ดร.พยุง ยืนยัน “กุ้งแวนาไม” ในพื้นที่น้ำจืด ยังเหลือ 2 แสนไร่

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ดร.พยุง ยืนยันเลี้ยง แวนาไม ในพื้นที่น้ำจืด

แม้จะถูกมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ.สิ่งแวดล้อม บีบให้เกษตรกรต้องเลิกเลี้ยงกุ้งขาวแวนาไมในพื้นที่น้ำจืด

แต่ก็ยังมีอยู่ส่วนหนึ่งอดทนเลี้ยงกุ้งต่อไป เพราะมันเป็นอาชีพที่มั่นใจกว่าอาชีพอื่น

เรื่องนี้ ดร.พยุง ภัทรกุลชัย นายกสมาคมผู้เลี้ยงกุ้งในพื้นที่น้ำจืด ให้มุมมองว่า ขณะนี้ประเทศไทยมีบริษัทเดียวที่ผูกขาดด้านสายพันธุ์กุ้งแวนาไม ต่างจากอินโดฯ ที่ให้มีถึง 4 บริษัท เพื่อให้แข่งขันกันพัฒนาคุณภาพ ดังนั้นในอนาคตเราจึงพัฒนาพันธุ์กุ้งลำบาก ถ้าบริษัทใหญ่ไม่ปล่อยสายพันธุ์มาให้ ตอนนี้ก็มีการขายลูกกุ้งควบอาหาร ส่งผลให้เกษตรกรรายย่อยลำบากขึ้น ดร.พยุงระบุถึง ปัญหา ในการพัฒนาสายพันธุ์

 

1.ดร.พยุง-ภัทรกุลชัย-นายกสมาคมผู้เลี้ยงกุ้งในพื้นที่น้ำจืด
ดร.พยุง-ภัทรกุลชัย-นายกสมาคมผู้เลี้ยงกุ้งในพื้นที่น้ำจืด

 

2.รูปแบบการเลี้ยงกุ้งแวนาไมตามพื้นที่
รูปแบบการเลี้ยงกุ้งแวนาไมตามพื้นที่

รูปแบบการเลี้ยงกุ้งแวนาไมตามพื้นที่

 

บทเรียนล่มสลายของ กุ้งกุลาดำ อันเกิดจากการไม่ได้พัฒนาสายพันธุ์ วันนี้เหลือเพียงตำนาน

แม้กรมประมงจะได้งบจากรัฐบาลนำเข้าพ่อแม่แวนาไมมาพัฒนา วันนี้เรื่องก็เงียบหายไป ไม่มีข่าวคราวอะไรออกมา ดร.พยุง ยังคาใจเรื่องนี้

ดร.พยุง ได้รับเชิญจากสภาเกษตรแห่งชาติ เพื่อนำเสนอปัญหาของผู้เลี้ยงกุ้งแวนาไมในพื้นที่น้ำจืด

โฆษณา
AP Chemical Thailand

เรื่องแรกที่นำเสนอ ได้แก่ พื้นที่การเลี้ยงลดลง เหลือเพียง 2 แสนไร่ เท่านั้น สาเหตุเพราะโรคอีเอ็มเอส พระราชบัญญัติสิ่งแวดล้อม (มาตรา 9) และ พ.ร.บ., พ.ร.ก.การประมง 2558

ที่ยังเลี้ยงรวมๆ แล้ว 2 แสนไร่ ก็ไม่ได้เลี้ยงกุ้งเพียวๆ แต่เลี้ยงร่วมกับปลาน้ำจืดในบ่อเดียวกัน เพื่อตัดวงจรโรค และประกันความเสี่ยง

3.การแปรรูปเพื่อส่งออก
การแปรรูปเพื่อส่งออก

การแปรรูปเพื่อส่งออก

แม้จะมีรูปแบบการเลี้ยงที่หลากหลายตามสภาพพื้นที่ เช่น ตราดโมเดล สุราษฎร์โมเดล หรือพังงาโมเดล แรกๆ ก็พอได้ผล แต่พอเลี้ยงแบบหลักๆ ก็ไม่ได้ผล จากที่เคยได้ผลผลิตกุ้ง 6 แสนตัน/ปี ก็เหลือเพียง 2 แสนกว่าตัน เกือบทุกโมเดลของการเลี้ยงกุ้งต้นทุนสูงทั้งนั้น และนำไปใช้แล้วก็ไม่ค่อยได้ผล ดร.พยุง ยืนยัน

ในเรื่อง IUU จากยุโรป และผลกระทบกับผู้เลี้ยงกุ้ง ดร.พยุง ยอมรับ พ.ร.ก.ประมง 2558 มีบทลงโทษผู้ฝ่าฝืนโทษปรับรุนแรง เริ่มปรับ 10,000-100,000 บาท มีเครื่องมือจับสัตว์น้ำไม่ได้ขึ้นทะเบียนปรับหนักมาก ทำให้กรมประมงที่มีบทบาทส่งเสริมมาเล่นบทเป็นผู้ควบคุมและลงโทษ

โดยเฉพาะเกษตรยังตามรายละเอียดของ พ.ร.ก.ไม่ทัน ถ้ารัฐไม่ชี้แจงให้เข้าใจจะมีปัญหาในอนาคต

ต่างจากห้องเย็น หรือผู้แปรรูปเพื่อส่งออก ที่ปรับตัวได้ไว โดยเฉพาะการหาทางเพิ่มมูลค่าวัตถุดิบให้เป็นผลิตภัณฑ์พรีเมียม เพราะเมื่อวัตถุดิบ เช่น กุ้ง และปลา มีน้อย ก็ต้องหาทางเพิ่มมูลค่าขายให้ได้ราคามากขึ้น นอกจากนี้ค่าแรงก็เพิ่มขึ้นตามนโยบายของรัฐบาล ผู้ประกอบการมีต้นทุนสูงขึ้น ก็ต้องพัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพมากขึ้นนั่นเอง

โฆษณา
AP Chemical Thailand