สถานการณ์ข่าว ประจำสัปดาห์ของนิตยสารพลังเกษตร
มะขามเทศเพชรโนนไทย ผลไม้พันธุ์อึด ทนแล้ง และดินเค็ม ให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า
เกษตรกรอำเภอโนนไทยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา ทำไร่ (มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์) โดยผลผลิตขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศ ซึ่งจากสถิติในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา พบว่า อำเภอโนนไทย ผลิตข้าวนาปีได้ผลผลิตต่อเนื้อที่เก็บเกี่ยวเฉลี่ย 328 กิโลกรัม/ไร่ โดยปี 61 ได้ผลผลิตต่อเนื้อที่เก็บเกี่ยวเฉลี่ย 334 กิโลกรัม/ไร่ สถานการณ์ข่าว
ดังนั้นเกษตรกรอำเภอโนนไทยจึงต้องมองหาพืชเศรษฐกิจที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ คือ ทนแล้ง และดินเค็ม เพื่อเป็นพืชทางเลือก โดยพบว่ามะขามเทศ เป็นผลไม้ที่เหมาะสม เกษตรกรนิยมปลูกพันธุ์เพชรโนนไทย โดยมีต้นทุนการผลิต 24,395 บาท/ไร่ (1 ไร่ ปลูกได้ประมาณ 25 ต้น) โดยมะขามเทศจะเริ่มให้ผลผลิตเมื่อมีอายุตั้งแต่ 8 เดือนขึ้นไป ผลผลิตต่อเนื้อที่เก็บเกี่ยว 700 กิโลกรัม/ไร่ ผลผลิตจะออกสู่ตลาดในช่วงเดือนธันวาคม-มีนาคม สำหรับราคาขายเฉลี่ยอยู่ที่ 50 บาท/กิโลกรัม ช่วยให้เกษตรกรมีรายได้สุทธิ 25,605 บาท/ไร่
ปัจจุบันหน่วยงานในพื้นที่ได้ส่งเสริมการรวมกลุ่มให้กับเกษตรกรผู้ปลูกมะขามเทศแบบแปลงใหญ่ และถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีการผลิต การจัดการดินและน้ำ การสร้างแบรนด์ การวางแผนการผลิตและการตลาดให้เกษตรกร ตามโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ และโครงการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร อำเภอโนนไทย ซึ่งขณะนี้พบว่าแปลงใหญ่มะขามเทศของอำเภอโนนไทย มีพื้นที่ 733 ไร่ ผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 10 ตัน/วัน โดยผลผลิตส่วนใหญ่ร้อยละ 80 จำหน่ายให้แก่พ่อค้าคนกลางที่มารับซื้อ รองลงมาร้อยละ 15 ส่งออก และร้อยละ 5 จำหน่ายให้กับผู้บริโภคโดยตรง ทั้งนี้เกษตรกรผู้ปลูกมะขามเทศแบบแปลงใหญ่มีสมาชิกจำนวน 120 ราย ซึ่งในจำนวนสมาชิกทั้งหมดมีจำนวน 90 ราย ที่สามารถผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย ตามระบบการจัดการคุณภาพหลักปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของกรมวิชาการเกษตร
ผลติดตามการปลูกพืชหลากหลายแทนการทำนาปรัง ช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น มั่นใจได้ว่าปีหน้าจะหันมาเข้าร่วมโครงการอย่างต่อเนื่องแน่นอน
รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงผลการประเมินโครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย ฤดูนาปรัง ปี 2562 ซึ่งมีกรมส่งเสริมการเกษตรเป็นเจ้าภาพหลัก เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรลดรอบการทำนาในฤดูนาปรัง สร้างรายได้จากการปลูกพืชอื่นทดแทนการปลูกข้าว และสร้างโอกาสให้เกษตรกรได้เรียนรู้การเพาะปลูกพืชอื่นในพื้นที่นา
โดยดำเนินการสนับสนุนค่าใช้จ่ายให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนการปลูกข้าวไปปลูกพืชที่หลากหลาย ไร่ละ 1,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 15 ไร่ มีระยะเวลาดำเนินโครงการตั้งแต่ตุลาคม 2561-มิถุนายน 2562 พื้นที่เป้าหมาย 53 จังหวัด รวม 13,500 ครัวเรือน คิดเป็นพื้นที่เป้าหมาย 200,000 ไร่ ภาพรวมเกษตรกรมีความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมโครงการในระดับมาก โดยร้อยละ 89 มีความตั้งใจที่จะเข้าร่วมโครงการในปีถัดไปอย่างแน่นอน
ซึ่งสิ่งที่จูงใจให้เกษตรกรตัดสินใจปรับเปลี่ยนจากการปลูกข้าวนาปรังมาปลูกพืชอื่นทดแทนมากที่สุด คือ การสนับสนุนของหน่วยงานภาครัฐ รองลงมา คือ การมีปริมาณน้ำเพียงพอ รายได้หรือผลตอบแทนที่ได้รับสูงขึ้น รวมทั้งต้นทุนการผลิตที่ไม่สูงมากนัก อย่างไรก็ตามพบว่ามีเกษตรกรร้อยละ 48 ประสบปัญหาด้านราคาผลผลิตต่ำ ดังนั้นการดำเนินโครงการในระยะต่อไปควรมีมาตรการในการบริหารจัดการผลผลิต ควบคู่กับการปรับเปลี่ยนปลูกพืช เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาดังกล่าว
สถานการณ์ข่าว ประจำสัปดาห์ของนิตยสารสัตว์น้ำ
Pew เผย เรือประมงรายงานการขนถ่ายสัตว์น้ำในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกและตอนกลางต่ำกว่าความเป็นจริง
The Pew Charitable Trusts ได้ออกรายงานฉบับล่าสุดในวันนี้ ซึ่งเผยให้เห็นว่า การจัดการการขนถ่ายสัตว์น้ำในน่านน้ำของคณะกรรมาธิการด้านการประมงภาคตะวันตกและภาคกลางของมหาสมุทรแปซิฟิก (WCPFC) มีความหละหลวม เนื่องจากพบช่องโหว่ในด้านการรายงาน การเฝ้าระวัง และการแบ่งปันข้อมูลการขนถ่ายสัตว์น้ำในน่านน้ำ คือ การขนถ่ายสัตว์น้ำจากเรือประมงที่จับปลาได้ไปยังเรือขนส่งที่จะนำปลาไปส่งที่ท่าเรือ
มีการเปิดเผยโดยทั่วไป รายงาน “การขนถ่ายสัตว์น้ำในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกและตอนกลาง : ความเข้าใจและความโปร่งใสที่มากขึ้นเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวของกลุ่มเรือขนส่ง จะช่วยปฏิรูปการจัดการ” (Transshipment in the Western and Central Pacific: Greater understanding and transparency of carrier vessel fleet dynamics would help reform management) พบว่า มีเรือขนส่งเพียง 25 ลำ ที่รายงานการขนถ่ายสัตว์น้ำในเขตทะเลหลวงต่อสำนักเลขาธิการของ WCPFC ในปี 2559 แต่มีเรือขนส่งที่ได้รับอนุญาตจำนวนมากถึง 5 เท่า ที่อาจดำเนินการขนถ่ายสัตว์น้ำบริเวณท่าเรือหรือกลางทะเลในเขตน่านน้ำของ WCPFC ในปี 2559
เจ้าหน้าที่กองควบคุมสัตว์น้ำตรวจสอบที่มาการนำเข้าสัตว์น้ำจากประเทศเพื่อนบ้าน
นายคณิศร์ นาคสังข์ ผู้อำนวยการกองควบคุมการค้าสัตว์น้ำและปัจจัยการผลิตกรมประมง นำคณะร่วมลงพื้นที่ตลาดปลาสหกรณ์ประมงแม่กลอง จ.สมุทรสงคราม เพื่อ ตรวจสอบการนำเข้าสัตว์น้ำจากประเทศเพื่อนบ้านพร้อมเอกสารการนำเข้าที่ติดรถบรรทุก นำเข้าสัตว์น้ำ ได้แก่ ใบอนุญาตนำเข้าสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ (DOF2) ซึ่งพบว่า ใบอนุญาตนำเข้าฯ และทะเบียนรถ รวมทั้งเอกสารตรงกับการขออนุญาตนำเข้าสัตว์น้ำ
“รมช.ประภัตร” ลุยฝน ลงพื้นที่หัวหิน เล็งพัฒนาตลาดสะพานปลาเป็นแหล่งท่องเที่ยวทันสมัยตามแบบญี่ปุ่น
นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวภายหลังลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานโครงการพัฒนาตลาดสินค้าสัตว์น้ำคุณภาพ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หัวหน้าส่วนราชการ และเทศบาล ณ ท่าเทียบเรือประมงหัวหิน อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ว่า จากการลงพื้นที่ในวันนี้ได้มีการหารือร่วมกันกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางในการพัฒนาตลาดสะพานปลาหัวหินแห่งนี้ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชนและสร้างรายได้ให้กับชาวบ้าน
อย่างไรก็ตามการพัฒนาเพื่อให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวนั้นจะต้องไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับชาวบ้านโดยรอบ โดยได้แนวคิดรูปแบบการดำเนินงานมาจากตลาดปลาซึกิจิในประเทศญี่ปุ่น สำหรับท่าเทียบเรือประมงหัวหินเป็นท่าเทียบเรือประมงขององค์การสะพานปลา โดยพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงห่วงใยถึงความเดือดร้อนของชาวประมง อำเภอหัวหิน ในการจอดเรือประมงและการขนถ่ายสินค้าสัตว์น้ำขึ้นฝั่งอย่างยากลำบากเมื่อปี 2506 และองค์การสะพานปลาได้ดำเนินการก่อสร้างท่าเทียบเรือประมงแล้วเสร็จในปี 2508 ให้บริการขนถ่ายสัตว์น้ำ
จนถึงปี 2515 องค์การสะพานปลาได้จัดสร้างท่าเทียบเรือประมงขึ้นใหม่อยู่ใกล้เคียงกับท่าเทียบเรือเดิม เพื่อให้บริการขนถ่ายสัตว์น้ำทดแทนท่าเทียบเรือประมงเดิมที่ชำรุด ซึ่งปัจจุบันองค์การสะพานปลายังคงเก็บอนุรักษ์ท่าเทียบเรือประมงเดิม เพื่อเป็นอนุสรณ์ความทรงจำในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
สถานการณ์ข่าว ประจำสัปดาห์ของนิตยสารสัตว์บก
ปศุสัตว์จังหวัดอุทัยธานี เปิดการประชุมซ้อมแผนเฝ้าระวังและป้องกัน การควบคุมโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร
วันที่ 6 กันยายน 2562 ที่ศาลาประชาคมอำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี นายณรงค์ รักร้อย ผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานี มอบหมายให้ นายพยนต์ อัศวพิชยนต์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานี เป็นประธานพิธีเปิดโครงการฝึกซ้อมแผนเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร เพื่อสร้างองค์ความรู้ให้แก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ เกษตรกร และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
และประเมินขีดความสามารถของเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบเฉพาะด้าน โดยมี นายนที เจนประเสริฐ ปศุสัตว์จังหวัดอุทัยธานี เจ้าหน้าที่สํานักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดอุทัยธานี ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ผู้เลี้ยงสุกร ผู้ประกอบการโรงฆ่าสุกร และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวนกว่า 100 คน เข้าร่วมกิจกรรม
กรมปศุสัตว์เขต 6 ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและให้ความช่วยเหลือเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ที่ได้รับผลกระทบจากพายุ โพดุล ในจังหวัดพิษณุโลก
เมื่อวันที่ 5 กันยายน นายสรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมกรมปศุสัตว์ ได้มอบหมายและสั่งการให้นายพนม มีศิริพันธุ์ ปศุสัตว์เขต 6 พร้อมด้วยปศุสัตว์จังหวัดพิษณุโลก เข้าตรวจเยี่ยมและให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์เบื้องต้น ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย จากพายุ “โพดุล” ในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก โดยได้มอบเสบียงอาหารสัตว์ และเวชภัณฑ์ เพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ที่ได้รับผลกระทบในตำบลชุมแสงสงคราม อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 23 ราย
ปศุสัตว์จังหวัดอุทัยธานีลงพื้นที่ปรับเปลี่ยนโครงการปลูกพืชไม่เหมาะสม และส่งเสริมเกษตรกรให้เลี้ยงโค กระบือ
วันที่ 9 กันยายน 2562 นำโดย นายนที เจนประเสริฐ ปศุสัตว์จังหวัดอุทัยธานี พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ ตรวจเยี่ยม และมอบกระบือให้เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกพืชไม่เหมาะสมเพื่อส่งเสริมการเลี้ยงกระบือ
โดยเป็นการส่งเสริมให้เกษตรกรที่ทำการปลูกพืชอย่างไม่เหมาะสม หรือ ไม่สมควรให้หันมาประกอบอาชีพในการเลี้ยงโค และกระบือ แทน เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ที่เหมาะสม และมีประสิทธิภาพในการทำการเกษตรมากขึ้น ภายใต้โครงการธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตรกร ตามพระราชดำริ ณ หมู่ที่ 4 ตำบลหลุมเข้า อำเภอหนองขาหย่าง จังหวัดอุทัยธานี สถานการณ์ข่าว สถานการณ์ข่าว สถานการณ์ข่าว สถานการณ์ข่าว