ปลากดคัง การเพาะ พันธุ์ปลากดคัง ขายได้ถึง 1 แสนตัว/เดือน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การเลี้ยงลูก ปลากดคัง

ปลากดคัง ยังคงเป็นปลาเศรษฐกิจที่ได้รับความสนใจจากเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาจากทั่วประเทศ ด้วยความที่เป็นสัตว์น้ำที่สามารถทำกำไรในการต่อรอบได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ ถึงแม้ว่าจะใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงที่นาน แต่ผลตอบแทนที่ได้ถือว่าคุ้มค่ากับการลงทุน ซึ่งถือว่าได้รับความนิยม

ทีมงาน นิตยสารสัตว์น้ำ จะพาท่านผู้อ่านไปพบกับฟาร์มเพาะ พันธุ์ปลากดคัง อีกหนึ่งฟาร์มที่มีประสบการณ์ในวงการ มากว่า 20 ปี และเป็นฟาร์มเพาะ พันธุ์ปลากดคัง เพียงไม่กี่ฟาร์มที่สามารถดำรงกิจการมาได้จนถึงทุกวันนี้ภายใต้ชื่อ วิวัฒน์ฟาร์ม เจ้าของ เฮียวิวัฒน์ หรือ คุณวิวัฒน์ เอกสุทธิ์ เจ้าของวิวัฒน์ฟาร์ม ที่ตั้งอยู่ที่ ต.เทพนคร อ.เมือง จ.กำแพงเพชร

1.การเลี้ยงลูกปลากดคัง
1.การเลี้ยงลูก ปลากดคัง

 

2.คุณวิวัฒน์-เอกสุทธิ์-เจ้าของวิวัฒน์ฟาร์ม-ผลิตลูกปลากดคังที่-จ.กำแพงเพชร
2.คุณวิวัฒน์-เอกสุทธิ์-เจ้าของวิวัฒน์ฟาร์ม-ผลิตลูก ปลากดคัง ที่-จ.กำแพงเพชร

แรกเริ่มเลยปี 2531 ได้ดำเนินกิจการทางด้านการเพาะเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย  จนในปี 2544 ได้มาจบลงที่ ปลากดคัง  เนื่องจากในยุคแรกๆ นั้นลูกปลามีราคาถึงตัวละ 5 บาท คุณวิวัฒน์จึงได้หันมาเพาะ พันธุ์ปลากดคัง อย่างจริงจัง โดยสั่งลูกปลาเริ่มแรกมาจำนวน 4,000 ตัว แต่การเลี้ยงลูกปลาเพื่อให้โตจนกว่าจะเป็นพ่อแม่พันธุ์ได้ต้องใช้ระยะเวลานาน

จึงต้องไปหาซื้อปลากดคังที่ชาวบ้านจับขึ้นมาจากแม่น้ำ แล้วนำมาทดลองเพาะพันธุ์ด้วยวิธีต่างๆ แต่ก็ยังไม่ประสบผลสำเร็จ จนปลาในบ่อชุดแรกที่เคยนำมาลงไว้เจริญเติบโต สามารถนำมาเพาะพันธุ์ได้  บวกกับตลอดเวลาที่ผ่านมาได้พยายามทดลองหาวิธีการต่างๆ จนสามารถเพาะพันธุ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงทำให้วิวัฒน์ฟาร์มสามารถเพาะพันธุ์ลูกปลากดคังขายส่งเข้าสู่ตลาดผู้เลี้ยงได้อย่างต่อเนื่อง และทำรายได้เฉลี่ย 2 แสนต่อปี

3.ปลากดคัง พันธุ์ปลากดคัง
3.ปลากดคัง พันธุ์ปลากดคัง

การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ และการพัฒนาสายพันธุ์

ปลาพ่อแม่พันธุ์ของทางฟาร์มส่วนหนึ่งจะเป็นปลาที่เพาะเลี้ยงขึ้นเองภายในฟาร์ม อีกส่วนจะรับมาจากชาวบ้านที่จับมาจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ซึ่งส่วนใหญ่จะรับเป็นปลาตัวผู้ เพราะจะได้ปลาที่แข็งแรง และโตดีกว่า ส่วนขนาดที่ใช้จะอยู่ที่ 1-3 กิโลกรัม/ตัว หรือมีอายุ 1-3 ปี เท่านั้น เพราะยิ่งปลามีขนาดใหญ่มากจะทำให้รีดไข่ออกมาได้ยาก

4.การเพาะพันธุ์ปลากดคัง
4.การเพาะ พันธุ์ปลากดคัง
บ่อเพาะพันธุ์ขนาด-7x2-เมตร
บ่อเพาะพันธุ์ขนาด-7×2-เมตร
บ่ออนุบาลขนาด-5x10เมตร
บ่ออนุบาลขนาด-5×10เมตร
การรีดไข่แม่พันธุ์
การรีดไข่แม่พันธุ์

การเพาะ พันธุ์ปลากดคัง

การเพาะพันธุ์ของทางฟาร์มจะเริ่มต้นตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ โดยจะใช้พ่อแม่พันธุ์ที่เลี้ยงเอาไว้ในกระชัง ซึ่งแต่ละกระชังจะมีอยู่ประมาณ 100 ตัว เมื่อจะเริ่มเพาะพันธุ์จะยกกระชังขึ้นมา แล้วสังเกตความพร้อมของพ่อแม่พันธุ์ จากนั้นจะแยกเอาพ่อแม่พันธุ์ที่พร้อมผสมพันธุ์แล้วขึ้นมาไว้ในบ่อปูนขนาด 7×2 เมตร  บ่อละ 5 แม่

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ซึ่งโดยปกติแล้วจาก 100 ตัว จะได้ขึ้นมาประมาณ 30 ตัว ส่วนพ่อแม่พันธุ์ที่เหลือก็จะเลี้ยงในกระชังต่อ เพื่อรอนำขึ้นมาเพาะพันธุ์ต่อไป หลังจากที่นำพ่อแม่พันธุ์ขึ้นมาแล้วจะนำขึ้นมาฉีดฮอร์โมนทั้งหมด 2 เข็ม คือ เข็มที่หนึ่งฉีดตอนบ่าย 2 เข็มที่สองฉีดตอนสองทุ่ม ห่างกัน 6 ชม. แล้วจึงทิ้งไว้ 10 ชั่วโมง จึงนำแม่ปลาขึ้นมาแล้วรีดไข่เตรียมไว้

ส่วนตัวผู้จะนำขึ้นมาแล้วผ่าท้องเอาน้ำเชื้อมาผสมกับไข่ที่เตรียมไว้ ขั้นตอนนี้จะใกล้เคียงกับการเพาะพันธุ์ปลาดุกบิ๊กอุย ซึ่งโดยปกติแล้วแม่ปลา 4-5 ตัว จะสามารถให้ไข่ได้ 1 กะละมัง เมื่อนำไข่กับน้ำเชื้อคนผสมกันเรียบร้อยแล้ว จะนำไปสาดลงในบ่อขนาด 5×10 เมตร แล้วให้อากาศ พร้อมกับสเปรย์น้ำไปด้วย ทิ้งเอาไว้ 24-30 ชม. ไข่ก็จะเริ่มฟักออกมาเป็นตัว โดยใน 1 บ่อ นั้น ปกติจะได้ลูกปลา 4-5 หมื่นตัว/บ่อ

5.การให้อาหารปลากดคัง
5.การให้อาหาร ปลากดคัง

การฝึกลูกปลา ให้กินไรแดงและอาหารเม็ด

หลังจากลูกปลาฟักออกมาจากไข่แล้วจะปล่อยทิ้งไว้อีก 4-5 วัน เพราะเป็นช่วงที่ลูกปลาจะอาศัยอาหารจาก Yolk ที่ติดมา จากนั้นลูกปลาจะเริ่มหลบเข้าตามมุมบ่อ เหลือไข่เสียไว้ตรงกลาง จึงจะตักเอาลูกปลาขยายไปบ่ออื่นๆ ต่อไป ส่วนไข่เสียก็จะดูดออก ในส่วนของลูกปลาที่แบ่งไปแล้วจะเริ่มให้ไรแดงเป็นอย่างแรก

ซึ่งไรแดงนั้นทางฟาร์มจะมีบ่อสำหรับเพาะเอาไว้โดยเฉพาะ เพื่อให้เพียงพอต่อลูกปลาที่ออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยจะให้ไปจนครบ 1 สัปดาห์ จนลูกปลาจะได้ขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร  จึงจะเริ่มฝึกให้ลูกปลากินอาหารเม็ดสำเร็จรูป โดยนำอาหารเม็ดไปแช่น้ำพอหมาด แล้วนำมาปั้นเป็นก้อนโยนให้เรื่อยๆ  จนกว่าลูกปลาจะตอดกินจนหมด

เมื่อลูกปลาอายุเข้าวันที่ 20 จึงจะให้เป็นอาหารเม็ดลอยน้ำ เพื่อเป็นการฝึกให้ปลาชินกับอาหารเม็ด จนลูกปลาอายุได้ 40 วัน จึงจะสามารถจำหน่ายได้

6.การได้รับใบรับรองมาตรฐาน-GAP-จากกรมประมง
6.การได้รับใบรับรองมาตรฐาน-GAP-จากกรมประมง
การแพ็คปลาเตรียมส่งลูกค้า
การแพ็คปลาเตรียมส่งลูกค้า

การขนส่งและกลุ่มลูกค้า

วิวัฒน์ฟาร์มเป็นฟาร์มที่ผลิตพันธุ์ปลา ภายใต้การรับรองมาตรฐานฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ทั้งระดับ safety level และ GAP จากกรมประมง จึงได้การยอมรับจากลูกฟาร์ม ทั้งภายในประเทศและภูมิภาคประเทศ ว่าเป็นฟาร์มเพาะ พันธุ์ปลากดคัง ที่มีคุณภาพ และมาตรฐาน โดยในปัจจุบันทางฟาร์มมีกลุ่มลูกค้าอยู่ทั่วประเทศ รวมถึงลูกค้าจากต่างประเทศด้วย อย่างเช่น มาเลเซีย เวียดนาม ลาว และจีน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ปลาที่ลูกค้าซื้อส่วนใหญ่ ทางฟาร์มจะเป็นฝ่ายจัดส่งให้ถึงที่ แต่จะมีลูกค้าบางส่วนที่จะมารับเองที่ฟาร์ม โดยการขนส่งทางฟาร์มจะแพ็คปลาใส่ลงในถุงแล้วอัดออกซิเจน โดยทั่วไปจะใส่ที่ความหนาแน่น 500 ตัว/ถุง แต่ถ้าเป็นปลาไซส์ใหญ่ก็จะบรรจุปลาลงไปให้บางลง เพื่อป้องกันปลาช้ำ

ขนาดของปลาที่ทางฟาร์มจำหน่ายอยู่ในปัจจุบันจะมีขนาด 1.2, 1.5 และ 2 นิ้ว ซึ่งจะมีราคาอยู่ที่ 1.5, 1.8 และ 2 บาท ตามลำดับ และจะแถม 5% หากให้ทางฟาร์มไปส่ง แต่ถ้ามารับด้วยตนเองจะแถมให้ถึง10% และหากนำปลาไปแล้วตายทั้งหมดก็จะมีการเคลมให้ เพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรไม่ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายเรื่องลูกปลามากเกินไป โดยเฉลี่ยภายในหนึ่งปีนั้นทางฟาร์มสามารถจำหน่ายลูกพันธุ์ได้ถึง 1 แสนตัว/เดือน

7.ลูกพันธุ์พร้อมจำหน่าย
7.ลูกพันธุ์พร้อมจำหน่าย

แผนการพัฒนาธุรกิจในอนาคต

วิวัฒน์ฟาร์มได้มีความคิดริเริ่มที่จะเพาะพันธุ์ปลาสลิด และเน้นการเพาะขยายพันธุ์ปลาสลิดในบ่อปูน และพัฒนาลูกพันธุ์ให้โตเร็ว และแข็งแรง มีคุณภาพ ทั้งนี้เพื่อลดอัตราการเสี่ยงต่อการติดโรค และการสูญเสียจำนวนลูกปลา โดยใช้วิธีการคัดเลือกปลาพันธุ์ที่ดีจากหลากหลายท้องถิ่นมาผสมข้ามสายพันธุ์  เพื่อให้เกิดพันธุ์ที่มีคุณภาพมากขึ้น และลดความเสี่ยงในการเกิดเลือดชิด

ในส่วนของปลากดนั้น เฮียวิวัฒน์มองว่ายังเป็นปลาที่น่าสนใจที่เกษตรกรจะหันมาเลี้ยง เพราะตลาดยังมีความต้องการอยู่มาก ยิ่งถ้าเป็นตลาดของปลาเป็น ปลาอ๊อก จะยิ่งได้รับความสนใจจากผู้บริโภค ซึ่งหากเกษตรกรท่านใดต้องการข้อมูล หรือความรู้ สามารถโทรเข้ามาปรึกษาได้เสมอ ไม่มีการหวงวิชาแน่นอน

ขอขอบคุณข้อมูล วิวัฒน์ฟาร์ม สามารถติดต่อได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 081-973-5671 หรือหากต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถเข้าไปได้ที่เว็ปไซต์ www.viwatfarm.com