สวนยางผสมผสาน หรือ เกษตรผสมผสาน กำลังได้รับความนิยม เนื่องจากสร้างประโยชน์ให้แก่ตัวเกษตรกรเองแล้ว ยังสามารถช่วยลดความเสี่ยงเรื่องของ ราคาผลผลิตตกต่ำได้อีกด้วย บทความด้านล่างจะเสนอ ตัวอย่างเกษตรกร ที่ประสบความสำเร็จในการทำเกษตรผสมผสาน โดยเฉพาะการปลูกยาง คู่ไม้ผลทั้ง 4 ชนิด ซึ่งจะมีหัวเรื่องดังนี้
- ลุงสุชีพ และ ป้ากรรณิกา สำนักวิชา
- การปลูกไม้ผล 4 อย่าง คู่ยางพารา
- การใช้ปุ๋ยเคมี และ ปุ๋ยอินทรีย์
- ปลูกไม้ผลร่วมกับ สวนยางผสมผสาน สร้างความยั่งยืน
- อย่ายึดติดกับปัญหาถ้าเจอก็หาทางแก้ไข
- โทร 081-377-4653
สวนยางผสมผสาน
ลุงสุชีพ และ ป้ากรรณิกา สำนักวิชา เจ้าของสวนยางผสมผสาน ซึ่งเป็น สวนยางพาราและสวนผลไม้ ที่หมู่บ้านเนินข้าวต้ม ตำบลเนินฆ้อ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง
บนเนื้อที่ทั้งหมด 42 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ปลูกยางพารา 25 ไร่ ทุเรียน 13 ไร่ ส่วนมังคุด กระท้อน และหมาก ปลูกร่วมกันบนพื้นที่ 4 ไร่
แต่เดิมนั้นลุงสุชีพได้รับมรดกที่ดินสวนยางพาราจากบรรพบุรุษและมาต่อยอดซื้อที่ดินปลูกยางพาราและผลไม้เพิ่ม จนทุกวันนี้มียางพาราทั้งหมด 1,200 ต้น ทุเรียนพันธุ์หมอนทองมากกว่า 220 ต้น มังคุด 150 ต้น กระท้อนพันธุ์ปุยฝ้าย 8 ต้น และหมาก 300 ต้น
มีรายได้จากผลผลิตในสวนทั้งหมดประมาณ 300,000 – 400,000 บาทต่อปี เป็นรายได้หลักจุนเจือให้ตนเองและคนในครอบครัว ใช้ชีวิตในบ้านสวนอย่างมีความสุข
กว่าจะมี สวนยางผสมผสาน และ สวนผลไม้ แบบทุกวันนี้
ลุงสุชีพปัจจุบันอายุ 59 ปี เป็นคนในพื้นที่อำเภอแกลงตั้งแต่เกิด คลุกคลีอยู่กับสวนยางพาราโดยรับจ้างกรีดยางพาราตั้งแต่อายุ 14 ปี
ลุงสุชีพเล่าว่าชีวิตตนเองนั้นเคยลำบากมาก่อน เริ่มต้นจากศูนย์ จากที่ไม่มีอะไรเลย ยึดอาชีพรับจ้างกรีดยางพารา เคยเป็นพ่อค้าเร่ขายทุเรียน แต่งงานตอนอายุ 20 ปีกว่า ๆ กับป้ากรรณิกา ปัจจุบันป้ากรรณิกามีอายุ 58 ปี
ตั้งแต่แต่งงานกันทั้งสองคนก็ช่วยกันทำงานเก็บหอมรอมริบ จนมีเงินไปซื้อที่ดินเป็นของตนเอง เพื่อปลูกยางพาราและไม้ผลเพิ่ม มีเงินสร้างเนื้อสร้างตัว สร้างครอบครัว จนมีลูกสาวด้วยกัน 2 คน คนโตอายุ 35 ปี เป็นคุณครูสอนหนังสือที่โรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่งในอำเภอแกลง
ปัจจุบันแต่งงานแล้ว มีหลานสาวให้ลุงสุชีพกับป้ากรรณิกา 1 คน อายุ 8 ขวบ ส่วนลูกสาวคนที่ 2 อายุ 26 ปี เคยทำงานบริษัทมาก่อน
แต่ปัจจุบันผันตัวมาเป็นแม่ค้าขายขนมปัง พิซซ่า และหอยจ๊อ ในตลาดอำเภอเมืองระยอง ซึ่งลูกสาวทั้ง 2 คน กับหลานสาวอีก 1 คน ก็อาศัยอยู่กับลุงสุชีพและป้ากรรณิกาจนถึงทุกวันนี้
ลุงสุชีพเล่าว่าเลือกปลูกไม้ผลเพิ่มเติมจากที่มียางพาราอยู่แล้ว เนื่องจากต้องการรายได้เพิ่ม เพราะมีความคิดว่า ยางพาราให้รายได้ประจำวัน ส่วนสวนผลไม้นั้นให้รายได้ประจำปี ก็จะทำให้เกิดรายได้เสริมหมุนเวียนการทำสวนซึ่งกันและกัน
สมมติได้รายได้จากการทำสวนผลไม้ สามารถเอามาลงทุนเป็นค่าปุ๋ย ค่ายา ในสวนยางพาราได้ หรือนำไปใช้หนี้ธนาคารที่ไปกู้ซื้อที่ดินมา เป็นต้น
ปกติแล้วยางพาราหนึ่งปีสามารถกรีดยางได้ 150 – 200 วัน ส่วนไม้ผลนั้นต้องรอเก็บเกี่ยวปีละครั้ง ซึ่งใช้เวลานานมากกว่ายางพารา กว่าจะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ในแต่ละปี
ลุงสุชีพเล่าว่า ชีวิตตนลำบากเริ่มต้นจากศูนย์ จากที่ไม่มีที่ดินเป็นของตัวเอง เก็บเงินสร้างเนื้อสร้างตัวมาซื้อที่ดินเพิ่มเรื่อยๆ จนทุกวันนี้พออยู่ พอกิน ส่งลูกสาวเรียนจบมหาวิทยาลัยทั้ง 2 คน ถ้าไม่อายทำกิน ยังไงก็มั่งมี
การปลูกไม้ผล 4 อย่าง คู่ยางพารา
ไม้ผลที่ปลูกควบคู่กับ สวนยางผสมผสาน ได้แก่ ทุเรียนพันธุ์หมอนทอง เนื้อที่ 13 ไร่ จำนวน 220 ต้น ส่วนมังคุด กระท้อน และหมาก
ปลูกร่วมกัน บนพื้นที่ 4 ไร่ โดยแบ่งเป็นมังคุด 150 ต้น กระท้อนพันธุ์ปุยฝ้าย 8 ต้น และหมาก 300 ต้น โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ทุเรียนพันธุ์หมอนทอง
ทำไมต้องเป็นหมอนทอง เพราะเป็นพันธุ์ที่ตลาดส่งออก ลุงสุชีพบอกว่าจะปลูกอะไรก็ต้องดูตลาดส่งออก พื้นที่ปลูกทั้งหมด 13 ไร่ แบ่งเป็นแปลงเก่าที่ซื้อมา 4 ไร่ และแปลงใหม่ที่ซื้อที่ดินปลูกเพิ่ม 9 ไร่ ซึ่งแปลงเก่า 4 ไร่ นั้น พ่อของคุณลุงสุชีพปลูกเอาไว้แล้วยกที่ดินเป็นมรดกให้
ตอนนี้ทุเรียนมีอายุมากกว่า 20 ปีแล้ว และสามารถเก็บผลผลิตขายได้แล้วทั้งหมด 56 ต้น ปีนี้ติดผลดกมาก แต่ก็ต้องรอดูราคาว่าจะดีไหม ส่วนแปลงใหม่ 9 ไร่ ซื้อต้นกล้าขนาดความสูงประมาณ 1.20 เมตร มาจากร้านขายพันธุ์ไม้ จำนวนมากกว่า 200 ต้น ซื้อมาต้นละ 180 บาท
ระยะปลูกตามมาตรฐานทั่วไป คือ 10 x 10 เมตร ตอนนี้ทุเรียนมีอายุ 35 เดือน แล้ว เดือน พ.ค.นี้จะครบครบ 3 ปีพอดี แต่ต้องรอให้ครบ 4 – 5 ปี จึงจะให้ผลผลิต แต่ถ้าต้นอุดมสมบูรณ์ดี 7 ปี ก็ให้ผลผลิตได้เต็มที่ ซึ่งตอนนี้เริ่มออกดอกแล้ว รวมทั้งหมดตอนนี้มีต้นทุเรียนประมาณ 220 – 230 ต้น ต้นทุนการปลูก ค่าปรับพื้นที่ ขุดบ่อน้ำ เดินท่อน้ำสปริงเกลอร์หมดไป 170,000 บาท
ส่วนการขุดหลุมลงหลุมปลูกลุงสุชีพทำด้วยตัวเองเพื่อลดต้นทุน ถ้าจ้างเขาทั้งหมดก็น่าจะตก 2 แสนกว่าบาท ปีนี้จ้างแรงงานเหมาโยงทุเรียน 56 ต้น ใช้คน 1 คน ทำอาทิตย์เดียวเสร็จ จ่ายไป 5,000 บาท น้ำที่ให้เป็นน้ำในคลองชลประทานมาจากเขื่อนประแสร์โดยใช้ปั๊มน้ำไฟฟ้าปั๊มให้น้ำไหลไปตามท่อสปริงเกลอร์ทั่วสวน โดยจะเปิดน้ำทีละล๊อก ล๊อกหนึ่งเปิดน้ำเป็นระยะเวลา 25 – 30 นาที
แล้วแต่ความแห้งของดิน ทุเรียน 1 ต้น ใช้หัวสปริงเกลอร์อย่างน้อย 2 หัว ค่าไฟตกเดือนละไม่เกิน 200 บาท ประหยัดกว่าใช้ปั๊มน้ำมัน การให้ปุ๋ยสูตรที่ให้แตกต่างกันกับยางพารา แต่ปุ๋ยอินทรีย์ของลุงอ้วนใช้เหมือนกันกับยางพารา
โดยช่วงนี้จะให้บ่อย ให้อาทิตย์ละ 1 ครั้ง ตอนนี้ทุเรียนแปลงใหม่ 200 กว่าต้น เริ่มโตแล้ว ก็เริ่มใช้ปุ๋ยเยอะขึ้น ปีหน้าคาดว่าค่าปุ๋ยอาจจะมากขึ้นกว่าเดิม ผลผลิตสามารถเก็บเกี่ยวได้ในเดือน พ.ค. – ก.ค. ลุงสุชีพบอกว่าถ้าใครจะซื้อทุเรียนช่วงนี้ที่ขายตามรถเร่ อย่าไปซื้อเพราะมันยังไม่สุกดี เขาชุบน้ำยาเร่งสุก ถ้าจะซื้อต้องให้เขาแกะให้ อย่าซื้อไปทั้งลูก แกะแล้วดูเนื้อต้องสุก หอม หวาน ราคามันแพง ถ้าซื้อไปแล้วกินไม่ได้ซวยเลย
แต่เดี่ยวนี้ทางผู้ว่า ฯ เขาเข้มงวด ที่หลอกขายดิบ ๆ ไม่ค่อยมีให้เห็น ถ้าใครหลอกขายทุเรียนดิบ มีโทษ ถูกปรับ จับติดคุก ปริมาณผลผลิตต่อปี ถ้าปีไหนผลดกจะได้ผลผลิตประมาณ 5 – 6 ตัน เวลาขายบางครั้งก็ให้พ่อค้ามาเหมาสวน บางครั้งก็เอาไปขายเองถ้ามีเวลา แต่ส่วนมากก็จะให้พ่อค้ามาเหมาสวนเลย พ่อค้าก็มีหลายเจ้ามารับซื้อ
โดยแข่งราคากันเอา เจ้าไหนให้ราคาดีกว่าก็ให้เจ้านั้น กรณีที่เอาไปขายเองก็จ้างคนงานขึ้นเก็บทุเรียนให้ เพราะลุงสุชีพขึ้นต้นไม่ไหว ราคาขายต่อหน่วยปีล่าสุดอยู่ที่ 85 บาท/กก. เฉลี่ย 1 ต้น ทำเงินมากกว่า 10,000 บาท แต่ปีนี้ยังไม่ได้เก็บผลทุเรียนเลย ปีล่าสุดทุเรียนติดผลน้อย ได้ยอดขายประมาณ 1 แสนกว่าบาท
ถ้าปีไหนดกจะได้ยอดขาย 5 – 6 แสน เฉลี่ยแล้วยอดขายอยู่ที่ 200,000 – 300,000 บาท ปัญหาของทุเรียนที่เจอ คือ สภาพฝนฟ้าอากาศที่แปรปรวน ทำให้การติดดอก ออกผล ผิดปกติ บางปีแล้งไป หรือฝนมาผิดปกติ ถ้าช่วงออกดอกอากาศไม่เย็นก็ไม่ติดผล เพราะทุเรียนต้องการอากาศเย็นในการติดดอก ออกผล
มังคุด
ปลูกในพื้นที่ปลูกบ้านเนื้อที่ 4 ไร่ จำนวน 150 ต้น ปลูกมาแล้ว 15 ปี เริ่มแรกลงทุนซื้อต้นกล้ามาราคาต้นละ 25 บาท ซื้อมามากกว่า 150 ต้น ปลูกไปพอต้นโต เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ซักระยะไม่มีตลาดส่งออก เลยโค่นต้นทิ้งบางส่วนทุกวันนี้เหลือ 150 ต้น
ตอนปลูกลุงสุชีพลงมือปลูกเองไม่ได้จ้างแรงงาน เดินท่อน้ำเองลงทุนไป 10,000 กว่าบาท สมัยนั้นท่อ PVC ขนาด 2 นิ้ว ท่อนหนึ่ง 20 บาท ทุกวันนี้ 70 กว่าบาท ระบบน้ำที่ให้เป็นน้ำคลองชลประทานที่ปล่อยมาจากเขื่อนประแสร์ แล้วใช้มอเตอร์ดูดน้ำปล่อยไปตามท่อน้ำสปริงเกลอร์รดน้ำได้เลย ไม่ได้ขุดสระ ขุดบ่อ ทำให้ประหยัดต้นทุนได้ ปุ๋ยเคมีที่ให้เป็นสูตรเดียวกับทุเรียนเพราะเป็นไม้ผลเหมือนกัน
ส่วนปุ๋ยอินทรีย์น้ำดำของลุงอ้วนให้เหมือนยางพาราและทุเรียน โดยให้เป็นช่วงส่วนมากจะให้ในช่วงติดดอก ออกผล ช่วงนั้นให้ทุกๆ 15 วัน หรืออาทิตย์ละ 1 ครั้ง แต่ช่วงนี้ลูกแก่แล้ว ไม่ได้ให้แล้ว ให้น้ำอย่างเดียว เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ตั้งแต่ปลายเดือน เม.ย. – ปลายเดือน มิ.ย.วันหนึ่งเก็บได้ประมาณ 40 ตะกร้า
สวนมังคุดที่ปลูกในพื้นที่ปลูกที่สูงกว่าสวนลุงก็เริ่มสุกและทยอยเก็บขายส่งออกต่างประเทศแล้ว ไซด์ A ราคา 230-250 บาท/กก. ตกลูกละ 20 กว่าบาท ปีนี้มังคุดลุงทยอยติดผล ติดผลไม่พร้อมกันปริมาณผลผลิตปีล่าสุดเฉลี่ย 30 กก./ต้น/ปี ราคาเฉลี่ยทั้งปีที่แล้ว เกรด A B C อยู่ที่ 30 บาท/กก.
เวลาขายจะมีบริษัทมารับซื้อที่สวน โดยคัดเกรดที่สวนแล้วก็ให้ราคาแยกตามเกรดแล้วจ่ายเงินสดที่สวนวันต่อวัน ยอดขายต่อปีประมาณ 135,000 บาท/ปี ข้อดีของมังคุด คือ ดูแลง่ายกว่าทุเรียน แมลงรบกวนน้อยกว่า ถ้ามีก็รบกวนช่วงผลอ่อนหน่อยเดียว หนอนก็ไม่ชอนไชเหมือนทุเรียน
กระท้อนพันธุ์ปุยฝ้าย
ปลูกแซมในสวนมังคุดจำนวนต้น 8 ต้น เลือกปลูกพันธุ์นี้เพราะว่าลูกโต น้ำหนักดี ราคาดีคนนิยมบริโภค เริ่มแรกญาติซื้อต้นกล้ามาฝากจากจังหวัดปราจีนบุรี ปลูกมาแล้วมากกว่า 10 ปี ตอนนี้อายุพอๆกับมังคุด การบำรุงดูแลรักษาจะมีการห่อกระท้อนกันแมลงวันทอง
ช่วงที่ออกผลวันว่าง ๆ ก็ห่อไปเรื่อย ๆ การห่อก็จะคัดลูกที่ผลใหญ่ ขั้วใหญ่ตรง ผลสวย ใช้เวลาห่อวันละ 1-2 ชม. ถ้าไม่ห่อเวลาแมลงวันทองมาไข่ใส่แล้วลูกก็จะร่วงหมด นอกจากนี้ต้องคอยตัดแต่งกิ่งไมให้สูงจนเกินไปเพราะถ้าสูงมากจะห่อผลยาก
ช่วงที่เก็บเกี่ยวผลผลิตเป็นช่วงเดียวกับทุเรียนกับมังคุด ประมาณ เดือน พ.ค.- มิ.ย. ปีนี้ออกผลดกมาก ต้องคัดลูกเล็กทิ้งเพื่อไม่ให้แย่งอาหารกัน ผลผลิตที่ได้ 1 ลูก ได้น้ำหนักประมาณ 1 กก. หรือ 2 ลูก 3 กก. ก็มี ลุงทยอยเก็บเรื่อยๆเพราะกระท้อนอยู่บนต้นได้นาน อยู่ได้เป็นเดือน เวลาขายจะมีแผงขายที่ตลาดร้านค้าชุมชนของเทศบาลเนินฆ้อ ตั้งอยู่ริมถนนสายแหลมแม่พิมพ์-สุนทรภู่
โดยขายช่วงที่ผลผลิตออกตั้งแต่เดือน พ.ค.- มิ.ย. ทุกๆเสาร์- อาทิตย์ ที่ตลาดจะมีพ่อค้า แม่ค้า มาจากทุกตำบล ผู้คนมากมายทั้งพ่อค้า แม่ค้า และนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ คึกคักเลยทีเดียว ที่สำคัญไม่ต้องเสียค่าแผง ราคาขายแยกขายตามไซด์จะได้ราคาดี
ราคาเริ่มต้นตั้งแต่ 30 50 และ 80 บาท/กก. ถ้าตกเกรดก็ขายลูกละ 15 บาท/กก. ยอดขายต่อต้นประมาณ 6,000-8,000 บาท ต้นไหนดกลูกผลโตก็ขายได้เป็นหลักหมื่นบาทแล้วแต่ขนาดของผล ต้นหนึ่งให้ผลผลิต 100-200 กก.แล้วแต่ขนาดของผล ราคาเฉลี่ยต่อต้นเฉลี่ยต้นละ 7,000-8,000 บาท/ต้น/ปี บางต้นผลดกลูกใหญ่ขายได้ 10,000 บาท/ต้น/ปี หรือได้น้ำหนัก 200-300 กก./ต้น/ปี
มีครั้งหนึ่งเอาไปขายตลาดกลางผลไม้เขาดิน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ห่างจากบ้านลุงสุชีพประมาณ 10 กิโลเมตร แยกเกรดไปขายครั้งนั้น 20 – 30 ตะกร้า ไปถึงพ่อค้าเขาก็เหมาซื้อไปหมดเลย เป็นตลาดกลางที่ไม่ต้องเสียค่าเช่าที่แต่เสียเป็นค่ารถโดยจ่ายคันละ 10 บาท จะขนผลไม้มามากน้อยเท่าไหร่ก็ตามเก็บ 10 บาทเท่ากันหมด เหมาเป็นคันไปเลย วันไหนลูกสาวหยุดงานก็จะไปช่วยขาย
หมาก
ปลูกแซมในสวนมังคุดและกระท้อน พันธุ์ปลูกเป็นพันธุ์ในพื้นที่ แรกเริ่มที่ปลูกลุงสุชีพเพาะต้นกล้าเองโดยปลูกพร้อมมังคุดอายุตอนนี้ประมาณ 15 ปี จำนวนทั้งหมด 300 ต้น ให้ปุ๋ยเคมีสูตรเดียวกับมังคุด เก็บเกี่ยวผลผลิตช่วงหน้าฝน
โดยทยอยเก็บขายตั้งแต่เดือน มี.ค. จนถึงหน้าฝน พอถึงเดือน พ.ค.หมากจะออกเยอะราคาก็จะถูก หลังเดือน พ.ค. ก็จะขายเป็นหมากแห้งแทนขายหมากสด โดยแกะเอาเนื้อข้างในไปผึ่งแดดให้แห้งซึ่งป้ากรรณิกาทำไว้ตั้งแต่เดือน ต.ค. ปีที่แล้ว
เวลาขายจะมีบริษัทมารับซื้อแล้วส่งออกไปขายประเทศอินเดีย ราคาขายอยู่ที่ 50-60 บาท/กก. ซึ่งชาวอินเดียเขาจะนำไปทำสีย้อมผ้า ส่วนผลสดเวลาขายพ่อค้าจะให้ลูกน้องมาขึ้นเอง ราคาผลสดอยู่ที่ 80 บาท/กก. เก็บขายทั้งหมากสดและหมากแห้ง เก็บขายมาเป็นระยะเวลา 10 ปีแล้ว
นอกจากนี้ยังเพาะต้นกล้าหมากขายด้วย ราคาต้นละ 15 บาท มีคนสั่งไว้แล้วจึงเพาะต้นกล้าให้เขา ถ้าเหลือก็มีคนมาซื้อถึงที่สวน ยอดขายรวมกันได้ 30,000 – 40,000 บาท /ปี ถือว่าเป็นรายได้เสริม
หมากสดต้นหนึ่งเก็บผลผลิตเฉลี่ยทั้งปี ได้น้ำหนักต้นละประมาณ 30-40 กก. เป็นเงิน 300-400 บาท ยอดขายต่อปีประมาณ 30,000 บาท/ปี ปัญหาที่พบคือปีที่ผ่านมาสภาพอากาศที่แห้งแล้งมากทำให้หมากไม่ค่อยติดลูก ผลผลิตจึงน้อยตามกัน
การใช้ปุ๋ยเคมี และ ปุ๋ยอินทรีย์
ลดการใช้เคมี เพิ่มการใช้อินทรีย์เพื่อสิ่งแวดล้อม
การให้ปุ๋ยที่สวนของลุงสุชีพทั้ง สวนยางผสมผสาน และสวนไม้ผลจะใช้ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ โดยปุ๋ยเคมีที่ให้มีหลายยี่ห้อและสูตรต่างกัน ทดลองใช้หลายยี่ห้อเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพ ผลปรากฎว่าไม่ต่างกัน ต่างกันที่ราคาเท่านั้น โดยให้ปีละ 2 ครั้ง
ช่วงต้นฝนให้ปุ๋ยอินทรีย์ พอถึงเดือนตุลาคมเอาปุ๋ยเคมีมาปูบาง ๆ แต่ปุ๋ยอินทรีย์จะใช้ผลิตภัณฑ์ตัวเดียวกัน ทั้งไม้ผล ทั้งยางพารา จะใช้ผลิตภัณฑ์ของ ลุงอ้วนพรชัยเกษตร ซึ่งใช้มา 3 ปีแล้ว อัตราการใช้จะแสดงไว้ในตารางที่ 1
ตารางที่ 1 ข้อมูลการใช้ผลิตภัณฑ์ของลุงอ้วนพรชัยเกษตรใน สวนยางผสมผสาน และสวนไม้ผลลุงสุชีพ | |||||
ลำดับที่ | ชื่อผลิตภัณฑ์ | ขนาด | ราคา (บาท) | ประโยชน์ | อัตราการใช้ |
1 | ปุ๋ยอินทรีย์กระสอบ | 50 กก. | 500 | ปุ๋ยอินทรีย์ช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุในดิน | 50 กก./ไร่/ปี |
2 | ปุ๋ยอินทรีย์Dr.tree ฝาสีดำ | 1 ลิตร | 200 | ช่วยผลิตเอนไซม์ที่ย่อยสลายแร่ธาตุในดินให้อยู่ในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ได้โดยตรง | 2 ลิตร:น้ำ 200 ลิตร |
3 | เอนไซม์น้ำดำPC ฝาสีชมพู | 1 ลิตร | 500 | มีฮอร์โมนออกซินช่วยเร่งราก เร่งยอด |
100 ซีซี:น้ำ 200 ลิตร
|
4 | ปุ๋ยอินทรีย์Dr.tree ฝาสีเขียว | 1 ลิตร | 500 | มีแร่ธาตุครบ 21 ตัว ที่พืชสามารถดูดซึมทางใบและลำต้นแล้วนำไปใช้ได้เลย | |
5 | เอนไซม์น้ำดำPC ฝาสีเหลือง | 1 ลิตร | 1,000 | มีฮอร์โมน 3 ชนิดได้แก่ ออกซิน จิบเบอเรลลินและไซโตไคนิน ช่วยในการเร่งดอก | |
6 | เอนไซม์น้ำดำPC ฝาสีแดง | 1 ลิตร | 500 | ฉีดพ่นที่ใบ บำรุงต้น ใบ ดอก ผล คุมเชื้อรา ฆ่าเชื้อโรค | |
7 | ผงซิลิก้า สำหรับผสมทาหน้ายางพารา | 3 กก. | 600 | รักษาหน้ายางยุบ เส้นดำ ทำให้เปลือกยางพารานิ่มกรีดง่าย ยางไหลดี DRC สูง | 20 ช้อนโต๊ะพูนผสมฝาเขียวกับฝาชมพูอย่างละ 1 ช้อนโต๊ะ จากนั้นผสมน้ำ 1 ลิตร |
เอนไซม์น้ำดำ PC ฝาสีชมพู
ลุงสุชีพจะใช้ เอนไซม์น้ำดำ PC ฝาสีชมพู เป็นตัวนำ ฉีดพ่นทางใบ ดอก และลงดิน แต่ถ้าฉีดบำรุงหน้ายางจะใช้อย่างละ 2 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 200 ลิตร ใช้สลับกันได้ เช่น ฝาเขียวกับฝาชมพู หรือฝาแดงกับฝาเหลือง เป็นต้น
แต่ก่อนใช้ปุ๋ยเคมีเฉลี่ยตันละ 20,000 บาท แต่ถ้าใช้ปุ๋ยอินทรีย์ของลุงอ้วน 20 กระสอบ เป็นเงิน 10,000 บาท ลดต้นทุนค่าปุ๋ยได้ 50% ปกติใช้ปุ๋ยเคมี 1 ลูก/ไร่/ปี
พอใช้ปุ๋ยอินทรีย์ของลุงอ้วน ลดการใช้ปุ๋ยเคมีเป็น 1 ลูก/3ไร่/ปี ปีแรกใช้ปุ๋ยเคมี 20 กระสอบ ปีต่อมาลดลงเหลือ 15 กระสอบ ต้นทุนปุ๋ยเคมีและอินทรีย์ทั้งหมดที่ใช้ทั้ง สวนยางผสมผสาน และสวนไม้ผลมากกว่า 10,000 บาทต่อปี
การจัดการดูแลรักษาใน สวนยางผสมผสาน เช่น การให้น้ำเป็นน้ำฝนตามธรรมชาติ การตัดหญ้าก็จะใช้เครื่องตัดหญ้าแทนยาฆ่าหญ้า แต่ปกติแล้วสวนลุงสุชีพหญ้าไม่ค่อยรก ต้นทุนการปลูกทีแรก ค่าต้นพันธุ์และค่าปรับพื้นที่เฉลี่ยไร่ละ 3,000-4,000 บาท
ส่วนมากลุงสุชีพจะทำเองปลูกเอง ไม่ค่อยได้จ้างแรงงาน จึงประหยัดค่าแรงงานไป น้ำกรดที่ใช้เป็นน้ำกรดตราม้าแดง เสือแดง
และดาวแดง 1 อาทิตย์ ใช้ 1 แกลลอน ปริมาณ 5 ลิตร ราคา 250 บาท เป็นกรดฟอร์มิก อัตราการใช้ กรด 5 ลิตรต่อน้ำ 30 ลิตร
ลุงสุชีพเล่าว่าใช้กรดฟอร์มิกเนื่องจากเป็นกรดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ใช้แล้วหน้ายางไม่ตาย คนเขาก็ว่ายางลุงสวย หน้ายางดี หน้ายางตายก็มีบ้าง แต่ส่วนน้อย ระบบกรีดเป็นระบบกรีดวันเว้นวัน ครั้งหนึ่งกรีด 12-15 ไร่ ช่วงเวลากรีด กรีดตั้งแต่ตี 2 – 10 โมงเช้า กรีด 2 คน กับป้ากรรณิกา กรีด 2 วัน
ก็เต็มขันแล้ว“ลุงกับป้ายังแข็งแรง ยังทำไหว ลุงชอบทำสวน” พักกรีดยางปลายเดือน ม.ค. ถึงกลางเดือน เม.ย. ช่วงหน้าฝนที่ตกหนักก็ไม่ได้กรีด
และช่วงมังคุดสุกปลายเดือนเม.ย.ถึงปลายเดือนมิ.ย.พักไปเก็บผลไม้แทน ผลผลิตที่ได้ขายเป็นยางก้อนถ้วย
โดยมีเจ้าของลานเจ้าประจำมารับซื้อที่สวนผลผลิตช่วงหน้าหนาวน้ำยางจะออกมาก กรีดได้ครั้งละ 1 ตัน ช่วงปกติกรีดได้ 500 – 600 กก. จากการใช้ผงซิลิกาทาหน้ายางของลุงอ้วน ทำให้ยางน้ำหนักดีเพิ่มขึ้นมา 1 ใน 3 จากเดิม ช่วยให้ DRC สูง
ขายได้ราคาดี จนคนรับซื้อยางบอกประทับใจ ความถี่ในการขายจะขายอาทิตย์ละ 1 ครั้ง ยางก้อนถ้วย เปิดกรีดปีที่แล้วราคามากกว่า 100 บาท/กก. กรีดไม่อยากจะหยุดเลย รายได้ไม่ต่ำกว่าวันละ 10,000 บาท ตอนนี้รายได้เฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 5,000-6,000 บาท ยอดขายทั้งปีประมาณ 300,000-400,000 บาทต่อปี
ปลูกไม้ผลร่วมกับสวนยางพาราสร้างความยั่งยืน
การปลูกยางพาราอย่างเดียวนั้นเกษตรกรต้องแบกรับความเสี่ยงหลายๆด้าน ทั้งความเสี่ยงด้านปัจจัยการผลิต ปัญหาสัตว์ศัตรูพืช แมลงศัตรูพืชและโรคพืชชนิดต่างๆ ความเสี่ยงจากสภาพภูมิอากาศ
นโยบายของรัฐบาล และราคาตลาดที่ผันผวน ฉะนั้นเกษตรกรจะทำอย่างไรจึงจะลดปัญหาและความเสี่ยงต่างๆเหล่านี้ลงไปได้ อันดับแรกเกษตรกรต้องมีความรู้ความเข้าใจพืชที่ตนเองปลูก คอยศึกษา ติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างสม่ำเสมอ ในช่วง 1 – 2 ปีที่ผ่านมาราคายางตกต่ำ เกษตรกรเริ่มหันมาสนใจทำเกษตรผสมผสานมากขึ้น
เพื่อลดความเสี่ยงต่างๆจากการปลูกยางพาราอย่างเดียว แต่ลุงสุชีพนั้นโชคดีที่สวนของลุงนั้น มีไม้ผลที่ปลูกมาหลายปีและสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตขายได้แล้ว ไม่ต้องตื่นตูมเหมื่อนเกษตรกรรายอื่น ที่เพิ่งจะหันมาสนใจทำเกษตรผสมผสานใน . เพื่อลดความเสี่ยงความผันผวนของราคายางในช่วง 1 – 2 ปี ที่ผ่านมา
หากเพิ่งจะปลูกพืชอื่นเสริม หรือเลี้ยงสัตว์ใน สวนยางผสมผสาน ก็ต้องใช้เวลา อาจจะช่วยสนับสนุนผลเสียจากราคายางตกต่ำไม่ทัน ที่สวนลุงสุชีพมีทั้งยางพาราและไม้ผลสร้างรายได้หมุนเวียน มาใช้ต่อยอดการทำสวนซึ่งกันและกัน ยกตัวอย่างเช่นรายได้จากสวนยางพาราก็เอามาต่อยอดทำสวนไม้ผลในปีถัดไป
หรือรายได้จากสวนไม้ผลก็เอามาใช้หนี้ธนาคารที่ไปกู้เงินมาซื้อที่ดิน เหลือก็พอได้เก็บได้ใช้ ลุงสุชีพบอกว่า “คนที่จะมาทำอาชีพนี้ต้องมีใจรักเกษตร รักการปลูกยาง” สมมติมีที่ดิน 20 ไร่ ปลูกยาง 10 ไร่ ทำสวนไม้ผล 10 ไร่ สวนยางผสมผสาน ก็จะเกิดรายได้ประจำวัน สวนไม้ผลก็ได้รายได้ประจำปี ทำให้เกิดรายได้หมุนเวียนทั้งปี
สวนไม้ผลเพิ่มความสุขในชีวิตลุงสุชีพ
ถ้าถามว่าการปลูกยางพาราผสมผสานเป็นการเพิ่มภาระมากกว่าเดิมไหม? ลุงสุชีพตอบเต็มคำเลยว่า “ไม่รู้ว่าอะไรมันหนัก ลุงทำไปเรื่อย ยางก็ไม่ได้กรีดทั้งวัน พักจากกรีดยางก็มาทำสวนได้ ลุงทำงานเหนื่อยลุงก็พัก บางทีหยุดพักผ่อน 1-2 วันเต็มก็มี อยู่กับบ้านบางทีว่างๆก็ไปตัดหญ้าบ้าง ลุงทำแค่นี้ก็พออยู่พอกินแล้ว”
การจัดการสวนทั้งหมดช่วงที่แมลงระบาดในทุเรียนกับมังคุดเพื่อให้ทันท่วงทีก็ใช้สารเคมีกำจัดแมลงเพื่อป้องกันความเสียหายต่อผลผลิต แมลงที่รบกวน ได้แก่ เพลี้ยไฟ ไรแดง เพลี้ยแป้ง เป็นต้น
โดยเฉพาะปีนี้เพลี้ยแป้งระบาดหนัก ใช้เคมีฉีดนำก่อน พอแมลงหายไป ค่อยฉีดพ่นสารอินทรีย์ของลุงอ้วนตามเพื่อป้องกันแมลงกลับมารบกวน
ซึ่งสารเคมีที่ใช้เป็นสารในกลุ่มอะบาเม็กติน คลอไพริฟอส โดยอะบาเม็กติน จะกำจัดพวกเพลี้ยไฟ ไรแดง ส่วนสารเคมีกลุ่มคลอไพริฟอส จะกำจัดพวกเพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย ฆ่ามด ฆ่าหนอน ลุงสุชีพจะใช้สารเคมีที่ไม่แรงมาก และราคาไม่แพงมากนัก
ปลูกยางพาราควบคู่ไม้ผลมีแต่ “ ข้อดี ” ไม่มีข้อเสีย
หากตั้งใจทำข้อเสียมันไม่มีหรอก มันมีแต่ข้อดี ลุงว่ามันดีทุกข้อ ลุงสุชีพกล่าว ข้อดีเช่น การปลูกพืชชนิดเดียวทำให้เรามีรายได้ทางเดียว แต่ถ้ามีสวนไม้ผลด้วย ทำให้มีรายได้หลายทาง ถ้าราคายางถูก ก็ได้ราคาผลไม้มาช่วย
ถ้าราคาผลไม้ถูกก็อาศัยราคายาง ซึ่งยางพาราเป็นพืชที่ให้รายได้ประจำวัน ส่วนไม้ผลให้รายได้ประจำปี รายได้จาก สวนยางผสมผสาน ก็นำมาใช้หนี้ธนาคารที่ไปกู้ซื้อที่ดินมาปลูกยางกับไม้ผลเพิ่ม การเป็นเกษตรกร บางทีก็ต้องใช้เงินทุน
จึงไปเข้ากลุ่มสหกรณ์การเกษตร ก็ได้เครดิตกู้เงินมา จึงกู้เงินมาลงทุน พอครบกำหนดชำระก็ชำระตามกำหนด หมุนเวียนอยู่ได้อย่างนี้ สมมติเงินทุน สวนยางผสมผสาน เราไม่พอ ก็ไปกู้สหกรณ์ฯมาลงทุนซื้อปุ๋ย ซื้อสารเคมีได้
อย่ายึดติดกับปัญหาถ้าเจอก็หาทางแก้ไข
ลุงสุชีพเล่าว่าตนเองเป็นคนไม่ค่อยยึดติดกับปัญหาจุกจิก เกษตรกรบางคนรอรับความช่วยเหลือจากภาครัฐอย่างเดียว เรื่องพวกนี้ลุงไม่ค่อยได้สนใจ
ถ้ามีปัญหาก็มีช่วงหนึ่งที่ปุ๋ยราคาแพง แต่ยางราคาถูก การแก้ปัญหาแก้โดยการให้ปุ๋ยลดน้อยลง ลดรายจ่ายลงสิ่งไหนทำเองได้ก็ทำด้วยตนเองไม่ต้องจ้างแรงงาน สมมติเคยให้ปุ๋ยปีละ 10,000 บาท ก็ลดลงครึ่งหนึ่งให้เหลือ 5,000 บาท
เกษตรกรบางคนช่วงที่ราคายางตกก็ไปร้องเรียนภาครัฐฯ ตอนที่ราคายางตกภาครัฐเขาก็ช่วยเกษตรกรชาว สวนยางผสมผสาน ด้วยการให้เป็นเงินค่าปุ๋ย ได้มา 2 หนแล้ว ครั้งแรกให้ 2,500 บาท/ไร่ ครั้งที่ 2 ได้ 1,500 บาท/ไร่ รายละไม่เกิน 15 ไร่
ส่วนเรื่องโรคและแมลงก็ต้องคอยศึกษาและติดตามข่าวสารอย่างสม่ำเสมอว่าช่วงนี้ แมลงชนิดใดระบาด จะได้หาแนวทางป้องกันและเฝ้าระวังไว้ล่วงหน้า แต่ที่ผ่านมาสวนของลุงสุชีพ ยังไม่เคยมีประวัติแมลงระบาดหนัก ส่วนเรื่องโรคในยางพาราช่วงหน้าฝนจะพบเชื้อราไฟทอปเทอร์ร่า
ในทุเรียนพบ โรคราสีชมพู ในทุเรียน สวนอื่นก็เป็นเหมือนกัน แต่สวนของลุงสุชีพเป็นน้อยกว่า พบเพียง 4 ต้น แก้ไขโดยใช้ เอนไซม์น้ำดำPC ฝาสีแดง ของลุงอ้วน ฉีดพ่นทุกๆ 3 วัน และสามารถรักษาอาการของโรคได้ อาการของโรคราสีชมพูคือ ใบทุเรียนจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ใบร่วงและกิ่งแห้งตาย
ตอนนี้อายุมากแล้ว ต้องดูแลตัวเอง พยายามลดการใช้สารเคมี มาใช้สารอินทรีย์แทน เคมีใช้เป็นช่วงเท่านั้น ไม่ได้ใช้พร่ำเพรื่อ ถ้ามีปัญหาบางครั้งแก้ไขด้วยตนเองไม่ได้ก็ให้ลุงอ้วนมาดูให้ คุยกันบ่อย บางทีไปคุยกันที่ร้านของลุงอ้วน ลุงอ้วนใจดี เกษตรกรทางภาคอีสานก็ใช้ผลิตภัณฑ์ของแกเยอะเท่าที่ฟัง รายการรู้แล้วรวย ของลุงอ้วนนะ
รู้จักผลิตภัณฑ์ของลุงอ้วนจากการฟังวิทยุ และคุณจงแนะนำมา คุณจงทำงานให้กับลุงอ้วน เข้ามาที่สวนพอดีรู้จักกับคุณจง เพราะสมัยก่อนคุณจงเขาอาศัยอยู่ที่บ้านแม่ของลุงสุชีพตั้งแต่สมัยเป็นเด็ก ไม่ได้เป็นญาติพี่น้องกันแต่นับถือกันเหมือนพี่เหมือนน้อง ลุงก็เคยใช้ยี่ห้ออื่นมาก่อน ทดลองใช้มาเรื่อยๆเป็นคนชอบทดลอง แต่มาหยุดอยู่ที่ผลิตภัณฑ์ของลุงอ้วน เพราะว่าใช้ได้ผลดีจริง ถ้ายี่ห้ออื่นใช้ดีแค่ปีแรกเท่านั้น มีตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของยี่ห้ออื่นเข้ามานำเสนอขายให้แต่ลุงสุชีพปฏิเสธหมดเพราะถูกใจผลิตภัณฑ์ของลุงอ้วนแล้ว สวนข้างๆลุงก็แนะนำให้เขาเอาไปใช้หลายรายแล้วนะ มันเป็นอินทรีย์ ฉีดพ่นแล้วปลอดภัยกับเรา ลุงก็อยากให้รัฐบาลสนันสนุนการแปรรูปยางพารามาใช้ในประเทศให้มากขึ้น ราคายางจะได้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน
สุดท้ายทีมงานยางเศรษฐกิจ ขอขอบพระคุณคุณลุง สุชีพ และป้ากรรณิกา สำนักวิชา ที่ให้ข้อมูลแก่ทีมงาน หากบุคคลใดสนใจติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถ ติดต่อลุงสุชีพและป้ากรรณิกาได้ที่ บ้านเลขที่ 25/1 หมู่บ้านเนินข้าวต้ม ม. 6 ต.เนินฆ้อ อ.แกลง จ.ระยอง 21110 โทร 081-377-4653
สวนยางผสมผสาน สวนยางผสมผสาน สวนยางผสมผสาน สวนยางผสมผสาน สวนยางผสมผสาน สวนยางผสมผสาน สวนยางผสมผสาน สวนยางผสมผสาน สวนยางผสมผสาน สวนยางผสมผสาน สวนยางผสมผสาน สวนยางผสมผสาน สวนยางผสมผสาน สวนยางผสมผสาน สวนยางผสมผสาน สวนยางผสมผสาน สวนยางผสมผสาน สวนยางผสมผสาน สวนยางผสมผสาน สวนยางผสมผสาน สวนยางผสมผสาน สวนยางผสมผสาน สวนยางผสมผสาน สวนยางผสมผสาน สวนยางผสมผสาน สวนยางผสมผสาน สวนยางผสมผสาน สวนยางผสมผสาน