การเลี้ยงปลานิล ควบคู่การ เลี้ยงกุ้ง เผยเทคนิคจากผู้ชนะรางวัล สัตว์น้ำ เกษตรแปลงใหญ่ สหกรณ์ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชลบุรีฯ
วันนี้ทีมงานนิตยสาร สัตว์น้ำ ขอพาท่านผู้อ่านมารู้จักกับ เกษตรแปลงใหญ่ ของ สหกรณ์ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชลบุรี จำกัด ตำบลบางหัก อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรีโดยมี คุณพรชัย บัวประดิษฐ์ เป็นประธานสหกรณ์ซึ่งได้จัดตั้งขึ้นเป็นสหกรณ์ เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2559โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาอาชีพของเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยง สัตว์น้ำ ให้มีความยั่งยืน เมื่อเลี้ยงแล้วผลผลิตดีขึ้น ต้นทุนต่ำลง แล้วปลานิลที่ผลิตต้องมีคุณภาพ และได้มาตรฐาน
จากการที่เกษตรกรประสบปัญหาเรื่องโรคจากการ เลี้ยงกุ้ง กุลาดำในอดีต จึงได้ทำการปรับให้มีการ เลี้ยงกุ้ง กุลาดำร่วมกับ เลี้ยงกุ้ง ก้ามกราม แต่เมื่อตลาดมีความต้องการ เลี้ยงกุ้ง ขาว ประกอบกับเกษตรกรมีการเลี้ยงปลาอยู่แล้ว จึงทำให้ในปัจจุบันเปลี่ยนเป็น “การเลี้ยงปลานิลร่วมกับ เลี้ยงกุ้ง ขาว”นั่นเอง
ต้นแบบโครงการ สัตว์น้ำ เกษตรแปลงใหญ่ ลดต้นทุน 20%
คุณพรชัยเปิดเผยว่า โครงการ เกษตรแปลงใหญ่ ของสหกรณ์ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชลบุรีนั้น ในระยะแรกมีสมาชิกเพียง 100 กว่าราย พื้นทั้งหมด 1000 กว่าไร่ แต่ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมด 540 ราย มีพื้นที่ทั้งหมด 6,000 ไร่ ผลผลิตที่ได้ต่อปีมีประมาณ 6,000 ตัน
ซึ่งภายใต้โครงการแปลงใหญ่นี้ก็ยังมีสหกรณ์ที่จัดตั้งขึ้นภายใต้โครงการอีกด้วย ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมดประมาณ 96 ราย สหกรณ์แห่งนี้กำลังดำเนินธุรกิจเพื่อช่วยเหลือสมาชิก ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ก็ได้รับ รางวัลแปลงโดดเด่น กลุ่มสินค้า (ประมง) เมื่อวันที่ 16 สิงหาคมที่ผ่านมาสหกรณ์เน้นลดต้นทุน เพื่อเพิ่มรายได้ ตามนโยบายของรัฐมนตรี คือ ลดต้นทุน 20% เพิ่มผลผลิตต่อไร่ 20%
การเลี้ยงปลานิล ร่วมกับ เลี้ยงกุ้ง ขาว เทคนิคการเลี้ยง สัตว์น้ำ แบบผสมผสาน
คุณพรชัยกล่าวว่า ในการเลี้ยงปลาแบบดั้งเดิมที่มีการปล่อยปลาแบบหนาแน่น และเลี้ยงในระยะยาวจนถึงการจับโดยไม่มีการย้ายบ่อ จะทำให้เกิดการสะสมของเสียที่พื้นก้นบ่อ ทำให้เกิดปัญหาเรื่องโรคอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ปลามีอัตรารอดต่ำ ผลผลิตต่ำ ปลาที่ได้มีการแตกไซส์ ไม่ได้ขนาดตามที่ตลาดต้องการ และเกิดปัญหาเรื่องกลิ่นโคลนในเนื้อปลา
จึงได้หาวิธีการเลี้ยงเพื่อลดปัญหาดังกล่าว คือ เลี้ยงร่วมกับกุ้งขาว ซึ่งเป็นเทคนิคการเลี้ยง สัตว์น้ แบบผสมผสานอย่างหนึ่ง ที่สามารถเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร นอกจากนี้ยังสามารถลดปริมาณเศษอาหาร หรือของเสีย ที่พื้นก้นบ่อได้มากขึ้น อีกทั้งยังสามารถเก็บเกี่ยวกุ้งขาวได้ จนกระทั่งจับปลานิลขาย กุ้งขาวก็หมดบ่อพอดี
ใช้น้ำอามิอามิสร้างไรแดง
คุณพรชัยกล่าวว่า ในการเตรียมบ่อนั้นจะทำการตากบ่อไว้ประมาณ 10-15 วัน โดยไม่ต้องให้บ่อแห้งมาก ตรวจสอบไม่ให้มีศัตรูภายในบ่อ จากนั้นทำการปล่อยน้ำเข้าบ่อ เคล็ดลับ คือ จะซื้อน้ำอามิอามิ ซึ่งเป็นน้ำเหลือจากการทำผงชูรสใส่ในบ่อ เพื่อต้องการสร้างไรแดง ซึ่งเป็นอาหารธรรมชาติให้กับทั้งกุ้งขาวและปลานิล โดยใส่น้ำอามิอามิ 50 ลิตร/ไร่
หากเกษตรกรรายใดไม่ใช้น้ำอามิอามิก็ต้องใส่จุลินทรีย์ในระหว่างรอบของการเลี้ยง เพื่อป้องกันน้ำเสื่อมคุณภาพของน้ำในบ่อ เมื่อใช้อามิอามิแล้วก็ควรเปิดเครื่องตีน้ำ และเครื่องให้อากาศ ด้วย ไม่เช่นนั้นอาจจะทำให้น้ำเสียได้ เมื่อหมดรอบของการเลี้ยงจะทำการถ่ายน้ำไปบ่อที่มีการตากบ่อเกือบแห้งแล้ว เพื่อสลับที่พักน้ำ ทำให้ไม่เปลืองน้ำที่ใช้ในการเลี้ยงรอบต่อไป
ให้อาหารแบบ Auto feed ประหยัดต้นทุน
ในอดีตเมื่อพูดถึงปลานิลจะมีกลิ่นคาว เพราะเกษตรกรเลี้ยงปลาด้วยขี้ไก่ และขี้หมู แต่เกษตรกรที่นี่ไม่ได้เลี้ยงแบบนั้น มีการปล่อยปลานิลในปริมาณที่เหมาะสมต่อไร่ ให้อาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ มีวิธีการเลี้ยงที่เหมาะสมโดย การแขวนสวิงให้อาหาร หรือเรียกว่า เครื่องให้อาหารอัตโนมัติ สำหรับปลานิล
ซึ่งมีแนวคิดมาจากการกินน้ำของสุกรโดยจะใช้ปากในการดูดน้ำ นี่จึงเป็นต้นแบบวิธี การเลี้ยงปลานิล โดยจะทำการแขวนสวิง 1 จุด ต่อพื้นที่ 3 ไร่ ถ้าปลาเข้าถึงอาหาร หรือกินอาหารดี เราจะเพิ่มการแขวนสวิงเป็น 2 จุด ก็ได้ วิธีนี้จึงเป็นวิธีการลดต้นทุนอย่างถูกต้อง ปกติเกษตรกรจะหว่านอาหารให้ปลากิน ซึ่งส่วนใหญ่ปลาจะไม่ค่อยได้กินอาหาร
เนื่องจากอาหารจะลอยเข้าฝั่ง แต่พอใช้วิธีการแขวนสวิง อาหารจะไม่สูญเสีย ในบางช่วงที่อากาศปิด ปลาไม่กินอาหาร อาหารก็อยู่ในนั้น หรือบางช่วงที่ปลากินอาหารน้อย หรือในขณะที่บางวันปลากินอาหารกินดี เราสังเกตเห็นว่าปลาเริ่มมีอาการผิดปกติ เพราะฉะนั้นเครื่องให้อาหารแบบนี้จึงถือว่าเป็นเครื่องให้อาหารที่ต้นทุนต่ำ แล้วก็ให้ผลคุ้มค่าเป็นอย่างมาก
แต่ถ้าทั้งนี้เกษตรกรต้องรู้ว่าเปอร์เซ็นต์อาหารที่จะให้ ต้องมีอัตราที่เหมาะสมในแต่ละวันด้วย ซึ่งปกติเกษตรกรจะให้อาหารปลา 2 เปอร์เซ็นต์/น้ำหนักปลาในบ่อ วิธีการให้ คือ จะให้อาหารสำเร็จรูปใส่ในสวิงแขวนให้แช่น้ำประมาณ ¼ ส่วน ให้ปลาสามารถดูดกินอาหารได้
ให้กินรำสกัด และอาหารเม็ด
ใน การเลี้ยงปลานิล จะแบ่งเป็น 2 ระยะ ในระยะที่ 1 คือ การอนุบาลปลานิล จะทำการปล่อยลูกปลาขนาด 2-3 เซนติเมตร ปล่อยอัตราไร่ละ 5,000-10,000 ตัว ใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงประมาณ 3-4 เดือน จนปลามีขนาด 10-15 ตัว/กิโลกรัม หรือขนาด 70-100 กรัม/ตัว จึงย้ายปลานิลไปเลี้ยงต่อในบ่อใหม่ที่เตรียมไว้จนจับขาย
การให้อาหารลูกปลา เมื่อลูกปลาอายุ 1-3 เดือน จะให้รำสกัดวันละ 2 มื้อ หว่านให้ทั่วบ่อ เมื่อลูกปลามีอายุได้ประมาณ 3 เดือนขึ้นไป ก็เริ่มให้อาหารเม็ด นำมาให้ลูกปลากินโดยการให้อาหารต้องนำใส่สวิงตาถี่แล้วแขวานแช่น้ำไว้ ¼ ส่วน เมื่อปลานิลคุ้นเคยแล้ว การให้อาหารก็จะทำได้ง่าย และมีการควบคุมปริมาณการให้อาหาร
ในระยะที่ 2 คือ การเลี้ยงปลานิล ซึ่งหลังจากที่อนุบาลลูกปลาได้ระยะเวลาประมาณ 3-4 เดือน คัดขนาดลูกปลา และย้ายลูกปลาที่มีขนาด 10-15 ตัว/กิโลกรัม ไปเลี้ยงในบ่อใหม่ โดยปล่อยลูกปลารุ่นลงเลี้ยง ปล่อยในอัตรา 1,200 ตัว/ไร่ ให้อาหารวันละ 1-2 ครั้ง เลี้ยงในบ่อดินระยะเวลาประมาณ 4-5 เดือน จะได้ปลานิลขนาด 1,000 กรัม/ตัว ใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงทั้งสิ้น 7-9 เดือน โดยแบ่งให้วันละ 2 ครั้ง ให้ช่วงเช้า และช่วงเย็น
การเลี้ยงปลานิล แบบย้ายบ่อจะสามารถตรวจสอบอัตรารอดของปลา และสามารถคำนวณการให้อาหารได้อย่างถูกต้อง การปล่อยปลาในอัตราที่ความหนาแน่นลดลง อาหารที่ให้ก็จะลดลง น้ำจะไม่เน่าเสีย และลดปัญหาการเกิดโรคได้
เทคนิคการเลี้ยงปลานิลร่วมกับ เลี้ยงกุ้ง ขาว
ใน การเลี้ยงปลานิล ร่วมกับการเลี้ยงกุ้งขาวเป็นเทคนิคการเลี้ยง สัตว์น้ำ แบบผสมผสานอย่างหนึ่งที่สามารถเพิ่มรายให้กับเกษตรกร เป็นการเลี้ยงกุ้งขาวในบ่อเลี้ยงปลานิล โดยไม่ต้องให้อาหารกุ้ง เนื่องจากกุ้งขาวสามารถเก็บกินอาหารที่เหลือจากการให้อาหารปลานิล เป็นการลดของเสียในบ่อ
โดย การเลี้ยงปลานิล ร่วมกับกุ้งขาว จะนำลูกกุ้งขาวที่ปรับความเค็มให้สามารถเลี้ยงในน้ำจืดแล้วขนาด P15 มาปล่อยในบ่อ เพื่อเลี้ยงรวมกับปลานิล จะทำการปล่อยกุ้งขาวในอัตรา 10,000 ตัว/ไร่ โดยจะปล่อยกุ้งขาวก่อนปล่อยปลานิลประมาณ 7-10 วัน เมื่อกุ้งขาวโตได้ขนาดที่สามารถจำหน่ายได้ ก็จะเริ่มเก็บเกี่ยว
โดยใช้ลอบดักกุ้ง หรือเรียกว่า “ไอ้โง่” นำไปดักไว้ในบ่อ กับนำไฟฉาย หรือไฟฟ้าหลอดตะเกียบ ไปห้อยไว้เหนือน้ำตรงบริเวณที่ดักกุ้ง เปิดไฟทิ้งไว้ทั้งคืน ตอนเช้าก็เก็บไอ้โง่ขึ้นมา และสามารถเก็บเกี่ยวกุ้งขาวได้ทุกวัน จนกระทั่งจับปลานิลขาย ซึ่งในการเก็บเกี่ยวผลผลิตกุ้งจะจับได้ 2 รอบ ต่อการจับปลา 1 รอบ
รู้เรื่องพื้นฐานก่อนเลี้ยงปลานิลให้ดีก่อน
คุณพรชัยได้ฝากถึงเกษตรกรผู้ที่สนใจจะเลี้ยงปลานิลว่าก็ต้องมององค์ประกอบหลักก่อน อย่างแรกก็คือ พื้นที่ ปริมาณพื้นที่ต้องมีพอสมควร พื้นที่ควรมีไม่ต่ำกว่า 10-15 ไร่ ต้องอยู่ใกล้แหล่งน้ำ เพราะว่าปลานิลเป็นปลาที่น่าจะมีอนาคตที่ดี เพราะว่าเป็น สัตว์น้ำ เศรษฐกิจที่กรมประมงผลักดันอยู่แล้วด้วย เพราะฉะนั้นแล้วปลานิลก็ยังมีโอกาส
แต่ก็ต้องมองเห็นจุดแข็ง-จุดอ่อนของอาชีพ การเลี้ยงปลานิล ด้วย ถ้าตลาดไม่ใกล้แหล่งที่มีชุมชนบริโภคเยอะๆ ก็มีความเสี่ยงเหมือนกัน ที่ชลบุรีปัจจุบันจะมีพ่อค้าที่มารับมาจากอุตรดิตถ์ก็มี ชัยภูมิก็มี มหาสารคามก็มี ซึ่งวิ่งมาเอาปลาขึ้นไปทางอีสานเยอะ เพราะฉะนั้นปลานิลก็เป็นแหล่งโปรตีนชั้นดีอยู่แล้ว แล้วก็ราคาไม่สูงมาก ก็ยังมีอนาคตที่ทำได้ แต่ก็ต้องคำนึงถึงปัจจัยพื้นฐาน 2 ข้อแรก พื้นที่ต้องมีระดับหนึ่ง ตั้งอยู่ใกล้แหล่งน้ำ
ขอขอบคุณข้อมูล และสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อได้ที่ คุณพรชัย บัวประดิษฐ์ (ประธานสหกรณ์ผู้เพาะเลี้ยง สัตว์น้ำ ชลบุรี จำกัด) ที่อยู่ เลขที่ 24 หมู่ 2 ตำบลบางหัก อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี หรือติดต่อสอบถามโทร 081-818-7927