หอยแครงนั้นนับได้ว่าเป็นอีกหนึ่งผลผลิตทางการเกษตรประเภทสัตว์น้ำที่ได้รับความนิยม และหาทานได้ค่อนข้างง่าย อีกทั้งยังเป็นเมนูที่สำคัญที่ต้องมีอยู่ในร้านอาหารหลากหลายที่ ซึ่งหอยแครงนั้นนอกจากจะได้รับความนิยมตลอดทั้งปีแล้ว ผลผลิตที่ได้ก็สามารถเก็บได้แทบทั้งปีเลยทีเดียว ทำให้อาชีพ การเลี้ยงหอยแครง นั้นเป็นที่ได้รับความนิยมและได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก
ซึ่งความจริงนั้นการเลี้ยงหอยแครงก็ไม่ใช่เรื่องที่ยากเกินไป เพียงแค่มีข้อมูลและเรียนรู้ที่จะทำความเข้าใจในเรื่องของการเลี้ยงก็สามารถที่จะเริ่มเลี้ยงจากจุดเล็กๆ ได้แล้ว
การเพาะเลี้ยงหอยแครง
การเลี้ยงหอยแครงนั้นปกติแล้วมีการเลี้ยงตามแนวชายฝั่งทะเล ไม่ว่าจะเป็นอ่าวไทยหรือฝั่งอันดามัน ถือได้ว่าเป็นสินค้าสัตว์น้ำที่ได้รับความนิยมและเป็นที่สนใจเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังเป็นสัตว์เศรษฐกิจของประเทศเลยก็ว่าได้ เพราะว่าหอยแครงนั้นสามารถบริโภคได้ตลอดทั้งปี เมื่อเปรียบเทียบกับสัตว์น้ำประเภทหอยด้วยกัน
อีกทั้งรสชาติที่อร่อยในแบบของตัวเอง จึงทำให้มีการนำมาแปรรูปเป็นเมนูที่หลากหลายมากขึ้น อีกทั้งหอยแครงเองก็มีคุณค่าทางอาหาร ไม่แพ้อาหารโปรตีนชนิดอื่นๆ เลย ถือได้ว่าเป็นสัตว์ที่มีความน่าสนใจเป็นอย่างมากเลยทีเดียว
หอยแครงนั้นได้รับการนำมาเลี้ยงและค้นคว้าระยะเวลามานานแล้ว โดยมีการนำพันธุ์ต่างๆ มาดัดแปลงและศึกษาไปพร้อมกัน จนได้หอยแครงที่เป็นที่นิยมในบ้านเราจนปัจจุบัน อีกทั้งยังมีการจัดตั้งกลุ่มสหกรณ์ รวมไปถึงกลุ่มที่ไว้ปรึกษาในเรื่องของการเพาะเลี้ยงหอยแครงด้วย
ซึ่งถือได้ว่าหอยแครงนั้นเป็นเรื่องราวที่มีความน่าสนใจว่าการเลี้ยงหอยแครงนั้นมีเรื่องราวที่น่าสนใจมากน้อยเพียงใด อีกทั้งตัวเกษตรกรที่เลี้ยงหอยแครงต่างก็พึงพอใจกับผลผลิตที่ได้ เพราะว่าหอยแครงนั้นสามารถขายได้ตลอดทั้งปี อีกทั้งยังมีราคาไม่แพง หาซื้อได้ง่าย จึงเป็นที่รู้กันว่าหอยแครงนั้นเลี้ยงง่าย ได้ประโยชน์หลายทางด้วยนั่นเอง
ประโยชน์ของหอยแครง
หอยแครงคืออะไร หอยแครง คือ หอยที่มีสองฝา เป็นหอยอีกหนึ่งชนิดที่ถือได้ว่าเป็นหอยที่ได้รับความนิยมในการบริโภคและการซื้อหาเป็นอย่างมาก นับว่าเป็นสัตว์ที่ถือได้ว่าเป็นสัตว์เศรษฐกิจอีกหนึ่งชนิดเลยก็ว่าได้
นอกจากนี้เนื้อของหอยแครงนั้นยังถือว่ามีโปรตีนที่ดีพอสมควร เมื่อเทียบกับอาหารหลายๆ ประเภท อีกทั้งวิธีการทานนั้น ก่อนเริ่มทานก็ต้องมีการนำตัวหอยมาล้างให้สะอาดเพื่อกำจัดคราบดินโคลนในตัวหอยเสียก่อน จากนั้นก็นำมาเผาหรือลวกก็สามารถรับประทานได้แล้ว โดยทานคู่กับน้ำจิ้มซีฟู้ด ก็จะช่วยเพิ่มความอร่อยได้เป็นอย่างดี
ส่วนเปลือกของหอยแครงเองก็ยังได้มีการนำมาทำเป็นเครื่องประดับ รวมไปถึงของประดับตกแต่งที่หลากหลาย อาจจะทำเป็นสร้อยหรือของที่ระลึกก็ได้เช่นกัน ก็ช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับเปลือกหอย ที่เหมือนไม่มีอะไรกลับมีค่าทางกายภาพได้อย่างดีเลยทีเดียว อีกทั้งตัวเปลือกหอยแครงนั้นเมื่อนำมาบดให้เป็นผงแล้วยังสามารถที่จะนำไปผสมกับอาหารสัตว์ได้อีกด้วย หรือจะผสมลงในปูนเพื่อช่วยในการสร้างงานก่อสร้างแบบประหยัดต้นทุนได้เป็นอย่างดี
และในหลักทางการแพทย์เองก็ยังมีการนำมาเป็นวัสดุสังเคราะห์ทดแทนมวลกระดูกของมนุษย์ได้เช่นกัน เห็นได้เลยว่าเปลือกหอยหรือหอยแครงที่ดูเหมือนไม่มีอะไรสามารถที่จะเพิ่มมูลค่าหรือนำมาทดแทนสิ่งที่เป็นไม่ได้ให้เป็นไปได้มากขึ้น
ลักษณะทั่วไปของหอยแครง
นอกจากนี้การเลี้ยงหอยแครงนั้น ทางกรมประมงเองก็ได้มีการส่งเสริมให้เกษตรกรเพาะเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจอีกด้วย โดยส่วนใหญ่นั้นจะนิยมเลี้ยงกันในแถบจังหวัดสมุทรสาคร เพชรบุรี สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ภูเก็ต สตูล และปัตตานี เป็นต้น
โดยหอยแครงนั้นเป็นสัตว์น้ำประเภทหอยที่มี 2 ฝา เปลือกหรือฝาทั้ง 2 ข้างนั้นจะมีขนาดที่เท่ากัน และจะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน โดยหอยแครงที่สามารถพบได้ในไทยนั้นส่วนใหญ่แล้วจะมีอยู่ 2 สกุล 5 ชนิด ได้แก่ หอยแครงเทศ หอยแครงปากมุ้ม หอยแครงมัน หอยแครงเบี้ยว และหอยแครงคราง หรือหอยแครงขน
โดยหอยแครงที่นิยมนำมาเลี้ยงในเมืองไทยนั้นจะเป็นหอยแครงที่มีเปลือกนอกคล้ายรูปสามเหลี่ยม ด้านในจะโปร่งนูน และเปลือกหนา ซึ่งด้านบนนั้นจะเป็นส่วนที่มีฟันแข็งแรงเรียงกันอยู่ และจะมีลักษณะคล้ายฟันเลื่อย ส่วนเปลือกด้านนอกนั้นจะเรียงเป็นแถวคล้ายลอนลูกฟูก ส่วนสีของเปลือกนั้นจะไม่มีความแน่นอน บ้างก็อ่อน บ้างก็เข้ม แต่ปกตินั้นสีของเปลือกจะเปลี่ยนไปตามสภาพของดินที่หอยอาศัยอยู่ โดยทั่วไปแล้วหอยแครงจะมีสีขาวปนน้ำตาล หรือดำคล้ำ นั่นเอง
วิธีการเลี้ยงหอยแครง
โดยปกติแล้วนั้นการเลี้ยงหอยแครงสามารถทำได้ถึง 2 รูปแบบเลยทีเดียว คือ การเลี้ยงแบบในทะเล กับการเลี้ยงในบ่อดิน โดยทั้ง 2 รูปแบบนั้นก็จะมีวิธีการเลี้ยงที่แตกต่างกันออกไป ทั้งสภาพแวดล้อม และขนาดที่เลี้ยง
การเลี้ยงหอยแครงในทะเล
จะมี 2 วิธี ที่เหมาะกับการเลี้ยงหอยแครงในทะเลเลย คือ การเลี้ยงแบบฟาร์มที่มีขนาด
เล็ก และการเลี้ยงแบบฟาร์มที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งทั้ง 2 วิธี ก็จะมีวิธีการเลี้ยงที่ไม่แตกต่างกันออกไปมากนัก เพียงแต่การเลี้ยงจะเลือกทำเลของทะเลที่เหมาะสมกับการเลี้ยงหอยแครงให้มากขึ้น
การเลี้ยงแบบฟาร์มเล็ก
โดยการทำฟาร์มเล็กนั้นจะทำกันแค่ในครอบครัว เป็นแบบฟาร์มพอดี ไม่ใหญ่เกินไป สามารถดูแลได้ง่าย โดยจะมีเนื้อที่ประมาณ 5-30 ไร่ ต่อครัวเรือน หรือต่อราย โดยวิธีการทำฟาร์มขนาดเล็กนี้จะใช้ไม้ไผ่เป็นที่กั้นให้เกิดคอกล้อมแปลงเลี้ยงไว้ และขนาดของลูกหอยที่จะเริ่มเลี้ยงนั้นก็จะขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ว่าจะเลี้ยงสายพันธุ์อะไร
ถ้าเป็นหอยสายพันธุ์พื้นเมือง ก็อาจจะใช้หอยขนาดใหญ่ คือ 400-1,200 ตัวต่อกิโลกรัม โดยขนาดที่นิยมหว่านเลี้ยงนี้ประมาณ 450 ตัวต่อกิโลกรัม และอัตราในการหว่านก็จะอยู่ที่ 800-1,500 กิโลกรัมต่อไร่ แต่เนื่องจากว่าหอยพันธุ์พื้นเมืองนั้นสามารถเดินได้ จึงจำเป็นที่จะต้องคอยดูแลและตรวจสอบเพื่อไม่ให้หอยนั้นเกิดการทับกันจนหนาแน่นเกินไป โดยการตรวจดู และเพื่อป้องกันการทับกันของหอยนั้นควรจะเกลี่ยลูกหอยเป็นประจำ โดยสามารถเกลี่ยได้ทุกๆ 15 วัน หรือทุกเดือนก็ได้ โดยใช้เครื่องมือที่คล้ายกับคราดเพื่อการเกลี่ยลูกหอยไปหว่านไว้ที่บริเวณอื่นได้เช่นกัน
การเลี้ยงลูกหอยนั้นพอเลี้ยงไปได้สักระยะจะมีการเพิ่มปริมาณของลูกหอยขึ้น ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องเก็บรวบรวมลูกหอยหลังจากปล่อยเลี้ยง โดยการเก็บนั้นจะเก็บโดยใช้เรือเป็นตัวลาก และคัดขนาดลูกหอย ถ้าลูกหอยที่มีขนาดเล็กก็จะปล่อยลงทะเลเพื่อให้เติบโต หรือเลี้ยงให้เต็มที่ค่อยจับใหม่ หลังจากเลี้ยงได้ในระยะเวลา 1-1 ปีครึ่ง แล้วก็จะเริ่มเก็บเกี่ยวหอยแครงได้ทันที
แต่โดยปกติแล้วหอยพันธุ์พื้นเมืองหรือสายพันธุ์ในท้องถิ่นนั้นจะใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงนานกว่าหอยประเภทอื่นๆ เวลาในการเลี้ยงนั้นจะประมาณ 1 ปีครึ่ง-2 ปี โดยเฉลี่ยถึงจะเริ่มเก็บผลผลิตได้ โดยหอยที่เก็บผลผลิตได้นั้นจะมีขนาดที่ 80-120 ตัวต่อ 1 กิโลกรัม โดยจะให้ผลผลิตประมาณ 2,000-3,000 กิโลกรัมต่อไร่ และต่อรุ่นในการเลี้ยง และการเลี้ยงแบบนี้ส่วนใหญ่แล้วจะนิยมเลี้ยงในบริเวณอ่าวไทย ตามแถบชายฝั่งเพชรบุรี และสมุทรสงคราม เป็นหลักมากกว่า
การเลี้ยงแบบฟาร์มขนาดใหญ่ในทะเล
ในการเลี้ยงหอยแครงแบบพื้นที่ขนาดใหญ่นั้น ส่วนใหญ่แล้วจะนิยมเลี้ยงเพื่อการส่งขาย หรือทำเป็นธุรกิจเสียมากกว่า โดยส่วนใหญ่จะมีเนื้อที่ตั้งแต่ 200-1,000 ไร่ ต่อรายเลยทีเดียว ในการทำฟาร์มหอยแครงขนาดใหญ่นั้นจะมีไม้ไผ่ปักไว้เช่นเดียวกับการทำฟาร์มแบบเล็ก ลูกหอยที่นำมาเลี้ยงนั้นส่วนใหญ่แล้วจะมีขนาดเล็กกว่าแบบฟาร์มเล็ก โดยส่วนใหญ่นิยมนำลูกหอยจากมาเลเซียเข้ามาเลี้ยงจะมีขนาดตั้งแต่ 1,000-3,000 ตัวต่อกิโลกรัม แต่ที่นิยมนำมาเลี้ยงนั้นจะมีขนาด 2,500 ตัวต่อกิโลกรัมมากกว่า ทั้งขนาดและการหว่านนั้นจะทำแบบเดียวกับวิธีการดั้งเดิม
อีกทั้งผู้ประกอบการที่ทำแปลงใหญ่หรือเป็นรายใหญ่นั้นจะมีการนำลูกพันธุ์หอยมาขายต่อยังผู้ประกอบรายย่อยด้วย จึงทำให้ราคาในการจำหน่ายนั้นแตกต่างกันออกไป โดยราคาของลูกหอยนั้นจะแตกต่างกันที่ขนาดที่ได้รับมา จากนั้นก็ใช้เวลาเลี้ยง 1-2 ปี ก็จะได้หอยขนาด 80-120 ตัวต่อกิโลกรัม และให้ผลผลิตต่อไร่ประมาณ 4-5 พันต่อกิโลกรัม เลยทีเดียว
โดยการเลี้ยงแบบฟาร์มใหญ่นี้มักจะได้รับความนิยมในการเลี้ยงทั้งฝั่งอ่าวไทยตอนใต้ ไม่ว่าจะเป็นที่สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และอันดามันเองก็มีการเลี้ยงด้วยเช่นกัน โดยมักนิยมเลี้ยงในจังหวัดสตูล
ในการเลี้ยงหอยแครงนั้น สิ่งที่สำคัญเลย คือ การเลือกทำเลในการเลี้ยงที่มีความเหมาะสม โดยทำเลที่ดีนั้นควรจะเป็นพื้นที่ที่มีความเป็นโคลนตามชายฝั่งที่เรียบ หรือมีความลาดเอียงเล็กน้อย เป็นถิ่นที่มีคลื่นลมและกระแสน้ำไม่แรงมากนัก ผิวหน้าดินควรจะมีความลึกประมาณ 40-50 เซนติเมตร โคลนนั้นจะต้องไม่มีกลิ่นเน่าเหม็น น้ำควรมีความเค็มประมาณ 10-31 ส่วนของน้ำทั้งหมด
และที่สำคัญเลยในการเลี้ยงทำเลที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงหอยแครงนั้นจะต้องเป็นถิ่นที่ไม่อยู่ใกล้แหล่งชุมชน หรือแหล่งอุตสาหกรรม เพราะว่าถ้าใกล้จะทำให้มลพิษที่ไม่เป็นมิตรต่อหอยแครงนั้น จะทำให้หอยแครงได้รับสารพิษดังกล่าวเข้าไปในตัวได้ และทำให้หอยแครงนั้นเกิดการติดโรค หรือไม่เจริญเติบโตได้เต็มที่ด้วย
นอกจากนี้สภาพดินเองควรมีความเป็นกรดและด่างประมาณ 7.5-8.3 จะเป็นค่าที่เหมาะสมกับความต้องการของหอยแครง และอินทรียวัตถุในดินเองก็ควรมีค่าอยู่ที่ 1.40-3.30 เปอร์เซ็นต์ และพื้นที่ที่ใช้เลี้ยงนั้นจะต้องอยู่ในพื้นที่ได้รับอนุญาตในการเลี้ยง และต้องมีการขึ้นทะเบียนฟาร์มเลี้ยงกับทางราชการอย่างถูกต้อง ที่สำคัญต้องได้รับความเห็นชอบจากหลายๆ ฝ่ายด้วย และไม่กีดขวางเส้นทางการจราจรทางน้ำ
โดยปกติแล้วการเตรียมสำหรับการเลี้ยงหอยแครงในทะเลนั้น การเลี้ยงทั้งฟาร์มเล็กและฟาร์มใหญ่นั้นจะมีการเตรียมแปลงที่เหมือนกัน แต่จะแตกต่างกันที่คอกเลี้ยง โดยฟาร์มเลี้ยงขนาดเล็กนั้นจะใช้ไม้ไผ่ในการปัก หรืออาจจะใช้เฝือกไม้ไผ่ปักกั้นเขตเป็นส่วนมาก
ในขณะที่ฟาร์มเลี้ยงขนาดใหญ่นั้นส่วนมากจะใช้ไม้ปักเพื่อกั้นเขต และมีการใช้ไม้ไผ่ปักแบ่งออกเป็นแปลงย่อยมากกว่า โดยจะแบ่งเป็นแปลงย่อยประมาณ 20-30 ไร่ เพื่อสะดวกในการทำงาน และในการปักกั้นเขตเพื่อทำแปลงนั้นจะปักลงดินเลนให้มีความลึกประมาณ 50 เซนติเมตร สำหรับการปักเฝือกไม้ไผ่เพื่อป้องกันการหลบหนีของลูกหอย และป้องกันกระแสน้ำพัดลูกหอยออกจากเขตเลี้ยง โดยจะใช้ไม้ไผ่ที่มีความกว้างประมาณ 2 นิ้ว และยาว 60-80 เซนติเมตร ปักลงในดินประมาณ 50 เซนติเมตร โดยการใช้ไม้ไผ่นั้นจะใช้ประมาณ 1 หมื่นซี่ต่อพื้นที่ในการเลี้ยง 1 ไร่
ในเรื่องของการเตรียมดินนั้นก็จะต้องมีการปรับสภาพดินในแปลงให้เรียบร้อย โดยใช้คราด คราดดินในแปลงเพื่อให้เศษวัสดุต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเปลือกหอยที่ตายแล้ว หรือเศษไม้ ออกจากแปลงหอยทั้งหมด และยังเป็นการปรับสภาพดินให้มีความราบเรียบเสมอกันด้วย เพื่อที่จะได้ทำการฝังตัวของลูกหอยได้ง่าย และช่วยรวบรวมลูกพันธุ์หอยอีกด้วย
ในการเตรียมพันธุ์หอยแครงนั้น ให้เอาหอยแครงบรรจุใส่ถุงปุ๋ยให้เรียบร้อย โดยใส่ถุงละ 60 กิโลกรัม หลังจากนั้นใช้น้ำทะเลราดจนชุ่มแล้วปิดปากถุงให้เรียบร้อย และค่อยทยอยขนลูกหอยขึ้นรถบรรทุก โดยใช้ด้านยาวของกระสอบนั้นขวางตัวรถ และไม่คลุมถุงหอยจนทึบเกินไป ควรให้ลมผ่านได้สะดวกจะดีกว่า และไม่ควรที่จะให้ลูกหอยโดนน้ำจืดหรือแดดอย่างเด็ดขาด จึงจำเป็นที่จะต้องเดินทางเพื่อขนย้ายลูกพันธุ์ในช่วงเวลากลางคืน และระยะเวลาในการเคลื่อนย้ายไม่ควรเกิน 36 ชั่วโมง ตั้งแต่บรรจุถุงจนถึงแปลงหว่าน
การบำรุงดูแลลูกหอยแครง
ในการหว่านลูกหอยนั้นต้องคำนึงถึงอัตราความหนาแน่น และขนาดของลูกหอยเป็นสำคัญ ดังนั้นเพื่อให้หอยกระจายสม่ำเสมอ จึงควรแบ่งแปลงให้มีขนาดที่เล็กลง โดยใช้พื้นที่ประมาณ 400 ตารางเมตร และต้องมีการคำนวณปริมาณของหอยที่จะใช้หว่านด้วยว่าจะใช้ในปริมาณเท่าไหร่ เพื่อกำหนดการหว่านได้อย่างแน่ชัด โดยวิธีคำนวณนั้นจะใช้วิธีการชั่งน้ำหนักของกระสอบ และนำลูกหอยมาชั่งให้ได้ 1 กิโลกรัม และค่อยคำนวณลูกหอยแต่ละกระสอบตามลำดับ จากนั้นก็จดขนาดแปลงหอยที่แบ่งไว้ และจึงคำนวณการใช้หอยต่อแปลง
เมื่อหว่านลูกหอยลงแปลงแล้ว ก็จะมาถึงขั้นของการดูแล ซึ่งการดูแลรักษานั้นผู้เลี้ยงต้องคอยดูความหนาแน่นของหอย และอัตราการเจริญเติบโตเป็นประจำ โดยสามารถตรวจดูอย่างน้อยทุกเดือน เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้หอยแครงที่เลี้ยงนั้นมีความหนาแน่นมากเกินไป เพราะว่าถ้าเกิดความหนาแน่นมากจนเกินไปอาจจะทำให้เกิดการทับกันตายได้ อีกทั้งยังทำให้หอยนั้นเจริญเติบโตได้ช้าด้วย
โดยวิธีการตรวจสอบนั้นใช้กระดานถีบเลนได้ โดยทำในขณะที่น้ำลดต่ำลงที่สุดของการเกิดน้ำ นอกจากนี้ยังต้องคอยเฝ้าระวังขโมยที่จะมาขโมยหอยทั้งในช่วงเวลากลางวันและกลางคืนด้วย นอกจากนี้ยังต้องคอยดูศัตรูของหอยด้วย ไม่ว่าจะเป็นพวกปลาดาว หอยหมู หอยตะกาย หรือแม้แต่หอยกะพง ก็เป็นศัตรูที่คอยแย่งอาหารของหอยแครงเป็นอย่างมาก ซึ่งถ้าพบสัตว์พวกนี้ให้เก็บออกหรือนำไปใช้อย่างอื่นแทนก็ได้
การเลี้ยงหอยแครง ในบ่อดิน
โดยการเลี้ยงหอยแครงในบ่อดินนั้นเกิดขึ้นที่แรกเลย คือ จังหวัดสมุทรสาคร และสมุทรปราการ แต่เนื่องจากว่า เกิดสภาวะน้ำเสียที่มาจากโรงงาน ทำให้หอยแครงที่เลี้ยงในพื้นที่ดังกล่าวนั้นตายเป็นจำนวนมาก ผู้เลี้ยงหอยแครงหลายคนจึงได้นำหอยแครงที่เหลืออยู่มาทำการหว่านลงบนลานดิน ซึ่งลานดินดังกล่าวนั้นเป็นนากุ้งอยู่ด้วย จึงถือว่าเป็นการเลี้ยงทั้งหอยแครงและกุ้งแชบ๊วยไปด้วยกันเลย
โดยใช้ลูกหอยประมาณ 300-400 ตัวต่อกิโลกรัม ในการนำมาหว่าน และเลี้ยงได้ประมาณ 4-5 เดือน ก็ได้ขนาดตามที่ตลาดต้องการ แต่วิธีการเลี้ยงแบบนี้ยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก จึงไม่ค่อยมีคนรู้จัก จนกระทั่งการเลี้ยงกุ้งในบ่อดินเริ่มประสบปัญหาด้านสภาพแวดล้อมและความเสื่อมโทรม จนไม่สามารถที่จะเลี้ยงกุ้งต่อไปได้ จึงทำให้บ่อกุ้งนั้นร้างไป จากนั้นจึงเริ่มหันมาลองเลี้ยงหอยแครงแทน ทำให้หอยแครงที่เลี้ยงในบ่อดินนั้นว่างมากขึ้น
ซึ่ง การเลี้ยงหอยแครง นั้นในพื้นที่สมุทรปราการได้ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 550.50 กิโลกรัมต่อไร่ โดยได้กำไรประมาณ 8-10 บาทต่อกิโลกรัมเลยทีเดียว ทำให้ การเลี้ยงหอยแครง ในบ่อดินเริ่มเป็นที่รู้จักกันมากขึ้น แต่ก็ยังไม่เป็นที่นิยมเท่ากับการเลี้ยงในทะเลมากนัก เพราะว่าการเลี้ยงในทะเลนั้นจะให้ผลผลิตที่มากกว่า และสามารถที่จะเลี้ยงได้มากกว่า จึงเป็นการเลี้ยงแบบครอบครัว หรือไม่เชิงเป็นธุรกิจมากเท่าที่ควร
การบริหารจัดการบ่อหอยแครง
ในการเตรียมพื้นที่เพื่อสำหรับ การเลี้ยงหอยแครง แบบบ่อดินนั้น ต้องมีการจัดเตรียมสภาพบ่อให้ดีพอสมควร ใช้คราดในการคราดดินเพื่อให้ดินมีความสม่ำเสมอมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นกำจัดขยะภายในดินออกไปด้วย จากนั้นให้นำน้ำเข้ามายังบ่อเลี้ยงเพื่อเป็นการพักน้ำ อีกทั้งยังช่วยให้เกิดแพลงก์ตอนพืชเพื่อเป็นอาหารสำหรับหอยแครงได้ด้วย
นอกจากนี้ควรจะควบคุมสีของน้ำให้มีความใสหรือขุ่นประมาณ 30-35 เซนติเมตร ให้มีความลึกประมาณ 1-1.5 เมตร และพื้นดินเองก็ควรจะมีความอ่อนนุ่มพอสมควร เพื่อที่ตัวหอยแครงนั้นจะได้ทำการฝังตัวเองลงไปในดินได้ง่ายขึ้น และทำให้หอยไม่เสียหายมากด้วย อัตราการปล่อยของการเลี้ยงหอยแครงในดินนั้น ใช้ลูกหอยขนาด 300-400 ตัวต่อกิโลกรัม หว่านให้กระจายทั่วกันอย่างเสมอทั่วทั้งบ่อ โดยใช้ในปริมาณ 300-500 กิโลกรัมต่อไร่ แต่ทั้งนี้อาจจะต้องขึ้นอยู่กับสภาพบ่อที่ใช้ใน การเลี้ยงหอยแครง ด้วย
ในด้านของการจัดการควรตรวจสอบการเจริญเติบโตโดยการชั่งวัดขนาดของหอยแครงอย่างน้อยเดือนละครั้ง เพื่อเป็นการตรวจดูสภาพของตัวหอยด้วยว่ามีความผิดปกติมากน้อยเพียงใด เพื่อที่ว่าถ้าเจอปัญหาเกี่ยวกับตัวหอยจะได้แก้ไขได้ทัน ควบคุมปริมาณสีของน้ำในบ่อเลี้ยง อาจจะต้องมีการใช้ปุ๋ยเพิ่ม เพื่อก่อให้เกิดแพลงก์ตอนภายในบ่อเพื่อเป็นอาหารสำหรับตัวหอย และที่สำคัญควรมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำในบ่อประมาณอาทิตย์ละ 1 ครั้ง หรือจะมีการปรับเปลี่ยนน้ำในบ่อตามความเหมาะสมก็ได้ เพื่อเป็นการปรับสภาพน้ำให้มีความเหมาะสมอยู่ตลอดเวลาด้วย
การเก็บเกี่ยวหอยแครง
ด้านการเก็บเกี่ยวของหอยแครงนั้น ให้เราสังเกตได้ง่ายๆ เลยว่าเมื่อหอยแครงได้ขนาดตามตลาดนั้น โดยขนาดของหอยแครงที่ตลาดต้องการนั้นจะอยู่ที่ 80-120 ตัวต่อ 1 กิโลกรัม ซึ่งระยะเวลาในการเลี้ยงที่เหมาะสมกับขนาดนี้จะอยู่ที่ 6-8 เดือน เป็นระยะเวลาที่สามารถเริ่มเก็บหอยแครงได้
แต่ทั้งนี้ก็อาจจะขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ด้วยเช่นกัน เพราะว่าแต่ละสายพันธุ์นั้นจะมีระยะเวลาในการเติบโตที่ไม่เท่ากัน และเมื่อได้ขนาดที่ต้องการแล้วค่อยๆ ทำการลดน้ำในบ่อลง เพื่อที่จะง่ายต่อการเก็บหอย โดยอาจจะใช้เครื่องมือที่เหมาะสมอย่างคราดเพื่อช่วยให้เก็บหอยก็ได้ ในการเก็บเกี่ยวหอยแครงนั้นควรทำอย่างระมัดระวัง เพราะถ้าเก็บเกี่ยวแรงจนเกินไปอาจจะทำให้หอยแครงนั้นเสียหาย และขายไม่ได้ราคา
ปัญหาและอุปสรรคในบ่อหอยแครง
การเลี้ยงหอยแครง นั้นยังคงมีปัญหาหลายด้านที่เกษตรกรหลายคนพบเจออยู่เป็นเรื่องปกติ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของลูกพันธุ์หอย ได้ผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงไม่สม่ำเสมอ และให้ผลผลิตค่อนข้างต่ำกว่าที่คำนวณไว้ โดยปัญหาต่างๆ นั้นก็จะแบ่งแยกออกไปเป็นส่วนๆ คือ
-การขาดแคลนพันธุ์หอยขนาดเล็ก เนื่องจากแหล่งกำเนิดพันธุ์หอยแครงในประเทศน้อย ไม่พอกับความต้องการของผู้เลี้ยงหอยแครง เกษตรกรหลายคนจึงมีความจำเป็นที่จะต้องสั่งซื้อพันธุ์หอยขนาดเล็กมาจากต่างประเทศ ซึ่งในบางช่วงเวลานั้นพันธุ์หอยขนาดเล็กมีจำนวนน้อย จึงทำให้มีราคาค่อนข้างแพง ยิ่งมาช่วงหลังๆ ลูกพันธุ์ขนาดเล็กในมาเลเซียนั้นถูกสั่งห้าม ทำให้เกิดการขาดแคลน และมีราคาแพงขึ้นเป็นเท่าตัวเลยทีเดียว
ซึ่งในปัจจุบันนั้นกรมประมงได้เข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาในส่วนนี้ โดยมีการทำพ่อแม่พันธุ์เพื่อเพาะลูกพันธุ์หอย แต่ก็ได้แค่จำนวนหนึ่งเท่านั้น ทำให้ปริมาณที่ได้นั้นก็ยังคงไม่เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกรอยู่ดี
-แหล่งเลี้ยงหอยแครงเริ่มเสื่อมสภาพลง ซึ่งหลังจากที่เลี้ยงหอยแครงมาได้ 4-5 ปี หน้าดินโคลนก็จะเริ่มมีความหนาแน่นน้อยลง และสภาพดินเริ่มแข็งขึ้น จึงไม่เหมาะกับการเพาะเลี้ยง และการเจริญเติบโตของหอยแครง จึงทำให้ต้องมีการพักหรือปรับปรุงเกิดขึ้น
-น้ำเสียที่เกิดจากการระบายน้ำของโรงงานอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้น ทำให้แหล่งน้ำที่เลี้ยงหอยแครงนั้นเริ่มประสบปัญหามากขึ้น เพราะมลภาวะต่างๆ ที่สร้างผลกระทบ ทำให้สภาพน้ำที่เหมาะสมแปรเปลี่ยนเป็นสภาพน้ำเสีย และไม่สามารถเลี้ยงหอยแครงได้อีก ทำให้ การเลี้ยงหอยแครง เริ่มลดลงเป็นอย่างมาก
-ปัญหาทางธรรมชาติที่มักจะพบเจอตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของคลื่นลมและกระแสน้ำที่แปรปรวนอยู่บ่อยครั้ง เป็นสาเหตุทำให้หอยแครงนั้นตายได้ง่าย เพราะว่ากระแสน้ำและคลื่นลมแรงที่พัดเอาตะกอนมาทับถมกันหนาขึ้น นอกจากนี้ถ้าเป็นช่วงหน้าฝนปริมาณน้ำจืดก็มากเกินความจำเป็น จึงทำให้หอยเกิดการเสียหายและตายได้มากขึ้น อีกทั้งเรื่องของอุณหภูมิของน้ำก็มีส่วนทำให้หอยแครงตายได้เช่นกัน
ด้านตลาดและช่องทางจำหน่ายหอยแครง
ถ้าเป็นสภาพอากาศที่ยังไม่มีความแปรปรวนมากนัก ตลาดภายในประเทศเองก็จะได้รับความนิยมเป็นอย่างมากอยู่แล้ว แต่ปัจจุบันตลาดหอยแครงภายในประเทศเองยังคงมีความแคบไม่กระจายตัว อีกทั้งหอยแครงเองยังไม่สามารถเก็บไว้ได้นาน เพียงแค่ 2-3 วัน ก็สามารถเน่าเสียได้แล้ว
ทำให้ตลาดส่วนใหญ่จึงจำกัดเฉพาะในพื้นที่ใกล้เคียง ไม่ว่าจะเป็นกรุงเทพ หรือปริมณฑล ที่อยู่ใกล้เคียงกับแหล่งผู้ผลิต และในส่วนของภาคเหนือและอีสานนั้นเป็นพื้นที่ที่อยู่ห่างไกล ทำให้กว่าจะขนส่งได้ถึงรสชาติก็ไม่ค่อยดีแล้ว
อีกทั้งยังมีราคาที่แพง ทำให้จึงไม่ค่อยเป็นที่นิยมมากเท่าที่ควร ส่วนในด้านตลาดต่างประเทศ หอยแครงก็ยังคงมีตลาดที่ไม่หลากหลายมากนัก เลยทำให้ส่งออกได้แต่ประเทศใกล้เคียง หรือใช้เวลาในการขนส่งไม่นาน จึงทำให้พ่อค้าคนกลางส่วนใหญ่นิยมนำไปขายยังประเทศเพื่อนบ้าน รวมถึง ประเทศจีนเพียงเท่านั้นเอง
การเลี้ยงหอยแครง นั้นเป็นการลงทุนที่ไม่ค่อยใช้เงินทุนมากนัก ถ้าเลี้ยงในขนาดฟาร์มที่ไม่ใหญ่มากนัก แต่สำหรับคนที่เลี้ยงเพื่อการส่งขายนั้นก็จะต้องระมัดระวังในเรื่องของการขโมยผลผลิตให้มากเสียหน่อย นอกจากนี้ การเลี้ยงหอยแครง นั้นจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องของหอยเป็นอย่างดี เพราะว่าหอยแครงนั้นเสี่ยงต่อความเสียหายได้ง่ายในระยะแรก จึงจำเป็นที่จะต้องใส่ใจในการเลี้ยงดูเป็นพิเศษ อีกทั้งการส่งขายหรือเก็บเกี่ยวผลผลิตมีระยะเวลาจำกัด ทำให้ต้องคอยดูว่าสามารถเก็บได้แล้วหรือยัง เพราะว่าถ้าเก็บมาแล้วไม่ได้ขนาดก็จะเสียเปล่าได้ ถือว่า การเลี้ยงหอยแครง นั้นต้องใช้ประสบการณ์และความชำนาญเสียหน่อย ก็จะช่วยต่อยอดอาชีพได้ไม่ยากเลย
เรื่องราวของ การเลี้ยงหอยแครง นั้นถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งเรื่องราวที่มีความน่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียวไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของวิธีการเลี้ยง การเก็บเกี่ยวผลผลิต การเลือกทำเลที่เหมาะสมกับการเลี้ยง ถือได้ว่ากว่าจะมาเป็นหอยแครงให้ได้บริโภคกันทุกวันนี้ไม่ง่ายเลยทีเดียว จะบอกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ถ้าได้ลองสัมผัสจากประสบการณ์ตรงก็จะเป็นเรื่องที่ได้ความรู้มากกว่านี้แน่นอน ทั้งนี้บทความนี้เป็นเพียงส่วนย่อยที่นำเสนอแบบง่ายๆ ให้ได้เข้าใจกันนั่นเอง
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลอ้างอิง
https://www.technologychaoban.com/fishery-technology/article_73922,http://www.thaismescenter.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87/ https://farmerspace.co/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%84%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3-%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%84%E0%B8%A3/,https://www.rakbankerd.com/agriculture/page.php?id=178&s=tblareablog,http://scollop.blogspot.com/p/blog-page.html