กุ้งกุลาดํา กำลังเป็นที่นิยมในตลาดจีน นิยมกิน กุ้งกุลาดํา จากประเทศไทย นอกจากนี้ไทยเคย เลี้ยงกุ้งกุลาดำ เป้นอันดับต้นๆของโลก
ปรึกษาฟรี คุณฟองไหม 082-250-8538
หจก.กู๊ดส์ นิวส์ ซีฟู๊ดส์ อินเตอร์เนชั่นแนล
เพิ่มตลาด รับซื้อ กุ้งกุลาดํา ส่งตลาดจีน
สืบเนื่องจาก นิตยาสารสัตว์น้ำ ฉบับที่ 315 ที่ได้ลงข่าวงาน “เสวนาเปิดตลาดและคลัสเตอร์ กุ้งกุลาดำ ภาคใต้” ปี 2558 ครั้งที่ 4 โดยกลุ่มคลัสเตอร์กุ้งดำภาคใต้ โดยภายในงานได้มีการเสวนาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจให้กับ กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งว่าควรจะเดินหน้าไปในทิศทางใดในธุรกิจ การเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำ
ทีมงานนิตยาสารสัตว์น้ำ จึงไม่รอช้าที่จะหาข้อมูลเกี่ยวกับ กระแส การเลี้ยง การเพาะพันธุ์ การส่งออก และที่สำคัญที่สุด ตลาด ในอุตสาหกรรม กุ้งกุลาดำ มาให้กับเกษตรกร และผู้ประกอบธุรกิจด้านต่างๆ ได้ลองตัดสินใจดูว่า จะกระโดดลงมาร่วมใน ตลาดกุ้งกุลาดํา ดีหรือไม่
ซึ่งทีมงานนิยสารสัตว์น้ำ ได้รับเกียรติจาก คุณฟองไหม แซ่ว่อง นักธุรกิจหญิงชาวไต้หวัน ที่ได้โลดแล่นอยู่ในวงการ ตลาดกุ้งกุลาดำ มาอย่างยาวนานกว่า 20 ปี ที่ให้โอกาสเข้าไปเยี่ยมชมฟาร์ม และเปิดเผยข้อมูลต่างๆ ในวงการอุตสาหกรรม กุ้งกุลาดํา ที่ตนเองกำลังดำเนินการอยู่ภายใต้ชื่อ “ห้างหุ้นส่วนจำกัด กู๊ดนิวส์ซีฟู๊ดส์ อินเตอร์เนชั่นแนล
คุณ ฟองไหม หรือ ฟองไหม แซ่ว่อง ผู้มีประสบการณ์ในวงการกุ้งมาตั้งแต่ปี 2531 ได้นำเอาระบบฟาร์มของที่ไต้หวันมาใช้กับเมืองไทย เริ่มต้นทำครั้งแรกที่จังหวัดภูเก็ต เพราะ ที่ภูเก็ตนั้นไม่มีฤดูหนาว พื้นที่เยอะ อีกทั้ง การเลี้ยงกุ้งกุลาดำ ยังมีไม่มาก ในสมัยนั้นจังหวัดภูเก็ตมีเพียง 3 ฟาร์มที่ทำ กุ้งกุลาดำ อยู่
เริ่มต้นนั้นคุณฟองไหมได้ เพาะพันธุ์ลูกกุ้งกุลาดำ จำหน่าย และค่อยๆขยายเพิ่มขึ้นมาทีละฟาร์ม จนในขณะนี้ได้หันมาทำส่งออกกุ้งน็อคเพิ่มขึ้นมาอีก แต่ต่อมาไม่นาน กุ้งกุลาดำ เกิดปัญหามากโดยเฉพาเรื่องโรค อีกทั้งราคาต่ำ จึงทำให้เกษตรกรผู้ เลี้ยงกุ้งกุลาดำ สู้ต่อไปไม่ไหว และเปลี่ยนมาเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมแทน
ทำให้ลูก กุ้งกุลาดำ ที่เพาะพันธุ์ออกมานั้นยอดขายต่ำลง คุณฟองไหมจึงได้เริ่มไปทำการตลาดที่ประเทศมาเลย์เซีย ทำให้ได้พบกับกุ้งสายพันธุ์ “โมซัมบิก” โดยในประเทศมาเลเซียนั้นมีความต้องการ กุ้งพันธุ์สายพันธุ์นี้เป็นจำนวนมาก เพราะมีความแข็งแรง เลี้ยงง่ายและ สีสันจะสวยกว่า นั้นจึงเป็นจุดเริ่มต้นทำให้คุณฟองไหมได้มาเริ่มเพาะพันธุ์และส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงกุ้งสายพันธุ์นี้อย่างจริงจัง
ความมั่นคงของตลาดผู้ รับซื้อกุ้งกุลาดำ จากจีน
ความเชื่อใจเป็นแนวทางสำคัญในการทำธุรกิจกับคนจีน เพราะ การซื้อขายระหว่างคุณฟองไหมกับประเทศจีนนั้น ความเชื่อใจกันจึงเป็นสิ่งสำคัญ เหมือนเป็นพี่น้องกัน คุณฟองไหมยกตัวอย่าง ในช่วงของเทศ กาลตรุษจีน ที่หยุด 8 วันนั้น ที่ประเทศจีนจะไม่สามารถติดต่อกันได้เลย
แต่ขณะเดียวกันทางคุณฟองไหมก็ยังต้องผลิต กุ้งกุลาดำ ส่งอยู่ ซึ่งต้องใช้เงินหมุนเวียนในการดำเนินการ กว่า 50 ล้านบาทซึ่งผู้ค้าทางจีนให้ความเชื่อใจในตัวคุณฟองไหมดูแลเรื่องเงินไว้ล่วงหน้า ดังนั้นกว่าที่คุณฟองไหมจะสามารถขยายตลาด และสร้างความเชื่อใจให้กับผู้ซื้อชาวจีนได้นั้นต้องใช้ระยะเวลา และความสื่อสัตย์อย่างมาก
การทำตลาดของคุณฟองไหม จะมุ่งเน้นไปที่ตลาดของประเทศจีน ในหัวเมืองสำคัญๆอย่างเช่น เซี่ยงไฮ้ กวางโจว ฮ่องกง เซิ่นเจิ้น และคุณหมิง ซึ่งแต่ละเมืองก็จะมีลักษณะความต้องการสินค้า และการตลาดที่แตกต่างกันออกไป เพราะเมื่อกุ้งถูกส่งไปถึงเมืองจีนนั้น ภัตราคาร และร้านอาหารจะนำกุ้งใส่ตู้โชว์ และให้ลูกค้าเลือกว่าต้องการกุ้งจากแหล่งผลิตที่ใด ซึ่งแน่นอนว่า กุ้งกุลาดํา จากประเทศไทยนั้น ยังคงได้รับความนิยมจากคนจีนอยู่เสมอ เพราะมีรสชาติที่อร่อยและสีสวย กว่ากุ้งประเทศอื่นๆ
ในประเทศไทยเรานั้นไม่ค่อยเจอปัญหาในเรื่องของการใช้ยาในกุ้ง แต่จะพบมากทางประเทศเวียดนาม แต่ทุกวันนี้ กุ้งของเวียดนามมีคุณภาพใกล้เคียงกับกุ้งของไทยอีกทั้งราคายังต่ำกว่าจึงทำให้สามารถแย่งตลาดจากไทยได้ แต่ผู้ซื้อจากจีนยังชื่นชอบในกุ้งของไทยอยู่เพราะ มีคุณภาพ สีสวยและปลอดยาแน่นอน
และคู่แข่งอีกเจ้าหนึ่งที่สำคัญคือ มาเลย์เซีย ซึ่งเป็นสถานที่ ผลิตกุ้งที่มีคุณภาพสูงมาก เพราะมาเลย์เซียนั้น ทำตลาดอยู่กับประเทศออสเตรเรีย และกลุ่มประเทศยุโรป สินค้าจึงต้องได้มาตรฐาน และมีคุณภาพสูง
ในขณะนี้จึงพูดได้ว่าประเทศไทยต้องเจอปัญหาว่ากุ้งของทั้งสามประเทศนั้นเป็นชนิดเดียวกันแต่ของไทยกลับมีราคาแพงกว่า ซึ่งตอนนี้ มาเลย์เซียและเวียดนามได้แย่งตลาดของเราไปแล้วถึงวันละ 2 ตัน
สายพันธุ์
สายพันธุ์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ เป็นกุ้งสายพันธ์ ที่ทางคุณฟองไหม ได้พัฒนาขึ้นมาเองจากประสบการณ์ตั้งแต่ปี 2531 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่แข็งแรง สีสวย ว่ายน้ำเก่ง โดยในการพัฒนาสายพันธุ์นั้น จะใช้ กุ้งพ่อพันธุ์เป็นกุ้ง โมซัมบิก
ส่วนแม่พันธุ์จะใช้ กุ้งกุลาดํา ของไทย เพราะจะทำให้กุ้งแข็งแรงและโตดีกว่า มีสีสวย ตามความต้องการของตลาด อีกทั้งยังมีการใช้ระบบ หมุนเวียนในบ่อ เพื่อให้กุ้งได้ว่ายน้ำตลอด แม่กุ้งที่ได้ก็จะมีความแข็งแรง และได้ลูกกุ้งที่ มีคุณภาพ และอัตรารอดสูงกว่าปกติ
โดยจะวางท่อเป็นสี่ มุมและให้น้ำเคลื่อนที่ โดยจะเปิดระบบหมุนเวียนน้ำวันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 5-20 นาที ซึ่งต้องดูจากความแข็งแรงของกุ้งด้วย ส่วนอาหารที่ให้นั้น จะเป็นอาหารสด เช่น อาร์ทีเมีย หรือเพรียง ให้ผสมกับวิตามินและอาหารเสริมและในส่วนของการอนุบาลลูกกุ้งนั้น
จะมีอาหารเสริมเฉพาะของคุณฟองไหม ซึ่งเป็นอาหารเสริมที่ใช้ในเด็กวัยอ่อน และแคลเซียมเสริมการเจริญเติบโต โดยจะทำให้กุ้งสามารถเติบโตได้มากกว่าปกติ ซึ่งลูกพันธุ์ที่ขายอยู่ในขณะนี้จะมีราคาอยู่ที่ตัวละ 18 สตางค์ เป็นกุ้งระยะ P 12
เครือข่ายเกษตรกรลูกบ่อในโครงการ กุ้งกุลาดํา ของคุณ
ในเครือข่ายผู้เลี้ยงกุ้งของคุณฟองไหมนั้นจะอยู่ในกลุ่มจังหวัดภาคใต้คือ สุราษธานี ตรัง กระบี่ สตูล พังงา และภูเก็ต ซึ่งทุกจุดจะมีทีมงานของคุณฟองไหมประจำอยู่ในทุกพื้นที่ โดยในขณะนี้มีลูกบ่ออยู่ประมาณ 400 บ่อซึ่งในอนาคตวางแผนไว้ว่า จะขยายบ่อให้ได้ จังหวัดละ 200 บ่อ
โดยทุกวันนี้คุณฟองไหมมองว่าการที่จะส่งออกกุ้งได้อย่างต่อเนื่องให้กับต่างประเทศนั้นจำเป็นต้องมีทีมเลี้ยงของตนเอง เพื่อที่จะสามารถผลิตกุ้งเข้าสู่ตลาดได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเกษตรกรที่ร่วมงานอยู่กับคุณฟองไหมนั้นส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเกษตรกรที่เคย ทำกุ้งขาวกับคุณฟองไหมมาตั้งแต่ช่วงแรกๆ ทำให้มีความเข้าอกเข้าใจ และสามารถเชื่อใจกันได้ เพราะการตกลงราคานั้นจะเป็นราคาที่ คุยกันแล้วว่า เกษตรกรต้องสามารถอยู่ได้และฟาร์มแพคกิ้ง ต้องอยู่ได้ด้วยเช่นกัน
เลี้ยงแบบใดก็ได้ขอให้ กุ้งกุลาดํา มีคุณภาพ
ในการเลี้ยงนั้น คุณฟองไหม จะไม่บังคับให้ลูกบ่อเลี้ยงวิธีใดเป็นหลัก เพราะแต่ละจังหวัดแต่ละพื้นที่ ก็มีภูมิประเทศ หรือคุณภาพน้ำที่ต่างกันออกไป ปัญหาที่พบก็ไม่เหมือนกัน ซึ่งจะเข้าไปช่วยในเฉพาะในช่วงการแต่งกุ้งก่อนจับขาย แต่ในการเลี้ยงปกตินั้น ต้นทุนที่เกษตรใช้นั้นจะตกอยู่ที่ กิโลกรัม ละ 100 บาท ขายได้กิโลกรัมละ 230บาท
และที่สำคัญคือ คุณฟองไหมจะไม่ส่งเสริมให้เกษตรลูกบ่อใช้ลูกยาเด็ดขาดเพราะหากส่งกุ้งตรวจสอบก่อน ส่งออกแล้วพบยา จะทำให้เสียหายทั้งทีมและติดแบล็คลิส
“การแต่งกุ้ง” จุดสำคัญในการส่งออกกุ้งน็อค
ในการแต่งกุ้งนั้น จะวิธีที่ช่วยเตรียมความพร้อมของกุ้งก่อนที่จะนำมาน็อคน้ำแข่ง ซึ่งจะช่วยให้กุ้งมีอัตรารอดจากการน๊อคกุ้งได้สูง การแต่งกุ้งนั้นสามารถช่วยให้กุ้งมีอัตรารอดสูงเกินกว่า 90% ได้จากปกติ ที่บางฟาร์มเมื่อน๊อคน้ำแข็งจะมีอัตรารอดเพียง 30%
โดยส่วนใหญ่กลุ่มผู้เลี้ยงในภาคใต้จะขาดความรู้ตรงจุดนี้เพราะ การเลี้ยงของภาคใต้จะใช้น้ำทะเลโดยตรงทำให้ไม่ต้องใช้แร่ธาตุเสริมในการเลี้ยง ผิดกับกลุ่มผู้เลี้ยงภาคกลางที่จะมีความรู้ตรงนี้ที่ละเอียด เพราะเป็นพื้นที่ทีที่ต้องใช้น้ำอย่างจำกัด จึงทำให้ต้องเสริมแร่ธาตุอยู่ตลอด จึงมีความรู้มากกว่า
ซึ่งในการแต่งกุ้งนั้นคุณฟองไหมจะแนะนำให้เกษตรกรใช้ โพแทสเซียม วิตามิน และแร่ธาตุรวม ใช้เวลาแต่งเพียง 10 วัน และปุ๋ยที่ใช้นั้นไม่ได้เจาะจงว่าต้องใช้ของแบรนใด คุณฟองไหมบอกอีกว่า อยากให้เกษตรกรผู้ เลี้ยงกุ้งกุลาดํา ทุกๆรายได้เรียนรู้วิธีการแต่งกุ้งนี้ เพราะจะมีประโยชน์ในการส่งขายต่อให้กับกลุ่มผู้ส่งออกอย่างมาก
ราคาในการรับซื้อของหจก.กู๊ดส์ นิวส์ ซีฟู๊ดส์ อินเตอร์เนชั่นแนล
ราคารับซื้อกุ้งใหญ่ ขั้นต่ำกิโลกรัมละ 300 ส่วนของกุ้งเล็กกิโลกรัมละ 200 ซึ่งเป็นราคาที่สามารถอยู่ได้ทั้งเกษตรกร และผู้ส่งออก เพราะในการจัดส่งออกนั้น จะมีต้นทุนที่สูง อีกทั้งหากจะสู้กับประเทศได้ เราต้องสู้กับราคาด้วย เพราะผู้ส่งออกก็จะถูกกดดันจากประเทศจีน
อีกทั้งคู่แข่งที่สามารถส่งกุ้งได้ในราคาที่ต่ำ แต่มีคุณภาพเท่าเทียมกับไทย เพราะค่าครองชีพของทางนั้นยังไม่สูงมาก คุณฟองไหมจึงฝากถึงเกษตรกรว่า อยากให้เห็นใจผู้ส่งออกด้วยว่า เราต้องถูกกดดันจากหลายทางเช่นกัน
ระบบ Packing ที่ได้มาตรฐานในการส่งออกไปจีน
ทีมจับกุ้งของคุณฟองไหมจะมีอยู่ทั้งหมด 10 ทีม ทีมละ 13 คน และมีรถขนกุ้งให้ทีมละ 4คัน อีกทั้งยังมีเจ้าหน้าที่ ที่จะออกไปเก็บตัวอย่างกุ้งจากฟาร์มต่างๆ เพื่อนำกลับมาทดลองน้อคน้ำแข็งว่าผ่านหรือไม่ ซึ่งทุกทีมจำทำงานภายใต้การวางแผนของคุณฟองไหม หลังจากนั้นจะนำกุ้งกลับมาและเริ่มกระบวนการแพคกุ้ง โดยมีขั้นตอนคือ
- ตรวจสอบคุณภาพน้ำในถังโดยวัดจากปากถังลงมา 20 เซนติเมตร ต้องได้อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส
- นำกุ้งมาล้างทำความสะอาด และนำมาชั่งน้ำหนักว่าตรงกับที่ระบุมาจากปากบ่อหรือไม่
- นำกุ้งลงบ่อ บ่อละ 110 กิโลกรัม
- ตรวจสอบขนาดกุ้งว่าตรงตามที่ปากบ่อระบุมาหรือไม่ โดยจะคัดเอากุ้งที่ไม่ได้ขนาดออก
- จะนำกุ้งที่คัดเรียบร้อยมา เลี้ยงไว้ในบ่อก่อน โดยจะเลี้ยงที่อุณหภูมิน้ำ 20 องศาเซลเซียส และจะมีการหมุนเวียนน้ำถ่ายของเสียออก เพื่อให้น้ำสะอาดอยู่เสมอ โดยน้ำที่ใช้จะเป็นน้ำที่สูบขึ้นมาจากทะเลโดยตรงและจะผ่านการกรองเพียงอย่างเดียว ซึ่งน้ำจะมีความเค็มอยู่ที่ 30 ppt
- หลังจากนั้นจะเริ่มน็อคกุ้งโดยลดอุณหภูมิทุก 1 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 1 องศาเซลเซียส จนถึงอุณหภูมิ 17 องศาเซลเซียส หรือตามความแข็งแรงของกุ้ง โดยจะดูว่ากุ้ง นอนที่อุณหภูมิเท่าไหร่ ยิ่งอยู่ได้ที่อุณหภูมิต่ำมากเท่าไหร่ อัตรารอดก็จะยิ่งสูงมากเท่านั้น
- บรรจุลงกล่องโฟม พร้อมน้ำแข็งแห้ง และ ขนส่งต่อไปยังสนามบิน
หัวใจของการส่งออก กุ้งกุลาดํา ไทย ไปจีน
ในสมัยก่อนนั้นคุณฟองไหม ต้องอาศัยบริษัทอื่นในการแพคกุ้งส่งออกซึ่งจะอยู่ที่ กรุงเทพฯ แต่ต่อมามีปัญหาค่อนมากในเรื่องของไฟลท์บิน และการขนส่ง จึงทำให้ต้องตั้งโรงงานแพคกิ้งเป็นของตัวเอง โดยปัญหาในเรื่องของไฟลท์บินนั้นจะมีปัญหามากรักษาเวลาในการส่งไม่ได้ เพราะกุ้งอ๊อกจะอยู่ได้แค่ 12 ชั่วโมง
ถ้านานกว่านั้นอัตราการรอดของกุ้งน้อยลง เพราะเมื่อกุ้งฟืนจากยาสลบ กุ้งจะต้องการอ๊อกซิเจน แต่อ๊อกซิเจนที่อยู่ในกล่องนั้นจะไม่เพียงพอกับกุ้ง ยกตัวอย่าง แพ็คกุ้ง 100 กล่อง ใช้เวลาในการแพ็ค 1 ชั่วโมง
ถ้าเป็น 200 กล่องใช้เวลาในการแพ็ค 2 ชั่วโมง หลังจากนั้นเราจะนำส่งสนามบินใช้เวลาอีก 2 ชั่วโมง อยู่บนเครื่องบินใช้เวลา 5 ชั่วโมงและกว่าปลายทางจะนำกุ้งไปใช้ต้องรอเวลาอีก 2 ชั่วโมง
รวมระยะเวลาทั้งหมดประมาณ 11-12 ชั่วโมง เป็นเรื่องปกติ และหลังจากนั้นกุ้งจะค่อยๆฟื้น หากเวลาเกินกว่านั้นอ๊อกซิเจนจะไม่พอ จึงทำให้กุ้งตาย ดังนั้นการบริหารเวลาจึงสำคัญมากกับการส่งออกกุ้งน๊อค
กุ้งต้มอีกทางเลือกหนึ่งของกลุ่มผู้เลี้ยง และ ผู้ส่งออกกุ้งกุลาดํา
นอกจากทางบริษัทของคุณฟองไหมดำเนินการในด้านธุรกิจกุ้งน็อคส่งออกแล้วในเวลาเดียวกันก็ได้ลองพัฒนาการทำกุ้งต้ม โดยได้ร่วมมือกับบริษัท ไทยรอยัลฟรอเซนฟู้ด จำกัด หรือบริษัท TRF ในปัจจุบัน ในปัจจุบันประสบผลสำเร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ในปีแรกนั้นได้ทดลองทำกุ้งต้ม กับบริษัท TRF จังหวัดตรัง หรือบริษัท ไทยรอยัลฟรอเซนฟู้ด จำกัด ในปัจจุบัน เนื่องจาก สินค้ากุ้งอ็อกไม่สามารถกระจายได้อย่างทั่วถึง จึงต้องมีกุ้งต้มเสริมเข้าไป ซึ่งกุ้งต้มนั้น จะนำกุ้งเป็นๆ ส่งไปที่โรงงาน เมื่อทำความสะอาดล้างน้ำเสร็จแล้วก็จะนำไปต้มเลย
หรือในบางครั้งก็จะต้มแบบเป็นเป็นๆ เวลาที่ผู้บริโภคกิน จะมีความรู้สึกเหมือนกินกุ้งเป็นๆ ซึ่งแน่นอนว่ากุ้งต้มจะมีสีสันสวย ยิ่งถ้าเป็นโมซัมบิก จะเป็นสีแดง แบบที่คนจีนชอบโดยกุ้งต้มที่จำหน่ายอยู่ส่วนมากนั้นจะเป็นกุ้งไซส์เล็ก ขนาด 50-60 ตัว/โล แต่ในส่วนของเขต กวางโจว เซิ้นเจิ้น ฮ่องกง นั้น จะบริโภคกุ้งไซส์ใหญ่ ทำให้กุ้งไซส์ใหญ่นั้นจะนำมาทำกุ้งต้มน้อย
ตัวอย่างเกษตรกรในโครงการของคุณฟองไหม
การเลี้ยงกุ้งดำเลี้ยงไม่ยาก แต่ยากตรงการเปลี่ยนแปลงจากการเลี้ยงกุ้งขาวมาเป็นกุ้งดำยากในเรื่องของการลงบางและเลี้ยงนานขึ้นซึ่งคุณเปี๊ยกเลี้ยงกุ้งดำมาตั้งแต่ต้นกว่า 20 ปี เริ่มต้นจากการทำโรงเพาะฟักมาก่อนและจึงมาทำบ่อดินบนเกาะภูเก็ตทั้งหมด 47 บ่อ และที่จังหวัดใกล้เคียงอีก ผลผลิตต่อปีกว่า 500 ตัน
ขนาดบ่อ 4 ไร่ ปล่อยกุ้ง 80,000 ตัว/ไร่
การปู PE จะใช้เฉพาะขอบบ่อข้างใต้เป็นดินเหมือนเดิมเนื่องจากรักษาสภาพคันบ่อเท่านั้น เพราะกุ้งดำไม่เหมาะกับบ่อ PE ทั้งบ่อ กุ้งดำเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่หน้าดิน ซึ่งต่างจากกุ้งขาวที่บ่อต้องสะอาดอย่างเดียว หลังจากจับกุ้งแล้วจะทำการฉีดเลนแล้วแต่บ่อ
ถ้าบ่อรอบการเลี้ยงยังไม่ได้ก็ทำการฉีดเลนและมีการฆ่าเชื้อพื้นบ่อทุกครั้ง ถ้าเป็นบ่อที่เราจับปกติจะมีเลยก็ทำการฉีดเลนและฆ่าเชื้อเช่นกัน น้ำที่นำมาลงบ่อจะใช้น้ำสดเนื่องจากบ่อพักน้ำของฟาร์มจะเล็กจะใช้ตอนเติมเท่านั้นจึงต้องดึงน้ำสดเข้ามา 1.20 เมตร และฆ่าเชื้อที่มากับน้ำในบ่อทันที
ขนาดของกุ้งที่เลี้ยงในบ่อคือระยะโพสลาวา15 ความเค็มอยู่ที่ 24-25 pptในบ่อจะใช้ใบพัดโดยเฉลี่ย 6 ตัว เพื่อรวมเลนไว้กลางบ่อเพื่อสะดวกต่อการฉีดเลนหลังจากได้ผลผลิต
แผนการเลี้ยงให้ได้ผลผลิตกว่า 500 ตัน/ปี
ฤดูกาลนี้จะส่งขายตลาดจีนต้องเป็นกุ้งที่ใหญ่ โตเร็ว ทน คือ โมน่า กุ้งบ้านและบลูไน ระยะเวลา 1 ปี จะเลี้ยงกุ้งได้ 2 รอบ คือ พฤศจิกายน ถึง มีนาคม จะต้องจับกุ้งในช่วงนี้ ต้องลงกุ้งช่วงเดือน กรกฎาคม-ตุลาคม
การให้อาหารเราจะเลี้ยงแบบง่ายๆตามหลักวิชาการ จะมีผู้จัดการของแต่ละโซนซึ่งเป็นทีมวิชาการจะดูเรื่องของการให้อาหารโดยเฉพาะ โดยการเริ่มให้อาหารจาก 100,000 ต่อ อาหาร 1 กิโลกรัม ต่อ 1 วัน และค่อยให้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เริ่มแรกให้อาหาร 4 มื้อ
พอกุ้งมีอายุ 20 วันขึ้นไป จะให้วันละ 5 มื้อ และเมื่อกุ้งใกล้จับ ขนาด 30-40 ตัว/กิโลกรัม จะลดลงมาเหลือ 4 มื้อมีการสุ่มไซส์ทุก 7 วัน ถ้าหากกุ้งไม่สวยจะมีการแต่งน้ำโดยใช้โดโลไมท์
และมีการเติมจุลินทรีย์ที่ได้มาตรฐานระหว่างการเลี้ยง ผลผลิตต่อบ่อกว่า 6-7 ตัน ในระยะเวลาการเลี้ยง 130-140 วัน
การจัดการระบบของเสียภายในบ่อจะเป็นการถ่ายน้ำอย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งถ่ายครั้งละไม่เกิน 10 – 20 เซนติเมตร และฟาร์มจะมีแลปเป็นของตัวเองตรวจเช็คทุกสัปดาห์เพื่อที่จะแก้ไขปัญหาได้ทันและมีนักวิชาการจากบริษัทอาหารมาช่วยเสริมในส่วนของเช็คเชื้อในแลป
สารถึงเกษตรกรที่สนใจเลี้ยงกุ้งดำ
เกษตรกรส่วนมากคิดว่ากุ้งดำเลี้ยงยาก ไม่มีตลาดรองรับ แต่อยากให้ลองหันกลับมามองกุ้งดำดูบ้าง ถ้ามีตลาดแล้วความเสี่ยงในการเลี้ยงกุ้งดำน้อยกว่ากุ้งขาว การลงทุนน้อยกว่าแค่ระยะเวลามากกว่าเท่านั้น
ในเรื่องของการใช้อาหารในกุ้งดำอาจจะใช้น้อยกว่ากุ้งขาวด้วย การเลี้ยงกุ้งดำเลี้ยงแบบเดิมตามธรรมชาติไม่ต้องใช้ยาอะไรมากมายก็เลี้ยงได้เช่นกัน หากเกษตรกรสนใจก็พร้อมที่จะแนะนำให้คำปรึกษา
หากเกษตรกรท่านใดสนใจที่จะเข้าเครือข่าย เลี้ยงกุ้งกุลาดํา มาตรฐานส่งออกจีนทางคุณฟองไหมพร้อมให้ความรู้และคำแนะนำพร้อมทั้งรับซื้อกลับในราคาที่ยุติธรรม
คุณฟองไหมยังกล่าวทิ้งท้ายไว้อีกว่าหากทุกฝ่าย จับมือกัน ทั้งเกษตรกร ฟาร์มแพคกิ้ง และห้องเย็น การที่จะผลักดันกุ้งกุลาดํา ของไทยไปสู่ระดับสากลนั้นไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแต่เกษตรกรต้องมองเห็นตลาดเหมือนอย่างที่ผู้ส่งออกเห็นและร่วมมือกันหาจุดที่ทุกคนสามารถเดินไปด้วยกันได้อย่างมั่นคง
กุ้งกุลาดํา
, เลี้ยงกุ้งกุลาดํา, การเลี้ยงกุ้งกุลาดําในบ่อปูน, ตลาดกุ้งกุลาดำ, เลี้ยงกุ้งกุลาดำส่งจีน, รับซื้อกุ้งกุลาดำ, ซื้อกุ้งกุลาดำ, กุ้งดำ, เลี้ยงกุ้งดำ