สถานการณ์ข่าวประจำสัปดาห์ของนิตยสารพลังเกษตร
1.แปลงใหญ่ข้าวโพดหลังนาบ้านหัวเด่น ผลสำเร็จจากการรวมกลุ่มสู้ภัยแล้ง
นางอัญชนา ตราโช รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงการลงพื้นที่ติดตามโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ข้าวโพดหลังนาในพื้นที่จังหวัดชัยนาท ณ บ้านหัวเด่น ตำบลบางขุด อำเภอสรรคบุรี ซึ่งมีพื้นที่จำนวน 891.25 ไร่ สมาชิกแปลงใหญ่จำนวน 70 รายโดยเกษตรกรมีการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังฤดูทำนา และทำนาข้าวในช่วงนาปีผลัดเปลี่ยนกันไป พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่นาลุ่มปานกลาง ในช่วงฤดูแล้งจึงมีความเหมาะสม และสามารถทำการเพาะปลูกข้าวโพด ดังนั้นภาครัฐจึงได้เข้ามาส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทดแทนการปลูกข้าวในช่วงฤดูแล้ง ซึ่งเกษตรกรให้ความสนใจเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งมีการรวมตัวกันเป็นแปลงใหญ่ข้าวโพดบ้านหัวเด่นขึ้นมา เพราะเล็งเห็นว่าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นพืชทางเลือกที่ใช้น้ำน้อย ให้ผลตอบแทนสูง เมื่อเทียบกับการทำนาปรัง อีกทั้งความต้องการของตลาดเพื่อผลิตเป็นอาหารสัตว์ยังมีอีกมาก โดยเกษตรกรได้รับการส่งเสริมจากกระทรวงเกษตรฯ ทั้งในการอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจ ในการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี และเหมาะสม (Good Agriculture Practices : GAP) การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน การใช้ปุ๋ยคอก การเตรียมดินที่ดี การใช้น้ำอย่างคุ้มค่า รวมถึงการสนับสนุนปัจจัยการผลิตต่างๆ เช่น เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย วัสดุอุปกรณ์ และเครื่องจักรกลการเกษตร
จากการติดตามของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 7 จังหวัดชัยนาท (สศท.7) พบว่า ต้นทุนการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของแปลงใหญ่บ้านหัวเด่น ปีเพาะปลูก 2561/2562 เฉลี่ย 5,942 บาทต่อไร่ ผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ได้เฉลี่ยอยู่ที่ 1,218 กิโลกรัมต่อไร่ ราคาขายเฉลี่ยเดือนมีนาคม 2562 อยู่ที่ 7.36 บาทต่อกิโลกรัม เกษตรกรมีผลตอบแทนสุทธิ (กำไร) ประมาณ 3,021 บาทต่อไร่ ทั้งนี้เกษตรกรในแปลงใหญ่ประสบปัญหาหนอนกระทู้ระบาด จำเป็นต้องใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชมากขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตามผลตอบแทนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ยังสูงกว่าการทำนาปรัง โดยในส่วนการบริหารจัดการกลุ่ม คณะกรรมการกลุ่ม และสมาชิก มีการประชุมวางแผนการผลิตร่วมกัน ซื้อปัจจัยการผลิตร่วมกัน ทำให้ซื้อได้ในราคาถูกลง และมีการรวมกลุ่มจำหน่าย จึงมีอำนาจต่อรองราคา รวมทั้งยังได้ทำข้อตกลง MOU กับบริษัท ซึ่งได้ราคาที่สูงกว่าการขายผ่านพ่อค้าคนกลาง
2.ราคารายวัน ณ ตลาดกลาง หรือ ตลาดสำคัญ ประจำวันที่ 9 เมษายน 2562
- ข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลิ 105
โรงสีสหพัฒนา อ.สะตึก จ.บุรีรัมย์ 16,000 บาท/ตัน
- ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เมล็ด ความชื้น 14.5%
หจก. สยามโปรดักซ์ (ช.กังวาล) อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์ 8.30 บาท/กก.
- หัวมันสำปะหลังสด (แป้ง 25%)
บริษัท สงวนวงษ์อุตสาหกรรม จำกัด อ.เมือง จ.นครราชสีมา 2.30 บาท/กก. ราคาลดลงจากวันที่ 5 เมษายน 2562 ที่ราคา 2.35 บาท/กก.
- ปาล์มน้ำมัน เปอร์เซ็นต์น้ำมันปาล์ม 17%
ชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนปาล์มน้ำมันกระบี่ อ.อ่าวลึก จ.กระบี่ 1.90 บาท/กก.
บริษัท แสงศิริน้ำมันปาล์ม จำกัด อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี 2.40 บาท/กก.
- ยางพาราแผ่นดิบชั้น 3
ตลาดกลางยางพารา อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 51.65 บาท/กก. ราคาเพิ่มขึ้นจากวันที่ 5 เมษายน 2562 ที่ราคา 51.15 บาท/กก.
- น้ำยางพาราสด
ร้านแสงตะวันการยาง จ.สุราษฎร์ธานี – บาท/กก.
- หอมแดงสด
จุดรับซื้อเจ๊อ้วน อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ 4.50 บาท/กก. ราคาลดลงจากวันที่ 5 เมษายน 2562 ที่ราคา 5.00 บาท/กก.
- หอมหัวใหญ่ ตัดจุก คละ
สหกรณ์ผู้ปลูกหอมหัวใหญ่บ้านกาดพัฒนา อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ – บาท/กก.
- ทุเรียนหมอนทอง ส่งออกเกรด AB
ตลาดผลไม้เขาสมิง อ.เขาสมิง จ.ตราด – บาท/กก.
- มังคุดผิวมันขนาดใหญ่
ตลาดผลไม้แสนตุ้ง อ.เขาสมิง จ.คราด 40.00 บาท/กก. ราคาลดลงจากวันที่ 5 เมษายน 2562 ที่ราคา 45.00 บาท/กก
- เงาะโรงเรียน
ตลาดผลไม้แสนตุ้ง อ.เขาสมิง จ.คราด 30.00 บาท/กก. ราคาลดลงจากวันที่ 5 เมษายน 2562 ที่ราคา 35.00 บาท/กก.
- สับปะรดโรงงาน
บริษัท สามร้อยยอด จำกัด(เอส.อาร์.วาย.) อ.สามร้อยยอด จ.ประจวบคีรีขันธ์ 6.20 บาท/กก.
สถานการณ์ข่าวประจำสัปดาห์ของนิตยสารสัตว์บก
1.ครม. มีมติเห็นชอบแผนรับมือโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรเป็นวาระแห่งชาติ
ครม. เห็นชอบแผนเตรียมความพร้อมรับมือโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรของประเทศไทยเป็นวาระแห่งชาติตามที่กระทรวงเกษตรฯ เสนอแล้ว ล่าสุดระบาดจากจีน สู่เวียดนาม เข้ากัมพูชา โรคนี้เป็นโรคติดต่อร้ายแรงในสุกร หากติดเชื้อไวรัสพาหะ อัตราการตายของสุกรเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ จึงต้องเตรียมพร้อมเต็มที่ป้องกันความเสียหายต่อเกษตรกรที่เลี้ยงสุกร รวมถึงอุตสาหกรรมต่อเนื่องมูลค่ากว่า 100,000 ล้านบาท
นายกฤษฎากล่าวต่อว่า โรค ASF แม้ไม่ได้เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน แต่เป็นโรคระบาดร้ายแรงในสุกร ยังไม่มีวัคซีนป้องกันและควบคุมโรค เชื้อโรคทนทานในผลิตภัณฑ์จากสุกรและสิ่งแวดล้อมสูง สุกรที่หายป่วยแล้วจะเป็นพาหะของโรคได้ตลอดชีวิต สุกรที่ติดเชื้อมีการตายเฉียบพลันเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้แผนเตรียมความพร้อมดังกล่าวได้เชิญผู้เกี่ยวข้องมาจัดทำ ทั้งภาคเอกชน นักวิชาการจากมหาวิทยาลัย สัตวแพทยสภา สมาคมสัตวแพทย์ควบคุมฟาร์มสุกรไทย สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ซึ่งเห็นพ้องว่าควรจัดให้มีคณะกรรมการอำนวยการป้องกัน ควบคุมและกำจัดโรค โดยมีรองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นกรรมการและเลขานุการ และอธิบดีกรมปศุสัตว์เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ โดยคณะกรรมการประกอบไปด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคสหกรณ์ผู้เลี้ยงสัตว์ และภาคเอกชน ในระยะเผชิญเหตุการระบาด การตอบสนองในภาวะฉุกเฉินเมื่อมีการระบาด
หากประเทศไทยมีระบบการป้องกันโรคที่ดี รวมทั้งระบบการทำลายสุกรที่เป็นโรคและซากสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคระบาดเป็นไปตามมาตรฐานสากล สามารถป้องกันไม่ให้เกิดโรคในประเทศได้ จะเป็นโอกาสทางธุรกิจ เนื่องจากความต้องการสุกรของจีน เวียดนาม และกัมพูชา เพิ่มสูงขึ้น จากเดิมก่อนเกิดโรคราคาสุกรมีชีวิตของประเทศไทยกิโลกรัมละ 60 บาท ภายหลังเกิดโรคคาดการณ์ว่าจะทำให้ราคาสุกรในประเทศมีราคาเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 80 บาท
- สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์สัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากภาวะอากาศที่เริ่มร้อนขึ้น ทำให้สุกรเจริญเติบโตช้า ส่งผลให้ปริมาณสุกรออกสู่ตลาดไม่มากนัก แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 67.88 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 67.18 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.04 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 66.52 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 64.01 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 68.93 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 71.17 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 2,100 บาท (บวกลบ 70 บาท) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 73.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
- ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไก่เนื้อออกสู่ตลาดใกล้เคียง และสอดรับกับความต้องการบริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 36.75 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 36.64 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 40.10 บาท และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 11.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
- ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้เริ่มปรับตัวสูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ออกสู่ตลาดใกล้เคียงกับความต้องการบริโภคไข่ไก่ที่เริ่มมีมากขึ้น แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 263 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 261 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.77 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 289 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 279 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 250 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 10.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 281 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 261 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 7.66
- ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 326 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 324 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.62 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 340 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 332 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 301 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 370 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 340 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
- โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 89.24 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 89.20 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.04 โดยเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 85.07 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 85.07 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 87.63 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 101.72 บาท
- กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 69.13 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 69.56 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.62 แยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.72 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 64.97 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
สถานการณ์ข่าวประจำสัปดาห์ของนิตยสารสัตว์น้ำ
1.สศก. ลงพื้นที่แหล่งเพาะเลี้ยงกุ้ง นำร่องศึกษาระบบประกันภัยด้านประมง
นางอัญชนา ตราโช รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงการขับเคลื่อนนโยบายการปฏิรูปประกันภัยการเกษตร ซึ่งปัจจุบันมีโครงการภาครัฐที่ดำเนินการในสินค้าเกษตรเศรษฐกิจต่างๆ เช่น ประกันภัยข้าวนาปี ประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พบว่า
- จังหวัดจันทบุรี และสุราษฎร์ธานี เกษตรกรเพาะเลี้ยงกุ้งขาวในพื้นที่น้ำเค็ม มีการเพาะเลี้ยงแบบเชิงเดี่ยว เลี้ยง
แบบหนาแน่น ใช้ลูกพันธุ์กุ้งขาวระหว่าง 100,000-200,000 ตัวต่อไร่ และพัฒนาโดยใช้พลาสติกปูพื้นบ่อและคันบ่อ มีบ่อพักน้ำ บ่อทิ้งเลน อย่างเป็นระบบ โดยภัยพิบัติธรรมชาติที่มักเกิดขึ้น คือโรคกุ้ง โดยเฉพาะโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส เช่น โรคไวรัสดวงขาว และโรคตายด่วน รวมถึงโรค และอาการของโรคอื่นๆ เช่น โรคหัวเหลือง แคระแกรน และขี้ขาว ส่วนภัยแล้งและน้ำท่วม เกษตรกรเห็นว่าไม่ใช่ปัญหาสำคัญ เนื่องจากมีน้ำเพียงพอ และมีการป้องกันน้ำท่วม เช่น ยกคันบ่อให้สูง
- จังหวัดฉะเชิงเทรา สมุทรสาคร นครปฐม และสุพรรณบุรี เป็นการเพาะเลี้ยงกุ้งขาวในพื้นที่น้ำจืด หรือการ
เพาะเลี้ยงโดยใช้น้ำความเค็มต่ำ เกษตรกรนิยมเพาะเลี้ยงกุ้งแบบผสมผสาน โดยนิยมเลี้ยงผสมกับกุ้งก้ามกราม มีการเลี้ยงแบบเบาบาง ใช้ลูกพันธุ์กุ้งขาวระหว่าง 30,000 – 80,000 ตัวต่อไร่ พื้นที่เพาะเลี้ยงส่วนใหญ่อยู่ในเขตชลประทานซึ่งมีน้ำเพียงพอ มีการตีน้ำเพื่อเติมอากาศน้อยกว่าการเลี้ยงแบบหนาแน่น อีกทั้งปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติน้อยกว่า ในช่วงแล้งมีการปรับตัวโดยการหยุดเลี้ยง และพักบ่อเพื่อลดความเสี่ยง ด้านปัญหาน้ำท่วมจะพบในพื้นที่ลุ่มต่ำ ส่วนโรคกุ้งที่พบส่วนใหญ่เป็นโรคหัวเหลือง และขี้ขาว
ด้านความต้องการของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งในการทำประกันภัยกุ้งขาว พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เห็นด้วยหากภาครัฐจะมีการดำเนินงานโครงการประกันภัยกุ้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกษตรกรที่เพาะเลี้ยงแบบหนาแน่นในพื้นที่น้ำเค็ม ซึ่งประสบปัญหาโรคกุ้งเป็นประจำทุกปี โดยรูปแบบในการทำประกันภัยส่วนใหญ่ต้องการให้มีการประกันภัยในช่วงระยะเวลาการเลี้ยงในช่วง 1-45 วันแรก เนื่องจากหากกุ้งประสบปัญหาโรคต้องกำจัดทิ้งทั้งบ่อ และเป็นช่วงเวลาที่กุ้งยังไม่สามารถจำหน่ายได้ โดยวงเงินประกัน เกษตรกรมีความเห็นว่าอย่างน้อยควรมีการชดเชยต้นทุนค่าลูกพันธุ์กุ้ง และภายหลังจากการเพาะเลี้ยง 45 วัน วงเงินประกันควรแตกต่างกันไปตามระยะเวลาการเลี้ยง เนื่องจากต้นทุนที่มากขึ้น อีกทั้งต้องมีระบบการตรวจสอบความเสียหายที่ดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว ทันการณ์ ในกรณีการเกิดโรค เพราะเกษตรกรต้องจับกุ้งจำหน่ายทันที ดังนั้นวงเงินเอาประกันควรชดเชยค่าเสียโอกาสที่จะต้องจับกุ้งจำหน่ายก่อนกำหนดด้วย อย่างไรก็ตามเนื่องจากการเพาะเลี้ยงกุ้งมีความเสี่ยงสูง เพราะเป็นสินค้าที่อยู่ในน้ำไม่สามารถมองเห็นได้ง่าย เหมือนการเพาะปลูกพืช และเป็นสินค้าที่มีมูลค่าสูง การดำเนินการด้านประกันภัยจึงต้องศึกษาอย่างถี่ถ้วนและครอบคลุม ทั้งนี้การศึกษาแนวทางการพัฒนาการประกันภัยกุ้งขาวแวนนาไม สศก. อยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูลจากเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงกุ้งขาว และการประชุมหารือระดมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในพื้นที่ โดยผลการศึกษาจะนำเสนอในการสัมมนาวิชาการประมาณเดือนสิงหาคม 2562 เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และนำเสนอผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อพิจารณากำหนดนโยบายการประกันภัยกุ้งเพาะเลี้ยงต่อไป