

จึงมีการเปลี่ยนชื่อ “กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง” เป็น “กองทุนพัฒนายางพารา” จากนั้นเปลี่ยนองค์ประกอบกรรมการ เปลี่ยนโพซิชั่น ขับเคลื่อนประเทศให้ไปสู่อุตสาหกรรมยางพาราครบวงจรให้ได้ แล้วกำหนดวิสัยทัศน์ไว้ในกฎหมายเลย ว่า

กยท. เป็นองค์กรกลางรับผิดชอบดูแลการบริหารจัดการยางพาราของประเทศทั้งระบบอย่างครบวงจร บริหารจัดการเกี่ยวกับการเงินของกองทุน ตลอดจนส่งเสริมและสนับสนุนให้ประเทศเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางพารา

นี่ เป็น “โรดแม็ป” ของ การการยางแห่งประเทศไทย คณะกรรมการที่จะเข้ามาบริหารรวมทั้งทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับยางพาราของประเทศด้วย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

 

.ร.บ.การยางฯ เกษตรกร คือ เจ้าของตัวจริง

คอนเซ็ปต์ของกฎหมายนี้ รัฐบาลให้อิสระ กับ กยท.ในการกำหนดอัตราเรียกเก็บภาษีส่งออกยางพารา เพื่อเป็นกองทุน เพื่อใช้บริหารงานให้ได้ตามเป้าหมาย

ตามปกติกรรมการรัฐวิสาหกิจ จะมี 11 คน แต่คณะรัฐมนตรี และสภานิติบัญญัติแห่งชาติเห็นควรเป็นกรณีพิเศษให้เพิ่มเป็น 15 คน และในจำนวนนี้ให้มีตัวแทนเกษตรกรเป็นกรรมการ 1 ใน 3 คือ 5 คน ที่เหลือเป็นกรรมการโดยตำแหน่งจากกระทรวงต่างๆ และผู้ทรงคุณวุฒิ

ในขั้นตอนชั้นแปรญัตติกฎหมายในกรรมาธิการวิสามัญฯ มีผู้พิจารณาร่าง พ.ร.บ. 25 คน รัฐบาลเปิดใจกว้างให้มีตัวแทนเกษตรกรอยู่ในนั้นทั้งหมด 5 คน เพื่อให้เกษตรกรมีส่วนร่วมและมีส่วนกำหนดเนื้อหาอย่างเต็มที่ และเพื่ออธิบายคนในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ให้เห็นวัตถุประสงค์และความมั่นคงที่จะเกิดขึ้นในอุตสาหกรรมยาง

เกษตรกรจึงมีบทบาทสูงมากในการร่าง พ.ร.บ.การยางฯ และมีโอกาสเข้ามาบริหาร เพื่อกำหนดทิศทางและควบคุมความเป็นธรรมไม่ให้เสียสมดุลของโครงสร้าง และเกิดการพัฒนาอย่างมั่นคงยั่งยืน ตามที่นายกรัฐมนตรีมอบนโยบายไว้

ผู้ผลักดัน กฎหมายนี้ ที่แท้จริงคือเกษตรกร ในแง่ของรัฐบาลทำแล้วเกษตรกรได้ประโยชน์เราก็ดีใจ ที่ได้มอบโอกาสและสิ่งดีๆ ให้เกษตรกรได้นำไปใช้ ท่านนายกก็ดีใจที่เกษตรกรชาวสวนยางพอใจกับผลงานของรัฐบาล และเป็นกฎหมายเกษตรและเกษตรอุตสาหกรรมที่ดีที่สุดฉบับหนึ่ง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

นี่คือที่มาว่า ทำไมเกษตรกรจึงรักกฎหมายฉบับนี้ เพราะเขามีความรู้สึกว่าตัวเองเป็นเจ้าของ มีส่วนร่วมในการบริหาร เพื่อประโยชน์ของเขาเอง

ผลิตล้อยางรถยนต์ เพิ่มมูลค่ายางพาราผลิตล้อยางรถยนต์ เพิ่มมูลค่ายางพารา
ผลิตล้อยางรถยนต์ เพิ่มมูลค่ายางพารา

กองทุนพัฒนายางพารา ส่งเสริมภาคแปรรูปยางและผลิตภัณฑ์ยาง

ประเด็นที่สำคัญ ของ พ.ร.บ.การยางฯ คือ เมื่อเก็บภาษีส่งออกยางพารา หรือ เงิน CESS จะนำไปใช้เพื่ออะไร…???

หลังจากเปลี่ยนชื่อจาก “กองทุนสงเคราะห์การสวนยาง” เป็น “กองทุนพัฒนายางพารา” เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนายางพารา เงินจากกองทุนนี้จะถูกแบ่งเป็น 6 ส่วน คือ

10% ใช้เพื่อบริหารงานของ กยท.

5% ใช้เพื่องานวิจัยและพัฒนา

โฆษณา
AP Chemical Thailand

40% ใช้เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการส่งเสริม สนับสนุน และให้ความช่วยเหลือเกษตรกรเพื่อโค่นยางเก่าปลูกยางใหม่ทดแทน

35% ใช้เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนสถาบันเกษตรกร และผู้ประกอบกิจการยางแปรรูปยางพารา รวมทั้งสร้างผลิตภัณฑ์ยางในประเทศด้วย

7% เป็นค่าใช้จ่ายสวัสดิการเกษตรกรชาวสวนยาง เพื่อช่วยเหลือยามเจ็บป่วย และชรา

3% เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางให้ความรู้และความเข้มแข็ง แก่เกษตรกร เช่น การฝึก อบรมด้านต่างๆ

แปรรูปยางเป็นผลิตภัณฑ์คือ เป้าหมายสำคัญของ พ.ร.บ.การยางฯ
แปรรูปยางเป็นผลิตภัณฑ์คือ เป้าหมายสำคัญของ พ.ร.บ.การยางฯ

เรื่องที่จะเกิดขึ้นหลังกฎหมายฉบับนี้บังคับใช้

สิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังจากกฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับคือ โพซิชั่นหรือตำแหน่งในอุตสาหกรรมยางพาราของไทยจะเปลี่ยนไป สู่อุตสาหกรรมครบวงจรมากขึ้น

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ที่สำคัญ คือ กยท.จะมีความอิสระปราศจากการแทรกแซงจากการเมือง ในกฎหมายฉบับนี้ไม่มีนักการเมืองสักตำแหน่งเดียว ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย มาจากการสมัครและสรรหา นักการเมืองจะมีหน้าที่ดูแลอยู่ห่างๆ เท่านั้น ไม่มีอำนาจการสั่งการ การบริหารจะเป็นอิสระ โอกาสที่กรรมการในส่วนของตัวแทนเกษตรกรจะถูกนักการเมืองส่งคนของตัวเองเข้ามานั่งเหมือนที่ผ่านมาเป็นไปได้ยาก เพราะกฎหมายกำหนดที่มาไว้รัดกุมแน่นหนา ปราศจากอำนาจฝ่ายการเมือง มีกระบวนการเสนอ และสรรหา เข้ามา โดยเกษตรกรเป็นผู้เลือก ถ้าใครทำประโยชน์และเกษตรกรยอมรับจะถูกเลือกเข้ามา

การที่เกษตรกรมีที่ยืนเป็นผู้ผลิตวัตถุดิบ หากมีบทบาท มีความรับผิดชอบในบริหารอุตสาหกรรมยางพารามากขึ้น จะทำให้การผลิตและการค้าทั้งอุตสาหกรรมยั่งยืน บทพิสูจน์ใหญ่ทั่วโลกเห็นชัดว่า ถ้าเมื่อไรก็ตามที่ผู้ผลิตวัตถุดิบส่วนใหญ่ไม่ยั่งยืน อุตสาหกรรมนั้นไม่มีทางยั่งยืน

แต่เมื่อไรก็ตามที่ผู้ผลิตวัตถุดิบเขามีบทบาท ได้รับประโยชน์อย่างถ้วนทั่วและมีความเป็นธรรม เขาจะยั่งยืน และจะทำให้อุตสาหกรรมนั้นยั่งยืน เช่น ผู้ผลิตโคนมในประเทศ เดนมาร์ก และสวีเดน เขามีความเข้มแข็ง อุตสาหกรรมโคนมของเขาก็แข็งแรง แข่งขันไปได้ทั่วโลก

บทพิสูจน์นี้จะทดสอบว่า การทำให้เกษตรกรชาวสวนยางเข้มแข็ง เพื่อให้อุตสาหกรรมยั่งยืน เป็นเรื่องผิดหรือถูก

กฎหมายฉบับนี้ ในความรู้สึกของผมในฐานะที่เคยทำกฎหมายอ้อยและพืชเกษตรหลายๆ ตัวมาก่อน กฎหมายนี้เหนือชั้นกว่าเรื่องอ้อย บทบาทของเกษตรกรมีมากกว่า และสูงกว่า แต่จะมากน้อยแค่ไหนสุดท้ายอยู่ที่คนบริหาร

ด้วยระบบแบบนี้ ผมเชื่อว่าต่อไปเกษตรกรจะเป็นใหญ่ในแผ่นดิน…!!!

โฆษณา
AP Chemical Thailand

 

 

 

พรบ การยาง 2558 พรบ การยาง 2558 พรบ การยาง 2558