เมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูหนาวประชาชนส่วนมากมักชื่นชมและดีใจที่ได้สัมผัสกับอากาศเย็น แต่หารู้ไม่ว่าเกษตรกรผู้ที่มีอาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำนั้นมักจะเริ่มหวาดหวั่นกับสภาพอากาศที่แปรปรวนและหนาวเย็น เนื่องจากเมื่อมีอากาศที่เย็นจะทำให้เพาะพันธุ์สัตว์น้ำได้ยาก หรือบางที่ไม่สามารถเพาะพันธุ์ได้เลย ต้องรอให้เลยช่วยฤดูหนาว เช่นเดียวกันกับกบ ถือว่าเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำที่เพาะพันธุ์ได้ยากในช่วงฤดูหนาว..
แต่ในตอนนี้ ทีมงานนิตยสารสัตว์น้ำค้นหาฟาร์มที่สามารถเพาะพันธุ์กบได้ในช่วงฤดูหนาว จึงได้เดินทางไปยังจังหวัดนครสวรรค์ ดินแดนแห่งแม่น้ำเจ้าพระยา ได้พบกับ คุณชัด อินทฤทธิ์ หรือคุณชัด พนักงานในเมืองกรุงที่ผันตัวเองเข้าสู่วงการเกษตรกรผู้ เลี้ยงกบ
โดยเริ่มเลี้ยงจากการดัดแปลงคอกหมูเป็นบ่อกบ ส่งตลาดครั้งละ 50-100 กิโลกรัม กว่า 8 ปี ได้เล็งเห็นว่า เลี้ยงกบ แล้วกบโตเร็วดี ให้ผลตอบแทนสูง จึงได้ศึกษาต่อยอดมาเรื่อยๆ ด้วยการเพาะลูกพันธุ์ขาย จนกระทั่งสามารถเพาะขายได้ในหน้าหนาวในปริมาณมาก ซึ่งฟาร์มส่วนใหญ่อาจจะเพาะได้เล็กน้อย หรือไม่สามารถเพาะได้เลย
ปรึกษาฟรี! (หากบอกว่ามาจาก พลังเกษตร.com) สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ คุณชัด อินทฤทธิ์
โทร 084-230-3969
การเลี้ยงกบ ต้นทุนต่ำ ใช้ระยะเวลาเลี้ยงเพียงแค่ 2-3 เดือน
ปีนี้น้ำน้อย การเลี้ยงกบ ก็ใช้น้ำน้อยเช่นกัน ถือว่าเป็นทางเลือกที่ดีอีกทางหนึ่งสำหรับเกษตรกร การเลี้ยงกบ ต้นทุนต่ำใช้ระยะเวลาเลี้ยงเพียงแค่ 2-3 เดือน ก็สามารถให้ผลผลิตได้แล้ว หากเกษตรกรอยากลองเลี้ยงดูก่อนก็สามารถเลี้ยงเป็นแบบกระชังบกได้ ต้นทุนเพียงแค่ไม่กี่บาท ถือว่าคุ้มค่ากับช่วงที่น้ำไม่มี
วิธีเลี้ยงกบ มือใหม่… การเลี้ยงกบ แบบกระชังบก
แต่หากจะเลี้ยงแล้วให้ได้ราคากบที่สูง ควรเลี้ยงในช่วงธันวาคม เนื่องจากเดือนมีนาคมเป็นเดือนที่กบราคาขึ้นสูงสุดในแต่ละปี เพราะเป็นช่วงที่กบขาดตลาด เนื่องจากไม่สามารถหาลูกพันธุ์มาเลี้ยงในช่วงเวลาฤดูหนาวได้ ฟาร์มที่ผลิตได้มีน้อยมาก กล้าการันตีเลยว่าเป็นฟาร์มเดียวในเขตภาคกลางที่สามารถเพาะพันธุ์ได้
คัดสายพันธุ์ด้วยตัวเอง
ก่อนที่จะเพาะพันธุ์นั้นต้องรู้ก่อนว่ากบแต่ละสายพันธุ์มีดีอย่างไร ก็จะเอาส่วนที่ดีของแต่ละสายพันธุ์มาผสมกัน ทำให้เกิดเป็นกบลูกผสมของฟาร์ม โดยเฉพาะจากการคัดเลือกตระกูลเพื่อไม่ให้สายเลือดชิดกัน ทางฟาร์มจะเลือกใช้สายพันธุ์ระหว่างกบนา และกบจาน ซึ่งคุณลักษณะของกบจานเลือกใช้เป็นตัวเมีย มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางภาคอีสาน
จะมีโครงสร้างที่ใหญ่ โตเร็ว แต่จะไม่ทนโรค ส่วนกบนามีภูมิต้านทานโรคสูงกว่า แต่โตช้า จะใช้ระยะเวลาเลี้ยงในการทำพันธุ์ 1 ปี โดยเลือกตัวที่พร้อมผสมพันธุ์ ตัวผู้ที่มีการกอดรัดเมื่อสอดนิ้วไประหว่างขาคู่หน้า โดยส่วนใหญ่แล้วกบเพศผู้จะมีโครงสร้างที่เล็กกว่ากบเพศเมียอย่างเห็นได้ชัด และถ้าดูที่ใต้คางจะเห็นรอยคล้ายๆ ปานสีดำคล้ำอยู่ที่ใต้คางทั้ง 2 ข้าง
เมื่อส่งเสียงร้องตรงจุดนั้นจะพองโป่งออกมาเหมือนลูกโป่ง และมีเสียงดัง ส่วนตัวเมียจะเลือกที่แถบสีข้างสาก และหากไข่แก่มากจะเป็นสีชมพู และมีโครงสร้างที่ใหญ่กว่า และถ้าดูที่ใต้คางจะไม่มีรอยปานสีดำคล้ำ ในการผสมพันธุ์จะใช้พ่อแม่พันธุ์กบเพียง 1ปี เท่านั้น และจะปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ
การเพาะ เลี้ยงกบ ด้วยบ่อปูนแอ่งกะทะ
บ่อถือว่าเป็นปัจจัยหลักในการเพาะพันธุ์กบ ข้อดี-ข้อเสียของบ่อปูน และบ่อดิน แตกต่างกันไป แต่ทางฟาร์มเลือกใช้บ่อปูน ปัจจุบันมีอยู่ 20 บ่อ ขนาด 4×4 เมตร เหตุที่เลือกใช้บ่อปูนเพราะต้องเพาะพันธุ์กบอยู่ตลอดเวลา ต้องบริหารจัดการเวลา และฆ่าเชื้อทำความสะอาดบ่อได้ง่าย
ซึ่งแตกต่างจากบ่อดินที่ต้องใช้ระยะเวลาในการตากบ่อนานกว่า หากตากบ่อไม่ดีก็ทำให้เกิดเชื้อโรคได้ บ่อปูนจะมีลักษณะเป็นแอ่งกระทะ เพื่อสะดวกในการเปลี่ยนถ่ายน้ำ หรือจับขาย มีการเปลี่ยนถ่ายน้ำทุกวัน โดยการใช้ระบบน้ำล้น จะไม่ดูดน้ำออก
เทคนิคการเพาะเลี้ยงในช่วงฤดูหนาว
การเพาะพันธุ์กบในช่วงฤดูหนาวไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ฟาร์มมีเทคนิคในการเพาะพันธุ์ โดยที่กบที่จะใช้ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูหนาวจะต้องเป็นกบที่ไม่เคยผ่านการผสมพันธุ์มาก่อนเท่านั้น เนื่องจากปกติแล้วฟาร์มทั่วไปจะเริ่มเพาะพันธุ์กันมาเรื่อยๆ จนถึงเดือนตุลาคมไข่ของกบก็จะหมด และก็จะไม่มีไข่แล้ว
ธรรมชาติของกบจะมีไข่อีกครั้งช่วงเดือนกุมภาพันธ์ และเมื่อได้พ่อแม่พันธุ์ตามที่ต้องการแล้วจะนำมาปล่อยสู่บ่อปูนที่เตรียมน้ำไว้ 10 เซนติเมตร ในช่วงฤดูหนาวต้องใส่พ่อแม่พันธุ์เยอะกว่าช่วงฤดูปกติ ซึ่งใส่อยู่ที่อัตราส่วน ผู้:เมีย คือ 100:50 เพราะเนื่องจากไม่ใช่ฤดูผสมพันธุ์ ตัวผู้บางตัวก็จะไม่รัดตัวเมีย เป็นสาเหตุให้ต้องใส่มากกว่าปกติ
แต่ถ้าในช่วงฤดูกาลที่กบผสมพันธุ์นั้นใส่เพียง 20 คู่ ก็เพียงพอแล้ว และเนื่องจากใช้น้ำบาดาลต้องทำการพ่นน้ำตลอดเวลา เพื่อเป็นการเพิ่มออกซิเจนไปในตัว และเปรียบเสมือนฝนเทียมเพื่อเร่งให้ผสมพันธุ์ และจะใช้หญ้าขนแทนผักบุ้ง เนื่องจากไข่จะเกาะดีกว่า
การฟักไข่ให้เป็นตัวอยู่ในบ่อ
เมื่อปัจจัยทุกอย่างพร้อมแล้วก็จะลงพ่อแม่พันธุ์ที่ได้คัดเลือกไว้ตอนประมาณ 18.00 น. และเมื่อเวลาประมาณ 10.00 น. ของวันใหม่ ก็จะเริ่มเก็บพ่อแม่พันธุ์ออก และปล่อยให้ไข่ฟักตัวอยู่ในบ่อ ในช่วงฤดูหนาวจะใช้เวลาในการฟักประมาณ 30 ชม. ก็จะเริ่มว่าย แต่โดยปกติแล้วจะใช้เวลาในการฟักเพียง 24 ชม. เท่านั้น
และเมื่อระยะเวลาผ่านไปสามวันก็จะเริ่มกิน อาหารกบ จากการเริ่มให้ไข่ต้มเลือกเฉพาะไข่แดงเท่านั้นกระจายให้เป็นจุดๆ จะให้อยู่อีกสามวัน และหลังจากนั้นจะเริ่มให้ อาหารกบ เม็ด (ไฮเกร็ด) ผสมกับไข่แดง เพื่อให้รู้คุ้นเคยกับ อาหารกบ เม็ด เมื่อคุ้นเคยแล้วก็จะให้ อาหารกบ เม็ดเพียงอย่างเดียวประมาณ 30-40 วัน จึงจะได้เป็นขนาดลูกกบที่ขายได้
แต่หากเป็นช่วงเวลาปกติจะใช้เวลา 30 วัน ที่กระบวนการต่างๆ เกิดช้า ต้องอาศัยอุณหภูมิเป็นตัวหลัก ซึ่งการควบคุมอุณหภูมิในกบทำได้ยาก หากจะทำหลังคาคลุมในการฟักตัวของไข่ ต้องการแสงแดด และก็จะไม่มีแสงแดดไปฆ่าเชื้อในบ่อ อาหารกบ อาหารกบ อาหารกบ
ให้ฮอร์โมนและวิตามินซีบำรุงพ่อแม่พันธุ์
อัตราการฟักตัวขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น การบำรุงพ่อแม่พันธุ์ หากบำรุงดี พ่อแม่พันธุ์สมบูรณ์ ก็จะได้ไข่เยอะ ซึ่งการบำรุงพ่อแม่พันธุ์จะให้ฮอร์โมนกระตุ้นเสริมด้วยวิตามินซี จะได้อัตราการฟักตัวอยู่ที่คู่ละประมาณ 2,000 ตัว
เตรียมขยายบ่อเพื่อผลิตส่งสิงคโปร์
ผลผลิตในแต่ละช่วงฤดูกาลจะแตกต่างกันไป ในช่วงเวลาปกติที่อากาศไม่หนาวจะมีผลผลิตที่มาก แต่จะทำตามออเดอร์ที่ลูกค้าสั่งเท่านั้น แต่ในช่วงฤดูหนาวสามารถผลิตได้กว่า 100,000 ตัว กลุ่มลูกค้าจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
- เกษตรกร และ
- หน่วยงานราชการ
เมื่อมีหน่วยงานราชการมาเกี่ยวข้องก็ต้องมีมาตรฐานของคุณภาพลูกกบให้มากขึ้น ในตอนนี้มีแผนที่จะขยายบ่อเพิ่ม และมีแผนที่จะส่งออกไปยังประเทศสิงคโปร์อีกด้วย
การเปิดเป็นศูนย์เรียนรู้ในเรื่องการเพาะ เลี้ยงกบ วิธีเลี้ยงกบ
หากเกษตรกรท่านใดสนใจวิธีการเลี้ยง ศิรดาฟาร์มก็ได้เปิดเป็นศูนย์เรียนรู้ วิธีเลี้ยงกบ และต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ในเรื่องการเพาะ เลี้ยงกบ ของอำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ หรือ เกษตรกรท่านใดสนใจลูกพันธุ์ที่มีความแข็งแรง และมีมาตรฐาน ในช่วงฤดูหนาว
สามารถติดต่อสั่งจองลูกพันธุ์ได้ที่ คุณชัด อินทฤทธิ์ 084-230-3969 หรือหาข้อมูลได้ที่ www.ฟาร์มกบ ศิรดาฟาร์ม.com การเลี้ยงกบ วิธีเลี้ยงกบ เลี้ยงกบ อาหารกบ