การเลี้ยงหอยหวาน ขายได้ราคาแพง ทั้งแบบแบบบ่อดิน ซีเมนต์ และกระชังในทะเล

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ในประเทศไทยนั้นนับว่ามีหอยอยู่หลากหลายชนิด หลายสายพันธุ์ บ้างก็อยู่คู่กับคนไทยมาอย่างยาวนาน ซึ่งชื่อที่คุ้นหูดีเลย คือ หอยหวาน หอยอีก 1 ชนิด ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในการนำมาบริโภค ด้วยลักษณะที่เฉพาะตัว รวมถึงเมื่อนำมาประกอบอาหารแล้วมีกลิ่นที่หอมมากขึ้น ซึ่งในปัจจุบันนับได้ว่า การเลี้ยงหอยหวาน นั้นได้รับความนิยม จนทำให้กลายเป็นว่ามีหอยที่มีลักษณะใกล้เคียงกันมาจำหน่าย ซึ่งตรงนี้หลายๆ คนต้องจำแนกให้ดีด้วยว่าเป็นหอยหวาน หรือหอยชนิดอื่น จะได้ไม่กังวลว่าใช่หอยหวานหรือไม่ด้วย

1.หอยหวานอีกหนึ่งชนิดที่ได้รับความนิยม เเละถือเป็นสัตว์เศรษฐกิจของไทย
1.หอยหวานอีกหนึ่งชนิดที่ได้รับความนิยม เเละถือเป็นสัตว์เศรษฐกิจของไทย

การเพาะเลี้ยงหอยหวาน 

หอยหวานนั้นมีลักษณะตัวหอยที่มีเปลือกเป็นลายสวย ซึ่งตัวหอยหวานเองจะมีส่วนคล้ายกับหอยหมาก ซึ่งลวดลายที่คล้ายกันทำให้คนส่วนใหญ่แยกไม่ค่อยออกว่าอันไหนหอยหมาก หรือหอยหวาน ซึ่งถ้าคนที่ทานหอยหรือคลุกคลีกับหอยจะแยกได้ในทันที สำหรับ การเลี้ยงหอยหวาน นั้นนับว่าเป็นหอยที่ได้รับความนิยมอีกชนิดหนึ่งเลยก็ว่าได้ ด้วยรสชาติที่อร่อย และมีกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ เวลานำไปเผาชวนให้น่าลิ้มลองเป็นอย่างยิ่ง ยิ่งถ้าใครทำฟาร์มหอยหวานแล้วยิ่งได้ผลตอบรับเป็นอย่างดี ถือเป็นหอยอีกหนึ่งชนิดที่ได้รับความนิยมในเมืองไทยเลยก็ว่าได้

สำหรับหอยหวานนั้นยังถือว่าเป็นหอยที่ได้รับความนิยมอยู่ เพราะไม่ว่าจะเป็นเมนูในร้านอาหารขนาดเล็กหรือใหญ่ ถ้ามีอาหารทะเลขายจะต้องมีเมนูหอยหวานรวมอยู่ด้วยอย่างแน่นอน ทั้งนี้สำหรับหอยหวานแล้ว ถ้าเป็นหอยหวานแท้ๆ จะมีรสชาติที่ดึงดูดให้ผู้ที่ได้ลิ้มลองติดใจเป็นอย่างมาก แต่ปัจจุบันหอยหวานปลอมหรือหอยหมากนั้นก็กำลังทำให้หลายคนเกิดความลังเลว่าใช่หอยหวานหรือไม่ ถ้ายังไม่แน่ใจว่าใช้หอยหวานจริงก็ลองพิจารณาก่อนจะตัดสินใจซื้อดีที่สุด อีกทั้งวิธีการเพาะเลี้ยงก็ไม่ยุ่งยาก ช่วยเพิ่มผลผลิต และสร้างรายได้ให้กับผู้เพาะเลี้ยงได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว

สำหรับหอยหวานนั้นมีอีกชื่อที่เรียกว่า หอยตุ๊กแก โดยเมืองไทยนั้นพบมากที่สุดเลยจะมีอยู่ 2 ชนิด โดยลักษณะทั่วไปนั้นหอยหวานจะเป็นหอยฝาเดียว มีเปลือกค่อนข้างหนา ออกเป็นรูปไข่ ผิวเรียบ ลำตัวจะมีลักษณะออกกลม ซึ่งหอยหวานจะมีการสร้างน้ำลายที่จะมาช่วยในเรื่องของการย่อยอาหารได้เป็นอย่างดี

หอยหวานนั้นส่วนใหญ่แล้วจะพบมากที่สุดในบริเวณอ่าวไทยไปจนถึงทะเลจีนตอนใต้ ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในการบริโภค และนิยมบริโภคมากกว่าหอยหมากด้วย หอยหวานนั้นชอบอาศัยอยู่ที่บริเวณชายฝั่งทะเลที่มีพื้นที่ทะเลเป็นทราย และทรายปนโคลน อีกทั้งหอยหวานเองยังมีการนำมาแปรรูปเป็นอาหารได้หลากหลายเมนูตามร้านอาหารทะเลอีกเป็นจำนวนมาก นับว่าเป็นอีกหนึ่งเมนูที่ได้รับความนิยมสำหรับร้านอาหารในแถบใกล้ชายฝั่งเลยกันทีเดียว

2.ฟาร์มเพาะเลี้ยงหอยหวานจะต้องมีการหลังคาหรือที่่ช่วยพรางแสง
2.ฟาร์มเพาะเลี้ยงหอยหวานจะต้องมีการหลังคาหรือที่่ช่วยพรางแสง

การเพาะพันธุ์หอยหวาน

ซึ่งปัจจุบันนั้นทางกรมประมงเองก็ได้มีการพัฒนาและวิจัยการเพาะเลี้ยงหอยหวานในเชิงพาณิชย์ออกมา เช่น มีการพัฒนารูปแบบการเลี้ยง พัฒนาในเรื่องของอาหารสำเร็จรูป ศึกษาและหาวิธีการลดต้นทุนในการผลิต ทั้งงเรื่องของลูกพันธุ์หอยหวาน การเลี้ยงหอยเนื้อ โดยหอยหวานนั้นสามารถที่จะเลี้ยงในบ่อพักน้ำทิ้งจากเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง หรือมีการดัดแปลงหอยหวานมาเลี้ยงในกระชัง ในบ่อดิน ด้านพื้นบ่อสามารถเลี้ยงสัตว์น้ำชนิดอื่นๆ ได้ เช่น ปลากะพงขาว เลี้ยงหอยแครง เป็นต้น

โฆษณา
AP Chemical Thailand

สำหรับ การเลี้ยงหอยหวาน ในประเทศไทยนั้นเริ่มต้นในช่วงปี 2532 โดยศูนย์พัฒนาประมงทะเลอ่าวไทยฝั่งตะวันออก กรมประมงได้เริ่มทำการศึกษาและวิจัยในเบื้องต้นเกี่ยวกับการเพาะพันธุ์หอยหวานในโรงเพาะฟัก หลังจากนั้นจึงได้เริ่มการศึกษาเกี่ยวกับการเพาะพันธุ์และการอนุบาลลูกหอยหวานระยะวัยอ่อนในช่วงปี 2539 จนกระทั่งมีการพัฒนาและวิจัย รวมไปถึงการศึกษาความเป็นไปได้ของการเพาะเลี้ยงหอยหวานในเชิงพาณิชย์ โดยเน้นในเรื่องของการอนุบาลหอยหวาน เทคนิคการเพาะพันธุ์ และ การเลี้ยงหอยหวาน ระยะวัยรุ่น ขนาดที่ตลาดต้องการ

ต่อมาในปี 2543 ก็ได้เริ่มมีการเพาะพันธุ์และทำการวิจัยใหม่ เนื่องจากว่าวิธีการแบบเดิมนั้นมีต้นทุนและการใช้พลังงานที่ค่อนข้างสูง ทำให้หลายฝ่ายเริ่มที่ค้นหาและศึกษาวิธีการเพาะเลี้ยงหอยหวานแบบใหม่ จนมารู้จักกับเจ้าของฟาร์มเลี้ยงหอยหวานในอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ถือว่าเป็นเจ้าแรกที่ประสบความสำเร็จในเรื่องของการเพาะเลี้ยงหอยหวานแบบครบวงจร ซึ่งปัจจุบันก็มีผู้ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นทางฝั่งอันดามันเอง หรือแม้แต่ภาคตะวันออก

โดยถือว่าหอยหวานนั้นนับเป็นสัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่ที่น่าสนใจ เลี้ยงง่าย และมีราคาแพง นอกจากนี้ทางกรมประมงเองก็ได้มีการพัฒนารูปแบบ การเลี้ยงหอยหวานในตะกร้าพลาสติกที่มีความเป็นไปได้ในการพัฒนาเชิงพาณิชย์ และ การเลี้ยงหอยหวานในบ่อดิน เพื่อเป็นแนวทางให้กับผู้ที่จะเริ่มต้นสนใจใน การเลี้ยงหอยหวาน ได้นำไปเลี้ยงต่อไป

ลักษณะทั่วไปของหอยหวาน

หอยหวานนั้นนับว่าเป็นหอยฝาเดียว มีเปลือกที่ค่อนข้างหนา ลายของเปลือกนั้นจะมีแต้มสี่เหลี่ยมสีน้ำตาลดำขนาดใหญ่ โดยเรียงเป็น 3 แถว โดยส่วนหัวนั้นจะขดเป็นเกลียว และมีร่องที่ไม่ลึก มีหนวดและตาอย่างละ 1 คู่ หอยหวานนั้นจะมีลักษณะที่แตกต่างกับหอยหมากเป็นอย่างมาก โดยหอยหมากนั้นจะมีสีที่เข้มกว่า และมีแต้มสีน้ำตาลมากกว่า ส่วนหัวก็จะเป็นเกลียวที่มีร่องลึกกว่าหอยหวาน และหอยหมากนั้นจะมีขนาดที่เล็กกว่าด้วย

การแพร่กระจายของหอยหวาน ปกติแล้วหอยหวานจะอาศัยอยู่บริเวณพื้นทะเลเป็นหลัก โดยพื้นทะเลนั้นส่วนใหญ่จะเป็นทรายหรือทรายปนโคลน โดยอยู่ที่ระดับความลึกประมาณ 5-20 เมตร ซึ่งหอยหวานนั้นจะมีการกระจายตัวอาศัยอยู่ทั่วไปในแถบทะเลจีนใต้ ตั้งแต่ไต้หวันลงมาจนถึงอ่าวไทยและทะเลอันดามัน สำหรับหอยหวานที่แพร่กระจายอยู่บริเวณชายฝั่งนั้นตามแนวอ่าวไทย ได้แก่ จังหวัดตราด จันทบุรี ระยอง เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ฯลฯ ซึ่งจะพบได้มากตามแถบบริเวณชายฝั่งทะเลของจังหวัดระยอง และสตูล

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การสืบพันธุ์ของหอยหวาน หอยหวานนั้นนับว่าเป็นสัตว์แยกเพศ เพศผู้จะแยกจากเพศเมีย แต่จะไม่สามารถแยกเพศได้ตามลักษณะภายนอก จะเริ่มแยกเพศได้ก็ต่อเมื่อหอยหวานนั้นโตเต็มวัยแล้ว และเมื่อหอยหวานยืดตัวออกมาจากเปลือกก็จะสามารถเห็นอวัยวะเพศผู้ได้ สำหรับเพศเมียนั้นจะไม่ปรากฏการเป็นติ่งเพศ สำหรับการผสมพันธุ์นั้นเป็นการผสมพันธุ์แบบภายใน ก่อนการผสมพันธุ์จะมีการจับคู่ระหว่างหอยเพศผู้และเพศเมีย

3.การแบ่งแยกโซนบ่อพ่อแม่พันธุ์ บ่อเพาะเลี้ยง
3.การแบ่งแยกโซนบ่อพ่อแม่พันธุ์ บ่อเพาะเลี้ยง

ขั้นตอนการเพาะเลี้ยงหอยหวาน

ก่อนจะเริ่มเลี้ยงหอยหวานนั้น สิ่งแรกเราอาจจะต้องมีการเพาะพันธุ์และการอนุบาลหอยหวานไว้ก่อน ซึ่งในการเพาะพันธุ์หรืออนุบาลหอยหวานนั้นจะต้องมีการเตรียมการหลายอย่าง ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นทั้งสิ้น

การเลือกสถานที่สำหรับการเพาะพันธุ์หอยหวานนั้นจะต้องมีหลักเกณฑ์ในการดูแลและคัดเลือกเพื่อให้เข้ากับพื้นที่ และได้มาตรฐานที่สุด เพราะว่าการเพาะเลี้ยงพันธุ์สัตว์นั้นจะต้องมีผู้เชี่ยวชาญหรือมีความรู้เข้ามามีส่วนร่วมด้วย  โดยสถานที่การเพาะพันธุ์นั้นอาจจะต้องเป็นพื้นที่ที่สามารถรับน้ำทะเลได้ง่าย และมีทางระบายน้ำทิ้งลงสู่ทะเลอย่างเป็นระบบได้เช่นกัน เพื่อที่จะสะดวกต่อการลงทุนในด้านเครื่องมือต่างๆ และเป็นการลดต้นทุนในการนำน้ำทะเลมาจากที่ใกล้ๆ

น้ำทะเลที่จะนำมาใช้นั้นควรเป็นน้ำทะเลที่ใสสะอาด มีความเค็มค่อนข้างจะคงที่ เหมาะสมตลอดเวลา ความเต็มของน้ำทะเลที่เหมาะสมกับการนำมาใช้ในการเพาะเลี้ยงนั้นควรอยู่ระหว่าง 28-32 พีพีที และควรเลือกพื้นที่ที่มีความห่างไกลจากแหล่งโรงงานอุตสาหกรรม ที่จะทำให้เกิดมลพิษสัตว์และพืชน้ำ และควรเป็นแหล่งที่มีระบบขนส่งที่มีความสะดวก และง่ายต่อการขนส่ง อีกทั้งยังจะต้องอยู่ในแหล่งที่ใกล้กับการจัดหาพ่อและแม่พันธุ์ แหล่งหัวเชื้อแพลงก์ตอนพืช อุปกรณ์ในการซ่อมบำรุง และปลอดภัยจากขโมยด้วย

สำหรับโรงเพาะฟักที่มีความเหมาะสมนั้นจะต้องเป็นโรงเพาะฟักที่มีระบบน้ำและอากาศที่ดี โดยถ้าเป็นระบบน้ำทะเล น้ำทะเลที่นำมาใช้ก็จะต้องผ่านการฆ่าเชื้อและการกรองมาก่อน โดยอาจจะมีการสูบน้ำทะเลผ่านเครื่องกรองทรายและฆ่าเชื้อด้วยกรรมวิธีต่างๆ เช่น การใช้คลอรีน การใช้โอโซน หรือการใช้ยูวี เข้ามาช่วย

นอกจากนี้หากมีการพบน้ำทะเลมีตะกอนมากหรือขุ่นเกินไป ควรจะมีบ่อพักน้ำทะเลก่อนอย่างน้อย 1-2 วัน แล้วจึงค่อยนำมาผ่านการฆ่าเชื้อ สำหรับน้ำทะเลที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้วจะใช้ในการเพาะอาหารจำพวกแพลงก์ตอนเป็นหลัก และใช้ในการอนุบาลลูกหอยหวาน ส่วนน้ำทะเลที่ผ่านการกรองสามารถใช้ถ่ายเทในบ่อเลี้ยงพ่อและแม่พันธุ์ได้

โฆษณา
AP Chemical Thailand

สำหรับระบบอากาศที่เหมาะสมสำหรับการเพาะเลี้ยงหรือการอนุบาลนั้น อาจจะใช้เครื่องเป่าอากาศที่มีกำลังพอเหมาะสำหรับการใช้งานในโรงเพาะฟักลูกหอย และการเพาะสาหร่าย ที่เป็นอาหารของลูกหอยก็ได้เช่นกัน ส่วนโรงเพาะแพลงก์ตอนนี้ถือได้ว่าเป็นโรงเพาะที่มีความสำคัญสำหรับลูกหอยเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะลูกหอยหวานในระยะวัยอ่อน เพราะว่าลูกหอยหวานระยะนี้เป็นสัตว์ที่กรองกินอาหารจากน้ำทะเลอยู่ตลอดเวลา

4.เลือกพ่อแม่พันธุ์ที่มีความแข็งแรง ช่วยให้การเพาะตัวลูกหอยหวานได้เพิ่มขึ้นด้วย
4.เลือกพ่อแม่พันธุ์ที่มีความแข็งแรง ช่วยให้การเพาะตัวลูกหอยหวานได้เพิ่มขึ้นด้วย

การบริหารจัดการบ่อหอยหวาน

การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์หอยหวาน โดยปกติแล้วพ่อแม่พันธุ์หอยหวานนั้นจะต้องมีขนาดตัวที่ใหญ่ โดยมีความยาวเปลือกไม่น้อยกว่า 5 เซนติเมตร น้ำหนักตัวต้อง 30 กรัมขึ้นไป ซึ่งพ่อแม่พันธุ์ขนาดนี้จะฟักไข่ที่ใหญ่ และได้ไข่มากกว่าหอยที่มีขนาดเล็ก ซึ่งหอยหวานขนาด 4 เซนติเมตร ก็สามารถใช้ได้เช่นกัน แต่ฟักไข่ก็จะมีขนาดเล็ก และลูกหอยก็จะมีคุณภาพที่ต่ำกว่า สำหรับหอยหวานนั้นสามารถที่จะสืบพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี โดยฤดูกาลที่เหมาะสมกับการวางไข่ของหอยหวานนั้นจะอยู่ในช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม

โดยบ่อเลี้ยงของพ่อแม่พันธุ์หอยหวานนั้นจะนิยมเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ หรือบ่อผ้าใบ เป็นหลัก หรืออาจจะใช้ถังไฟเบอร์กลาสก็ได้ อาจจะเป็นทรงกลมหรือสี่เหลี่ยมก็ได้เช่นกัน โดยการใช้งานนั้นอาจจะต้องขึ้นอยู่กับสถานที่ด้วย เช่น ใช้บ่อซีเมนต์อาจจะมีขนาด กว้างxยาวxสูง ประมาณ 25×1 เมตร มีน้ำสูงประมาณ 0.5 เมตร และให้ทำการจัดระบบอากาศ น้ำ ที่ดีโดยให้น้ำนั้นไหลช้าๆ พื้นทรายเป็นทรายหยาบ หรือมีเศษปะการังร่วมด้วยก็ได้ ให้หนาประมาณ 10 เซนติเมตร อาจจะมีการจัดพื้นทรายเพื่อที่จะกรองน้ำก็ได้ ทั้งนี้อาจจะขึ้นอยู่กับการลงทุนด้วย ส่วนการทำความสะอาดนั้นอาจจะต้องทำการลดน้ำ และทำความสะอาดทุกๆ 1 สัปดาห์โดยการเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์นั้นจะเลี้ยงในอัตราส่วนเพศผู้ ต่อเพศเมีย 1 ต่อ 1 เท่านั้น

5.บ่อเพาะจะต้องมีทรายเป็นตัวรองพื้นเพื่อที่หอยหวานจะได้มุดลงไปในทราย
5.บ่อเพาะจะต้องมีทรายเป็นตัวรองพื้นเพื่อที่หอยหวานจะได้มุดลงไปในทราย

การเลี้ยงและบำรุงดูแลหอยหวาน

การเลี้ยงหอยหวาน นั้นควรเลี้ยงในช่วงที่ลูกหอยหวานมีขนาดความยาวประมาณ 1-1.5 เซนติเมตรขึ้นไป เลี้ยงไปเรื่อยๆ จนได้ขนาดที่ตลาดต้องการ คือ หอยหวานที่มีขนาดความยาวประมาณ 3.5-4.5 เซนติเมตร หรือขนาดน้ำหนักตัวประมาณ 70-100 ตัวต่อกิโลกรัม ซึ่ง การเลี้ยงหอยหวาน นั้นก็มีหลายรูปแบบวิธีการเลี้ยง ซึ่งขึ้นอยู่กับความถนัด

การเลี้ยงหอยหวานแบบใช้บ่อผ้าใบ

สำหรับ การเลี้ยงหอยหวาน นั้นมีวิธีการเลี้ยงที่หลายรูปแบบ เป็นแบบเหลี่ยมหรือกลมก็ได้ แต่ต้องมีระบบน้ำที่สามารถถ่ายน้ำได้สะดวก มีท่อน้ำล้น และทางน้ำที่เข้าออกได้สะดวก มีระบบอากาศใช้อย่างเพียงพอ พื้นก้นบ่อหรือภาชนะควรมีทรายท่วมตัวหอย และต้องหมั่นเช็ดถูทำความสะอาดผิวบ่ออย่างสม่ำเสมอ อีกทั้งควรที่จะทำการพรางแสงไม่ให้แสงสว่างส่องตัวหอยมากเกินไป เพราะจะเป็นการรบกวนหอย และยังเป็นการกระตุ้นการสร้างแพลงก์ตอนพืช และสาหร่ายสีเขียว ที่อยู่ในบ่อให้เกิดการสังเคราะห์แสงมากขึ้นด้วย จะทำให้น้ำนั้นเสีย และเปลือกหอยมีสาหร่ายเกาะติดดูไม่สะอาด และเป็นแหล่งของโรคได้

น้ำที่ใช้ในการเลี้ยงหอยหวานนั้นจะต้องเป็นน้ำที่สะอาด ไม่มีตะกอน ระดับความลึกของน้ำในบ่อเลี้ยงควรให้อยู่ในระดับ 40-50 เซนติเมตร ซึ่งในการเลี้ยงนั้นจะใช้บ่อผ้าใบขนาด 6×8 เมตร ใส่น้ำประมาณ 5 เมตร ทำให้น้ำไหลเวียนในบ่อ และต้องมีการถ่ายน้ำวันละ 20 เปอร์เซ็นต์ของทั้งหมด และทำความสะอาดโดยการพลิกทราย และถ่ายน้ำทั้งหมดประมาณ 7-10 วันต่อครั้ง ทั้งนี้ขนาดและอัตราการปล่อยลูกหอยที่เหมาะสมนั้น คือ ขนาด 0.5 เซนติเมตรขึ้นไป ถ้าจะให้ผลดีอาจจะเลี้ยงและมีการปล่อยในช่วงขนาดที่ 1 เซนติเมตรขึ้นไปก็ได้ โดยควรปล่อยเลี้ยงประมาณ 300-500 ตัวต่อตารางเมตร

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การให้อาหารหอยหวาน

อาหารที่เหมาะสำหรับ การเลี้ยงหอยหวาน นั้นอาจจะให้เป็นเนื้อปลา เนื้อหอยแมลงภู่ เนื้อหอยกะพง รวมทั้งอาหารเม็ดกุ้งทะเล และอาหารผสมอื่นๆ ด้วย ส่วนมากมักจะแล่ปลาหรือสับปลาเป็นชิ้นเล็กๆ ตามขนาดตัวของหอย ปริมาณอาหารที่ให้ และในกรณีเป็นเนื้อปลาควรให้ 2-10 เปอร์เซ็นต์ ของน้ำหนักตัวหอย หากใช้เนื้อหอยแมลงภู่ก็ให้ประมาณ 5-30 เปอร์เซ็นต์ ของน้ำหนักตัวหอย โดยการให้อาหารแก่หอยนั้นควรให้อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง หลังให้อาหารแล้วก็เก็บส่วนที่เหลือออกให้หมด

การบำรุงดูแลรักษานั้นอาจจะต้องหมั่นทำความสะอาดทรายที่ได้ใช้ในการรองพื้นหรือบ่อเลี้ยงเป็นประจำ อย่างน้อยทำสัปดาห์ละ 1 ครั้ง พร้อมทำความสะอาดทรายที่รองพื้นดังกล่าว พร้อมทั้งต้องตรวจสอบการเจริญเติบโตของหอยหวานด้วยอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง

การลงทุนทำฟาร์มเลี้ยงหอยหวาน โดยเป็นการลงทุนในช่วงที่เริ่มเลี้ยงหอยหวานที่มีความยาวประมาณ 1 เซนติเมตรขึ้นไป จนถึงขนาดที่จำหน่ายได้ประมาณ 70 ตัวต่อกิโลกรัม โดยบ่อผ้าใบขนาด 48 ตารางเมตร หรือ 6×8 เมตร โดยต้นทุนค่าใช้จ่ายจะอยู่ที่ 17,000 บาท เฉพาะค่าสร้างบ่อ และติดตั้งต่างๆ ถ้าเป็นค่าลูกพันธุ์ ค่าอาหาร รวมค่าน้ำ-ไฟ แล้ว จะตกอยู่ที่ 29,000 บาท โดยรวมทั้งหมดแล้วประมาณ 46,000 บาท

สำหรับรายได้ที่ได้นั้นถ้าขายอยู่ที่ 70-100 ตัวต่อกิโลกรัม ความยาวประมาณ 4.5 เซนติเมตร เท่ากับ 200 กิโลกรัมต่อบ่อ โดยใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงประมาณ 7-9 เดือน ก็จะขายได้กิโลกรัมละ 280-320 บาท คิดเป็นเงินประมาณเกือบ 70,000 บาท ต่อพื้นที่เลี้ยง 1 บ่อ โดยจะได้กำไรต่อ 1 กิโลกรัม ประมาณ 160 บาทต่อกิโลกรัม

6.หอยหวานและหอยหมากมีลักษณะคล้ายกันมาก
6.หอยหวานและหอยหมากมีลักษณะคล้ายกันมาก

วิธีการเลี้ยงหอยหวาน

การเลี้ยงในกระชังในทะเล

สำหรับการเลี้ยงแบบในกระชังนั้นจะมีขนาดประมาณ 1.5x2x0.8 โดยส่วนที่จมอยู่ใต้น้ำนั้นประมาณ 50-80 เซนติเมตร ด้านล่างกระชังใส่สาหร่ายที่มีภาชนะไม่ให้ทรายออกกันไว้ หรือไม่อาจจะใช้แผ่นยางรองพื้นก็ได้ โดยปูด้วยทรายให้มีความหนาประมาณ 5-10 เซนติเมตร ขนาดของทรายจะแปรเปลี่ยนไปตามขนาดของหอยหวาน ควรจะมีฝากระชังเพื่อกันไม่ให้แสงลอดผ่านเข้าไปได้มากเกินไป เนื่องจากว่าหอยหวานนั้นชอบอาศัยในที่ร่มมากกว่า ถ้าหอยโดนแดดมาก เปลือกหอยจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ทำให้สูญเสียรายได้ เพราะว่าเปลือกหอยสีน้ำตาลนั้นจะไม่ค่อยเป็นที่ต้องการของตลาดมากนัก

สำหรับ การเลี้ยงหอยหวาน ที่ความยาวประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร จะมีความหนาแน่นประมาณ 800-1,200 ตัวต่อตารางเมตร เมื่อเลี้ยงหอยหวานได้ 1 เดือน หอยจะมีขนาด 2-2.5 เซนติเมตร จะนำอวนตาถี่ออกให้ ให้อาหารพวกเนื้อปลาทะเลสลับกับหอยบางช่วงวันละ 1 ครั้ง และทำความสะอาดโดยการฉีดน้ำที่พื้นทรายวันละ 7-10 วันต่อครั้ง ระยะเวลาในการเลี้ยงประมาณ 4-5 เดือน จะได้หอยหวานขนาดที่ตลาดต้องการโดยมีความยาวประมาณ 3.5-4.5 เซนติเมตร อายุการใช้งานของกระชังนั้นจะอยู่ได้ประมาณ 5 ปี

โฆษณา
AP Chemical Thailand

วิธีการเลี้ยงแบบกระชังนั้นอาจจะมีการแยกออกเป็น 2 วิธีในการเลี้ยง โดยจะเลี้ยงระยะ 1 เซนติเมตร ให้เป็นหอยที่มีความยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร ซึ่งเป็นการขุนหอยหวานให้มีเป็นเนื้อ ใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 1-2 เดือน และอีกหนึ่งวิธี คือ การเลี้ยงแบบระยะ 2.5 เซนติเมตร จนได้ขนาดที่ตลาดต้องการประมาณ 3.5-4.5 เซนติเมตร โดยจะใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 4 เดือน ทำให้ได้หอยหวานขนาดนี้ปีละ 3 รุ่น โดยอาจจะปล่อยเลี้ยงได้ตั้งแต่ 5,000 ตัวต่อกระชัง หรือ 10,000 ตัวต่อกระชัง ก็ได้ แต่ทั้งก็ขึ้นอยู่กับวิธีการดูแล

การเลี้ยงแบบคอกบริเวณชายฝั่งทะเล

การเลี้ยงแบบนี้ส่วนใหญ่แล้วจะทำคอกแบบอวน ทำเป็นแนวรั้วกันลงไปในทะเล หรืออาจจะทำเป็นกระชังก็ได้ โดยเลือกจากสถานที่ที่เหมาะสม ควรเลี้ยงใกล้ชายฝั่งทะเลที่มีการเปลี่ยนแปลงความเค็มของน้ำทะเลไม่มากนัก พื้นที่ชายฝั่งทะเลนั้นควรเป็นทรายหรือทรายปนโคลน เพื่อให้หอยหวานสามารถฝังตัวได้ อีกทั้งเมื่อน้ำลงสุดพื้นทรายจะต้องไม่โผล่พ้นน้ำ คลื่นลมต้องไม่แรงจนเกินไป อาจจะมีที่กำบังลมได้ สำหรับสถานที่ที่จะใช้ใน การเลี้ยงหอยหวาน นั้นจะต้องอยู่ห่างจากชุมชน โรงงานอุตสาหกรรม และท่าเรือ ที่อาจจะปล่อยของเสียลงสู่แม่น้ำได้ อีกทั้งการคมนาคมต้องสะดวก ใกล้กับแหล่งอาหาร และปลอดภัยจากการลักขโมย

คอกที่ใช้เลี้ยงหอยหวานส่วนใหญ่แล้วจะมีขนาดประมาณ 3×4.5×0.8 เมตร โดยแบ่งคอกหอยเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนฐานสร้างด้วยอิฐอาจจะบล็อกฉาบปูนซีเมนต์ สูงจากพื้นประมาณ 30 เซนติเมตร เพื่อเป็นโครงสร้างที่ช่วยเพิ่มความแข็งแรง ส่วนบนกั้นด้วยลวดตาข่ายขนาด 1 นิ้ว สูงจากส่วนฐานอย่างน้อย 50 เซนติเมตร เพื่อกันการหลบหนีของหอยที่จะออกจากคอกได้ และเพื่อไม่ให้ศัตรูของหอยนั้นเข้ามาในคอกเลี้ยงด้วย

การปล่อยลูกหอยหวานจะปล่อยลงเลี้ยงที่ขนาด 1-1.5 เซนติเมตร โดยมีความหนาแน่นประมาณ 350-450 ตัวต่อตารางเมตร จะมากหรือน้อยนั้นก็ขึ้นอยู่กับกระแสน้ำและการจัดการที่ดีด้วย สำหรับการดูแลรักษานั้นอาจจะเน้นในเรื่องของการให้อาหาร เพราะว่าส่วนใหญ่แล้วการให้อาหารสำหรับหอยหวานในการเลี้ยงแบบชายฝั่งทะเลนั้นจะให้ปลาข้างเหลือง เนื้อปู และเนื้อหอย เป็นหลัก การให้อาหารนั้นควรจะให้เป็นที่ เพื่อป้องกันไม่ให้พื้นทรายนั้นเน่าได้ ควรมีการคราดหรือพลิกพื้นทรายบริเวณที่ให้อาหารอย่างน้อย 7-10 วันต่อครั้ง จะช่วยทำให้พื้นทรายนั้นสะอาดมากขึ้น

การเลี้ยงหอยหวานในบ่อดิน

สำหรับการเลี้ยงหอยในบ่อดินนั้นจะมีความใกล้เคียงกับการเลี้ยงแบบกระชังและในทะเล แต่ความแข็งแรงนั้นจะน้อยกว่า โดยใช้โครงไม้ทำเป็นรูปกระชัง ที่พื้นกระชังนั้นจะบุด้วยอวนตาถี่ ทำขอบให้สูงจากพื้นกระชัง 5-10 เซนติเมตร เพื่อที่จะใส่ทราย โดยขนาดของกระชังนั้นขึ้นอยู่กับการจัดการ โดยให้มีขนาดความกว้างประมาณ 1.5x25x0.8 เมตร โดยให้กระชังจมน้ำประมาณ 0.5 เมตร โดยให้กระชังวางอยู่บนทุ่นลอยน้ำ ซึ่งทุ่นลอยน้ำนั้นจะใช้ไม้ไผ่หรือถังพลาสติกออกแบบที่การจัดการง่ายที่สุด ช่วยลดต้นทุนได้ด้วย

สำหรับการเลี้ยงในบ่อดินนั้นควรจะให้สถานที่ในการเลี้ยงใกล้กับแหล่งน้ำที่มีความเค็มมากที่สุด และไม่เปลี่ยนแปลงบ่อยนัก คือ ความเค็มประมาณ 28-32 พีพีที แต่ถ้าความเค็มลดลงก็ไม่ควรต่ำกว่า 20 เพราะถ้าต่ำกว่านี้หอยจะเครียดได้ ส่วนบ่อที่ใช้ในการเลี้ยงนั้นควรเป็นบ่อที่สามารถเก็บน้ำได้ดี น้ำควรมีความโปร่งแสงประมาณ 50 เซนติเมตร และมีความเป็นกรด-ด่างประมาณ 7.5-8.5 ค่าความเป็นด่างที่เหมาะสม คือ 80-120 มิลลิกรัมต่อลิตร และควรอยู่ให้ห่างจากน้ำเสียของบ้านเรือน หรือโรงงานอุตสาหกรรม นอกจากนี้ควรจะมีระบบการคมนาคมที่สะดวก และง่ายต่อการเคลื่อนย้าย เพื่อประหยัดในการขนส่งทางไกล และต้องปลอดภัยจากอันตราย จากการขโมยของผู้ไม่หวังดี

โฆษณา
AP Chemical Thailand

สำหรับการเลี้ยงด้วยบ่อดินนั้นจะมีการปล่อยลูกหอยหวานขนาด 1.5 เซนติเมตร ได้ประมาณ 600 ตัว ต่อตารางเมตร ในระยะเวลา 4-5 เดือน ก็จะมีขนาด 100-120 ตัวต่อกิโลกรัม และอัตราในการรอดตายมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ และใน การเลี้ยงหอยหวาน หรือลูกหอยหวานนั้นควรมีขนาดความยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร ขนาดตะแกรงพลาสติกควรอยู่ที่ 0.5-1 เซนติเมตร ทรายรองพื้นประมาณ 0.3 เซนติเมตร เมื่อหอยหวานมีขนาดใหญ่ขึ้นควรเปลี่ยนตาอวน หรือตะแกรงพลาสติกให้มีขนาดใหญ่ขึ้นตามไปด้วย ส่วนเม็ดทรายที่ใช้ในการรองพื้นก็ควรมีการเพิ่มขนาดด้วยเช่นกัน โดยทรายรองพื้นมีความหนาประมาณ 5 เซนติเมตร และทำความสะอาดทรายทุก 7-10 วัน

7.หอยหวานที่เก็บมาสดๆ นั้นช่วยเพิ่มรสชาติความอร่อยมากกว่าการทิ้งไว้ข้ามคืน
7.หอยหวานที่เก็บมาสดๆ นั้นช่วยเพิ่มรสชาติความอร่อยมากกว่าการทิ้งไว้ข้ามคืน

จุดเด่นของหอยหวาน

สำหรับการเลือกซื้อหอยหวานนั้น ส่วนใหญ่แล้วหลายคนจะกังวลว่าใช่หอยหวานแท้หรือไม่ เพราะปัจจุบันนี้ ยอดขายหอยหวาน และราคาของหอยหวานนั้น มีราคาที่สูง และมีความต้องการเป็นอย่างมาก ทำให้พ่อค้า แม่ค้า บางคนแอบขายหอยหวานปลอม

โดยใช้หอยหมากที่มีลักษณะใกล้เคียงกับหอยหวานแทน มาหลอกขายให้กับผู้บริโภค ซึ่งตรงนี้ผู้บริโภคส่วนใหญ่จะไม่ค่อยสังเกตได้ว่าเป็นหอยหวานหรือหอยหมาก เพราะว่ามีลักษณะที่ไม่ต่างกันมากนัก แต่ความจริงแล้วถ้าเป็นหอยหวานจะมีลักษณะที่แตกต่างกับหอยหมากได้อย่างชัดเจนเลย คือ ให้สังเกตลวดลายบนตัวหอย เพราะหอยหวานนั้นมีริ้วที่ห่างกันอย่างชัดเจน ส่วนหอยหมากนั้นจะไม่ค่อยมีพื้นที่สีขาวมากเท่าไหร่นัก

จุดเด่นอีกอย่างเลย คือ เนื้อของหอยหวานนั้นจะมีความชมพูมากกว่าหอยหมาก และไม่เหนียวเท่าหอยหมาก อีกทั้งยังมีราคาแพงกว่ามาก รสชาติจะแตกต่างจากหอยหมากสิ้นเชิง จึงอยากให้ระวังตรงนี้ไว้ ถ้าไม่ได้รีบจนเกินไป สังเกตที่ลายบนตัวหอย ถ้าหอยหวานแท้จะมีลายที่ห่างกันชัดเจน มีพื้นที่สีขาว และร่องจะไม่ลึก

8.นำมาประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู และมีราคาที่ค่อนสูงอีกด้วย
8.นำมาประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู และมีราคาที่ค่อนสูงอีกด้วย
เมนูหอนหวานเป็นอีกหนึ่งเมนูที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก
เมนูหอนหวานเป็นอีกหนึ่งเมนูที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก
เมนูหอยหวานเผาได้รับความนิยมในร้านอาหารซีฟู้ดเป็นอย่างมาก การเลี้ยงหอยหวาน
เมนูหอยหวานเผาได้รับความนิยมในร้านอาหารซีฟู้ดเป็นอย่างมาก การเลี้ยงหอยหวาน

ฝากถึงผู้ที่สนใจ การเลี้ยงหอยหวาน

สำหรับ การเลี้ยงหอยหวาน นั้นสามารถทำได้ง่ายๆ แต่ต้องรู้รายละเอียดขั้นตอนในการเตรียมฟาร์มหรือบ่อเพื่อที่จะเลี้ยง เพราะว่าหอยหวานนั้นโตได้ดีในน้ำทะเลที่มีความสะอาด ในการเลี้ยงจึงต้องมีการเตรียมตัวที่ดี และมีความรู้ ความเข้าใจ ในการเลี้ยงหอยเป็นอย่างมาก อีกทั้งหอยหวานเองก็มีราคาที่แพง ทำให้หลายคนๆ เริ่มที่หันมาเลี้ยงหอยหวานกันมากขึ้น แต่ก็ต้องระวังในเรื่องของการให้อาหาร และการลักขโมย เพราะเป็นหอยที่มีความต้องการสูง ทำให้การขโมยมักจะเกิดขึ้น การป้องกันคือทางออกที่ดีที่สุด การดูแลเอาใจใส่ใน การเลี้ยงหอยหวาน จะช่วยให้หอยนั้นมีคุณภาพ และขายได้ราคาดีอย่างแน่นอน

เรื่องราวของการเพาะเลี้ยงหอยหวานนั้นเป็นการลงรายละเอียดในการเลี้ยง การดูแล รวมไปถึงขั้นตอนต่างๆ ของแต่ละพื้นที่ในการเลี้ยง ซึ่งราคาของหอยหวานนั้นค่อนข้างสูง ทำให้การนำมาจำหน่ายในท้องตลาดแต่ละครั้งมีราคาสูงตามไปด้วย อีกทั้งเรื่องของหอยหวานปลอมต้องระวังในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก เพราะว่าเริ่มมีการระบาดมากขึ้น ที่พ่อค้า แม่ค้า นำมาจำหน่าย จึงอยากฝากระวังในการเลือกซื้อหอยแต่ละครั้ง ควรสังเกตว่าเป็นหอยหวานของแท้ หรือหอยหมาก ไว้ตรงนี้ด้วย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

https://www.ku.ac.th/e-magazine/jan51/agri/Babylonia.htm,https://www.sentangsedtee.com/today-news/article_22039,https://www.sentangsedtee.com/farming-trendy/article_103990,https://food.mthai.com/food-recipe/121315.html,https://www.rakbankerd.com/agriculture/page.php?id=2861&s=tblanimal, https://www.technologychaoban.com/bullet-news-today/article_97870,