ความสำเร็จของการ เลี้ยงกุ้งขาว จากการใช้ ลูกกุ้งซีพี อนุบาล เปรียบเทียบต้นทุนและกำไร (แบบละเอียด)

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ความสำเร็จของการเลี้ยงกุ้งจากการใช้ ลูกกุ้งซีพี อนุบาล เปรียบเทียบต้นทุนและกำไร (แบบละเอียด)

ในสภาวะการเลี้ยงกุ้งปัจจุบันนี้ การอนุบาลลูกกุ้งก่อนปล่อยลงบ่อเลี้ยงได้เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป ซึ่งการเลี้ยงด้วยลูกกุ้งอนุบาลนั้นนอกจากจะช่วยลดความเสียหายของลูกกุ้งในบ่อเลี้ยงที่เกิดจากโรคอีเอ็มเอสแล้ว ยังช่วยลดผลกระทบของความเสียหายที่อาจเกิดจากโรคติดเชื้อไมโครสปอริเดีย (Microsporidia) ให้ลดต่ำลงได้อีกด้วย

อย่างไรก็ตามการเลี้ยงด้วยลูกกุ้งอนุบาลนั้นจะได้ประโยชน์อย่างเต็มที่ก็ต่อเมื่อลูกกุ้งที่อนุบาลแล้วมีความแข็งแรง สมบูรณ์ และปลอดเชื้อก่อโรคที่สำคัญ ดังนั้นการได้ลูกกุ้งอนุบาลที่มีคุณภาพดีไปใช้ในการเลี้ยงจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อความสำเร็จของการ เลี้ยงกุ้งขาว

ซึ่งซีพีเอฟได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในส่วนนี้จึงได้ผลิตลูกกุ้งอนุบาลโดยนำลูกกุ้งพีแอล 12 (PL12) มาอนุบาลเป็นระยะเวลา 25-30 วัน จนลูกกุ้งมีความยาวประมาณ 35-45 มิลลิเมตร โดยมีน้ำหนักประมาณ 1 กรัม เพื่อเป็นการสนับสนุนให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งที่ยังไม่มีความพร้อมในการอนุบาลลูกกุ้งมีโอกาสได้ใช้ลูกกุ้งอนุบาลที่มีคุณภาพสูง เพื่อเพิ่มความสำเร็จในการเลี้ยง

โดยจะมีเนื้อหาดังต่อไปนี้

  1. มาตราฐาน และคุณภาพของ ลูกกุ้งอนุบาลจากโรงเพาะฟักของซีพีเอฟ
  2. การเปรียบเทียบผลการเลี้ยงลูกกุ้งอนุบาล-ลูกกุ้งพีแอล-12
  3. การเปรียบเทียบต้นทุนการเลี้ยงลูกกุ้งอนุบาล-ลูกกุ้งพีแอล-12
1.โรงเรือนสำหรับอนุบาลลูกกุ้งของซีพีเอฟ
โรงเรือนสำหรับอนุบาลลูกกุ้งของซีพีเอฟ

กว่าจะได้ลูกกุ้งอนุบาลที่มีคุณภาพสูงและปลอดเชื้อโรค

การอนุบาลเพื่อให้ได้ลูกกุ้งอนุบาลที่มีคุณภาพดีนั้น จะประกอบด้วยปัจจัยหลากหลายประการได้แก่ ต้องมีโรงเรือนที่ได้มาตรฐาน มีระบบไบโอซีเคียวที่ครบถ้วนและได้รับการปฏิบัติอย่างเคร่งครัด มีระบบการจัดการการเลี้ยงอย่างเหมาะสม มีระบบการตรวจสอบคุณภาพลูกกุ้งที่ดีทั้งในแง่ของสุขภาพและการปลอดเชื้อก่อโรคที่สำคัญ

รวมทั้งผู้เลี้ยงจะต้องมีความเชี่ยวชาญและความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง จึงเห็นได้ว่าการจะได้ลูกกุ้งอนุบาลที่มีสุขภาพดี แข็งแรง และปลอดเชื้อนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายเลย ในส่วนของการอนุบาลลูกกุ้งของซีพีเอฟนั้นจะให้ความสำคัญในทุกๆด้านของกระบวนการผลิต

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ตั้งแต่การออกแบบโรงเรือนและบ่อเลี้ยงที่ได้มาตรฐานโดยจะต้องเป็นโรงเรือนปิด บ่อเลี้ยงและอุปกรณ์การเลี้ยงจะต้องมีการกำจัดเชื้อก่อโรคที่สำคัญทุกชนิดก่อนใช้งาน น้ำที่ใช้ต้องผ่านการฆ่าเชื้อเป็นอย่างดีโดยมีการตรวจสอบก่อนนำน้ำมาใช้ทุกครั้งว่าไม่มีเชื้อก่อโรคปนเปื้อน มีโปรแกรมการให้อาหารที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของกุ้ง

มีการจัดการสภาพแวดล้อมในบ่อทั้งคุณภาพน้ำและพื้นบ่อให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมตลอดระยะเวลาการเลี้ยง มีการตรวจสอบคุณภาพลูกกุ้งในแง่ของการปลอดเชื้อเป็นระยะๆตลอดช่วงเวลาเลี้ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งก่อนที่จะส่งถึงมือเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง

โดยลูกกุ้งทุกชุดจะต้องปลอดจากเชื้อตัวแดง (WSSV) หัวเหลือง (YHV) ทอร่า (TSV) แคระแกร็น (IHHNV) ไมโครสปอริเดีย และแบคทีเรีย วิบริโอ พาราฮีโมไลติคัส (V. parahaemolyticus) สายพันธุ์ AHPND ที่ก่อโรคอีเอ็มเอส

ในขณะเดียวกันลูกกุ้งก็จะต้องมีอัตราการเจริญเติบโตได้ตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดอีกด้วย นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับกระบวนการขนส่งลูกกุ้งเพื่อไม่ให้กระทบกับสุขภาพของกุ้ง จึงทำให้มั่นใจได้ว่าลูกกุ้งอนุบาลซีพีเอฟทุกๆชุดนั้นมีคุณภาพอย่างแท้จริงเมื่อถึงมือเกษตรกรผู้ เลี้ยงกุ้งขาว

2.ลูกกุ้งอนุบาลจากโรงเพาะฟักของซีพีเอฟ
ลูกกุ้งซีพี อนุบาลจากโรงเพาะฟักของซีพีเอฟ

ผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นจากการเลี้ยงด้วยลูกกุ้งอนุบาล

ประโยชน์ที่ได้รับจากการเลี้ยงด้วยลูกกุ้งอนุบาลนั้น นอกจากจะช่วยลดความเสี่ยงของกุ้งที่จะเกิดความเสียหายจากการเกิดโรคในระหว่างการเลี้ยงแล้ว ยังพบว่าจะช่วยให้การบริหารความผันผวนของราคาทำได้ดีขึ้น

นอกจากนี้การเลี้ยงด้วยลูกกุ้งอนุบาลยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทำให้ผลตอบแทนของการเลี้ยงสูงขึ้น ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบเป็นอย่างมากของการเลี้ยงด้วยลูกกุ้งอนุบาล ดังในรายละเอียดต่อไปนี้

โฆษณา
AP Chemical Thailand

1.ผลการเลี้ยงดี แน่นอน และระยะเวลาในการเลี้ยงสั้นลง

ในการเปรียบเทียบผลการเลี้ยงของเกษตรกรที่เลี้ยงด้วยลูกกุ้งอนุบาลและลูกกุ้งพีแอล12 ของซีพีเอฟนั้น จะเลือกบ่อที่มีอัตราความหนาแน่นของการลงลูกกุ้งและขนาดของกุ้งจับที่เท่ากัน ซึ่งทำการเลี้ยงในเขตพื้นที่จังหวัดระยอง จันทบุรี และตราดในครึ่งแรกของปี 2559 มาเปรียบเทียบกัน

จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยต่อวัน (ADG) ของกุ้งในบ่อที่เลี้ยงด้วยลูกกุ้งอนุบาลจะสูงกว่าบ่อที่เลี้ยงด้วยลูกกุ้งพีแอล 12 กว่าร้อยละ 50  จึงทำให้ระยะเวลาที่ใช้ในการเลี้ยงเพื่อให้ได้กุ้งจับในขนาดที่เท่ากันของบ่อที่เลี้ยงด้วยลูกกุ้งอนุบาลสั้นว่าบ่อที่เลี้ยงด้วยลูกกุ้งพีแอล 12 เป็นอย่างมาก

ส่งผลให้สามารถเพิ่มรอบการเลี้ยงต่อปีได้มากขึ้นอีกด้วย ซึ่งก็หมายถึงการเพิ่มโอกาสของความสามารถในการทำกำไรที่สูงขึ้น ดังรายละเอียดในตารางที่ 1

การเปรียบเทียบผลการเลี้ยงลูกกุ้งอนุบาล-ลูกกุ้งพีแอล-12

ตารางที่ 1 การเปรียบเทียบผลการเลี้ยงกุ้งของบ่อที่เลี้ยงด้วยลูกกุ้งอนุบาลและลูกกุ้งพีแอล12ของซีพีเอฟ

3.การเปรียบเทียบผลการเลี้ยงลูกกุ้งอนุบาล-ลูกกุ้งพีแอล-12
การเปรียบเทียบผลการเลี้ยงลูกกุ้งอนุบาล-ลูกกุ้งพีแอล-12

2.ต้นทุนของการเลี้ยงกุ้งต่ำลง

ในส่วนของต้นทุนการเลี้ยงนั้น จะพบว่าบ่อที่เลี้ยงด้วยลูกกุ้งอนุบาลมีผลการเลี้ยงที่ดีกว่าบ่อที่เลี้ยงด้วยลูกกุ้งพีแอล12 อย่างชัดเจนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของระยะเวลาเลี้ยงที่สั้นกว่า จึงส่งผลให้ต้นทุนการผลิตในแทบทุกส่วนลดต่ำลง ยกเว้นเฉพาะต้นทุนค่าลูกกุ้งเท่านั้นที่สูงกว่า

อย่างไรก็ตามเมื่อรวมต้นทุนการเลี้ยงทั้งหมดรวมทั้งค่าลูกกุ้งด้วยแล้ว จะเห็นได้ว่าต้นทุนของการผลิตกุ้งในบ่อที่เลี้ยงด้วยลูกกุ้งอนุบาลจะต่ำกว่าบ่อที่เลี้ยงด้วยลูกกุ้งพีแอล12 ถึง 12.35 บาทต่อกิโลกรัมกุ้ง ซึ่งผลต่างที่เกิดขึ้นนี้ก็หมายถึงกำไรของการเลี้ยงที่เพิ่มขึ้นในทุกๆกิโลกรัมของกุ้งที่ขายด้วยเช่นกัน ดังรายละเอียดในตารางที่ 2

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การเปรียบเทียบต้นทุนการเลี้ยงลูกกุ้งอนุบาล-ลูกกุ้งพีแอล-12

ตารางที่ 2 การเปรียบเทียบต้นทุนการผลิตกุ้งระหว่างการเลี้ยงด้วยลูกกุ้งอนุบาลและลูกกุ้งพีแอล12 ของซีพีเอฟ

4.การเปรียบเทียบต้นทุนการเลี้ยงลูกกุ้งอนุบาล-ลูกกุ้งพีแอล-12
การเปรียบเทียบต้นทุนการเลี้ยงลูกกุ้งอนุบาล-ลูกกุ้งพีแอล-12

จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าการเลี้ยงด้วยลูกกุ้งอนุบาลจะช่วยเพิ่มโอกาสของความสำเร็จในการเลี้ยงเป็นอย่างมาก ดังนั้นการได้ลูกกุ้งอนุบาลที่มีคุณภาพดีมาทำการเลี้ยงจึงเป็นปัจจัยสำคัญมากที่จะต้องคำนึงถึง จากที่กล่าวแล้วในข้างต้นว่าการที่จะอนุบาลให้ได้ลูกกุ้งที่มีคุณภาพดีทำได้ไม่ง่ายนัก

การเลือกใช้ลูกกุ้งอนุบาลคุณภาพสูงของซีพีเอฟซึ่งปลอดจากเชื้อก่อโรคหลายชนิด เช่น ตัวแดง หัวเหลือง ทอร่า แคระแกร็น ไมโครสปอริเดีย และโดยเฉพาะอย่างยิ่งปลอดเชื้อ วิบริโอ พาราฮีโมไลติคัส สายพันธุ์ที่ก่อโรคอีเอ็มเอส จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจและตอบโจทย์เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ยังไม่มีความพร้อมมากนักสำหรับการอนุบาลลูกกุ้งเอง ซึ่งนอกจากจะทำให้ได้ลูกกุ้งอนุบาลที่มีคุณภาพดีมาทำการเลี้ยงแล้ว เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งยังสามารถใช้ทรัพยากรต่างๆและเวลาที่มีอยู่อย่างจำกัดไปทุ่มเทให้กับการเลี้ยงกุ้งได้อย่างเต็มที่ จึงทำให้การเลี้ยงกุ้งมีโอกาสประสบความสำเร็จได้มากยิ่งขึ้น

ขอขอบคุณข้อมูลจากวารสารข่าวกุ้ง บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จํากัด (มหาชน)

ลูกกุ้งซีพี กุ้งซีพี เลี้ยงกุ้งขาว เลี้ยงกุ้งในบ่อพลาสติก กุ้งซีพี กุ้งซีพี กุ้งซีพี กุ้งซีพี

โฆษณา
AP Chemical Thailand