ทุ่ม 50 ล้าน ผลิตโปรตีนจากหนอน BSF บริษัท แพชชั่นสเปซ จำกัด

โฆษณา
AP Chemical Thailand

 

ปกแพชชั่นสเปซ copy

ทุ่ม 50 ล้าน ผลิตโปรตีนจากหนอน BSF

บริษัท แพชชั่นสเปซ จำกัด

คุณสุวัฒน์ ตั้งสถาพรพันธ์ กรรมการ ผู้จัดการ บจก.แพชชั่นสเปซ
คุณสุวัฒน์ ตั้งสถาพรพันธ์ กรรมการ ผู้จัดการ บจก.แพชชั่นสเปซ

ในยุคโลกเดือด Global warming หลายคนปรับตัวอย่างรุนแรง เพื่อให้ชีวิตและธุรกิจอยู่รอด

คุณสุวัฒน์   ตั้งสถาพรพันธ์ นักอุตสาหกรรมผู้คร่ำหวอดกับ “อะไหล่” เครื่องจักรและธุรกิจติดตั้งแก๊สรถยนต์ ต้องนำเงินกว่า 50 ล้าน ลุยธุรกิจคาร์บอนต่ำตามกระแสโลกที่มาแรง ด้วยอุตสาหกรรมหนอนแมลงวัน BSF เป็นแห่งแรกของประเทศ

หนอนแมลงวัน
หนอนแมลงวัน

เพราะองค์ความรู้ (Knowledge) ด้านหนอนแมลงวันตกผลึกจึงกล้าลงทุนขั้นต้นด้วยตัวเลขขนาดนี้

ต่างจากเกษตรกรและนักลงทุนเพาะเลี้ยงหนอนแมลงวันอีกหลายพันคนไม่พร้อมที่จะลงทุนเชิงอุตสาหกรรมเหมือนเขา

“ ใน 5,000 คนที่เราเห็นมีรายใหญ่ไม่เกิน 10 ราย เมื่อเราเห็นว่าในผลิตภัณฑ์ตัวนี้มันสามารถทำเป็นโปรตีนหัวอาหารสัตว์ได้ ” คุณสุวัฒน์ เปิดเผยถึงแรงจูงใจในการลงทุนเชิงอุตสาหกรรมที่มีตลาดอาหารสัตว์และตลาดอาหารคนรองรับ

คำว่า อาหารสัตว์ หมายถึง มาตรฐานการผลิตและคุณภาพผลผลิต ซึ่งจะต้องใช้โนว์ฮาวหรือเทคโนโลยี

แม้แต่ “ ฟาร์ม ” เพาะเลี้ยงหนอนก็ต้องมาตรฐานที่ส่วนราชการกำหนด ดังนั้น จึงต้องลงทุน โรงเรือน และ บ่อเลี้ยง ให้ตอบโจทย์ทางธุรกิจ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

“เราทดลองทำบ่อเลี้ยง วิธีการเลี้ยง การให้อาหาร และอะไรต่าง ๆ แล้วหาค่าที่ดีที่สุดขึ้นมา ในหมวดอุตสาหกรรม จึงได้องค์ความรู้ว่าจะผลิตอย่างไรให้เป็นที่ยอมรับพร้อมให้ตรวจสอบเราจึงเก็บ

ค่าต่าง ๆ เป็นแบบแผน ” คุณสุวัฒน์ ยอมรับถึงความจำเป็นต้องทำให้มาตรฐาน ตรวจสอบได้

ขั้นตอนการเลี้ยงหนอนแต่ละระยะ

ตัวหนอน BSF
ตัวหนอน BSF

โดยเฉพาะการเลี้ยงหนอนแต่ละระยะจะต้องนำไปเข้า ห้องแล็บ  เช่น อายุ 19 วัน หรือ  21 วัน

พูดง่าย ๆ ว่าเทสต์ทุกเดือนทุกระยะ เพื่อดูว่า โปรตีน ต่างกันมากแค่ไหน จึงพบว่า หนอน BSF ในวงจรชีวิตของมันแต่ละช่วงอายุให้ค่าโปรตีนได้ตลอด ลึกลงไปจากผลเทสต์จะพบว่า “ สูตรอาหาร ” มีผลต่อปริมาณโปรตีนหนอนชัดเจน และพบว่าเมื่อใช้อาหารราคาแพงต้นทุนสูง และการจัดการเลี้ยงลำบากมากขึ้น ดังนั้น จึงต้องผลิตสูตรอาหารด้วยต้นทุนที่จะให้ได้โปรตีนจากหนอนตามที่ตลาดอาหารสัตว์ต้องการซึ่งวิธีการผลิตจะต้องอยู่ภายในมาตรฐานฟาร์มซึ่งเวลานี้ทางฟาร์มได้มาตรฐาน GAP  และ  SAP แล้วส่วนมาตรฐานของ

กรมปศุสัตว์ กำลังเร่งยกร่างระเบียบ ซึ่งคุณสุวัฒน์พร้อมที่จะร่วมกับสมาคมผู้เลี้ยงแมลง และกรมปศุสัตว์เพื่อร่วมกันผลักดันให้เกิดมาตรฐานฟาร์มหนอน BSF

พ่อแม่พันธุ์มาจากไหน

ระยะเป็นดักแด้
ระยะเป็นดักแด้

เรื่องพ่อแม่พันธุ์ ก็สำคัญมาก คุณสุวัฒน์ได้นำไข่จากฟาร์มต่างๆ เอามาผสมกันเพื่อป้องกันเลือดชิด ซึ่งเรื่องนี้ไม่มีปัญหา แต่เมื่อมันเป็น “ ดักแด้ ” 10-15 วัน หรือ ระยะ 4 เป็นช่วงสำคัญเพราะหากสภาพแวดล้อม ร้อน หรือ ความชื้น เกินไปมันจะ จำศีล นั่นเอง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

“ ในกระบวนการเลี้ยงที่ไหนก็เหมือนกันแต่สิ่งที่แตกต่าง 2 เรื่องใหญ่ 1.อาหารกินอะไรต้องได้อย่างนั้น และ 2.ธรรมชาติ 2 อย่างอยู่รวมกันอุณภูมิกับความชื้นต้องมองว่าอะไรเหมาะสมมากกว่า ” คุณสุวัฒน์ให้ความเห็น เพราะหน้าหนาวที่ผ่านมาหนอนไม่เดินมันช็อค หรือ จำศีล แต่พออากาศอุ่นขึ้นมันจะเริ่มขยับเหมือนมันรู้ล่วงหน้าเมื่ออากาศร้อนมากถึง 40 องศาเซลเซียส มันจะไม่ไข่ แม้จะเพิ่มความชื้นเข้าไปก็ยังไม่บรรลุเป้าหมายเท่าที่ควร และในทางวิชาการหากมีอะไรมารบกวนมากๆ มันจะเป็นตัวผู้มากกว่าตัวเมีย แต่ในช่วงระยะตัวหนอน (ระยะ2) จะเป็นช่วงที่มันทนมากขนาดนำไปลวกน้ำร้อนเพื่อแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์มันก็ไม่ตายง่าย ๆ ซึ่งเรื่องนี้คุณสุวัฒน์ให้ความเห็นว่า “ ตั้งแต่ตัวเดินได้จนไปถึงที่เราจะเก็บ 14 วัน ถ้าเราไปกระเทือนมันไป 1 สัปดาห์ จะทำให้กระบวนการนี้หยุดชะงักทุกขั้นตอน เราจึงต้องบริหารตรงนี้ให้ได้ ”

ระยะตัวหนอน BSF
หนอน BSF

ซึ่งหนอน BSF เป็นแมลงที่น่าอัศจรรย์มาก เพราะมันเป็นแมลงไม่เกิน 5 วัน แต่วงจรอื่น ๆ มากกว่า 40 วัน  ตัวผู้ผสมพันธ์แล้วตาย ตัวเมียออกไข่แล้วตาย ภายใน 5 วัน แต่ช่วงที่มันเป็นหนอนวัฏจักรที่ยาวทุกช่วงเวลาของมันเราใช้ประโยชน์ได้ทั้งหมดโดยเฉพาะการให้ โปรตีน แต่ละระยะ ดังนั้น คุณสุวัฒน์จำเป็นต้องออกแบบ “บ้าน” หรือ ที่อยู่อาศัยของหนอน BSF ให้ลงตัว  ด้านอุณภูมิความชื้นการเข้า-ออก ของอากาศให้เหมาะกับสภาพแวดล้อมแต่ละพื้นที่เพื่อให้การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์มีคุณภาพสอดรับกับวัตถุดิบอาหารแต่ละพื้นที่เพื่อให้ชุมชนเลี้ยงป้อนบริษัท หรือ แปรรูปเอง ป้อนตลาดชุมชนของตัวเอง บางพื้นที่มีธัญพืช เช่น ข้าวโพด หรือ ถั่วเขียวก็มีเครื่องอัดเม็ดอาหารสัตว์ให้

ผลิตภัณฑ์ต่างๆ จาก หนอน BSF

ผลิตภัณฑ์ BSF 2
ผลิตภัณฑ์ BSF

จึงไม่แปลกใจที่ คุณสุวัฒน์ เจ้าของ บริษัท แพชชั่นสเปซ จำกัด ได้ลงทุนฟาร์ม และโรงเรือน ประมาณ 5 ไร่ บนเนื้อที่ 17 ไร่ ที่หนองคายเงินลงทุน 10 กว่าล้าน และ ตั้งโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์เกือบ 30 ล้านบาท ที่อุดรธานี รวม ๆ ทั้ง 2 แห่ง 50 ล้านบาท โดยส่งเครื่องจักรแปรรูปจากประเทศจากจีน และญี่ปุ่นโดยคัดเลือกคุณภาพดีที่สุดเพราะคุณสุวัฒน์เก่งทางด้านนี้อยู่แล้ว

เพียง 4 ปี คุณสุวัฒน์พัฒนาเป็น 7 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ผงโปรตีน BSF, น้ำมันสกัด BSF, BSF แช่แข็ง ,BSFอบแห้ง, สารปรับสภาพดิน BSF, เปปไทด์จากโปรตีน BSF และอาหารเสริมสำหรับสัตว์เลี้ยง

คุณสุวัฒน์ และ ทีมงานถ่ายภาพคู่ผลิตภัณฑ์
คุณสุวัฒน์ และ ทีมงานถ่ายภาพคู่ผลิตภัณฑ์

เตรียมต่อยอดไปสู่อุตสาหกรรมอาหารสัตว์เพราะมีใบรับรองคุณภาพอาหาสัตว์ ใบรับรองคุณภาพน้ำมันสกัด BSF และใบรายงานผลการทดสอบผงโปรตีน BSF จึงง่ายต่อการขยายตลาด แม้แต่ น้ำมันสกัด ที่บีบจากหนอนตัวแห้งได้ 15% จากน้ำหนักก็นำไปผสมกับอาหารสัตว์หรือไขมันจากกรดลอริกอาจนำไปเคลือบเม็ดอาหารสัตว์ได้  ส่วนผงโปรตีนที่ได้จากการสกัดจะเป็นหัวอาหารอย่างดีสำหรับสัตว์

ผลิตภัณฑ์จาก BSF
ผลิตภัณฑ์จาก BSF

จึงเห็นได้ว่าทุกผลิตภัณฑ์มีตลาดทั้งคนและสัตว์รองรับ ดังนั้น ทางบริษัทจึงต้องเดินหน้าโครงการส่งเสริมเกษตรกรให้มีอาชีพเลี้ยงแมลงวัน BSF ขยะอินทรีย์ พืชไร่ หรือเศษอาหารต่าง ๆ จะเป็นอาหารของหนอน BSF ขยะไม่เน่าปล่อยก๊าซมีเทน สู่ชั้นบรรยากาศเพราะร่างกายของหนอนจะเปลี่ยนองค์ประกอบของก๊าซมีเทนและคาร์บอนได้ออกไซด์ให้เป็นโปรตีน เศษอาหารที่ย่อยแล้วจะนำไปทำเป็น ปุ๋ยอินทรีย์ และสารปรับสภาพดิน ทดแทนปุ๋ยเคมีลดก๊าซเรือนกระจก

โฆษณา
AP Chemical Thailand

จึงสรุปได้ว่า หนอนแมลงวันลาย BSF คือแมลงเพื่อมนุษย์ สัตว์และสิ่งแวดล้อมเพราะมันแปลงก๊าซเรือนกระจกต้นเหตุโลกเดือด เป็น โปรตีน เพื่อมนุษย์และสัตว์นั่นเอง

งานนี้ต้องยกเครดิตให้คุณอนุวัฒน์และทีมงานที่มีความวิริยะอุตสาหะ สถาปนาธุรกิจโปรตีนหนอน BSF แบบอุตสาหกรรมให้เป็นต้นแบบของประเทศ

สนใจร่วมธุรกิจหรือร่วมโครงการ โทร.063-7729065

 

ขอขอบคุณภาพและข้อมูลบาง บริษัท แพชชั่นสเปซ จำกัด

 

อ้างอิงนิตยสารสัตว์น้ำ ฉบับ 418 (มิ.ย 67) / นิตยสารสัตว์บก ฉบับ 374 (มิ.ย 67)