ยกระดับอุตสาหกรรมปลานิล ด้วยกลไกสมาคม

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ลุ่มน้ำไนล์ อาฟริกา มีความหลากหลายปลาน้ำจืดหลายชนิด โดยเฉพาะปลา NILE TILAPIA ในวงศ์ CICHLIDAE ชุกชุมมากๆ

ในไทยรู้จักในนามซึ่งเป็นชื่อพระราชทานโดย ร.9 “ปลานิล” เป็นปลาฝูง ทนต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว สามารถดำรงชีวิตได้ในช่วงอุณหภูมิ 11-42 องศาฯ ทนต่อ pH ของน้ำที่เปลี่ยนแปลง ทนต่อความเค็มของน้ำได้สูงถึง 20 ppt. จึงเลี้ยงในน้ำกร่อยได้ แต่มันจะตายเมื่อ pH น้ำ 5.5-6.5 เป็นปลาที่กินอาหารได้ทั้งพืชและสัตว์ และผสมพันธุ์วางไข่ทั้งปี

เมื่อ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลฯ (ร.9) ได้รับการถวายปลานิลจากสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ 50 ตัว เมื่อ 25/3/08 จากนั้น ร.9 ทรงทดลองเลี้ยง และได้พระราชทานลูกปลาขนาด 3-5 ซม. จำนวน 10,000 ตัว ให้ กรมประมง ไปขยายพันธุ์เผยแพร่แก่ประชาชน จนได้รับการพัฒนาจากภาครัฐและเอกชน จนเป็นปลาเศรษฐกิจทุกวันนี้

1.ปลานิลตัวใหญ่ อ้วน ได้น้ำหนัก
1.ปลานิลตัวใหญ่ อ้วน ได้น้ำหนัก

การเพาะเลี้ยงปลานิล

โดยเฉพาะการพัฒนา “พันธุกรรม” ล้ำหน้า ตอบโจทย์ทางธุรกิจจนดังระดับโลก ส่งออกพันธุกรรมไปหลายประเทศ ขณะที่ “รูปแบบ” การเพาะเลี้ยงก็ล้ำหน้า ผลผลิต/บ่อเพิ่มขึ้น ด้วยรูปแบบการเลี้ยงแบบพัฒนาเต็มรูปแบบ คู่ขนานกับการเลี้ยงกึ่งพัฒนาของเกษตรกรรายย่อย/รายกลาง ดังนั้นผลผลิตทั้งหมด/ปี ที่กระจายจากฟาร์มทั่วประเทศ กลายเป็นปลาเนื้อขาวที่ทรงคุณค่าทางโภชนาการ ให้คนทุกระดับไม่ขาดโปรตีน

แต่ท่ามกลางการพัฒนาเชิงอุตสาหกรรม ก็ซุก “ปัญหา” มากมายต่างๆ ไว้ในห่วงโซ่ธุรกิจ ดุจดินพอกหางหมู ถ้าไม่รีบขจัดปัญหา จะกระทบต่ออุตสาหกรรมไบโอว่าด้วยปลานิลหลายด้านด้วยกัน ดังนั้นนักพัฒนาและนักธุรกิจหลายคนต่างกระตือรือร้นที่จะระดมพลังจากคนในห่วงโซ่ธุรกิจ มาช่วยกันแก้ปัญหาและพัฒนาให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค

2.คุณอมร เหลืองนฤมิตชัย เจ้าของมานิตย์ฟาร์ม
2.คุณอมร เหลืองนฤมิตชัย เจ้าของมานิตย์ฟาร์ม

การพัฒนาพันธุ์ปลานิล

คุณอมร เหลืองนฤมิตชัย เจ้าของมานิตย์ฟาร์ม ประธาน บริษัท มานิตย์กรุ๊ป นักพัฒนาพันธุกรรมปลานิลเพศผู้มาตรฐาน ต่อยอดจากสถาบันเอไอที ทำให้ลูกปลาโตไวกว่าอดีต 120% เป็นการปฏิวัติพันธุกรรมต้นน้ำโดยเฉพาะ ก่อให้แรงกระเพื่อม (KAOS) ไปยังกลางน้ำ และปลายน้ำ ในเชิงธุรกิจโดยตรง ซึ่งคนในวงการยอมรับ แต่โดยภาพรวม 10 กว่าปี ที่ไทยเลี้ยงปลานิลเชิงพัฒนา กลับปรากฏว่า “ผลผลิต” ยังอยู่ที่ประมาณ 2 แสนตัน/ปี เพราะแต่ละปีเจอปัญหาเรื่องโรค น้ำแล้ง หรือน้ำเสีย อะไรเหล่านี้ เป็นต้น

โฆษณา
AP Chemical Thailand

แม้แต่การที่กรมประมงต้องการยกระดับมาตรฐานการเลี้ยงด้วย GAP ให้มีฟาร์มมาตรฐานมากขึ้น ก็ทำไม่ได้เท่าที่ควร หรือการที่จะลงทุนผลิตเนื้อปลานิลฟิลเลย์เพื่อส่งออกด้วยมาตรฐานต่างๆ ก็ติดปัญหาหลายประการ แต่ปลานิลราคาต่ำ จากต่างประเทศก็เข้ามาแย่งตลาดในไทยตลอดเวลา

จึงเห็นได้ว่า “ปัญหา” ทั้งหมด จะได้รับการแก้ไข ด้วยการรวมคนในวงการที่มี “คุณสมบัติ” พร้อม มาทำงานร่วมกันในรูป “สมาคม” โดยแบ่งบทบาทแต่ละคนให้ตรงกับความสามารถ ซึ่งความเคลื่อนไหวต่างๆ อยู่ในสายตากรมประมงมาตลอด

3.คุณวอร์เรน แอนด์ดริว เทอร์เนอร์ น้ำใสฟาร์ม
3.คุณวอร์เรน แอนด์ดริว เทอร์เนอร์ น้ำใสฟาร์ม

การจัดตั้งสมาคมปลานิลไทย

แกนนำในการผลักดันให้เกิดการเดินหน้าในช่วงแรกๆ มีไม่กี่คน ได้แก่ คุณอมร เหลืองนฤมิตชัย นายกสมาคมปลานิลไทย และคณะกรรมการ อาทิ คุณพรชัย บัวประดิษฐ์, คุณชาคริต ชูทอง, คุณเด่น โพธิ์สิงห์, คุณปรัชญา นวไตรลาภ และ คุณชูชัย กาญจนมยูร เป็นต้น

จนกระทั่งมีฟาร์มต่างๆ เข้าร่วมมากขึ้น จนได้ “หลักการ” ทำงานแบบสมาคม ได้แก่ 1.ความโปร่งใส โดยเฉพาะการใช้เงินของสมาคม ที่สามารถตรวจสอบได้ 2.ต้องทำเพื่ออุตสาหกรรมส่วนรวม ไม่ใช่เพื่อคนใดคนหนึ่ง หรือฟาร์มใดฟาร์มหนึ่ง 3.การทำงานต้องมีประสิทธิภาพ มีผลงานเชิงประจักษ์ จับต้องได้ และ 4.ต้องมีครีเอทีฟ หรือผลงานสร้างสรรค์

“ผมทำงานอยู่ในธุรกิจครอบครัวมาจะ 30 ปี ก็ไม่รู้ว่าสมาคมเขาทำยังไง โทรหาคนโน้น คนนี้ ให้ช่วยแนะนำ มีตำแหน่งอะไรบ้าง หาคนรับผิดชอบอะไรบ้าง ก็ได้กรรมการมาหน้าตาแบบนี้ ที่จริงคนที่ช่วยคิด ช่วยทำงาน มากกว่านี้ เพียงแต่เราทำโครงสร้างให้เล็ก ให้กระชับ ไม่ใช้กรรมการเยอะ เมื่อเจอปัญหา องค์ประชุมจะไม่ครบ ทำงานไม่ได้ ก็พยายามหาคนที่มีใจ มีสตางค์ ซื้อข้าวเอง เดินทางเอง มีเวลาจัดการตัวเอง พูดว่าออกจากฟาร์มแล้ว ปลาไม่ตาย มีคนดูแล และมีใจอยากทำงานด้วยกัน” คุณอมร หรือ “คุณอาร์ต” เปิดเผยต่อผู้เข้าร่วมประชุม เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2565 ณ โรงแรม ซันไรส์ ลากูน โฮเทลแอนด์กอล์ฟ

4.นายประพันธ์ ลีปายะคุณ รองอธิบดีกรมประมง
4.นายประพันธ์ ลีปายะคุณ รองอธิบดีกรมประมง

การสถาปนาเปิดตัวสมาคมปลานิลไทย

การสถาปนาเปิดตัว “สมาคมปลานิลไทย” ที่มี คุณอมร เหลืองนฤมิตชัย เป็นนายกสมาคมฯ ได้รับเกียรติจากกรมประมง โดยมี นายประพันธ์ ลีปายะคุณ รองอธิบดีกรมประมง กล่าวสุนทรพจน์ให้กำลังใจ และแสดงความยินดี เพราะ “คนปลานิล” มีพลัง เห็นได้จากการบริจาคโลหิตถวายเป็นพระราชกุศลของพ่อหลวง รัชกาลที่ 9 จึงไม่ต้องแปลกใจที่มีการรวมพลังจัดตั้งสมาคมขึ้น ทำให้เกิดความสัมพันธ์กับกรม ทุกเรื่องจะง่ายขึ้นมาก ธุรกิจปลานิลก็จะฉับไวเหมือนประเทศอื่น

โฆษณา
AP Chemical Thailand

“ต้องเรียนยืนยันว่าทางกรมประมงยินดีที่จะทำงานกับสมาคมปลานิล รวมถึงกลุ่มเกษตรเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทุกกลุ่ม เพื่อให้อุตสาหกรรมเดินไปได้ โดยปกติกรมประมงมีหน่วยงาน ตั้งแต่วิจัยพัฒนาสายพันธุ์ เรื่องเพาะเลี้ยง เรื่องส่งเสริม แต่ด้วยความหลากหลายกระจัดกระจาย ต้องยอมรับว่าสู้เอกชนที่ไปไกลกว่าไม่ได้ในบางเรื่อง แต่ด้วยภารกิจกรมประมงที่ครอบคลุมเกษตรกรทุกระดับ ทำให้เราต้องแบกรับภาระหลายด้าน เพราะฉะนั้นถ้ามีการรวมกลุ่มพูดคุย ทำแล้วดี ได้ประโยชน์ กรมก็ยินดี” รองอธิบดี ยืนยัน

5.การให้ปลาคายไข่ออกมา
5.การให้ปลาคายไข่ออกมา

การผลิตปลานิล

ปัจจุบันสัตว์น้ำจืดประมาณ 450,000 ตัน/ปี 50% เป็นปลานิล และปี 65 จะเพิ่มเป็น 3 แสนตัน ซึ่งกรมประมงพร้อมส่งเสริม และพร้อมประสานงานกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะ “มาตรฐาน” การผลิตปลานิล (มกษ.) อาจต้องปรับแก้บางอย่าง แต่ต้องสอดคล้องกับมาตรฐานปลานิลโลก อย่าง ปลานิลอินทรีย์ จะต้องใช้ลูกพันธุ์ที่เกิดจากธรรมชาติ แล้วนำมาอนุบาล แล้วเลี้ยงเป็นปลาเนื้อ แน่นอนย่อมไม่สำเร็จทางธุรกิจ เพราะผลผลิตน้อย หรือการเคาะปากแม่ปลานิลแล้วเขย่าในน้ำ เพื่อให้ปลาคายไข่ออกมา ก็เป็นการทรมานสัตว์ ซึ่งจะต้องแก้มาตรฐานสินค้าเกษตร (มกอษ.)

“ผมคิดว่าถ้าเราทำงานด้วยกัน ประเด็นไหนที่เป็นอุปสรรค ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ แม้ขัดกฎหมายรองในระดับ ระเบียบกรม ประกาศกระทรวง สามารถแก้ไขได้ แต่ถ้าขัดแม่บท พรบ.เป็นเรื่องยาก” รองอธิบดี ให้ความเห็นเรื่องแก้กฎหมายที่ขัดขบวนการพัฒนา และได้ทำพิธีเปิดป้ายสมาคม ซึ่งถือว่า 4 ธ.ค. คือ วันประวัติศาสตร์ของชาวปลานิลนั่นเอง

6.ผลผลิตปลานิลพร้อมจำหน่าย
6.ผลผลิตปลานิลพร้อมจำหน่าย

ด้านตลาดและช่องทางจำหน่ายผลผลิตปลานิล

กว่า 3 ทศวรรษ ผลผลิตปลานิลโลกเพิ่มขึ้นทุกปี ผู้ผลิตอันดับ 1 ของโลก คือ จีน 2.อินโดนีเซีย จากนั้นก็มีประเทศต่างๆ ตามมา เช่น อียิปต์ บังกลาเทศ ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม ไทยตกไปอยู่ที่ 7 หรือ 8 ถูกหลายประเทศแซง ดังนั้นการเกิดสมาคมปลานิลก็เพื่อยกระดับการพัฒนาตลอดห่วงโซ่การผลิต เพื่อให้ปลานิลเป็นอุตสาหกรรมเกษตรที่มีศักยภาพ สามารถแข่งขันในตลาดโลกอย่างมีประสิทธิภาพ

อ้างอิง : นิตยสารสัตว์น้ำ ฉบับที่ 401