สภาพพื้นที่เลี้ยงปลากะพงขาว
ปลากะพงขาว เป็นปลาที่พบมากในแหล่งน้ำกร่อย เป็นปลาที่มีมูลค่าสูง ราคาแพง นิยมนำประกอบอาหารหลายเมนู อาทิ ปลากะพงทอด ต้มยำปลากะพง หรือปลากะพงราดพริก เป็นต้น
ส่วนใหญ่ปลากะพงขาวที่มีจำหน่ายในท้องตลาดเป็นปลาที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเป็นหลัก โดยนิยมเลี้ยงในกระชังตามแหล่งน้ำกร่อยบริเวณปากแม่น้ำ และชายทะเล ซึ่งมีแหล่งเพาะเลี้ยงหลักอยู่บริเวณปากแม่น้ำบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา และพื้นที่ปากแม่น้ำ และชายทะเลทางภาคใต้
แต่ทั้งนี้บางพื้นที่มีการเลี้ยงในบ่อดินบริเวณพื้นที่ที่อยู่ใกล้กับทะเล เนื่องจากการเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชังบริเวณปากแม่น้ำมักประสบปัญหาขาดทุนจากสภาพน้ำในแม่น้ำเน่าเสีย หรือมีคุณภาพน้ำไม่เหมาะสม ทำให้มีการเลี้ยงปลากะพงขาวในบ่อเพิ่มมากขึ้น และปัจจุบันนี้พัฒนาจนสามารถเลี้ยงในพื้นที่น้ำจืดสนิทได้ดี เพราะมีผู้เพาะลูกปลาเพื่อเลี้ยงน้ำจืดโดยเฉพาะ
จุดเริ่มต้นการเลี้ยงปลากะพง
ด้วยใจรักในการตกปลาของ คุณEdmond Lai ชาวไต้หวัน หัวใจไทย ที่ย้อนกลับไป 20 กว่าปี ประกอบกิจการตั้งโรงงานอิเล็คทรอนิคในไทยมูลค่ากว่าพันล้านบาท แต่ด้วยใจรักในการตกปลา ทุกวันหยุดจะต้องทำกิจกรรม คือ การตกปลา และได้เที่ยวหาแหล่งตกปลาใหม่ๆ จนมาเจอบ่อตกปลากะพง และได้ทำเป็นงานอดิเรกมาโดยตลอด
ทำให้เกิดความผูกพัน ความเข้าใจถึงนิสัยและพฤติกรรมของมัน จึงเกิดแรงบันดาลใจให้ตัดสินใจตกลงเป็นตัวแทนจำหน่าย อาหารปลากะพง จากบริษัทไต้หวันยักษ์ใหญ่ข้ามชาติ Uni-President จำกัด (มหาชน) ที่ผลิตอาหารสัตว์ และอาหารคน ครบวงจรมากว่า 60 ปี บริษัทยักษ์ใหญ่ของไต้หวันที่มีฐานลูกค้าอาหารสัตว์น้ำหลายประเทศ เช่น อินเดีย เวียดนาม อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และตะวันออกกลาง ประเทศไต้หวันที่มีพื้นที่เลี้ยงปลาน้อย แต่กลับมีผลผลิตมากกว่า ซึ่งมีความพร้อมด้านการผลิต มีโรงงานที่ใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมที่ทันสมัยระดับแนวหน้าของโลก จึงทำให้เกิด บริษัท Amazon International จำกัด ตัวแทนจำหน่าย อาหารปลากะพง ยี่ห้อ Uni แต่เพียงผู้เดียวในไทย
ด้วยใจรักคุณLai ตัดสินใจเลี้ยงปลากะพงในฉบับของคนไต้หวัน ต้องยอมรับว่าประเทศไต้หวันเป็นประเทศที่เล็กมาก จากเหนือลงใต้มีระยะทาง 400 กิโลเมตร และจากตะวันออกถึงตะวันตกเพียง 100 กิโลเมตร ซึ่งพื้นที่ 30% ใช้เพื่อเพาะปลูกพืช เช่น ข้าว และพืชอื่นๆ รวมถึงเพาะเลี้ยงสัตว์บก และสัตว์น้ำ อีกทั้งสภาพอากาศที่ไม่อำนวย
เนื่องจากมีฤดูหนาวที่บางทีปลาไม่กินอาหาร ถึงอาจจะตาย หรือถ้าหนาวจัดก็จะเพาะเลี้ยงไม่ได้ เกษตรกรบางคนถึงกับเลี้ยงในบ่อ PE และสร้างโรงเรือนทำให้เพิ่มต้นทุนขึ้นไปอีก เพราะฉะนั้นจำเป็นต้องใช้พื้นที่ให้คุ้มค่า
ประเทศไทยปกติเกษตรกรส่วนใหญ่อาจจะลงไร่ละ 3,000-5,000 ตัว แต่ที่ไต้หวันขั้นต่ำอยู่ที่ไร่ละ 15,000 ตัว ถ้าเกษตรกรเก่งหน่อยก็อาจลงมากถึงไร่ละ 30,000 ตัว ซึ่งต้องมาดูถึงอาหาร และการจัดการเรื่องความหนาแน่น
หลักการเลี้ยงหนาแน่นต้องมีการดูแลหลายปัจจัยมาก เช่น
1.ต้องดูว่าพันธุ์ปลาดีมั้ย?
2.ต้องดูว่าน้ำดีมั้ย น้ำพอมั้ย ลึกแค่ไหน ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ต่างๆ และไฟฟ้าในบ่อพอมั้ย
3.อาหารดีมั้ย? กินเท่าไหร่ ถ้าปลากินวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ให้อาหารวันละ 40 ลูก
ต้นทุนประมาณ 40,000 บาท/วัน ถ้าระยะเวลา 3 วัน น้ำจะเริ่มเสีย เนื่องจากแอมโมเนียขึ้น ถ้าแอมโมเนียยังอยู่ที่ 1 ยังพอได้ แต่ขึ้นไปเป็น 3 จนขั้นถึง 5 ปลาจะไม่กินอาหารแล้ว ต้องเปลี่ยนน้ำ เพิ่มต้นทุนน้ำอีก แล้วน้ำจะมีพอมั้ย ก็ต้องดูพื้นที่เลี้ยงอีก ถึงต้องกลับมาดูถึงความพร้อมของเกษตรกรด้วย
การบริหารจัดการบ่อเลี้ยงปลากะพง
จึงตัดสินใจลงทุนเช่าพื้นที่ 30 ไร่ แถวสมุทรสาคร ที่ติดทะเล และมีความพร้อมเรื่องน้ำกร่อยตลอดปี ทำเป็นบ่อปลากะพง บ่อละ 3-4 ไร่ ความลึกประมาณ 1.50 เมตร และกั้นพื้นที่เป็น 4 สัดส่วน
สำหรับฝึกปลาให้กินอาหารเม็ด เพราะหลายพันธุ์ปลาทำลูกปลาในบ่อปูนพื้นที่แคบ จึงต้องมีบ่ออนุบาลลูกปลาไว้ 1 ไร่ อนุบาลก่อนปล่อยออกบ่อ และบ่อพักน้ำเกือบ 1 ไร่ พร้อมทั้งลากไฟฟ้าเพิ่มเป็น 3 เฟส และติดตั้งกล่องควบคุมไฟที่เชื่อมต่อระบบ Wi-Fi ให้ส่งสัญญาณเตือนไปที่ห้องพนักงาน หากกระแสไฟฟ้าตกหรือช็อตมีระบบสัญญาณไฟแจ้งแบบ 3 สี สีเขียว เหลือง แดง สำหรับไฟ 3 เส้น หากเส้นใดเส้นหนึ่งช็อตจะเปลี่ยนเป็นสีส้ม และหากไฟฟ้าตกจะเปลี่ยนเป็นสีแดง เพื่อไม่ให้เครื่องตีน้ำหยุดจนปลาน็อค
โดยทุกบ่อจะมีอุปกรณ์หลัก คือ เครื่องตีน้ำ ที่เป็น Stainless และแบบสั้น เพื่อสะดวกในการเคลื่อนย้ายและซ่อมง่าย สามารถวิ่ง 90 รอบ ต่อ 1 นาที บ่อละ 4 ตัว มีปั๊มน้ำ เครื่องทำคลื่นทะเล เพื่อให้ปลากะพงฝึกว่ายน้ำให้มีกล้ามเนื้อ เครื่องทำน้ำพุเพื่อสร้างออกซิเจน และเครื่องปั๊มลมเพื่อช่วยให้ปลากินอาหาร
การให้ อาหารปลากะพง ช่วยเกษตรกรลดต้นทุนไป 5,000 บาท ต่อปลา 1 ตัน
คุณLai ตัดสินใจลงลูกปลาในบ่อตัวเอง ไซส์ 2-3 นิ้ว จำนวน 20,000 ตัวต่อไร่ ถ้าบ่อ 4 ไร่ อาจจะลงมากถึง 60,000-80,000 ตัว ผลผลิตจับได้อยู่ที่ 30-40 ตัน/บ่อ 4 ไร่ ซึ่งเกษตรกรปกติลง 10,000 ตัว จะจับได้อยู่ที่ 6-10 กว่าตัน สิ่งที่แตกต่างกัน คือ FCR คือ ถ้า FCR 1.1 แปลว่า ปลากินอาหารแค่ 1,100 กิโลกรัม เมื่อเปรียบเทียบกับ FCR 1.2 แปลว่า ปลากินอาหาร 1,200 กิโลกรัม
เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าอาหาร 100 กิโลกรัม หารกระสอบละ 20 กิโลกรัม เท่ากับ 5 กระสอบ คูณราคาอาหารตีไว้กระสอบละ 1,000 บาท เท่ากับช่วยเกษตรกรลดต้นทุนไป 5,000 บาท ต่อปลา 1 ตัน ถ้าเกษตรกรผลิตปลาได้ 10 ตัน เท่ากับช่วยลดต้นทุนค่าอาหารได้ 50,000 บาท
โดยปกติแล้วโปรตีนสามารถหาได้จากหลากหลายแหล่ง เช่น จากเนื้อไก่ เนื้อหมู โค ถั่วเหลือง หรือมาจากการสร้างโปรตีนเทียมก็ได้ ของบริษัทมาจากปลาป่นที่นำเข้ามาจากประเทศชิลี ที่เป็นแหล่งปลาป่นคุณภาพเกรดดีของโลก
ทำให้เลี้ยงด้วยอาหารของบริษัทจะกินอาหารน้อยกว่าเจ้าอื่นๆ ถึง 5 กระสอบ จึงตั้งคำถามว่าทำไมลูกปลากินโปรตีน 42% แล้วทำไมปลาใหญ่ต้องกินโปรตีนแค่ 36% ทำไมโปรตีนจะไล่ลำดับจากสูงและลดลงไปเรื่อยๆ เช่น เบอร์ 0-3 อาจจะโปรตีนสูงสุด และลดลงเรื่อยตามเบอร์อาหาร
ซึ่งแนวคิดของบริษัทจะแตกต่าง เพราะให้ความสำคัญเรื่องโปรตีนมาก เพราะตามธรรมชาติลูกปลาเล็กก็กินปลาเล็ก แต่พอปลาใหญ่ก็ต้องกินปลาใหญ่ตาม เพราะฉะนั้นอาหารของบริษัทเปอร์เซ็นต์โปรตีนสำหรับลูกปลาและปลาใหญ่แทบไม่ต่างกัน โปรตีนลูกปลา 44% และโปรตีนปลาใหญ่ 43% คือ แทบไม่ต่างกันเลย
อีกอย่างถ้าเวลาเปิดกระสอบออกมา ในกระสอบจะไม่มีแป้งเลย ซึ่งอาหารแบรนอื่นๆได้พ่นน้ำมันหมึก ซึ่งปลาอาจจะกินอาหารเก่งขึ้น แต่ไม่เป็นผลดีเพราะทำให้ปลามีไขมันเยอะ แต่ของบริษัทใช้จุลินทรีย์สายพันธุ์ที่ทนความร้อนได้ไม่ตาย ซึ่งจะช่วยในเรื่องการระบบย่อย ปลาจะกินอาหารเก่งขึ้น และป่วยน้อยลง
ต้นทุนการเลี้ยงปลากะพงจะมี 3 ตัวหลักๆ คือ พันธุ์ปลา, อาหาร และค่าไฟฟ้า ทางบริษัทอยากจะขอเสริมมุมมองเรื่องต้นทุนอาหารว่าได้ทดลองเลี้ยงกับบ่อลูกค้าในรูปแบบเดิมก่อน เลี้ยงในระยะเวลาเท่ากัน แค่เปลี่ยนเป็นอาหารของบริษัท บอกว่าใช้อาหารของบริษัทน้อยกว่า 5 กระสอบ
สิ่งที่แตกต่างกัน คือ FCR คือ ถ้า FCR 1.1 แปลว่า ปลากินอาหารแค่ 1,100 กิโลกรัม เมื่อเปรียบเทียบกับ FCR 1.2 แปลว่า ปลากินอาหาร 1,200 กิโลกรัม เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าอาหาร 100 กิโลกรัม หารกระสอบละ 20 กิโลกรัม เท่ากับ 5 กระสอบ คูณราคาอาหารตีไว้กระสอบละ 1,000 บาท เท่ากับเราช่วยเกษตรกรลดต้นทุนไป 5,000 บาท ต่อปลา 1 ตัน ถ้าเกษตรกรผลิตปลาได้ 10 ตัน เท่ากับเราช่วยลดต้นทุนค่าอาหารได้ 50,000 บาท
และได้ไซส์ที่กระโดดขึ้นมา 1 เบอร์ จาก 7 ขีด เป็น 8 ขีด FCR อยู่ที่ 1.2% เพราะฉะนั้นอาหารถูกไม่ได้แปลว่าถูก อาหารถูกอาจจะได้ผลผลิตที่ไม่คุ้มค่า ซึ่งอาจจะทำให้แพงที่สุดก็ได้ ลูกค้าที่ใช้อาหารของเราขณะนี้ เราเพิ่มกำไรให้เค้าได้ประมาณ 200,000-300,000 บาท/ครอป แต่ราคาของบริษัทอาจจะสูงกว่าคู่แข่งอยู่กระสอบละ 50 บาท ซึ่งคูณการใช้ที่ 50 กระสอบ อยู่ที่ 2,500 บาท ที่เพิ่มขึ้น
แต่ลดต้นทุนได้ 50,000 บาท เพราะฉะนั้นหลักการคิดก็คือ ทำให้เกษตรกรมีกำไร ถ้าเกษตรกรขาดทุน เราก็จะไม่มีคนซื้ออาหาร บริษัทจะอยู่ไม่ได้ เพราะฉะนั้นต้องทำให้เกษตรกรมีกำไร
ด้านตลาดและช่องทางจำหน่ายปลากะพง
นอกจากนั้นยังต้องดูเรื่องของคุณภาพของปลาที่ได้ เพราะทางบริษัทได้ทดลองนำปลาไปขายที่ตลาดมหาชัย ปรากฏว่าสีของปลาเป็นสีสวยทอง เกล็ดหนา และเนื้อแน่น เพราะมีแต่กล้ามเนื้อ รูปร่างลักษณะและสีแทบไม่ต่างจากปลาที่กินเหยื่อสด อีกอย่างปลากะพงเป็นปลาที่ค่อนข้างแข็งแรง สามารถใช้คนคัดมือสดได้เลย โดยไม่ต้องพึ่งยาสลบเหมือนปลาชนิดอื่น เช่น ปลาทับทิม เป็นต้น
ขณะนี้ถ้าเกษตรกรผลิตปลากะพงมากขึ้น อาจทำให้ราคาปลากะพงตกลงจาก 100 กว่าบาท และอาจจะไม่ถึงหลักร้อย เนื่องจากปลากะพงเป็นปลาเนื้อขาว ซึ่งตลาดต่างประเทศชอบปลาเนื้อขาวมาก
เนื่องจากเป็นโปรตีนสะอาดและผู้บริโภคต่างประเทศมองว่าเลือดปลาอาจเป็นแหล่งเชื้อโรค และสะสมพยาธิในเนื้อปลา ซึ่งปัจจุบันห้องเย็นเก่ง และมีนวัตกรรมที่สามารถรีดเลือดและน้ำออกจากเนื้อปลาได้ จนเนื้อขาวใส สะอาด สีสวย ทั้งการแปรรูป และฟิลเล่
ทางบริษัทมองว่าปลากะพงไทยสามารถทำต้นทุนการผลิตให้ต่ำลงกว่านี้ เพื่อสามารถแข่งขันกับราคาตลาดต่างประเทศได้ แต่ราคาปลากะพงไต้หวันกลับต่ำกว่าราคาปลากะพงไทย ทั้งๆ ที่ต้นทุนแรงงานสูงกว่า บางฟาร์มมีต้นทุนโรงเรือนอีก ราคาปลากะพงในไทยไซส์ 800 กรัม-1 กิโลกรัม ราคาในประเทศอยู่ที่ 100 กว่าบาท ต้นทุนอยู่ที่ 90 บาท แต่ราคาปลากะพงไต้หวันราคาตลาดอยู่แค่ 80-90 บาท/กก. ยังมีกำไร แสดงว่าต้นทุนต้องต่ำกว่า 80 บาท/กก. อาหารปลากะพง อาหารปลากะพง อาหารปลากะพง อาหารปลากะพง
ทางบริษัทขณะนี้มีออเดอร์ตลาดต่างประเทศรองรับ และพร้อมเปิดรับเกษตรกรเข้าร่วมกลุ่มเพื่อทำปลากะพงส่งตลาดไต้หวัน ตะวันออกกลาง และออสเตรเลีย เพื่อเข้าห้าง สามารถรองรับตลาดเราได้ 200 ตันต่อเดือน เพราะเขานิยมรับซื้อที่ไซส์ 1 กิโลกรัม แต่ต้องเป็นเกษตรกรที่สามารถทำต้นทุนได้ อาหารปลากะพง อาหารปลากะพง อาหารปลากะพง
เนื่องจากราคาที่เรารับซื้อคืนจะเป็นราคากลางของตลาดโลก อยู่ที่ประมาณ 80-90 บาท เพราะประเทศคู่แข่งของเราจะเป็นปลากะพงไต้หวัน ซึ่งมีข้อได้เปรียบเรื่องการผลิตเยอะ และมาเลเซียซึ่งมีข้อได้เปรียบเรื่องของอัตราแลกเปลี่ยนที่อ่อนกว่า ทำให้เขาทำราคาได้ เกษตรกรไทยต้องคิดและทำต่างจากรูปแบบเดิม อยากจะให้เกษตรกรลองเปิดใจ และลองปรับเลี่ยนวิธีการเลี้ยงปลากะพง อาหารปลากะพง อาหารปลากะพง อาหารปลากะพง
ปัญหาและอุปสรรคในการเลี้ยงปลากะพง
ปัญหาเรื่องน้ำจืดไม่พอ และความลึกยังไม่ได้ เพราะถ้าเลี้ยงหนาแน่นความลึกของน้ำต้องอยู่ประมาณ 2-2.5เมตร อีกอย่าง คือ ปัญหาเรื่องขนาดของบ่อ บ่อควรกว้าง 2-3 ไร่ เท่านั้น คือ จะได้ผลผลิตประมาณ 20 ตัน จะได้ง่ายต่อการจับปลา และช่วยลดต้นทุนแรงงานจับปลา เพราะถ้าบ่อใหญ่ไปอาจจะต้องจับลากถึง 3 ครั้ง ซึ่งค่าใช้จ่ายในเรื่องแรงงาน ค่าน้ำแข็ง ค่ารถ จะประมาณ 7,000-10,000 บาท/ครั้ง แต่ถ้าบ่อเล็กลง จับวันเดียวก็จบเข้าห้องเย็นได้เลย
ข้อได้เปรียบของเกษตรกรในประเทศอื่นๆ อาทิ เวียดนาม หรือมาเลเซีย หากเกษตรกรจดทะเบียนในรูปแบบฟาร์ม เวลาซื้ออาหารสำเร็จรูปจะได้ลดหย่อน หรือคืนภาษี VAT แต่เกษตรกรไทยทุกวันนี้เวลาซื้ออาหารสำเร็จรูปต้องบวก VAT เพิ่มเข้าไปอีก 7% คือ ถ้าซื้ออาหารกระสอบละ 1,000 บาท จะต้องจ่ายเพิ่ม 70 บาท/กระสอบ ทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นนั่นเอง อาหารปลากะพง อาหารปลากะพง อาหารปลากะพง อาหารปลากะพง
ผมอยากเห็นเกษตรกรไทยผู้เพาะเลี้ยงปลากะพง เปิดใจลองใช้อาหาร Uni ที่ช่วยเขาสามารถทำต้นทุนให้ลงมาอยู่แค่ 70 บาท และ FCR เพียง 1.1% เพราะเราต้องสู้คู่แข่งตลาดต่างประเทศให้ได้ คุณ Lai เชิญชวนเกษตรกรทดลองใช้อาหาร Uni เพื่อลดต้นทุน และเพิ่มผลผลิตการเลี้ยงปลากะพงขาว อาหารปลากะพง อาหารปลากะพง อาหารปลากะพง
สนใจติดต่อบริษัท Amazon Internationalจำกัด ที่อยู่ 89/7 ต.กาหลง อ.เมือง จ. สมุทรสาคร 74000 เบอร์โทร.081-903-5220 Email : [email protected], Line ID : edmond9336