ฟาร์มมัลลิกาบ้านแพ้ว เลี้ยงกุ้งฝ่าหนาว
หยุด “โรคขี้ขาว” ได้แล้ว ด้วยสารทดแทนยา
เมืองที่ตั้งริมฝั่งคลองระหว่างคลองดำเนินสะดวก ที่เชื่อมต่อระหว่างแม่น้ำท่าจีน กับแม่น้ำแม่กลอง คือ “ บ้านแพ้ว” จังหวัดสมุทรสาคร เป็นพื้นที่ราบ เหมาะแก่การปลูกพืชเศรษฐกิจระบบร่อง และเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด และน้ำกร่อย มีพื้นที่ 245.031 ตร.กม ประชากรปี 2564 จำนวน 100,426 คน
เนื่องจากเป็นอำเภอที่ไม่มีอุตสาหกรรมหนัก เป็นพื้นที่สี่เขียว ทำให้อาชีพเกษตร ประมง และอาชีพต่อเนื่อง กลายเป็นแหล่งเศรษฐกิจสีเขียว – เศรษฐกิจฐานรากของจังหวัด โดยเฉพาะ การเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม และมะพร้าวน้ำหอม กลายเป็นตัวหลักของอำเภอ
แต่ทั้ง 2 อาชีพ วันนี้มี “ปัญหา” หนักมาก กระทบต่อรายได้ของเกษตรกร และอาชีพที่เกี่ยวข้อง ซึ่งคนอยู่ในวงการหลายทศวรรษ อย่าง คุณวิวัฒน์ มหาวีโร เจ้าของ ร้านยิ่งยงวัฒนา ขายอาหารกุ้ง เป็นหลัก โทร.034-481-747 ยอมรับว่า การเลี้ยงกุ้งวิกฤต เพราะโรคระบาดอย่างขี้ขาว และการแคระแกรนที่หยุดได้ยาก “ทุกอย่างมีปัญหาทั้งหมด อยากให้รัฐบาล และเอกชนรวมกลุ่มมาปรึกษาหารือ โดยเฉพาะปัญหาจากลูกกุ้งที่คุณภาพลดลง เลี้ยงยากมาก ทำให้กระทบต่ออาหารกุ้งเป็นอย่างมาก ”

ลูกกุ้งขาว ที่เป็นปัญหาใหญ่ ถูกนำเสนอนายกรัฐมนตรีแพทองธาร และ รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 ในวาระที่ลงพื้นที่จังหวัดสงขลา โดยได้รับฟังข้อเสนอแนะ จากภาคอุตสาหกรรมห้องเย็น นำโดย นายธีรพงศ์ จันศิริ ซีอีโอ บมจ.ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป และ นายฤทธิรงค์ บุญมีโชติ กรรมการ บริหาร บมจ.อาร์ แอนด์ บี ฟู้ดซัพพลาย ได้เสนอแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมกุ้งไทยหลายเรื่อง โดยเฉพาะการเสนอ ให้รัฐซัพพอร์ตงบประมาณ 3,000 ล้านบาท ผ่าน กรมประมง เพื่อวิจัย และพัฒนา “พันธุ์กุ้ง” ให้มีคุณภาพมากขึ้น ซึ่งนายกอุ๊งอิ๊ง ถามว่า 40 ปี ของ ไทยยูเนี่ยน มีความรู้อะไรให้ชุมชน จะทำ CSR ที่เกี่ยวกับภูมิปัญญาเกษตรกรได้หรือไม่ คำตอบที่สวนทางกับคำถามของ คุณฤทธิรงค์ คือ ได้ดูแลชาวบ้านรอบโรงงาน ทั้งไทย และมุสลิม และให้ทุนการศึกษา ทั้ง ๆ ที่อุตสาหกรรมเจอปัญหา เรื่อง โรคมหัตภัย ทำลายกุ้ง จนผลผลิตตกต่ำหลายปี คำตอบนี้ไม่สัมพันธ์กับการเป็นเจ้าโลกด้านอุตสาหกรรมอาหารแช่แข็ง มูลค่า ปี 2567 ประมาณ 138,000 ล้านบาท
นายสัตวแพทย์ ณัชพล ศิลปศร ค้นพบสารทดแทนยาจากพืชรักษา “โรคขี้ขาว” ได้ผลจริง แบรนด์ พรี-ไบโอ

ตรงกันข้าม เอกชนคนตัวเล็กอย่าง นายสัตวแพทย์ ณัชพล ศิลปศร ผู้ซึ่งสนใจศึกษาค้นคว้าในด้านสัตวแพทย์ทางเลือก (Alternative Veterinary Medicine ) จนค้นพบสารทดแทนยาจากพืช ที่ใช้รักษา และป้องกันโรคขี้ขาวในกุ้ง ได้สำเร็จเป็นคนแรกใน ปี 2553 ใน ชื่อ แบรนด์ พรี-ไบโอ แต่ทางฟาร์มกุ้งนำไปใช้กันน้อย เพราะไม่เชื่อว่าจะได้ผลจริง 15 ปีแล้ว ที่ คุณหมอณัชพล ชูธง เรื่อง พรี-ไบโอ แต่คนส่วนใหญ่ไม่เชื่อ แต่ไม่ย่อท้อเพราะมีแรงบันดาลใจที่ว่า ทุกโรคไม่ว่าของคนหรือสัตว์สามารถรักษาหายได้ ถ้ารู้สาเหตุของโรคที่แท้จริงซึ่งคุณหมอน่าจะเป็นคนหนึ่งที่ควรได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ และเอกชน ในวงการอุตสาหกรรมกุ้ง
พอพูดถึง สัตวแพทย์ ต้องยอมรับว่าวิชาชีพนี้ เติบโตในอุตสาหกรรมปศุสัตว์ ระยะหลังบูมสุด ๆ ในวงการสัตว์เลี้ยงโดยเฉพาะ “แมวเหมียว” ยุคเจ้าของถูกยึดครองด้วยความเครียด สัตวแพทย์หลายคนพลิกบทมาเป็นเจ้าของโรงพยาบาลสัตว์เลี้ยงหลายอำเภอ ตรงกันข้ามสัตวแพทย์ในวงการอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ มีน้อยเพราะตลาดกระจุกตัวอยู่ในวงการกุ้งเป็นหลัก และสัตว์น้ำอยู่ในน้ำ การป้องกัน และกำจัดโรคต่าง ๆ ซับซ้อนมาก ๆ ต้องใช้ “องค์ความรู้พิเศษ” ที่เกิดจากการเรียนรู้จากของจริงล้วน ๆ
ดังนั้น การเดินบนถนนขรุขระเต็มไปด้วยขวากหนาม ในเรื่อง โรคขี้ขาวกุ้งขาว ล้วนมีความเสี่ยงทางวิชาชีพ และธุรกิจของหมอ แต่ หมอณัชพล เป็นคนใฝ่รู้ที่จะหา “สมมติฐาน” ของโรคขี้ขาว เพราะคนในวงการแม้จะรู้สาเหตุที่แท้จริง แต่ไม่มี โปรดักส์ ที่แท้จริงป้องกัน หรือรักษาโรคขี้ขาวในกุ้งได้
ผลิตภัณฑ์ พรี-ไบโอ สารทดแทนยาจากพืช มีคุณสมบัติอย่างไร

ต้องยอมรับว่า โรคขี้ขาว เริ่มพบเจอในปี 2552 และ เริ่มพบมากขึ้นในปี 2553 และคนส่วนใหญ่ คิดว่ามันเกิดจาก Vibrio parahaemolyticus ซึ่งก็ใช่อยู่ แต่ คุณหมอณัชพล ให้ความเห็นว่า Toxin ที่เชื้อสร้างขึ้นมา กลับเป็นสาเหตุสำคัญของโรคมากกว่า ดังนั้น สารทดแทนยาจากพืช แบรนด์ พรี-ไบโอ ของ คุณหมอณัชพล จึงมุ่งไปที่การเคลียร์ toxin ที่เชื้อสร้างขึ้นมา และทำให้กุ้งเป็นขี้ขาวมากกว่า
ดังนั้น คุณหมอจึงได้พัฒนาที่มุ่งป้องกัน เป็นเวอร์ชั่น 2 แต่จะทำอย่างไรให้ฟาร์มกุ้งขาวทั้งหลายกล้าใช้ในการป้องกันโรคขี้ขาว เพราะตอนนี้ทุกคนรู้แล้วว่าควรป้องกันไม่ให้เป็นโรคนี้ดีกว่า เพราะถ้าปล่อยให้เป็นแล้วก็จะรักษากันไม่ค่อยหาย เพราะเชื้อดื้อยาไปหมดแล้วทั้งประเทศ โดยเฉพาะฟาร์มที่เลี้ยงกุ้งสายพันธุ์โตเร็ว แบบหนาแน่น เป็นเป้าหมายหลัก
นักเลี้ยงกุ้งรุ่นใหม่ใน อ.บ้านแพ้ว คุณคอย ตัดสินใจใช้ผลิตภัณฑ์ พรี-ไบโอ มั่นใจว่าสามารถป้องกัน “โรคขี้ขาว” ได้จริง

ในที่สุดก็เจอนักเลี้ยงกุ้งคนรุ่นใหม่ บัณฑิตจาก มหาวิทยาลัยบูรพา ลูกชาวนากุ้งโดยกำเนิด คุณคณสรณ์ คงศีล หรือ คุณคอย ที่ช่วยคุณพ่อ และคุณป้าเลี้ยงกุ้งขาว ที่หมู่ 9 ตำบล หลักสาม อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร ดินแดนที่เป็นพื้นที่เก่าเสื่อมโทรม ของการเลี้ยงกุ้งขาว ที่คนในวงการรู้จักดี คุณคอย ตัดสินใจทดลองใช้ พรี-ไบโอ เพราะ คุณหมอณัชพล การันตีว่า ถ้าไม่ได้ผลไม่เก็บเงิน ในที่สุด คุณคอย ผู้ช่วยผู้ใหญ่ ลูกชาย อบต.บ้านเกาะ ก็เปิดใจ ให้สัมภาษณ์ นิตยสารสัตว์น้ำ และ เว็ปไซต์พลังเกษตร เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2568 ว่า “ ปกติผมทำกับคุณพ่ออยู่แล้ว อะไรดีเราก็จำ อะไรไม่ดีก็ไม่เอา จนเมื่อ 2 ปีที่แล้ว คุณป้าก็มาทำบ่อนี้ คุณพ่อผมเป็น คนดูแลเลี้ยงกุ้งใหญ่ประมาณ 44 ตัว ต้องมองให้ออกว่าปัญหาเกิดจากอะไร ขนาดบ่อติดกัน ปัญหาคนละแบบ พอผมเริ่มจับจุดได้มันก็อยู่ตัว เช่น บ่อของคุณพ่อไม่มี “ ตะกอน ” คุมน้ำง่าย แต่บ่อของผม มีตะกอนเยอะ ” เพราะพื้นปิดผ้า PE ไม่หมด คุมน้ำยาก เป็นบ่อขนาด 2 ไร่ น้ำลึก 2 เมตร ปล่อยลูกกุ้งโตไวของ CPF ประมาณ 2 แสนตัว
ต้องยอมรับว่า คุณคอย มีทักษะสูงในการเตรียมบ่อ เพราะบ่อกุ้งของคุณพ่อทั้งหมด เขาเป็นคนวางแผน เหมือนการสร้างบ้านให้กุ้ง อยู่สบาย “ ผมเตรียมบ่อให้คุณพ่อทั้งหมด เช่น เดินสายไฟ วางใบ ผมทำทุกอย่าง คุณพ่อเลี้ยงอย่างเดียว แต่เรื่องการเลี้ยงก็ลักจำมา ” คุณคอย เปิดเผยถึงประสบการณ์การเตรียมบ่อ ดังนั้น เมื่อเขาเลี้ยงเอง จึงกล้าทำ กล้าตัดสินใจ รอคุณพ่อไม่ไหวเพราะต้องดูแลหลายบ่อ

ในเรื่องการ เลี้ยงน้ำ เป็นเรื่องใหญ่ คุณคอยต้องสร้าง บ่อพักน้ำ เพื่อให้เพียงพอต่อการใช้น้ำไม่ว่าในสถานการณ์ปกติหรือฉุกเฉิน พูดง่าย ๆ ว่าต้องมีความมั่นคงเรื่องน้ำ โดยเฉพาะขณะเลี้ยง คุณคอยต้อง“ถ่ายน้ำ” ตลอด เพราะน้ำเก่าใส่อะไรลงไปแทบจะไม่ช่วยอะไรมาก แต่การถ่ายน้ำไม่ใช่แค่ช่วยให้กุ้งโตอย่างเดียวแต่มันช่วยลดเชื้อในน้ำด้วย ดังนั้น ไม่เกิน 2-3 วัน ต้องถ่ายหากไม่ถ่ายก็ต้องเติมน้ำเรื่อย ๆซึ่งน้ำจากคลองต้องผ่านการบำบัดอย่างดี
การให้ ออกซิเจน ก็ต้องใส่ใจ คุณคอย วางเครื่องดีน้ำ ตอนกุ้งยังเล็กก็เปิดใบเดียว 2 แขน พอกุ้งโตก็เปิด 2 ใบ ตอนกลางคืนเปิด 4 แขน เพราะการให้ออกซิเจนจำเป็นมาก จนค่า PH ไม่แกว่ง ตอนบ่าย 7.7 กลางคืน 7.7 ช่วงแดดดี 8 แต่ช่วงตี 1 เป็นต้นไปไม่ได้เช็คเพราะกุ้งไม่มีอาการ ดูหน้างานเป็นหลัก แต่อย่างไรก็ดี การวางใบพัดเครื่องตีน้ำก็มีผลเหมือนกัน “ อย่างบ่อนี้ต้องแก้เพราะมันกินน้ำเยอะไป ทำให้น้ำขุ่น ผมจัดการตามบ่อของพ่อ เพราะของเขาไม่มีผล แต่บ่อเรามีดินด้วย น้ำวนก็จริงแต่มันควักตะกอนขึ้นมา ต้องแก้เรื่องใบ ” คุณคอย ให้ความเห็น

ส่วนเรื่องอาหาร และ การให้อาหาร คุณคอย ใช้อาหารของ ซีพี เบอร์ 2 2S , 3S , 3P และ 4S ตามโปรแกรมผ่านออโตฟีด ที่ตั้งยากมากตอนกุ้งเล็ก ต้องยกยอทุกชั่วโมง เมื่อจับจุดได้ก็ต้องแก้ด้วยการเอาอะไรใส่ไว้ก้นถังพลาสติก จะได้ออกน้อย “ ตอนนี้กุ้งในบ่อมันยังกินไม่เยอะ กุ้งมีประมาณ 3 ตัน 5 ไซซ์ 62 ตัว/กก. อีกเดือนเดียวจับ เพราะตรวจอาทิตย์ที่แล้ว 98 ตัว อาทิตย์นี้เหลือ 68 ตัว ไซซ์มันลงฮวบ ๆ กุ้งซีพี ดีตรงนี้ กินแล้วมันโตปกติ 2 เดือน ได้ 50 กว่าตัว แต่นี่ติดหนาวเลยช้าไปนิดหนึ่ง ” คุณคอยยืนยัน คุณภาพลูกกุ้งซีพี ที่สัมพันธ์กับการให้อาหาร ดังนั้น คุณคอยตั้งเป้าไว้ว่าผลผลิตน่าจะถึง 6 ตัน จึงไม่มีเหตุผลที่จะเปลี่ยนกุ้ง และ อาหาร “ ไม่ได้ติดใจที่ซีพีอย่างเดียว ผมได้ทุกยี่ห้อ ก็ต้องดูบ่อด้วย อย่างตอนนี้ผมทำบ่อดินเพิ่ม ถ้าซีพีไม่รอดก็ต้องเปลี่ยนสายพันธุ์เหมือนกัน ” คุณคอย ให้ความเห็นการเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม ในเขตบ้านแพ้ว ซึ่งเป็นเขตปราบเซียน คุณคอยไม่ประมาท แม้จะมั่นใจประสบการณ์แค่ไหนก็ต้องหาอะไรมายึดเหนี่ยว
วิธีใช้ ผลิตภัณฑ์ “พรี-ไบโอ” ของคุณคอย
ดังนั้น จึงตัดสินใจใช้สารทดแทนยาจากพืช พรี-ไบโอ ของ คุณหมอณัชพล มาทดลองใช้ ในขณะที่คนอื่นไม่กล้า โดยนำมาคลุกกับอาหารตั้งแต่ลงกุ้งได้ 10 วัน ช่วงแรก ๆ ต้องแอบใช้ เพราะบ่อ ของคุณพ่อ เป็นขี้ขาวมาก่อน ซึ่งหลังจากใช้ปรากฏว่า ลำไส้ ใหญ่ขึ้น กินอาหารได้มากขึ้น พอนำไปตรวจ ลำไส้ไม่มีเชื้อ แต่ไปพบที่ตับ เพราะบ่อมีตะกอน ตอนนี้กุ้งอายุ 64 วัน ให้อาหารวันละ 175 กิโลกรัม พร้อม สารสกัดจากพืช พรี-ไบโอ และในเรื่องการบำรุงทั้งลำไส้ และตับพร้อมกัน หากกุ้งตัวขาวขุ่น ก็นำ SM1 แร่ธาตุรวมให้กิน 1-2 วัน ก็หาย แต่ช่วงกุ้งเล็กโพแทสเซียม และ อัลคาไลน์ ต่ำ ยังจับทางไม่ถูก ต่างจากแคลเซียม แมกนีเซียมในบ่อ ทะลุ 400 – 500 โดยไม่รู้ว่ามาจากไหน

อย่างไรก็ดี เรื่องเลน คุณคอยต้องดูดออกทุก 20 นาที โดยดูดครั้งละ 2 นาที ดูด 24 ชั่วโมง ป้องกันการเกิดมลพิษในบ่อจะเห็นได้ว่าคุณคอย ใส่ใจเรื่องน้ำ เรื่องออกซิเจน เรื่องของเสียในบ่อ จึงต้องจัดการตลอดเวลา แม้ต้องเสียค่าไฟ 2 หมื่นบาท/เดือน ก็ยอม เพราะเขาเห็นโทษจากการขาดออกซิเจน จากบ่อของคุณอา ที่เขาประหยัดไฟ เพราะเขาตีแขนเดียว พอกุ้งอายุ 70-80 วัน เขาเลยเปิด 2 แขน จนกุ้งลอยหัวอากาศไม่ดี เขาถึงมาเปิดเป็น 3-4 แขน คุณคอยไม่อยากให้มีปัญหากลางคัน หรือ หยุดชะงัก ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจขี้เหนียวเรื่องนี้ไม่ได้
เนื่องจากคุณคอย เป็นคนหนุ่มใฝ่รู้ จึงได้เรียนนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เหลือวิชาเดียว ก็จะจบได้ปริญญาบัตรใบที่ 2 ควบคู่กับทักษะการเลี้ยงกุ้ง ซึ่งเขาเห็นว่า ถ้ากุ้งไม่ไหวก็ต้องมีอาชีพเสริมเป็นการกระจายความเสี่ยงนั่นเอง
สนใจผลิตภัณฑ์ พรี-ไบโอ สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่
คุณคอย โทร. 094-462-5252
หรือที่ คุณหมอณัชพล ศิลปศร เบอร์โทร. 091-851-0406
อ้างอิง : นิตยสารสัตว์น้ำ ฉบับ 426/2568 (ก.พ 68)