สถานการณ์ข่าวประจำสัปดาห์ของนิตยสารพลังเกษตร
กษ. เปิดเวที ดึงภาคีเครือข่ายระดมความเห็น ทบทวนแผนเกษตรอินทรีย์ ปี 60-65
วันนี้ (5 กันยายน 2562) นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการทบทวนยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์แห่งชาติ พ.ศ.2560-2564 สู่แผนปฏิบัติการด้านเกษตรอินทรีย์ พ.ศ.2560-2565 ว่าประเทศไทยได้มีการประกาศยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.2561-2580 ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2561 เพื่อเป็นเป้าหมายในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนตามหลักธรรมาภิบาล และใช้เป็นกรอบในการจัดทำแผนต่างๆ ให้สอดคล้องและบูรณาการกัน
ดังนั้นฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ ซึ่งประกอบด้วย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมพัฒนาที่ดิน กรมวิชาการเกษตร สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร) กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จึงได้จัดให้มีการทบทวนสาระสำคัญของยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ พ.ศ.2560-2564 เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ
แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 และนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมทั้งบริบทต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป
สศก.-ธ.ก.ส. จรดปากกา MOU เชื่อมโยงข้อมูล ยกระดับวิชาการ และการให้บริการเกษตรกร
การลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ว่าด้วยความร่วมมือด้านวิชาการ และการแลกเปลี่ยนเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ระหว่าง สศก. และ ธ.ก.ส. ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อผลักดันความร่วมมือทางวิชาการให้มีประสิทธิภาพและครอบคลุมมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะข้อมูลด้านการติดตามประเมินผล การประมาณการ GDP ภาคเกษตร และการสำรวจข้อมูล โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งการสนับสนุนข้อมูลอื่นๆ และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นประโยชน์ต่อทางการเกษตรและการบริการแก่เกษตรกรและประชาชน
ซึ่ง MOU ฉบับใหม่นี้ ลงนามโดยเลขาธิการ สศก. และ ผู้จัดการ ธ.ก.ส. โดย นายอภิรมย์ สุขประเสริฐ การดำเนินงานจะขับเคลื่อนภายใต้คณะทำงาน ประกอบด้วย รองเลขาธิการ สศก. ที่ได้รับมอบหมาย เป็นประธานคณะทำงาน มีผู้ช่วยผู้จัดการ ธ.ก.ส. ที่ทำหน้าที่ดูแลและรับผิดชอบงานศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรม ธ.ก.ส ร่วมกับผู้อำนวยการศูนย์สารสนเทศการเกษตร สศก. เป็นรองประธานคณะทำงาน และมีผู้บริหารจากทั้งสองหน่วยงานร่วมเป็นคณะทำงานร่วมกัน เพื่อกำหนดกรอบ ทิศทาง นโยบาย และแผนงานต่างๆ
เลขาธิการ สศก. กล่าวต่อไปว่า ปัจจุบันเกษตรกรมีแนวโน้มอายุสูงขึ้น เนื่องจากคนรุ่นใหม่ให้ความสนใจต่อกิจกรรมทางการเกษตรน้อยลง การใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ข้อมูลที่มีความถูกต้องแม่นยำ จึงกลายเป็นปัจจัยสำคัญของเกษตรกรสูงวัยเพื่อทดแทนแรงงานภาคการเกษตรในอนาคต ซึ่ง สศก. ในฐานะหน่วยงานด้านวิชาการ ในการกำหนดนโยบาย วิจัย ประเมินผล และเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศการเกษตร จึงมีความมุ่งมั่นที่จะสร้างความมั่นคงให้กับผู้มีอาชีพเกษตรกร โดยนำความรู้ด้านวิชาการตลอดจนเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้ เพื่อตอบสนองความต้องการ และยกระดับชีวิตของเกษตรกรให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น นอกจากนี้ยังสนับสนุนการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจการเกษตรของประเทศไทยในเวทีสากล ในขณะที่ ธ.ก.ส. ได้ให้ความสำคัญกับการนำผลการวิจัยและข้อมูลสารสนเทศมาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานเช่นกัน รวมทั้งสนับสนุนนโยบายของรัฐบาล ภายใต้หลักการ “วิจัยนำการพัฒนา” เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร
สศก. ลุย 5 จังหวัด ศึกษาโซ่ความเย็นของสถาบันเกษตรกร 24 แห่ง
รูปแบบและวิธีการจัดการสินค้าแต่ละประเภท พบว่า ทุเรียนผลสด ขนุน มะม่วง ผักใบ เพื่อส่งออกไปยังตลาดในและนอกประเทศ สหกรณ์จะมีการควบคุมอุณหภูมิโดยหลีกเลี่ยงแสงแดด ประมาณ 25°c ขณะที่ทุเรียนแกะเนื้อ มีการจัดเก็บผลผลิตเพื่อการแปรรูป ในห้องแช่เย็น/แช่แข็งที่มีอุณหภูมิประมาณ -70 ถึง 0°c ส่วนมังคุดและเงาะ มีการลดความร้อนด้วยน้ำเย็น (น้ำผสมน้ำแข็ง) หรือ Hydro Cooling โดยนำตะกร้าผลผลิตไหลผ่านน้ำเย็นและเคลื่อนย้ายไปตามสายพาน อุณหภูมิประมาณ1-2°c ขณะที่การส่งออกมะม่วง ใช้ห้องเย็นในอุณหภูมิประมาณ 10°c เห็ดใช้ห้องเย็นในอุณหภูมิประมาณ 15°c
สำหรับตัวอย่างสถาบันเกษตรกร ที่มีการบริหารจัดการโซ่ความเย็นที่มีประสิทธิภาพ สามารถรักษาคุณภาพและเพิ่มมูลค่าผลผลิตได้เป็นอย่างดี คือ สหกรณ์ท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ซึ่งทำธุรกิจรวบรวมผลไม้หลายชนิด อาทิ ทุเรียน มังคุด มะม่วง สละ แก้วมังกร ลำไย ลองกอง
โดยสหกรณ์ได้รับงบประมาณจากภาครัฐ จำนวน 75 ล้านบาท สำหรับก่อสร้างโรงงาน (30 ล้านบาท) และจัดซื้อเครื่องอบไอน้ำ (45 ล้านบาท) และมีห้องเย็นขนาดความจุ 1,080 ตัน เก็บรักษาผลผลิตได้ประมาณ 1 สัปดาห์ ซึ่งสหกรณ์เน้นยึดหลักการทำธุรกิจรวบรวมผลไม้ให้สามารถใช้ประโยชน์จากโรงอบไอน้ำและอาคารตัดแต่งผลไม้เพื่อการส่งออกและห้องเย็นให้คุ้มค่าต่อเนื่องตลอดปี
สถานการณ์ข่าวประจำสัปดาห์ของนิตยสารสัตว์น้ำ
EURASTiP มั่นใจใน “อุตสาหกรรมกุ้งทะเลไทย” กรมประมง…วอนผู้บริโภคอย่าเชื่อข่าวลวง
ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตกุ้งทะเลที่สำคัญ แต่จากข้อจำกัดด้านสิ่งแวดล้อมและโรคระบาดในช่วงที่ผ่านมาส่งผลให้การผลิตกุ้งทะเลของไทยลดปริมาณลงเป็นอันมาก แต่กระนั้นก็ตามไทยยังคงเป็นผู้ส่งออกในระดับต้นๆ ของโลก ที่หลายประเทศให้ความสนใจและจับตามอง
Schmutizge shrimps-dirty shrimp in German “ซึ่งเผยแพร่ในเยอรมันเมื่อปี พ.ศ.2555 ซึ่งมันหมายความว่า นอกจากเป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งเป็นเท็จแล้ว วีดีโอการนำเสนอครั้งนี้ยังเป็นข้อมูลที่ล้าสมัย โดยเฉพาะประเด็นการกล่าวอ้างว่า พื้นที่ป่าชายเลนของไทยถูกทำลายล้างด้วยฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล มีการใช้ยาปฏิชีวนะและสารเคมีที่ผิดวิธี มีการปล่อยน้ำทิ้งที่ทำความเสียหายแก่แม่น้ำลำคลอง และสร้างมลพิษ เป็นอันตรายกับเด็กที่ไปว่ายน้ำบริเวณนั้น รวมทั้งการจ้างแรงงานผิดกฎหมายจากเมียนมาร์ และเรื่องอื่นๆ อีกหลายเรื่อง ไม่มีอะไรที่เป็นเรื่องสร้างสรรค์เลย ไม่มีการพูดถึงสิ่งที่รัฐบาลไทย
รวมทั้งสมาคมกุ้งทะเลต่างๆ และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องได้พยายามร่วมมือกันมาโดยตลอดในช่วงสิบปีที่ผ่านมา เพื่อสร้างให้อุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลของไทยมีความยั่งยืน…” และ EURASTiP ยินดีที่ให้ข้อมูลที่จำเป็นที่มีอยู่ทั้งหมดเพื่อต่อต้านข้อมูลและเนื้อหาที่เป็นเท็จในวิดีโอชุดนี้ Dr. David Bassett กล่าวทิ้งท้าย
และในฐานะประเทศไทย กรมประมง เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงกุ้งทะเล และผู้ที่เกี่ยวข้องตลอดสายการผลิต ขอขอบคุณ EURASTiP ผู้นำเข้า และผู้บริโภคทั่วโลก ที่เชื่อมั่น “อุตสาหกรรมกุ้งทะเลไทย” ตลอดมา และยืนยันว่า อุตสาหกรรมกุ้งทะเลของไทยมุ่งมั่นที่จะพัฒนาไปสู่ “ความยั่งยืน” และขอความร่วมมือทุกท่านในการหยุดยั้งการ “แชร์” วีดีโอที่มีเนื้อหาอันเป็นเท็จชุดนี้ และช่วยกัน “เผยแพร่” และ “นำเสนอ” ข้อมูลที่ถูกต้อง หากท่านใดต้องการข้อมูลการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลของไทยที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน ติดต่อประสานขอข้อมูลที่กรมประมงได้ตลอดเวลา อธิบดีกรมประมงกล่าวทิ้งท้ายในที่สุด
กรมประมง… มั่นใจอุตสาหกรรมกุ้งไทยมีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ปลอดภัย เป็นมิตรสิ่งแวดล้อม และมีความรับผิดชอบต่อสังคม
กระแสความยั่งยืน “เป็นสิ่งที่ผู้บริโภคทั่วโลกตระหนักและให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง และความยั่งยืนของอาหารให้ความสำคัญกับ “ความปลอดภัยทางอาหาร” “ความยั่งยืนของทรัพยากรและผลกระทบของสิ่งแวดล้อม” ตลอดจน “การปฏิบัติทางด้านแรงงานที่ดี” ประเทศไทยในฐานะผู้ผลิตสินค้าสัตว์น้ำรายใหญ่ของโลกตระหนักถึง “ความยั่งยืน” จึงให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการผลิตอาหารที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อสร้างความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และภายใต้พระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประเทศไทยได้มีการปฏิรูปการประมงทั้งระบบ
ประกอบด้วยการประมง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การแปรรูป ตลอดจนระบบการตรวจสอบย้อนกลับ เพื่อสร้างความเข้มแข็งในการที่จะทำให้การพัฒนาการประมงมุ่งไปสู่ความยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ซึ่งกำหนดวัตถุประสงค์ไว้อย่างชัดเจนในการที่ต้อง “คำนึงถึงปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ในระยะยาว และรักษาสมดุลในระบบนิเวศ รวมทั้งสร้างความมั่นใจในการบริโภคสัตว์น้ำที่ได้จากการเพาะเลี้ยง ทั้งในด้านคุณภาพและสุขอนามัยที่ได้มาตรฐาน” เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าการส่งเสริมใด ๆ ต้องเป็นการส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่มุ่งไปสู่ “ความยั่งยืน”
การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลของไทย เป็นการเพาะเลี้ยงที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ปลอดภัยจากยาและสารเคมีตกค้าง และกุ้งทะเลที่จำหน่ายทั้งในและต่างประเทศสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ตลอดสายการผลิต และจะเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะทำให้ “กุ้งไทย” ก้าวต่อไปได้อย่างมั่นคง
สถานการณ์ข่าวประจำสัปดาห์ของนิตยสารสัตว์บก
งานแพะแห่งชาติ ครั้งที่ 16 จังหวัดภูเก็ต
วันที่ 26-28 สิงหาคม 2562 นายศีลธรรม วราอัศวปติ ปศุสัตว์เขต 4 มอบหมายให้นายวรกร อินทแพทย์ ผู้อำนวยการส่วนส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ สำนักงานปศุสัตว์เขต 4 พร้อมคณะ เข้าร่วมงานแพะแห่งชาติ ครั้งที่ 16 และนำตัวแทนเครือข่ายเกษตรกรเลี้ยงแพะ-แกะเขต 4 (อีสานบน) เข้าร่วมเสวนาสานสัมพันธ์เครือข่ายเกษตรกรเลี้ยงแพะ-แกะ พร้อมนำตัวแทนกลุ่มเกษตรกรรับรางวัลกลุ่มเกษตรกรเลี้ยงแพะดีเด่นระดับเขต ในงานประกอบด้วยกิจกรรมการประกวดแพะ จำนวน 20 รุ่น การออกร้านขายผลิตภัณฑ์จากแพะ (เนื้อแพะ นมแพะ) การประกวดผลิตภัณฑ์และแข่งขันทำอาหารเมนูแพะ การชิมอาหารจากเนื้อแพะตลอดทั้งงาน
ออกตรวจต่ออายุการรับรองหลักการปฏิบัติที่ดีสำหรับศูนย์รวบรวมไข่ จังหวัดอุดรธานี
วันที่ 29 สิงหาคม 2562 ปศุสัตว์เขต 4 มอบหมายให้ส่วนมาตรฐานการปศุสัตว์ ร่วมกับสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดอุดรธานี ร่วมตรวจต่ออายุการรับรองหลักการปฏิบัติที่ดี สำหรับศูนย์รวบรวมไข่ GMP จังหวัดอุดรธานี บริษัท เบทาโกรเกษตรอุตสาหกรรม จำกัด สำนักงานอุดรธานี ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี เพื่อให้ผู้ประกอบการได้มีการจัดการศูนย์รวบรวมไข่ให้ได้มาตรฐาน ตามหลักการปฏิบัติที่ดี สำหรับศูนย์รวบรวมไข่ GMP เป็นการยกระดับการจัดการ และเป็นการรักษาคุณภาพไข่ที่ได้มาจากฟาร์มมาตรฐานให้มีคุณภาพดีก่อนส่งตลาด อีกทั้งเป็นการสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภคภายในประเทศ
ปศุสัตว์เขต 6 เข้าตรวจเยี่ยมและให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย จากพายุ “โพดุล” จังหวัดพิษณุโลก
วันที่ 4 กันยายน 2562 นายสรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ ได้มอบหมายและสั่งการให้ นายสุรเดช สมิเปรม รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ พร้อมนายพนม มีศิริพันธุ์ ปศุสัตว์เขต 6, นายธรรมนูญ ทองสุข ปศุสัตว์จังหวัดพิษณุโลก, ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาคหนือตอนล่าง และหัวหน้าด่านกักกันสัตว์พิษณุโลก เข้าตรวจเยี่ยมและให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย จากพายุ “โพดุล” โดยได้มอบหญ้าแห้งอาหารสัตว์จำนวน 1,000 ฟ่อน และเวชภัณฑ์ยารักษาโรคให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ที่ได้รับผลกระทบ เพื่อเป็นการช่วยเหลือเบื้องต้น ดังนี้
-กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์บ้านตะแบกงาม ต.ชุมแสงสงคราม อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก
-กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์บ้านใหม่เจริญธรรม ต.นิคมพัฒนา อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก
-กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์บ้านดงพลวง ต.วังพิกุล อ.วังทอง จ.พิษณุโลก จำนวน 39 ราย