พาราวีเนีย ผลิต เชื้อเพลิงชีวมวล จาก ไม้ยาง 5,000 ตัน/ปี
พลังงานสีเขียวเป็นเชื้อเพลิงสะอาด
พลังงาน “สีเขียว” กำลังเป็นที่ต้องการของโรงไฟฟ้าในญี่ปุ่น เกาหลี และทวีปยุโรป เพราะเป็นเชื้อเพลิงสะอาด ให้ความร้อนสูง สามารถใช้ทดแทนพลังงานจากใต้ดิน อย่าง ก๊าซธรรมชาติ น้ำมันเตา และถ่านหิน เป็นต้น เหมาะสำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้า
หนึ่งในพลังงานสีเขียว คือ ชีวมวลอัดเม็ด ( Wood Pellet คือ ) ถือเป็นแหล่งเชื้อเพลิงอีกรูปแบบหนึ่ง ผลิตจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น เศษไม้ ปลายไม้ ปีกไม้ที่เหลือจากโรงเลื่อยไม้ เป็นต้น
ไม้ยางพาราเป็นตัวที่มีศักยภาพสูงที่สุด เนื่องจากมีพื้นที่ปลูกทั่วประเทศ และโดยวงจรของต้นยาง เมื่อหมดอายุหรือให้น้ำยางน้อย จึงตัดโค่น เพื่อปลูกใหม่ เศษไม้และกิ่งก้านที่เหลือจากอุตสาหกรรมไม้ยางพาราสามารถผลิตวู้ดเพลเลทได้อย่างดี
ปรึกษาฟรี! หากบอกว่ามาจาก พลังเกษตร.com โทรศัพท์ 08-3520-1112 , 0-7520-7440
ขณะเดียวกัน วู้ดพาเลท ยังถูกนำไปใช้แทนเชื้อเพลิงอื่นๆ ได้อย่างดี เช่น ไม้ชิป และกะลาปาล์ม เป็นต้น เชื้อเพลิงสีเขียวชนิดนี้ จึงมีช่องทางค่อนข้างสดใส ทั้งในและต่างประเทศ
บริษัท พาราวีเนีย (2002) จำกัด เป็น หนึ่งในผู้ผลิต เชื้อเพลิงชีวมวล อัดเม็ด และมีเครือข่ายอุตสาหกรรมไม้ยางพารา โรงงานวู้ดเพลเลท และโรงไฟฟ้า เชื้อเพลิงชีวมวล ขนาดใหญ่ของภาคใต้ ยืนยันได้อย่างดีว่าธุรกิจนี้กำลังเติบโต และมีความต้องการเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่เฉพาะโรงไฟฟ้าเท่านั้น แต่รวมไปถึงโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ใช้บอยเลอร์(Boiler) หรือเตาเผา (Stove) ก็เช่นเดียวกัน
คุณวนัส วิระพรสวรรค์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไบโอแมส ฟิวเอล เพลเลท จำกัด
นายวนัส วิระพรสวรรค์ กรรมการผู้จัดการ ให้ข้อมูลว่า บริษัท พาราวีเนีย ก่อตั้ง โดย นายวิชัย วิระพรสวรรค์ เมื่อ 14 ปีที่แล้ว ดำเนินธุรกิจหลักแปรรูป ไม้ยาง พารา วันละ 220 ตัน ก่อนที่เขาซึ่งเป็นลูกชายจะเข้ามาบริหารเมื่อ 6 ปีที่แล้ว
“ผมศึกษาจบการบริหารการจัดการ จากมหาวิทยาลัยเอแบค หลังจากจบการศึกษา เริ่มต้นหาประสบการณ์ทำงานเป็นพนักงานการตลาดบริษัทแห่งหนึ่งได้ประมาณ 2 ปี จากนั้นจึงเข้ามาเรียนรู้งานของครอบครัว จนปัจจุบันย่างเข้าสู่ปีที่ 6 แล้ว”
แปรรูป ไม้ยาง วันละ 220 ตัน ส่งผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์จีน
นายวนัส ให้ข้อมูลว่า ในพื้นที่ จ.ตรัง มีพื้นที่ปลูกยางจำนวนมาก เมื่อต้นยางมีอายุ 20-25 ปี ขึ้นไป จะเริ่มให้น้ำยางน้อยลง จนไม่คุ้มค่ากับการกรีด จำเป็นต้องโค่นและปลูกใหม่ เป็นวัฎจักรอย่างนี้ ไม้ยาง ที่ถูกโค่นจะถูกนำเข้าโรงเลื่อยเพื่อแปรรูปเป็นท่อน ยาวประมาณ 1.6 เมตร สำหรับใช้เป็นไม้วัตถุดิบแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์ และอื่นๆ ต่อไป
โรงเลื่อย ไม้ยาง พาราของพาราวีเนีย จะซื้อ ไม้ยาง พารา 2 ส่วน คือ ซื้อจากลานไม้ที่รับซื้อจากเกษตรกร และส่วนหนึ่งซื้อตรงจากเกษตรกร โดยจะมีเจ้าหน้าที่เข้าไปสำรวจต้นยาง และทำการตัดโค่น ก่อนจะนำเข้าโรงงานต่อไป โดยมีราคากลางที่เป็นมาตรฐาน และความยากง่ายของการตัดโค่นเป็นเกณฑ์
ปัจจุบันโรงงานมี ไม้ยาง พาราป้อนวันละ 220 ตัน ไม้เหล่านี้จะถูกตัดเป็นท่อนๆ หรือที่เรียกว่าไม้ซุง ยาวประมาณ 1.60 เมตร จากนั้นนำมาเลื่อย โดยมีโต๊ะเลื่อย 24 ตัว เพียงพอกับ ไม้ยาง ที่เข้าโรงงาน
ไม้ท่อนจะถูกเลื่อยให้มีขนาด ยาว 1.5 เมตร กว้าง 4 นิ้ว ยาว 3-4 นิ้ว ก่อนจะนำเข้าสู่กระบวนการอบน้ำยาป้องกันมอดไม้ และอบแห้งต่อไป
ไม้ยาง พาราที่แปรรูปเป็นไม้วัตถุดิบกว่า 90% ส่งออกไปยังประเทศจีน เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ เครื่องเรือน และก่อสร้าง เป็นต้น ส่วนที่เหลือ 10% จำหน่ายในประเทศ
เศษไม้จากโรงเลื่อย
ในกระบวนการเลื่อย ไม้ยาง จะมีส่วนเหลือจากการเลื่อย 2 ส่วน คือ ขี้เลื่อย และปีกไม้ ที่ไม่ได้ขนาด ในส่วนของขี้เลื่อย โรงงานจะมีเครื่องดูดนำไปเก็บไว้ในไซโล ก่อนจะนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับต้มน้ำ (บอยเลอร์) สำหรับอบไม้ในโรงงาน เป็นการประหยัดพลังงานที่ดี
ส่วนเศษไม้ และปีกไม้ จะส่งขายโรงงานผลิตไม้อัด เช่น ไม้ MDF และ ปาร์ติเกิ้ล (Partcle Board) เป็นต้น
“โรงงานแปรรูปของเราใช้ไม้ท่อนซุงยางพาราวันละ 200 ตัน จะได้ไม้ท่อนที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์จริงเพียง 50% ที่เหลืออีก 50% คือ ปีกไม้ กิ่งไม้ และขี้เลื่อย ประมาณ 100 ตัน
“ช่วงที่ผ่านมาการส่งขายปีกไม้และปลายไม้ไม่ค่อยได้ราคาสักเท่าไหร่ อยู่ที่กิโลกรัมละ 40-50 สต. ยังไม่รวมค่าขนส่ง เท่ากับว่าแทบขายไม่ได้ราคาเลย” วนัสพูดถึงปัญหาที่เกิดขึ้น และเขาขยายความเพิ่มเติมว่า
สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากซัพพลายมากกว่าดีมานด์ มีโรงงานแปรรูปไม้เปิดใหม่มากขึ้น จึงเป็นเหตุให้วัตถุดิบออกสู่ตลาดมากเกินไป ราคาจึงต่ำลง และบางส่วนอาจเป็นผลมาจากนโยบายรัฐด้วยที่ว่า ส่งเสริมให้โค่นต้นยางพารา ชาวสวนจึงโค่นออกกันเป็นจำนวนมาก
ต่อยอดธุรกิจ สู่ ธุรกิจ วู้ดเพลเลท 5,000 ตัน/ปี
ปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมไม้ยางทั้งระบบ เมื่อปริมาณไม้ยางมีมากเกินความต้องการ ราคาจึงร่วงระนาว ตั้งแต่ซื้อจากเกษตรกรยันส่งออกต่างประเทศ
ก่อนจะค้นพบทางออกของการระบายและเพิ่มมูลค่าเศษไม้ยางในท้ายที่สุด
“บริษัทจึงเกิดแนวความคิด ต่อยอดธุรกิจใหม่ เสริมธุรกิจเดิม เพื่อเพิ่มมูลค่าเศษไม้ยางเหลือทิ้ง ประกอบกับเมื่อ 2 ปีที่แล้ว มีลูกค้าประเทศเกาหลีใต้มีความต้องการซื้อวู้ดเพลเลท Wood Pellet คือ จากไม้ยาง ให้ราคา 170 เหรียญ/ตัน ขณะที่โรงงานของเรามีความพร้อมด้านวัตถุดิบอยู่แล้ว ราคาซื้อถือว่าคุ้มค่า น่าลงทุน”
บริษัท ไบโอแมส ฟิวเอล เพลเลท จำกัด จึงเกิดขึ้นในฐานะบริษัทลูกของ พาราวีเนีย เพื่อดำเนินธุรกิจผลิตวู้ดเพลเลท Wood Pellet คือ โดยใช้เงินลงทุนอาคารและเครื่องจักรรวมกว่า 100 ล้านบาท มีกำลังการผลิตปีละ 5,000 ตัน
“แต่พอเราสร้างโรงงานเสร็จ เกาหลีกลับปรับลดราคาการรับซื้อลงจาก 170 เหรียญ/ตัน เหลือเพียง 70 เหรียญ/ตัน ราคาต่ำมาก ไม่คุ้มค่าขนส่ง”
แต่โชคดีที่หลังการเดินเครื่องผลิต สถานการณ์เริ่มดีขึ้น เมื่อมีลูกค้าในประเทศเริ่มให้ความสนใจวู้ดเพลเลท โดยเฉพาะจากโรงงานที่ใช้ “กะลาปาล์ม” หรือ “ไม้ฟืน” เป็นเชื้อเพลิง เริ่มทดลองใช้วู้ดเพลเลทมากขึ้น เพราะให้ค่าพลังงานสูง และเผาไหม้เหลือเถ้าถ่านน้อยมาก
ปัจจุบัน วู้ดเพลเลท Wood Pellet คือ จึงมีตลาดในประเทศรองรับอย่างต่อเนื่อง และมีทิศทางเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ
กระบวนการผลิต และข้อดี ของ วู้ดเพลเลท
บริษัท ไบโอแมส ฟิวเอล เพลเลทจำกัด มีข้อได้เปรียบด้านปัจจัยการผลิต เพราะเป็นธุรกิจต่อยอดมาจากโรงงานแปรรูปไม้ยางพารา ทำให้มีวัตถุดิบป้อนเข้าโรงงานทุกวัน สามารถผลิตได้อย่างน้อยวันละ 150 ตัน อีกทั้งยังช่วยลดต้นทุนการขนส่งอีกด้วย ถือเป็นจุดแข็งที่เกื้อหนุนกันอย่างยั่งยืน
กระบวนการผลิตวู้ดพาเลท ขั้นตอนแรกนำไม้เข้าเครื่องย่อย เป็นกระบวนการบดย่อยวัตถุดิบโดยลดขนาดก่อน เช่น เศษไม้ ปีกไม้ ปลายไม้ เป็นต้น
กระบวนการลดความชื้น
จากนั้นนำไปเข้ากระบวนการลดความชื้น เพื่อให้วัตถุดิบมีความชื้นที่เหมาะสมกับกระบวนการอัด แล้วจึงนำมาเข้าเครื่องอัดขึ้นรูปวัตถุดิบให้เป็นเม็ดโดยใช้แรงดันสูง เพื่อให้สารลิกนินในเนื้อไม้ละลายออกมา ส่งผลให้ไม้เกาะติดกัน แล้วระบายความร้อนให้เย็นตัวลง เพื่อคงรูปของเชื้อเพลิง
“โรงงานของเรามีระบบการผลิตที่สมบูรณ์แบบหรือเต็มระบบให้มากขึ้น ทั้งระบบสับ บด อบ อัด และดูดฝุ่น เพื่อป้องกันการเกิดมลภาวะกับสิ่งแวดล้อมภายในโรงงานและพื้นที่ใกล้เคียง โดยฝุ่นละอองเหล่านั้นสามารถนำกลับมาอัดเม็ดต่อได้อีกครั้ง” วนัสพูดถึงประสิทธิภาพการทำงานของโรงงาน
ข้อดีของวู้ดพาเลท เมื่อเทียบกับเชื้อเพลิงประเภทอื่น
- มีค่าความชื้นต่ำกว่า 10% ก่อให้เกิดประสิทธิภาพการเผาไหม้สูง
- สามารถควบคุมปริมาณการใช้ได้ง่าย เพราะมีขนาดเท่าๆ กัน มีน้ำหนักค่อนข้างแน่นอน ทำให้ประสิทธิภาพการเผาไหม้สมบูรณ์ สม่ำเสมอ
- ลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดขี้เถ้าส่วนเกิน เนื่องจากมีปริมาณขี้เถ้า (ประมาณ 1-2%) น้อยกว่า เชื้อเพลิงชีวมวล ประเภทอื่น
- ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หนึ่งในก๊าซเรือนกระจก สาเหตุของภาวะโลกร้อน ส่วน เชื้อเพลิงชีวมวล ประเภทอื่นอาจมีกำมะถันตกค้าง
- ในแง่ของการขนส่งวู้ดเพลเลท ขนส่งง่าย และได้ปริมาณต่อการขนส่ง 1 รอบมากกว่า
จากคุณสมบัติดังกล่าว ผู้ประกอบการหลายรายให้ความสำคัญมากขึ้น แม้ว่าจะมีราคาแพงกว่าไม้ชิปหรือกะลาปาล์ม แต่หากมองด้านคุณสมบัติถือว่าเหนือกว่าทุกด้าน
“ช่วงนี้ผมมองว่าเป็นช่วงปรับตัวของอุตสาหกรรมไม้ยางพาราในประเทศไทย เป็นช่วงเริ่มทำความรู้จักกับวู้ดเพลเลท ยังต้องรอ 1-2 ปี จึงจะมีปริมาณการใช้งานมากขึ้น
“ส่วนเป้าหมายตลาดด้านโรงไฟฟ้า เชื้อเพลิงชีวมวล ก็ยังมีความต้องการ ส่วนใหญ่มักนิยมใช้ไม้ชิป ตอนนี้มีบางรายเริ่มนำวู้ดเพลเลทไปทดลองใช้บ้างแล้ว อยู่ระหว่างการทดลอง ต้องรออีกสักระยะหนึ่งในการติดตามผล”
วู้ดเพลเลท แนวโน้ม ตลาดต่างประเทศเติบโตสูง
นายวนัส ให้ข้อมูลว่า ตลาดวู้ดเพลเลทจากการประเมินสามารถแบ่งสัดส่วนการตลาด คือ ตลาดในประเทศ 50 และตลาดต่างประเทศ 50%
“อยากให้น้ำหนักตลาดในประเทศด้วย เพราะมองว่าเป็นทรัพยากรภายในประเทศของเราเอง เป็นเชื้อเพลิงสะอาด ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยลดการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ และที่สำคัญช่วยลดการพึ่งพาพลังงานนำเข้าจากต่างประเทศได้ทางหนึ่ง”
ส่วนอีก 50% ส่งออกต่างประเทศ นายวนัสยอมรับว่า ด้วยกำลังการผลิต 5,000 ตัน/ปี ตลาดหลักยังเป็นตลาดต่างประเทศ อย่างประเทศเกาหลี และประเทศญี่ปุ่น ให้ความสนใจมากขึ้น และกำลังติดต่อเจรจา
แต่เมื่อย้อนกลับมาดูสถานะของไม้ยางพาราในตลาดโลกยังมีปัญหาที่ตามมา คือ ขายวู้ดเพลเลทให้ญี่ปุ่นไม่ได้ เพราะยังมีปัญหาด้านเอกสารใบรับรองอุตสาหกรรมไม้ยางของไทย เขาจึงมองว่าตลาดต่างประเทศอาจจะมีปัญหาในอนาคต
ด้วยเหตุนี้เขาจึงต้องให้น้ำหนักตลาดในประเทศด้วยนั่นเอง
“ที่ผ่านมาลูกค้าญี่ปุ่นมักถามหาใบรองรับที่สากลให้การยอมรับ ญี่ปุ่นอยากให้มีหนังสือรับรอง ไม่ว่าจะเป็น FSC และ PEFC
“ในความคิดของผมมองว่าที่ลูกค้าทางญี่ปุ่น และยุโรปต้องการเอกสารรับรอง เพียงเพื่อยืนยันว่าไม้ยางพาราของไทยไม่ผิดกฎหมาย เป็นไปตามมาตรฐานที่ถูกกำหนดไว้ในกฎเกณฑ์สากลแค่นั้น”
สถานการณ์ตลาด เชื้อเพลิงชีวมวล วู้ดเพลเลท Wood Pellet คือ
ส่วนสถานการณ์ตลาด การใช้งาน เขาเล่าว่า “ลูกค้าหันไปใช้กะลาปาล์มหรือน้ำมันกันหมด โดยเฉพาะช่วงนี้ที่มีราคาถูก ทำให้วู้ดเพลเลทที่ราคาสูงกว่า ต้องปรับลดราคาลง จนปัจจุบันราคาอยู่ประมาณ 2,500-2,400 บาท/ตัน ซึ่งต่างจากช่วงปลายปีที่แล้วราคาอยู่ที่ 2,600-2,700 บาท/ตัน ลดลงมาประมาณกิโลกรัมละ 10-20 สตางค์
“เนื่องจากลูกค้าเห็นว่าต้นทุนการผลิตถูกลง จึงเลือกใช้น้ำมันที่เน้นความสะดวก สบาย เผาไหม้ง่าย ไม่มีขี้เถ้า และการจัดการง่ายกว่า จึงเป็นอุปสรรคหนึ่ง ณ ปัจจุบัน และยังมีอีกหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้อง”
อย่างไรก็ตามภาพรวมปัจจุบันวู้ดเพลเลทมีแนวโน้มกำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ อนาคตอุตสาหกรรมไม้มีโอกาสจะใช้วู้ดเพลเลทเป็นเชื้อเพลิงกันมากขึ้น
วู้ดเพลเลท จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของการผลิตเชื้อเพลิงสะอาดที่น่าสนใจ ที่สามารถนำมาแปรรูปเป็น เชื้อเพลิงชีวมวล อัดเม็ด ถือเป็น “พลังงานบนดิน” ที่มีอนาคตไกลเลยทีเดียว
ขอขอบคุณ นายวนัส วิระพรสวรรค์ 10/1 ม.2 ต.ในควน อ.ย่านตาขาว จ.ตรัง 92140
โทรศัพท์ 08-3520-1112 , 0-7520-7440
ชีวมวลอัดแท่ง ชีวมวลอัดเม็ด Wood Pellet คือ เชื้อเพลิงชีวมวล ขี้เลื่อยอัดเม็ด เชื้อเพลิงชีวมวลอัดแท่ง โรงงานผลิตwoodpellet ไม้ยาง