การเลี้ยงสัตว์แบบผสมผสาน กุ้งขาว ปลา ไก่ไข่ แปลงของเสียเป็น “เงิน” เข้ารายวัน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ทุกวันนี้อาชีพเกษตรกรยังคงเป็นรากฐานสำคัญของการกระบวนการผลิตอาหาร เพราะวัตถุดิบในการประกอบอาหารล้วนมาจากภาคการเกษตรเป็นหลัก ทั้งในภาคส่วนของการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ ประมง เป็นต้น ก่อให้เกิดเป็นอาชีพมากมายหลายแขนงต่อกันออกไป เปรียบเสมือรากแก้วของต้นไม้ใหญ่ที่มีความสำคัญอยู่ในทุกด้าน ดังนั้นการประกอบอาชีพเกษตรกรจึงเป็นอาชีพที่สำคัญสำหรับผู้บริโภคอาหารเป็นอย่างมาก การเลี้ยงสัตว์แบบผสมผสาน

1.คุณเอกสิษฐ์-ปฐพีสินหิรัญ-กำนันเก๋คุณณัฐพัชร์-สุวิกรานต์วรกุล-คุณหน่อย
1.คุณเอกสิษฐ์-ปฐพีสินหิรัญ-กำนันเก๋ คุณณัฐพัชร์-สุวิกรานต์วรกุล-คุณหน่อย

การเลี้ยงสัตว์แบบผสมผสาน

นิตยสารสัตว์น้ำ พาทุกท่านมาเยี่ยมชมการทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำเชิงธุรกิจที่ได้มาตรฐาน โดยยึดแนวทางการทำฟาร์มแบบผสมผสาน ให้ทุกส่วนในฟาร์มเอื้อประโยชน์ต่อกันและกันไม่มากก็น้อย อีกทั้งยังส่งต่อผลผลิตจากฟาร์มเข้าจำหน่ายที่ร้านค้าของฟาร์ม เพื่อต่อเติมสัดส่วนของธุรกิจให้ครบวงจรมากยิ่งขึ้น

ฟาร์มที่กำลังกล่าวถึง นั่นก็คือ “ฟาร์มกำนันเก๋” ตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี บนเนื้อที่ฟาร์มกว่าร้อยไร่ถูกแบ่งออกเป็นสัดส่วน  ประกอบไปด้วยการเลี้ยงไก่ไข่บนบ่อปลา การเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม และการเลี้ยงจระเข้ โดยจะผสมผสานการเลี้ยงให้มีผลประโยชน์เอื้อต่อกัน เช่น การเลี้ยงไก่ไข่บนบ่อปลา จากนั้นใช้มูลไก่ทดแทนอาหารปลา, การใช้น้ำบ่อปลาไปใช้เลี้ยงกุ้งเพื่อสร้างอาหารธรรมชาติให้กับกุ้งเล็ก เป็นต้น

ทีมงานได้มีโอกาสพูดคุยกับ  กำนันเก๋ และ คุณหน่อย  สองพี่น้องเกษตรกรต้นแบบ ที่มีแนวคิด การเลี้ยงสัตว์แบบผสมผสาน ไปพร้อมๆ กัน โดยคุณหน่อยเล่าให้เล่าฟังถึงจุดเริ่มต้นว่า เริ่มทำอาชีพเลี้ยงสัตว์มาตั้งแต่ตอนเรียนจนทุกวันนี้เป็นเวลากว่า 30 ปี ก่อนที่จะลงมือทำฟาร์มแห่งนี้ได้มีแนวคิดอยากจะเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจที่สร้างรายได้หลายๆ อย่างไปพร้อมๆ กัน

เพราะตนเองมีความรู้ ความสามารถ จากศึกษา และการเก็บเกี่ยวประสบการณ์มาหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการปลูกพืช หรือเลี้ยงสัตว์ ก็ผ่านมาแล้วทั้งนั้น จึงได้กลับมาลงมือสร้างฟาร์มแห่งนี้ขึ้นมาด้วยกัน จนในปัจจุบันสามารถสร้างฟาร์มได้สำเร็จ นับได้ว่าเป็นดังฟาร์มต้นแบบให้เกษตรกรผู้ที่สนใจนำไปเป็นตัวอย่างได้จริง

2.การสูบน้ำออกจากบ่อส่วนหนึ่งของขั้นตอนการจับกุ้ง
2.การสูบน้ำออกจากบ่อส่วนหนึ่งของขั้นตอนการจับกุ้ง การเลี้ยงสัตว์แบบผสมผสาน การเลี้ยงสัตว์แบบผสมผสาน

สภาพพื้นที่เลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม ฉบับฟาร์มกำนันเก๋

ในส่วนแรกถูกแบ่งออกเป็นโซนของการเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมจำนวน 19 บ่อ ขนาดของบ่อมีทั้ง 2 ไร่ และ 5 ไร่ คละกันไป โดยบ่อเลี้ยงขนาด 5 ไร่ ปล่อยลูกกุ้งประมาณ 250,000 ตัว หรือ 50,000 ตัว/ไร่ เลือกปล่อยลูกกุ้งขนาดประมาณ พี 12 ซึ่งจะใช้วิธีอนุบาลลูกกุ้งภายในบ่อเลี้ยงด้วยการกั้นบริเวณประมาณ 10-12 วัน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

จากนั้นจะปล่อยออกเต็มพื้นที่บ่อเลี้ยง เพื่อสะดวกในการให้อาหารและความสม่ำเสมอของลูกกุ้งในการกินอาหาร และลดการแตกไซซ์ อีกทั้งยังเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตให้เร็วมากขึ้น

ทางฟาร์มเลือกใช้ลูกกุ้งขาวแวนนาไมจากทาง บริษัท ไทยยูเนียน ฟีดมิลล์ จำกัด ด้วยเห็นว่าเป็นลูกกุ้งที่ถูกพัฒนาสายพันธุ์มาเป็นอย่างดี เมื่อทดลองเลี้ยงสามารถเห็นผลการเลี้ยงได้อย่างชัดเจน ได้ผลผลิตเพิ่มมากขึ้น FCR อยู่ที่ 1.1-1.2 มีอัตรารอดเกินกว่า 80% กุ้งสีสวย โตเร็ว พร้อมทั้งยังได้รับการบริการจากทางบริษัทเป้นอย่างดีที่ส่งพนักงานเข้ามาตรวจคุณภาพน้ำ เช็คสุขภาพกุ้ง อยู่เป็นประจำ พร้อมให้คำแนะนำในการแก้ปัญหาต่างๆ ทำให้ทางฟาร์มเลือกใช้ลูกกุ้งไทยยูเนียนฯ มาอย่างต่อเนื่อง

3.การจับกุ้งเพื่อขายผลผลิตให้กับร้านค้ารับซื้อ
3.การจับกุ้งเพื่อขายผลผลิตให้กับร้านค้ารับซื้อ

การให้อาหารกุ้ง

ในเรื่องของอาหารกุ้งทางฟาร์มเลือกใช้อาหารกุ้งคุณภาพจากทาง บริษัท โภคา ฟีด จำกัด  เพราะเป็นอาหารที่มีโปรตีนสูง เหมาะสำหรับเลี้ยงกุ้งภายในฟาร์มเป็นอย่างมาก ช่วยให้กุ้งเจริญเติบโตดี แข็งแรง มีอัตรารอดสูง ด้วยมีโปรตีนสูงทำให้ระยะเวลาการเลี้ยงสั้นลง เก็บเกี่ยวผลผลิตได้เร็วขึ้น

โดยจะเลี้ยงระยะเวลาไม่เกิน 80 วัน ตัวอย่าง กุ้งภายในบ่อตอนนี้อายุไม่เกิน 75-76 วัน ขนาดกุ้งขึ้นไปอยู่ที่ประมาณ 40 ตัว/กิโลกรัมแล้ว โดยผลผลิตของบ่อ 5 ไร่ ปล่อยกุ้งจำนวน 250,000 ตัว คาดว่าจะได้ผลผลิตทั้งหมดประมาณ 4 ตันกว่า อัตราแลกเนื้ออยู่ที่ประมาณ 1.1-1.2เป็นที่น่าพอใจเป็นอย่างมาก

4.คนงานช่วยกันคัดกุ้ง
4.คนงานช่วยกันคัดกุ้ง
กุ้งสดคุณภาพ ปลอดสาร
กุ้งสดคุณภาพ ปลอดสาร

การบริหารจัดการบ่อกุ้ง

เรื่องของการจัดการน้ำทางฟาร์มให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยการนำน้ำเข้ามายังบ่อเลี้ยง จะใช้น้ำจากบ่อเลี้ยงปลาบางส่วนเข้ามาใช้ เพราะว่าน้ำจากบ่อปลาจะมีอาหารธรรมชาติของลูกกุ้งวัยอ่อน และเป็นการใช้น้ำแบบเกิดประโยชน์ที่สุด

การลงลูกกุ้งทางฟาร์มจะทรีตน้ำให้พร้อมจนปลอดเชื้อ ช่วงระหว่างการอนุบาลและการเลี้ยงจะมีการเติมน้ำขึ้นเรื่อยๆ และจะมีการตรวจคุณภาพอยู่ประจำ พร้อมทั้งตรวจสุขภาพของตัวกุ้งอย่างต่อเนื่อง ผสมกับการสาดจุลินทรีย์เพื่อช่วยย่อยสลายของเสียภายในบ่อทุกวัน ซึ่งภายในบ่อเลี้ยงจะมีระบบให้อากาศด้วยท่ออากาศใต้น้ำ และเครื่องใบพัดตีน้ำช่วยให้อากาศพอเพียงสำหรับกุ้งมากที่สุด

โฆษณา
AP Chemical Thailand
5.การเลี้ยงสัตว์แบบผสมผสาน กุ้งขาว ปลา ไก่ไข่ แปลงของเสียเป็น เงิน เข้ารายวัน
5.การเลี้ยงสัตว์แบบผสมผสาน กุ้งขาว ปลา ไก่ไข่ แปลงของเสียเป็น เงิน เข้ารายวัน

การเลี้ยงไก่ไข่บนบ่อปลา

มาต่อกันในส่วนของการเลี้ยงไก่ไข่ระบบอีแวป (Evap) บนบ่อปลาเศรษฐกิจ และเบญจพรรณ โดยการเลี้ยงไก่ของฟาร์มใช้ระบบการเลี้ยงแบบปิดหรือระบบอีแวปตามมาตรฐานสากล โดยมีทั้งหมด 4 โรงเรือน เลี้ยงไก่ไข่จำนวน 10,000 ตัว/โรงเรือน ตัวโรงเรือนจะถูกสร้างอยู่บนบ่อปลา โดยเป็นแนวคิดของทางฟาร์มที่จะใช้มูลไก่ไข่ทดแทนการใช้อาหารปลา และลดค่าใช้จ่ายด้านค่าอาหาร และยังเป็นการกำจัดของเสียแบบได้ประโยชน์อีกด้วย

ในส่วนของผลผลิตไข่ไก่จะส่งต่อไปจัดจำหน่ายยังร้านค้าของทางฟาร์มที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคเป็นจำนวนมาก และยังมีชื่อเสียงไปทั่วทุกพื้นที่ถึงเรื่องคุณภาพ ทำให้ทางฟาร์มมียอดขายไข่ไก่อย่างไม่ขาดสาย

6.ไข่ไก่คุณภาพเกรด A
6.ไข่ไก่คุณภาพเกรด A

สภาพพื้นที่เลี้ยงปลา

ภายในบ่อปลาใต้โรงเรือนไก่ไข่นั้นประกอบไปด้วยปลาหลากหลายชนิด ทั้งปลาเศรษฐกิจ และปลาเบญจพรรณ ที่สามารถสร้างรายได้ต่อปีกว่า 1 ล้านบาท โดยขนาดของแต่ละบ่อขนาดประมาณ 10 ไร่ มีทั้งหมด 4 บ่อ ภายในบ่อจะมีลูกปลาดังนี้

  • ปลานิล 500,000 ตัว,
  • ปลาดุก 30,000 ตัว,
  • ปลาสวาย 30,000 ตัว,
  • ปลาตะเพียน 20,000 ตัว,
  • ปลายี่สก 20,000 ตัว หรือ
  • บางคราวจะปล่อยปลาดุกชนิดเดียวแบบหนาแน่นประมาณ 1 ล้านตัว/บ่อ

โดยจะเลี้ยงไว้ในบ่อแบบนี้เป็นระยะเวลา 1 ปีเต็ม โดยไม่ใช้อาหารสำเร็จรูปใดๆ ใช้เพียงแค่มูลไก่ไข่จากโรงเรือนบนบ่อเท่านั้น เมื่อเลี้ยงครบ 1 ปี เต็ม จะจับจำหน่ายปลาในบ่อทั้งหมดในคราวเดียว โดยมูลค่าการจับจำหน่ายปลาทั้งหมดจะอยู่ราวๆ 8 หมื่น-1 ล้านบาท/บ่อ นับได้ว่าเป็นส่วนที่ได้กำไรมากกว่าต้นทุนเป็นอย่างมาก เพราะไม่ต้องเสียค่าอาหาร ไม่ต้องเสียค่าการจัดการมากมาย แถมยังเป็นส่วนที่กำจัดมูลไก่ไข่ได้แบบมีประโยชน์มากที่สุด

ทำให้เห็นว่าทางฟาร์มแบ่งสัดส่วนออกเป็นอย่างดี ทำให้ทุกๆ ส่วนสามารถเอื้อประโยชน์ต่อกัน สร้างความมั่นคงให้กับฟาร์มมากยิ่งขึ้น เพราะเป็นการทำธุรกิจฟาร์มสัตว์เลี้ยงที่ส่งเสริมกันทุกสัดส่วน ถือว่าเป็นตัวอย่างการทำฟาร์มให้เกษตรกรผู้สนใจที่กำลังมองหาแนวทางนำไปปฏิบัติและปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ และยังเป็นแรงบันดาลใจให้กับคนรุ่นใหม่ที่กำลังเริ่มทำอาชีพด้านเกษตรกรรมต่อไป

สำหรับท่านใดสนใจข้อมูล หรืออยากสอบถามเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ มารีอาฟาร์ม ที่อยู่ 38/3 ม.8 ต.ลำไทร อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี 12150 โทร.094-829-1963

โฆษณา
AP Chemical Thailand

อ้างอิง : นิตยสารสัตว์น้ำ ฉบับที่ 369