กุ้งขาวแวนนาไม และก้ามกราม กำไรหลักแสน ลดต้นทุนกว่า 50% สไตล์ป้าเอ๋
ทางทีมงานนิตยสารสัตว์น้ำ มีโอกาสได้เข้าไปสัมภาษณ์ คุณสายทอง สระทองฮ่วน (ป้าเอ๋) เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งในพื้นที่ 95 ไร่ ที่ อ. กำแพงแสน จ.นครปฐม ถึง การเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม ป้าเอ๋เลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม มานานถึง 28 ปี ก่อนหน้านี้ประกอบอาชีพ ชาวนา และเป็นที่นามาก่อนทั้งหมด
ตอนที่ลูกๆของป้าเอ๋ยังเด็กก็จะมาช่วยทำนา หว่านข้าว แบกกระสอบเดินตามเรื่อยๆจนถึงคันนา แต่พอเริ่มเลี้ยงกุ้งต่างกันเลยทีเดียว ก่อนที่จะเลี้ยงกุ้งใครๆก็บอกว่าคนมีเงินเท่านั้นถึงจะได้รู้จัก การเลี้ยงกุ้งขาวด้วยตอนนั้นเธอไม่มีเงินที่จะเลี้ยงกุ้งจึงต้องทำนา ทำได้บ้างไม่ได้บ้าง แต่ถ้าทำนาไปเรื่อย ก็อาจจะส่งลูกๆเรียนไม่จบ
จึงหันมา เลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม เพื่อส่งลูกเรียนจนจบปริญญา เมื่อลูกของเธอเรียนจบก็มาช่วยกิจการ มากระจายหนี้ที่ลงทุนในการทำบ่อ เลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม เดิมมีพื้นที่ทั้งหมด 30 ไร่ ที่เหลือ 45 ไร่ เป็นพื้นที่เช่าทั้งหมด และมีแรงงานที่ช่วยเพียง 1 คน อยู่ที่บ่อ 40 ไร่ นอกจากนั้นก็จะเป็นคุณป้า ลูกสาว และลูกชาย เป็นคนดูแลทั้งหมด
และถ้าบ่อไหนที่ใกล้ๆขึ้นกุ้งป้าก็ต้องไปนอนเฝ้าบ่อ พื้นที่ 95 ไร่ ใช้คนดูแลเพียง 3 คนเท่านั้น
โดยจะมีเนื้อหาดังนี้
- กุ้งขาวแวนนาไม
- การเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม
- วิธีเลี้ยงกุ้งขาวให้โตเร็ว
- กุ้งแวนนาไม
- สารปรับสภาพน้้ำ
- ค่า pH ของน้ำ
- เลี้ยงกุ้งแวนนาไมและกุ้งก้ามกราม
- การปรับพื้นที่นามาเป็นนากุ้ง
- แร่ธาตุและอาหารที่เลือกใช้
- ติดต่อ คุณเมย์ โทร: 092-256-5358
การปรับพื้นที่นามาเป็นนากุ้ง
เดิมนาข้าวจะเป็นพื้นที่แปลงยาว และใหญ่ จะใช้พื้นที่ตรงคัน มาทำเป็นคันบ่อเพื่อเลี้ยง กุ้งจะไม่ปรับทั้งหมดเพราะค่าใช้จ่ายในการปรับค่อนข้างสูง เฉลี่ยออกมา 1 ไร่ ราวๆ 1 หมื่นบาท แต่ในการปรับของลูกชายป้าเอ๋จะประหยัดไปได้ครึ่งหนึ่ง
ใช้รถแม๊กโครขุดรอบบ่อ 2 ช่วง และ 2-3 ปี ค่อยทำใหม่อีกครั้ง มันจะแน่นกว่าเดิม เฉลี่ยไร่ละ 1 หมื่นบาท คือ จะค่อยๆทยอยทำ หมุนเวียนทำไป อย่างจับบ่อๆหนึ่งก็ได้กำไรราวๆ 4-5 แสนบาท แต่ยังไม่เยอะเหมือนฟาร์มอื่นๆ
แร่ธาตุ และอาหาร ที่เลือกใช้
ป้าเอ๋ เล่าว่า แต่ก่อนก็ไม่รู้ว่าแร่ธาตุ อาหารยี่ห้อไหนดี ช่วยอะไรบ้าง ก็เริ่มจากการลองผิดลองถูก จนมาเจอ “อะตอมมิค” คือ จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง เป็นจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดการเจริญเติบโตลงของแร่ธาตุในดิน และจะทำการหว่านเริ่มจากแร่ธาตุก่อน
เนื่องจากบ่อของป้าเป็นบ่อที่มีขนาดใหญ่พื้นที่ 10 ไร่ ใช้อยู่ที่ 10 ลูก หรือ 1ไร่ ต่อ 1 ลูก กระสอบละ 25 กิโลกรัม ที่เลือกใส่เพราะกุ้งมันลอกคราบดี เปลือกจะแข็ง จะใส่ทุกๆ 7 วันโกน ใส่จนกว่า กุ้งขาวแวนนาไม จะจับ
อาหารที่ใช่ก็จะใช้หัวเกลือ เวลาเราหว่านอาหารเราจะผสมหัวเกลือ เพราะจะได้ความเค็มพอประมาณ คือ การเตรียมบ่อเราจะใส่แร่ธาตุ จุลินทรีย์ และใส่หัวเกลือ
ทำไมต้องใช้จุลินทรีย์
พื้นบ่อที่เน่า เสีย และเหม็น ป้าเอ๋จะใช่สารปรับสภาพน้ำ “ตรากุ้ง 3ตัว” เมื่อล้างบ่อจะทำการหว่านสารปรับสภาพน้ำ ใช้ในสัดส่วนอยู่ที่ 1 ไร่ ต่อ 1 ลูก กระสอบหนึ่ง 50 กิโลกรัม และยิ่งถ้าใส่สารปรับสภาพน้ำก่อนที่จะปล่อยน้ำเข้าบ่อ
สารปรับสภาพน้ำ จะเข้าไปช่วยในเรื่องของการปรับสภาพดิน และสิ่งที่เกิดขึ้น คือ “ไรแดง” ที่ขึ้นในบ่อเมื่อใช้สารปรับสภาพน้ำ เพราะเมื่อหว่านสารปรับสภาพน้ำลงในบ่อที่เตรียมไว้ ช่วง 6-7 วันแรก ก่อนที่จะปล่อยกุ้งลงในบ่อจะมีไรแดงขึ้นเป็นจำนวนมาก เพราะ “ไรแดง”เป็นอาหารธรรมชาติที่ดีสำหรับการอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน
และช่วยประหยัดต้นทุนอาหารไปได้ถึง 1 สัปดาห์ เพราะจะปล่อยให้ลูกกุ้งกินไรแดงที่อยู่ในบ่อจนครบ 7 วัน จึงจะค่อยให้อาหาร และเลี้ยงกุ้งได้ประมาณ 1 เดือน ก็จะหว่านสารปรับสภาพน้ำอีก 1-2 ลูก ต่อพื้นที่ 5 ไร่ ปรับน้ำก่อนใส่แร่ธาตุ กับ จุลินทรีย์และหว่านสารปรับสภาพน้ำ “ตรากุ้ง 3 ตัว”
อัตราการปล่อย ที่ได้ไซส์ตามที่ตลาดต้องการ
ป้าเอ๋ เล่าให้ทีมงานฟังว่า ถ้าเอาลูก กุ้งขาวแวนนาไม มาลง 5 แสนตัว ก็จะมีการนำมาชำไว้อีกบ่อ ใส่ไว้ 20 ถุง พอได้ 2-3 เดือน ก็จะย้ายลงบ่อดิน ปล่อย กุ้งลงบ่ออยู่ที่ 2 แสนตัว การชำลูกกุ้งจะสามารถช่วยลดต้นทุนได้เยอะมาก อย่างรุ่นผ่านมาลงลูกกุ้ง 5 แสนตัว ได้ถึง 2 ตันกว่า
ภายในระยะเวลา 3 เดือน ไซส์ กุ้งขาวแวนนาไม จะอยู่ที่ 60 ตัว/กิโลกรัม ได้กำไร 9 หมื่นบาท และก้ามกราม 5 แสนตัว จะได้กำไรอยู่ที่ 8 หมื่นบาท เมื่อเลี้ยงผสมทำให้ได้กำไรมากขึ้น และจะคัดแยกระหว่าตัวผู้กับตัวเมียออกจากกันเพื่อส่งแพรับซื้อที่ ตลาดมหาชัย อย่างปล่อยอยู่ที่ 1 ล้านตัว เราจะลากเพียงครั้งเดียว
เพราะถ้าหากเราลากบ่อยๆ ก็อาจทำให้กุ้งตายได้ พอลากกุ้งก้ามกรามเสร็จก็จะได้ระยะของการลากกุ้งขาวพอดี ซึ่งระยะการเลี้ยงอยู่ที่ 2 เดือน แต่ถ้าต้องการให้ไซส์ใหญ่ก็จะต้องเลี้ยงต่อ 2-3 เดือน ถึงจะเป็นกุ้งไซส์นิ้วที่ตลาดต้องการ
เลือกใช้อาหารเพื่อให้ได้ กุ้งขาวแวนนาไม คุณภาพ
อาหารที่ป้าเอ๋เลือกใช้ คือ อาหารของ CP เพราะกุ้งขาวและก้ามกรามที่กินอาหารจะโตไว แข็งแรง ไม่แตกไซส์ น้ำหนักดี ทนทานต่อโรค และที่สำคัญได้ไซส์ที่ตลาดต้องการ ก่อนหน้านั้นก็เคยเอากุ้งอื่นมาเลี้ยง กินอาหาร ก็ไม่โตไม่แข็งแรง กินอาหารไม่ดี ตัวใหญ่จริงแต่น้ำหนักก็ไม่ได้ตามที่ต้องการ
โดยคุณภาพที่ออกมา ป้าเอ๋บอกว่า ชอบที่สุด คือ ไม่แตกไซส์ ไซส์เสมอกัน อย่างสมมุติเลี้ยงได้ 120 ตัว คนอื่นที่เลี้ยงไม่ใช้ใช้กุ้งและอาหารแบบป้าก็จะได้อยู่ที่ 60 ตัว แต่ป้าจะเลี้ยงติดอยู่ที่ 120 ตัวครบ คือ ติดดี ไม่แตกไซส์ ออกครบตามจำนวนที่ลงในบ่อ
และจะมีการให้อาหารทุกๆ 2 ครั้งต่อวัน และอาหารจะมีการเช็คโดยการที่ป้าเอ๋จะเอามือกอบอาหารที่อยู่ในบ่อว่าเหลือหรือไม่ ถ้าเหลืออาหารติดมาในมือก็จะทำการลดปริมาณอาหารให้น้อยลง และการอยู่รอดของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง คือ “กำไรที่ได้ตอบแทน” ช่วงที่ราคา กุ้งขาวแวนนาไม สูงๆ ได้กำไรถึงหลักแสน
แต่ช่วงที่ราคา กุ้งขาวแวนนาไม ไม่ค่อยดี ก็จะได้กำไรอยู่ที่ 7-8 หมื่นบาท อย่างกุ้งก้ามกราม มีคนมาซื้อ 200 กิโลกรัม ราคาที่ได้ก็อยู่ที่กิโลละ 400 บาท ถือว่าเป็นกำไรที่ได้ค่าอาหารคืน ป้าเอ๋เฉลี่ยกำไรออกมาโดย การลงทุนครั้งละ 5 หมื่นบาท ได้กำไรอยู่ที่ 3 บาท
โดยหักค่าใช้จ่ายเรื่องของค่ารถที่ขนส่งไปแพ 2 พันบาท เฉลี่ยออกมา 3 บ่อเท่าๆกัน ใส่วิตามินทุกอย่างก็ 5 หมื่นบาท อาหาร 1ตัน ก็ 36,000 บาท ก็กำไรอยู่ที่ 7-8 หมื่นบาท
น้ำคือปัจจัยสำคัญในการเพาะเลี้ยงกุ้ง
น้ำ คำสั้นๆที่มีความสำคัญและเป็นส่วนหนึ่งในการดำรงชีวิต เราปฏิเสธไม่ได้ว่าเราไม่สามารถอยู่ได้โดยไม่มีน้ำ เพราะน้ำคือชีวิต และการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำก็เช่นกัน และช่วงเดือน เมษายน-มิถุนายน จะเป็นช่วงที่รีบวิด จะเรียกว่าการกอบโกยน้ำให้ได้มากที่สุดเลยทีเดียว
เพราะเป็นช่วงที่น้ำแล้ง และเราจะต้องประคับประคองให้ได้ภาพใน 3 เดือน จึงต้องมีการปล่อยบางเป็นหลัก บ่อ 5-6 ไร่ เราจะปล่อยอยู่ที่ 100,000 -120,000 ตัว เพื่อการอยู่รอดของเราและกุ้ง เพราะการที่เราปล่อยหนาหรือเพิ่มจำนวนกุ้งลงในบ่อ
และยังมีการเติมน้ำเพิ่มในบ่อช่วงนั้นจะทำให้กุ้งต้องปรับตัว เกิดการแตกไซส์ อาจจะทำให้กุ้งเกิดอาการเครียด ไม่กินอาหารได้เลยทีเดียว และน้ำที่ปล่อยเข้ามาก็จะมีการปรับสภาพน้ำ
โดยการใส่สารปรับสภาพน้ำ ตรากุ้ง 3ตัว เพื่อช่วยในเรื่องของน้ำที่เน่า เสีย หรือกลิ่นเหม็นของน้ำ และที่สำคัญช่วยลดในเรื่องของโรค EMS อีกด้วย
ฝากถึงเกษตรกรผู้ที่เลี้ยงกุ้งในช่วงหน้าแล้ง
ป๋าเอ๋ แนะนำแนวทางให้กับเกษตรกรที่เลี้ยงกุ้งแล้วประสบปัญหา การเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม คือ จะต้องปล่อยให้บางเพื่ออัตราการรอด การเจริญเติบโตของกุ้ง อย่างส่วนตัวของป้าเอ๋ จะปล่อยอยู่ที่ 2-3 ตัว เพื่อไม่ให้กระทบในเรื่องของน้ำที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง และที่สำคัญเพื่อไม่ให้เกิดโรคต่างๆ
หากสนใจเยี่ยมชม หรือของคำปรึกษาได้ที่
คุณสายทอง สระทองฮ่วน หรือ ป้าเอ๋
ที่อยู่ 35หมู่ 5 ต. สระพัฒนา อ.กำแพง จ.นครปฐม
กุ้งขาวแวนนาไม กุ้งขาวแวนนาไม