ราคายางตกต่ำ น้ำยางไม่มีคุณภาพ ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด ปัญหาเหล่านี้อาจเกิดขึ้นจากการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้คุณภาพ เกษตรกรชาวสวนยางฟังทางนี้ การเลือกผลิตภัณฑ์ตัวช่วยในการผลิตยางก้อนถ้วย หรือยางแผ่น เป็นสิ่งสำคัญที่คุณต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรก คือ สินค้าดี มีคุณภาพ เพิ่มมูลค่าน้ำยาง ไม่เป็นมลพิษกับสิ่งแวดล้อม ต้องเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ “ตราม้าแดง” บริษัท แอล.ซี.อุตสาหกรรม จำกัด
สนใจสอบถามราคา โทร 086-351-5889
บริษัท แอล.ซี.อุตสาหกรรม จำกัด ได้พัฒนาริเริ่มมาจาก บริษัท ย่งเฮงพาณิชย์ จำกัด เมื่อประมาณ 60 ปีที่แล้วโดยมี คุณชะอุ่ม หลีระพันธ์ เป็นผู้ก่อตั้ง เดิมตั้งอยู่ที่บ้านคลองจันดี อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช เริ่มต้นจากการเป็นผู้ผลิตน้ำกรด-น้ำกลั่น แบตเตอรี่ ต่อมาก็พัฒนาเป็นผู้ผลิตน้ำกรด รับแบ่งบรรจุ และนำเข้าเคมีพื้นฐานเฉพาะด้านให้แก่อุตสาหกรรมยางพาราที่กำลังเติบโตในภาคใต้ขณะนั้นได้แก่ กรดฟอร์มิค 94% และกรดซัลฟิวริก หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า กรดกำมะถัน รวมถึงผงทาหน้ายางพาราซึ่งถือเป็นนวัตกรรมใหม่ในขณะนั้น
ด้วยบริษัท ย่งเฮงพาณิชย์ จำกัด มีพื้นฐานทางด้านยางพาราอยู่แล้ว จึงทำให้มีความชำนาญเกี่ยวกับเรื่องน้ำกรดที่ใช้ในยางพาราเป็นอย่างมาก “แรกเริ่มโรงงานเราที่อยู่ในภาคใต้ เพราะภาคใต้คือจุดสำคัญของยางพารา นี่คือจุดสำคัญที่เราหันมาจับสินค้าเคมีที่เกี่ยวกับยางพาราก็คือ กรดกำมะถัน กรดฟอร์มิค และกรดอะซิติก” คุณกชพงศ์ หลีระพันธ์ ให้ความเห็น
เมื่อประมาณปี 2524 ได้ย้ายเข้ามาอยู่ที่อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ด้วยเหตุผลที่ต้องการขยายตลาดเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเดิมจากกลุ่มยางพารา จึงได้ขยายตลาดเข้าไปในกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมสิ่งทอ ฟอกหนัง อาหาร เวชภัณฑ์ และอื่นๆ และได้เปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น บริษัท แอล.ซี.อุตสาหกรรม จำกัด โดยมี คุณสุชัย หลีระพันธ์ เป็นประธานกรรมการ
สนใจสอบถามราคา โทร 086-351-5889
ซึ่งบริษัท แอล.ซี.ฯ เป็น 1 ใน 2 ของผู้นำเข้ากรดฟอร์มิค (Formic Acid) ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ยืนยันจากตัวเลขการรายงานของกระทรวงไทยพาณิชย์ โดยกรดฟอร์มิคที่นำเข้าจากประเทศจีนเป็นหลัก ซึ่งโรงงานจากประเทศจีนที่จัดส่งสินค้ามาให้ถือว่าเป็นโรงงานที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน ซึ่งบริษัท แอล.ซี.ฯ มีกำลังการผลิตอยู่ที่ 250,000 ตัน/ปี และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นถึง 300,000 ตัน/ปี
บริษัท แอล.ซี. อุตสาหกรรม จำกัด เป็นผู้นำเข้าผู้ผลิตและแบ่งบรรจุ จัดจำหน่าย และส่งออกสินค้าเคมีพื้นฐาน ที่ส่งให้กับบริษัทชั้นนำมากมาย เพื่อผลิตเป็นสินค้าอุปโภค-บริโภคต่างๆในประเทศไทย ทีมงาน “นิตยสารยางเศรษฐกิจ” ขอเสนอผลิตภัณฑ์ของบริษัทที่เป็นองค์ประกอบสำคัญในการผลิตยางพาราให้มีคุณภาพตรงตามความต้องการซื้อของตลาดยางพารา นั่นก็คือ “กรดฟอร์มิค ตราม้าแดง” ที่หลายๆ คนใช้กัน
คุณกชพงศ์ หลีระพันธ์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด ผู้บริหารรุ่นที่ 3 ของบริษัท กล่าวว่า กรดฟอร์มิคมีรูปแบบการผลิตอยู่หลายรูปแบบ แต่รูปแบบที่ผู้ผลิต คือ “ใช้เมทิลฟอร์เมตบวกกับก๊าซธรรมชาติในการผลิตกรดฟอร์มิค ทำให้มีการเสถียรของกรดฟอร์มิคค่อนข้างมาก และมีความบริสุทธิ์”
สนใจสอบถามราคา โทร 086-351-5889
ดังนั้นจึงมั่นใจว่าสินค้าที่ออกจากบริษัทมีคุณภาพกรดฟอร์มิค เป็นกรดประเภทอินทรีย์ (OrganicAcid) ความพิเศษของกรดฟอร์มิคซึ่งเเตกต่างจากกรดอินทรีย์ประเภทอื่น เช่น กรดอะซิติก ก็คือ สามารถย่อยสลายตัวได้เอง เมื่อถูกผสมให้อ่อนตัวทำให้เกิดน้ำเสียน้อยที่สุด เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เมื่อใช้ผสมลงไปในน้ำยางแล้ว น้ำยางที่ได้ค่อนข้างมีคุณภาพดี ราคาสูง เป็นที่ต้องการของตลาดแปรรูปยางรถยนต์ ทั้งในและต่างประเทศ
“เมื่อเดือนที่แล้วบริษัท สยามมิชลิน ได้เชิญผมเข้าไปปรึกษาหารือร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหา เนื่องจากพบว่าเกษตรกรชาวสวนยางพาราในภาคอีสานใช้กรดกำมะถันในการผลิตยางก้อนถ้วย และทำให้ยางของบริษัทถูกตีกลับคืนจากต่างประเทศทั้งหมด ดังนั้นทางบริษัท มิชลิน จึงอยากสนับสนุนชาวสวนยางให้หันมาใช้กรดฟอร์มิคมากกว่ากรดกำมะถัน” คุณกชพงศ์เปิดเผย
ข้อดี-ข้อเสีย ระหว่างกรดกำมะถันกับกรดฟอร์มิค
แต่ถ้าจะให้บอกว่าไม่ให้ใช้กรดกำมะถันเลยก็ไม่ได้ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ว่าเกษตรกรต้องการใช้น้ำยางในอุตสาหกรรมไหนมากกว่า ลองมาดูข้อดี-ข้อเสีย ระหว่างกรดกำมะถันกับกรดฟอร์มิคว่าแตกต่างกันอย่างไร
- กรดกำมะถัน เป็นสารประเภทอนินทรีย์ ไม่สามารถย่อยสลายได้ด้วยตัวเอง ข้อดีของกรดกำมะถัน คือ จับตัวยางเร็ว แต่จับตัวได้ไม่ 100% หมายความว่า กรดปล่อยประจุแล้วก็จับตัว แต่เนื่องจากมีการจับตัวเร็ว จึงทำให้กรดจับตัวยางได้ไม่หมด และจะมีน้ำยางเหลือทิ้งประมาณ 97-98% จึงเป็นสาเหตุก่อให้เกิดน้ำเสีย เมื่อผสมน้ำแล้วจะไม่สามารถสลายตัวได้ ก็จะมีปัญหาเมื่อมีน้ำยางตกลงพื้นดิน กรดนี้ก็จะอยู่บนดินของเราตลอด 10-20 ปี หรืออาจจะเกาะอยู่บนต้นยาง ซึ่งอาจจะทำให้หน้ายางเสียหายได้ ถ้าใช้ปริมาณสูงจะส่งผลเสียทำให้ผลิตภัณฑ์ยางขาดความยืดหยุ่น เสื่อมคุณภาพ เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตถูกกัดกร่อน เป็นมลพิษด้านสุขภาพกับแรงงานในสวนยาง ตลอดจนสิ่งแวดล้อม เพราะเกิดน้ำเสียจากกรดประเภทรุนแรง
- ในขณะเดียวกันกรดฟอร์มิคสามารถจับน้ำยางได้ 100% แต่จะมีปัญหากับเกษตรกร คือ ต้องใช้เวลาประมาณ 30-40 นาที ต้องใช้การคำนวณสูตรในการใช้ ถ้าใช้แก่เกินไป หรืออ่อนเกินไป ยางที่จับตัวได้ก็จะไม่แข็งตัว ไม่มีน้ำเสียออกมา ซึ่งเป็นผลดีต่อสิ่งแวดล้อม เวลาที่เราเอาไปผสมถ้าเกิดว่าหกลงพื้น ภายใน 7-10 วัน กรดก็ค่อยๆ สลายตัวเอง จนกระทั่งหายไปหมด กรดฟอร์มิคเป็นสารอินทรีย์ที่จับตัวเนื้อยางได้อย่างสมบูรณ์ สลายตัวง่าย ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และไม่กระทบต่อหน้ายางกรีด หากใช้ในอัตราส่วนตามคำแนะนำ
การสนับสนุนให้เกษตรกรใช้ กรดฟอร์มิค
นอกจากส่วนของบริษัทรับซื้อยางพาราที่สนับสนุนให้ใช้ กรดฟอร์มิค แล้ว ทางด้าน กยท. ก็มีนโยบายแผนงานในปี พ.ศ.2561 เพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรหันมาใช้ กรดฟอร์มิค 100% ในการผลิตยางแผ่น และยางก้อนถ้วย เนื่องจากเป็นสารอินทรีย์ที่สลายตัวง่าย ไม่มีผลตกค้างในยาง และไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เกษตรกรสามารถผลิตยางที่มีคุณภาพดี และขายได้ราคาดี
กรดฟอร์มิค นอกจากใช้ในการเกษตรเกี่ยวกับยางพาราแล้ว กรดฟอร์มิค ยังเป็นส่วนประกอบในอุตสาหกรรมเคมีต่างๆ อีก เช่น อุตสาหกรรมฟอกย้อมผ้า ฟอกหนัง ยา น้ำตาล อาหาร และการรักษาคุณภาพหญ้าสดในฤดูหนาวของต่างประเทศ โดยจะใช้ กรดฟอร์มิค ฉีดพ่นเพื่อรักษาความสด และความชื้น ของหญ้า
การผลิตผงทาหน้ายาง ตราม้าแดง สำหรับยางพารา
นอกจากตัวกรดฟอร์มิคแล้ว ทางบริษัท แอล.ซี.ฯ ยังมีผลิตภัณฑ์สำหรับยางพาราอีกหนึ่งตัวที่น่าสนใจคือ ผงทาหน้ายาง ที่ทางบริษัทเป็นผู้คิดค้นสูตร และผลิตเอง ด้วยความคุ้นเคยกับยางพารามานานนับ 60 ปี ผลิตภัณฑ์จึงมีประสิทธิภาพ และตอบโจทย์ได้ดีแก่เกษตรกรชาวสวนยาง
ผงทาหน้ายาง ตราม้าแดง มีส่วนประกอบของสารออกไซด์ที่เข้าไปช่วยในการออกซิไดซ์หน้ายางที่ตาย เป็นตัวที่ฆ่าเชื้อรา และรักษาหน้ายางในยางพารา ซึ่งจริงๆ แล้วเกษตรกรเวลากรีดถ้าไม่มีการบำรุงรักษาหน้ายางเป็นอย่างดีก็จะทำให้เปลือกเน่า ผงทาหน้ายางเป็นตัวที่ไปดูแลรักษาเปลือกไม้ไม่ให้มันเกิดเป็นเชื้อราต่างๆ หน้ายางไม่ตายนึ่ง ซึ่งมีผลดีต่อตัวต้นไม้ก็คือ นอกจากจะกันเรื่องเชื้อราแล้วยังช่วยบำรุงรักษาต้นไม้ด้วย วิธีการใช้ที่ดีที่สุด คุณกชพงศ์แนะนำว่าก่อนที่จะทาตัวผงทาหน้ายาง ต้องขูดหน้ายางออกให้เรียบก่อน จึงทาผงทาหน้ายางนี้ลงไป
การบริหารบุคลากร
บริษัท แอล.ซี.ฯ นอกจากผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ และประทับใจให้แก่ลูกค้าแล้ว ด้านการบริหารจัดการบุคลากรในองค์กรก็ถือเป็นเรื่องสำคัญ ในการพัฒนาองค์กร คุณกชพงศ์กล่าวว่า บริษัทแอล.ซี.ฯ เป็นบริษัทที่ถือหุ้นโดยครอบครัว เป็นธุรกิจที่ยังอยู่ในครอบครัว
“เราไม่ได้มองแค่ผลกำไรที่คืนกลับมาให้ครอบครัว แต่เรามองพนักงานทุกคนคือคนในครอบครัวของเรา พนักงานของเราบางคนมาจากสมัยที่ยังอยู่ภาคใต้อายุงานประมาณ 40 กว่าปี บางที่อาจมองพนักงานโดยเฉพาะพนักงานรายวัน เป็นแค่คนงานทั่วไป โดยไม่ได้ใส่ใจ โดยที่ค่าแรงขั้นต่ำเท่านั้นก็ทำเท่านั้น แต่ละปีๆ ไม่มีเพิ่ม ซึ่งเราไม่ได้มองเขาในลักษณะนั้น รายได้ของพนักงานรายวันบางคนสูงเกินพนักงานรายเดือนก็มี อันนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถ และก็อายุงานของเขา กฎระเบียบก็คือตามกฎระเบียบ แต่อะไรที่เราผ่อนผันได้เราก็สามารถยืดหยุ่นกันได้เสมอ เพราะเราทุกคนเป็นครอบครัวเดียวกัน การบริหารจัดการคนเป็นเรื่องค่อนข้างยาก สำหรับผู้บริหารที่ไม่เคยผ่านการเป็นลูกจ้างมาก่อน” คุณกชพงศ์เปิดใจ
และกล่าวว่า นโยบายที่บ้าน คือ ทุกคนต้องออกไปทำงานข้างนอกก่อน ถึงจะกลับมาทำงานที่บ้านได้ เขามีพี่น้อง 3 คน ตัวเขาเป็นลูกชายคนโต เมื่อเรียนจบปริญญาตรี จากคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจจาก WoodburyUniverysity และ California StateUniversityatNorthridge ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ออกไปทำงานที่ บมจ.เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ หลังจากนั้นก็ได้ลาออกเพื่อไปเรียนภาษาจีนที่เซี่ยงไฮ้ที่มหาวิทยาลัยเจียวทง แล้วก็กลับมาช่วยธุรกิจของคุณอา บริษัท มัลลิกาอินเตอร์ฟู้ด จำกัด ซึ่งเป็นเชนร้านอาหาร ทำอยู่ตรงนั้น 3 ปี แล้วจึงกลับมาทำกิจการของที่บ้าน
“เราต้องเรียนรู้จากการให้คนอื่นใช้งานเราก่อน เราถึงจะรู้ว่าจริงๆ แล้วเราควรบริหารจัดการบริษัทอย่างไร ผมว่าก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผมเข้าใจพนักงานว่าเขามีความต้องการอะไร ขาด ลา มาสาย จริงๆ แล้วเขาต้องการความยืดหยุ่นในชีวิตเขายังไง ไม่ใช่ว่าคุณสั่งงานเขาอย่างเดียว แล้วเขาจะต้องทำตามคุณ พนักงานจะต้องมีแรงจูงใจในการที่มีความรักบริษัทด้วย เขาทำงานแล้วเขามีความสุข เขาจึงอยากทำงาน และแน่นอนว่าเมื่อมีปัญหาก็ต้องกล้าที่จะพูดคุยกัน”
คุณกชพงศ์เล่าต่อว่าครอบครัวของเขาเป็นครอบครัวที่ไม่ใหญ่ ลำดับขั้นการบริหารก็ไม่กว้าง คือ เริ่มที่ผู้บริหาร ผู้จัดการ แล้วก็ลงมาที่พนักงาน ดังนั้นความห่างค่อนข้างน้อย ถ้าเกิดว่าพนักงานไม่กล้าที่จะรายงานปัญหาก็จะเป็นความเสียหายที่จะเกิดขึ้นตามมาทีหลัง เช่น ใส่ของผิดให้ลูกค้า ค้นพบว่ามีสินค้าแตก สินค้ารั่ว
ซึ่งอาจเกิดจากความผิดพลาดของพนักงานภายในอย่างเช่น ขับรถไปชน เขาสามารถไม่รายงานก็ได้ แต่ว่าเรามีวิธีบริหารจัดการยังไงให้เขากล้าที่จะรายงานเรานั่นก็คือ เมื่อเกิดปัญหาขึ้นต้องไม่ใช้อารมณ์ ต้องมีความอดทน และประนีประนอมกัน เนื่องจากว่าเมื่อเกิดความเสียหายขึ้น คนส่วนใหญ่เลือกที่จะโวยวาย ถ้าทำอย่างนั้นก็จะไม่มีคนที่กล้าเดินมาหาเรา การบริหารแบบครอบครัวจึงเป็นข้อดีที่ทำให้บริษัท แอล.ซี.อุตสาหกรรม จำกัด เติบโตและมั่นคงมาจนถึงทุกวันนี้
ด้านการตลาดผลิตภัณฑ์ ตราม้าแดง
ด้วยความเอาใจใส่ทางด้านคุณภาพสินค้าเป็นสำคัญ ผลิตภัณฑ์ตราม้าแดงจึงอยู่คู่เกษตรกรมานานถึง 50 ปี เสียงตอบรับจึงถือว่าดี และเป็นที่ตอบรับของตลาดได้ดีพอสมควร แนวโน้มการตลาดจึงค่อนข้างโตขึ้น เนื่องจากว่าอาจจะมีสวนยางที่ปลูกเมื่อหลายๆ ปีที่ผ่านมาตอนนี้จึงถึงเวลาที่กรีดได้
ตัวเลขในการขายเมื่อปี 59 จึงเติบโตขึ้นไม่ใช่แค่กรดฟอร์มิคเท่านั้น สินค้าทั้งหมดที่เกี่ยวกับยางพาราโตขึ้นทั้งหมด ถ้านับปริมาณการขายปี 59 โตขึ้น 19% สำหรับปัจจุบันเปอร์เซ็นต์ก็จะอยู่ใกล้ๆ กัน ทั้งๆ ที่ราคายางอาจจะไม่ดี แต่ว่าอัตราการใช้เพิ่มกว้างมากขึ้น เนื่องจากราคากรดฟอร์มิคที่นำเข้าราคาค่อนข้างสูง และมีแนวโน้มสูงขึ้น
ทาง บ.แอล.ซีฯ จึงได้วางแผลกลยุทธ์การบริการจัดการในปี 2561 เพื่อให้สินค้าเพียงพอต่อตลาด สินค้าเคมีของบริษัทมีปัญหาด้านปรับตัวขึ้น ต้องซัพพลายสินค้าให้เพียงพอต่อลูกค้า แต่ปัญหา คือ กรดฟอร์มิค ที่นำเข้ามาแล้วที่ไม่เพียงพอต่อโรงงานอุตสาหกรรมทั้งหมดที่ใช้ในประเทศได้
“เราตระหนักเสมอว่าสินค้าของเราเป็นสินค้าที่สำคัญที่สุด ดังนั้นเราจึงมีนโยบายที่จะตัดตลาดด้านอุตสาหกรรมลงมา เพื่อซัพพลายตลาดเกี่ยวกับสินค้าที่มีแบรนด์ของเราที่เกี่ยวกับเกษตรกรและยางพารา และเนื่องจากราคาที่มีการปรับตัวสูงขึ้น เราจึงพยายามหาจุดที่เราทำแล้วไม่ขาดทุน แต่ไม่ได้มีกำไรมากจนเกินไป ที่ทำให้เกษตรกรต้องเดือดร้อน” คุณกชพงศ์ยืนยันถึงความจริงใจที่มีต่อชาวสวนยาง
ขอขอบคุณคุณกชพงศ์ หลีระพันธ์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท แอล.ซี.อุตสาหกรรม จำกัด9/ 9 หมู่ 3 ซอยบางประแดง 2 ตำบล บ้านใหม่ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม 73110 เบอร์โทร. 034-979-600-4, 086-351-5889