การเลี้ยงกบเนื้อ
“กบเนื้อ” ซึ่งเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำที่มีความนิยมและความต้องการมากขึ้นเรื่อยๆ ในการบริโภค และทีมงานจึงขอแบ่งปันข้อมูลการเลี้ยงกบและแนวทางการเลี้ยงให้ประสบผลสำเร็จ มาให้แฟนพันธุ์แท้ทุกท่านได้นำไปเป็นแนวทางในการนำไปเลี้ยงสำหรับบริโภคในครัวเรือน หรือทำเป็นอาชีพเสริม และสามารถทำจนสร้างรายได้เป็นอาชีพหลักเลยก็เป็นได้
เพราะกบเป็นสัตว์เลี้ยงง่าย ใช้เวลาไม่มาก ลงทุนน้อย และคุ้มค่า มีการทำฟาร์มเลี้ยงกบหลากหลายรูปแบบ ทั้งการเลี้ยงกบแบบธรรมชาติ การเลี้ยงกบในขวด การเลี้ยงกบคอนโด แบบบ่อซีเมนต์ ฯลฯ และก็มีบางส่วนที่ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากยังขาดข้อมูลสำคัญอยู่ เช่น นิสัยใจคอของกบ พื้นที่ที่เหมาะกับการเลี้ยงกบ เป็นต้น
คุณวาสนา ดอนเมือง (เจ๊วาส) เกษตรกรในจังหวัดกาฬสินธุ์ ผู้มีแนวคิดริเริ่มในการประกอบอาชีพเลี้ยงกบแบบครบวงจร ส่งเสริมลูกบ่อ และรับซื้อกลับตามราคาตลาด ภายใต้ชื่อ “วาสนาฟาร์มกบ” ซึ่งเป็นฟาร์มที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากกรมประมง และได้รับการตรวจสอบคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
ทำให้ได้รับความเชื่อถือ และมีลูกค้าให้ความสนใจเป็นจำนวนมากจากทั่วประเทศ แต่กว่าจะประสบความสำเร็จ คุณวาสนาต้องผ่านบททดสอบและอุปสรรคต่างๆ มากมาย เหมือนกับผู้ประกอบการหลายๆ ราย
โดยต้องกล่าวย้อนกลับไปเมื่อหลายปีที่แล้ว เธอได้เริ่มต้นประกอบอาชีพการเลี้ยงปลาดุก แต่ต้องพบกับปัญหาในเรื่องของระบบโครงการที่มีการเอาเปรียบเกษตรกรจากผู้ประกอบการรายใหญ่ จึงทำให้ขาดทุนไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาท หลังจากล้มได้ไม่นานคุณวาสนาก็ลุกขึ้นใหม่ด้วยการประกอบธุรกิจฟาร์มกบ เพราะในระหว่างที่เคยเลี้ยงปลาดุก ได้เคยเลี้ยงกบควบคู่กันไปด้วย จึงเป็นสาเหตุให้ประกอบอาชีพเลี้ยงกบมาจนถึงปัจจุบัน
ด้วยความที่มีตลาดซื้อขายสัตว์น้ำอยู่แล้ว ตั้งแต่เลี้ยงปลาดุก ทำให้เกษตรกรในบริเวณนี้จึงมีความเชื่อมั่น และเข้ามาเป็นลูกบ่อกับวาสนาฟาร์มกบเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนมีผลผลิตเข้าสู่ตลาดวันละ 2 ตัน อีกทั้งยังมีพ่อค้าและแม่ค้าจากกรุงเทพฯ หลายๆ ราย เข้ามารับซื้อกบที่ฟาร์มอย่างต่อเนื่อง ซึ่งถือได้ว่าฟาร์มแห่งนี้เป็นผู้ค้ารายใหญ่ในเขต ภาคอีสานเลยทีเดียว
สายพันธุ์กบ
พ่อแม่พันธุ์ของทางฟาร์มจะนำมาจาก บริษัท ป.เจริญพาณิช จำกัด จังหวัดชลบุรี เป็นสายพันธุ์บลูฟล๊อค เพราะกบสายพันธุ์นี้มีตัวใหญ่ เนื้อเยอะ แต่ไม่ทนต่อโรคและสภาพแวดล้อม จึงต้องนำกบนาของบ้านเรามาผสม เพราะจะทำให้สามารถทนต่อสภาพแวดล้อมได้ดีกว่าเดิม ซึ่งกบตัวผู้จะรับมาจากฟาร์มลูกค้าที่อุบลราชธานี
การเพาะพันธุ์จะเริ่ม เพาะพันธุ์ในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนตุลาคม เพราะหากเพาะพันธุ์หลังจากนี้จะได้ไข่ไม่มาก และไม่สมบูรณ์ เมื่อถึงช่วงฤดูหนาวทางฟาร์มก็จะหยุดเพาะพันธุ์แล้วขายพ่อแม่พันธุ์ออกไป แต่ในขณะเดียวกันก็จะเลี้ยงกบเนื้อเพื่อรองรับกับความต้องการของตลาด
วิธีเพาะพันธุ์กบ
ในการเพาะพันธุ์จะต้องสังเกตดูว่ากบพร้อมที่จะผสมพันธุ์หรือไม่ โดยดูจากลักษณะภายนอก คือ ข้างลำตัวของตัวเมียจะมีลักษณะสาก ส่วนตัวผู้จะดูที่กล่องเสียงใต้คาง ถ้าจะมีลักษณะเป็นสีดำๆ แสดงว่ามีความพร้อมในการนำไปเพาะพันธุ์ได้แล้ว
ซึ่งพ่อแม่พันธุ์ในแต่ละรอบที่รับมาประมาณ 3,000 ตัว เป็นเพศผู้และเพศเมียอย่างละครึ่ง เริ่มต้นการเพาะพันธุ์จะใช้บ่อขนาดกว้าง 3 เมตร ยาว 4 เมตร ทั้งหมด 6 บ่อ โดยปล่อยตัวเมีย 30 ตัว ตัวผู้ 20 ตัว/บ่อ และใส่น้ำที่ระดับเพียง 5 เซนติเมตร เพราะจะทำให้อุณหภูมิของน้ำไม่ต่ำเกินไป และจะช่วยให้ไข่สามารถฟักได้ง่ายกว่า
เมื่อนำพ่อแม่พันธุ์ใส่ในบ่อ และปล่อยให้กบจับคู่กันเองในช่วงตอนเย็น แล้วจะปล่อยไว้เพียง 1 คืน กบก็จะเริ่มฟักไข่ออกมาในตอนเช้า ซึ่งไข่ที่ได้จะอยู่ที่ประมาณ 50,000 ตัว/บ่อ รวมทั้งหมด 6 บ่อ จะได้ไข่อยู่ที่ 3 แสนฟอง และเมื่อผ่านไปอีก 12 ชั่วโมง ไข่ก็จะเริ่มฟักออกมาเป็นตัว
หลังจากผ่านไปได้ 3 วันแล้ว จะเริ่มให้อาหารฝุ่นวันละ 2 เวลา เช้า-เย็น ทั้ง 6 บ่อ จะใช้อาหารประมาณครึ่งกิโลกรัม โดยจะให้เช่นนี้เป็นเวลา 10 วัน ระหว่างนั้นจะมีการเสริมไข่ตุ๋นเข้าไปด้วย เพื่อช่วยในเรื่องของความแข็งแรง ควบคู่กันไปกับอาหารเม็ด
เมื่อลูกอ๊อดอายุครบ 7 วัน นำลงบ่อดิน แล้วจึงจะเริ่มนำออกจำหน่ายให้เกษตรกร เป็นลูกอ๊อดที่ยังไม่มีแขน ขา มีแต่หาง ซึ่งขนาดจะอยู่ที่ 600 ตัว/กิโลกรัม ในราคากิโลกรัมละ 200 บาท
สภาพพื้นที่เลี้ยงกบ
บ่อที่ใช้โดยปกติจะอยู่ที่ขนาด 1 งาน เพราะสามารถดูแลได้ง่ายกว่าบ่อใหญ่ๆ โดยจะปล่อยลูกกบลงไป 15 กิโลกรัม หรือประมาณ 72,000 ตัว ในบ่อจะใส่น้ำประมาณ 30 เซนติเมตร ใส่ผักบุ้งลงไปเพื่อให้เป็นร่มเงา และเป็นที่ให้กบปีนขึ้น-ลง ซึ่งจะช่วยประหยัดต้นทุนแทนการใช้แผ่นยางรองเท้า
เมื่อเริ่มนำกบลงบ่อดินแล้วต้องให้อาหารเม็ดขนาดเล็กผสมกับอาหารผงประมาณ 3 วัน จากนั้นจึงจะให้อาหารเม็ดขนาดเล็กเพียงอย่างเดียว และจะเพิ่มเบอร์ของอาหารตามขนาดตัวของกบไปจนถึงเบอร์ 2 เพราะหากเป็นอาหารเบอร์ที่สูงลงไปจากนี้ เปอร์เซ็นต์โปรตีนที่กบได้รับจะน้อยลง
เมื่อเลี้ยงไปได้ประมาณ 1 เดือน 10 วัน จะได้ขนาดอยู่ที่ 10-15 ตัวต่อกิโลกรัม เมื่อเลี้ยงไปได้ถึง 2 เดือน จะได้กบขนาด 3-7 ตัว/กิโลกรัม ขณะนี้ทางฟาร์มมีบ่ออยู่ทั้งหมด 8 บ่อ สำหรับชำลูกกบ และเลี้ยงกบเนื้อซึ่งโดยรวมแล้วจะได้ผลผลิตอยู่ที่ 3-5 ตัน/บ่อ
ด้านตลาดและช่องทางจำหน่ายกบ
ลูกกบที่ทางวาสนาฟาร์มกบขายอยู่ในปัจจุบันนี้จะมีทั้ง
- ลูกกบที่เป็นลูกอ๊อด ขายตัวละ 25 สตางค์ หรือกิโลกรัมละ 200 บาท
- แต่ถ้าลูกกบที่มีแขน ขา ครบสมบูรณ์แล้ว จะขายราคาตัวละ 2-8 บาท ไซส์ 12-15ตัว/กิโลกรัม
- ในส่วนของการรับซื้อจะรับลูกบ่ออยู่ที่ 50 บาท/กิโลกรัม
ถ้าออกมาจากฟาร์ม คุณวาสนาอธิบายว่ากบที่ท้องตลาดต้องการในขณะนี้จะเป็นกบที่มีสีออกไปทางสีดำ เพราะหากเป็นกบที่มีตัวสีเหลืองเกินไปราคาจะตกทันที ส่วนของขนาดที่เป็นที่นิยมของผู้บริโภคจะเป็นกบขนาดเล็กมากกว่า แต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมาตลาดจะต้องการกบขนาดใหญ่มากกว่า ซึ่งในส่วนของการรับซื้อทางฟาร์มจะมีรถออกไปรับซื้อกลับมา และมีบริการส่งลูกกบให้กับลูกค้าด้วย ถ้ามียอดสั่งตั้งแต่ 500 กิโลกรัมขึ้นไป โดยจะมีรถให้บริการอยู่ 2 คัน ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่แล้วจะมีอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ
ฝากถึงเกษตรกรหรือผู้ที่สนใจเลี้ยงกบ
สำหรับผู้ที่สนใจจะมาประกอบอาชีพเลี้ยงกบ ต้นทุนที่ใช้สำหรับเริ่มต้นจะอยู่ที่ประมาณ 70,000 บาท โดยจะต้องลงทุนเป็นลูกอ๊อด 100,000 ตัว และที่เหลือจะเป็นค่าอาหาร ซึ่งการเลี้ยงจะใช้ระยะเวลาเพียง 2 เดือน ถึง 3 เดือน 15 วัน หรือประมาณ 60-100 วัน จะสามารถทำกำไรได้ถึง 20,000 บาท หรือกำไรอาจได้มากกว่านี้ขึ้นอยู่กับไซส์และราคากบที่ขึ้น วิธีเพาะพันธุ์กบ วิธีเพาะพันธุ์กบ วิธีเพาะพันธุ์กบ วิธีเพาะพันธุ์กบ วิธีเพาะพันธุ์กบ
ตรงนี้ถือว่าการเลี้ยงกบยังคงน่าลงทุน สำหรับเกษตรกรที่มีความสนใจควรจะเตรียมบ่อ และกำจัดสัตว์รบกวน จำพวกปลาต่างๆ และล้อมตาข่ายรอบบ่อให้เรียบร้อย หลังจากนั้นจึงจะลงลูกกบได้ทันที วิธีเพาะพันธุ์กบ วิธีเพาะพันธุ์กบ วิธีเพาะพันธุ์กบ วิธีเพาะพันธุ์กบ
เกษตรกรท่านใดที่สนใจ หรือต้องการความรู้ในเรื่องของการเลี้ยงและเทคนิควิธีการต่างๆ จากคุณวาสนา สามารถติดต่อได้โดยตรงที่ วาสนาฟาร์มกบ บ้านโปโล ม.13 ต.กมลาไส อ.กมลไสย จ.กาฬสินธุ์ 46130 หรือเบอร์โทรศัพท์ 08-0665-7669, 08-4533-1347