การเลี้ยงกุ้ง
หลายคนอาจจะตกใจที่คิดกล้าท้าทายธรรมชาติ ทำให้เกิดผู้กล้ามากมาย และหนึ่งในนั้นก็คือ คุณกิตบัณฑูรย์ สืบสมาน หรือ เฮียแฟท เจ้าของผู้จัดการฟาร์มแห่งเมืองฉะเชิงเทรา ที่ใช้ชีวิตหลังวัยเกษียณ กับการเลี้ยงกุ้ง เฮียแฟทเป็นคนฉะเชิงเทราโดยกำเนิด สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดีกรีในอดีต คือ นายแบงค์ ฝ่ายวิเคราะห์สินเชื่อการเกษตรและการค้า ของธนาคารชื่อดังแห่งหนึ่ง ด้วยความสามารถทำให้ก้าวหน้าในหน้าที่การงาน และเข้ารับตำแหน่งสุดท้าย คือ ผู้จัดการสาขา จ.ฉะเชิงเทรา
จากความคุ้นเคยที่ติดต่อกับเกษตรกรบ่อยครั้ง เมื่อถึงคราวตนเองมีฟาร์ม สั่งซื้อสินค้าให้มาส่ง ฯลฯ ผู้คนก็จะรู้จักในนามฟาร์มผู้จัดการ จึงเป็นที่มาของ ผู้จัดการฟาร์มในวันนี้
บ่อที่ใช้เลี้ยงกุ้งขาว
ผู้จัดการฟาร์มเป็นฟาร์มกุ้งขาวบนพื้นที่ราวๆ 50 ไร่ ตั้งอยู่ที่อำเภอคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา มีทั้งหมด 9 บ่อ บ่อ 2 ไร่ 2 บ่อ บ่อที่เหลือประมาณ 4 ไร่ ใช้เลี้ยงจริง 5 บ่อ ประกอบด้วยบ่อพัก บ่อชำ บ่อขี้เลน และบ่อเลี้ยง โดยที่ทุกบ่อจะมีท่อเชื่อมต่อกันเป็นทางเดินของน้ำ เรื่องแหล่งน้ำจะดูดเข้าปีละครั้ง ช่วงหน้าน้ำเค็มราวเดือนเมษายนโดยจะดูดน้ำเข้าให้เต็มทุกบ่อ สามารถหมุนเวียนน้ำใช้ได้ทั่วทั้งฟาร์ม
ในรอบปีจะสามารถทำการเลี้ยงได้ 2 ครอป มุ่งเน้นรอบการเลี้ยงเพราะต้องการพักบ่อ ลดความเสี่ยง ตัดวงจรโรค เฮียแฟทกล่าวต่ออีกว่าที่ฟาร์มจะเน้นความสะอาด การป้องกัน และระบบการจัดการ โดยถือเป็นหัวใจสำคัญของความสำเร็จ การเลี้ยงกุ้งจะมีลูกชายเป็นผู้จัดการฟาร์ม รวมถึง ว่าที่ ร.ต.วิชัย สังขรรค์ หรือ คุณหน่อง นักวิชาการประจำฟาร์ม เป็นกำลังสำคัญ
การสร้างอาหารธรรมชาติให้ลูกกุ้ง
โดยจะใช้ปลาป่น 50 กก. รำ 5 กก. และจุลินทรีย์น้ำแดง (super ps) 25 ลิตร หมักในถัง 200 ลิตร เติมน้ำให้เต็ม ใช้เวลาหมักไว้ 2 วัน เป็นอันใช้ได้ วิธีการนำไปใช้ คือ การใช้น้ำหมักเทรอบบ่อโดยตรงที่แสงแดดส่องถึง เมื่อตระเตรียมทุกกระบวนท่าเรียบร้อยดีแล้วเฮียแฟทบอกว่าสั่งลูกกุ้งรอได้เลย เพราะจะเกิดหนอนแดงภายใน 7 วัน ทำการเพิ่มระดับน้ำให้เป็นไปตามมาตรฐาน ความเค็มที่ใช้เลี้ยงอยู่ที่ 12-15 ppt.
เทคนิคการเลี้ยงกุ้ง ใช้เนื้อสับปะรด ทำ น้ำหมักสับปะรด
เคล็ดลับที่ต้องเปิดเผยจากการเข้าร่วมรับฟังการสัมมนาวิชาการจากกรมประมง ทำให้เกิดการใช้เทคนิคร่วม เพื่อให้ลูกกุ้งที่เลี้ยงโตดี รอดสูง โดยการจะใช้เนื้อสับปะรดที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่ช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ในอัตรา
- เนื้อสับปะรด 5 กก.
- น้ำตาลทราย 1 กก. ปั่นกับ
- น้ำ 3 ลิตร น้ำหมักสับปะรด น้ำหมักสับปะรด น้ำหมักสับปะรด น้ำหมักสับปะรด น้ำหมักสับปะรด น้ำหมักสับปะรด
- หมักไว้ในถังมิดชิด 5- 14 วัน หรือจนกว่าน้ำหมักจะมีกลิ่นหอม น้ำหมักสับปะรด น้ำหมักสับปะรด
เมื่อจะนำไปใช้น้ำหมักต้องผ่านกระบวนการกรองด้วยผ้าขาว นำเฉพาะน้ำไปผสมในอาหารให้กุ้งกิน ตลอดการเลี้ยง จะใช้ 10-20 ซีซี./อาหาร 1 กก. สามารถใช้น้ำหมักนี้ตั้งแต่เริ่มลงลูกกุ้งในบ่อดิน หรือบ่อชำ จนกระทั่งกุ้งอายุ 30-60 วัน หรือจนกว่าจะพ้นระยะเสี่ยงของการเกิดโรค สูตรนี้จะช่วยให้กุ้งสมบูรณ์ แข็งแรง มีภูมิต้านทานต่อโรค ส่งผลให้อัตรารอดสูง น้ำหมักสับปะรด น้ำหมักสับปะรด น้ำหมักสับปะรด น้ำหมักสับปะรด น้ำหมักสับปะรด
น้ำมันกระเทียมต้านเชื้อแบคทีเรีย
น้ำมันกระเทียมต้านเชื้อแบคทีเรีย จากการศึกษาในหลอดทดลองพบว่า กระเทียมสามารถต้านเชื้อแบคทีเรียก่อโรคได้หลายชนิด และได้มีการทดลองนำน้ำมันกระเทียมไปผสมอาหารเม็ดในอัตราส่วน 5 % ต่อน้ำหนักอาหารที่ให้กุ้งกิน พบว่าทำให้กุ้งมีภูมิคุ้มกันดีขึ้น และมีความสามารถต้านทานเชื้อแบคทีเรียได้ดียิ่งขึ้น
การเตรียมน้ำมันกระเทียม โดยการใช้กระเทียมที่มีขายตามท้องตลาด นำมาปอกเปลือก แล้วหั่นให้เป็นชิ้นเล็กๆ ปั่นให้ละเอียด หมักรวมกับน้ำมันพืชในสัดส่วน 1 : 1 (กระเทียม 1 กิโลกรัม ใช้น้ำมันพืช 1 ลิตร ) วางทิ้งไว้ข้ามคืน แล้วนำมากรองผ่านผ้าขาว แล้วตั้งไว้ให้น้ำมันเกิดการแยกชั้น เก็บเฉพาะชั้นน้ำมันไปใช้ผสมในอาหารให้กุ้งที่เลี้ยงกิน
น้ำมันกระเทียมสามารถเก็บไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดาเพื่อใช้สำหรับเคลือบอาหารเม็ดให้กุ้งกิน จะใช้น้ำมันกระเทียม 50 ซีซี./อาหาร 1 กก. เกลี่ยในอาหาร และผึ่งลมให้พอหมาด แล้วนำไปหว่านให้กุ้งกิน โดยจะให้กินทุกวันต่อเนื่อง เป็นเวลา 14 วัน
สูตรการใช้ หัวเชื้อจุลินทรีย์ (ปม.1) เพื่อใช้เป็นโปรไบโอติก
การใช้ หัวเชื้อจุลินทรีย์ (ปม.1) เพื่อบำบัดคุณภาพน้ำและดิน น้ำและดินถือเป็นปัจจัยสำคัญที่สามารถควบคุมและจัดการได้ เมื่อดินดี น้ำดี การเลี้ยงกุ้งก็จะไม่ใช่ปัญหาใหญ่ จุลินทรีย์ (ปม.1) สามารถนำไปใช้ในการบำบัด ปรับปรุงคุณภาพน้ำและดิน โดยการละลายน้ำสาดลงในบ่อ ในขั้นตอนการเตรียมบ่อ และยังใช้เป็นโปรไบโอติกโดยการผสมลงไปในอาหารกุ้ง เพื่อกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกัน และต้านทานโรคที่เกิดจากแบคทีเรีย หัวเชื้อจุลินทรีย์ หัวเชื้อจุลินทรีย์
การเตรียม หัวเชื้อจุลินทรีย์ (ปม.1) เพื่อใช้เป็นโปรไบโอติก
- หัวเชื้อจุลินทรีย์ (ปม.1) 5 กรัม
- กากน้ำตาล หรือน้ำตาลทรายแดง 20 กรัม หัวเชื้อจุลินทรีย์ หัวเชื้อจุลินทรีย์ หัวเชื้อจุลินทรีย์
- อาหารกุ้งบดละเอียด 10 กรัม หัวเชื้อจุลินทรีย์ หัวเชื้อจุลินทรีย์ หัวเชื้อจุลินทรีย์ หัวเชื้อจุลินทรีย์
- น้ำสะอาด 1 ลิตร หัวเชื้อจุลินทรีย์ หัวเชื้อจุลินทรีย์ หัวเชื้อจุลินทรีย์ หัวเชื้อจุลินทรีย์ หัวเชื้อจุลินทรีย
นำส่วนผสมทุกอย่างผสมรวมกันในภาชนะที่มีฝาปิด มีการให้อากาศ (เป่าลม) ระดับปานกลาง และเพียงพอ เพื่อช่วยให้ส่วนผสมไม่ตกตะกอน ใช้เวลาในการขยายหัวเชื้อ 36-72 ชั่วโมง จากนั้นนำหัวเชื้อมาผ่านการกรองด้วยผ้าขาว เก็บเฉพาะส่วนที่เป็นน้ำไปใช้ ใช้ หัวเชื้อจุลินทรีย์ (ปม.1) ปริมาณ 10-20 ซีซี./อาหาร 1 กก. คลุกเคล้ากับอาหารให้พอหมาด นำไปให้กุ้งกินทุกมื้อ จนลูกกุ้งอายุ 30-60 วัน หรือจนกว่าจะพ้นระยะเสี่ยงของการเกิดโรค
การดูคุณภาพน้ำ และควบคุมค่าต่างๆ
โดยในบ่อเลี้ยงจะลดการใช้แรงงานคน มาใช้เครื่องออโตฟีดแทน ปริมาณอาหารจะคำนวณตามโปรแกรมการกินอาหารของลูกกุ้งแต่ละบ่อ ตั้งความถี่และเวลาควบคู่ไปกับการเช็คยอเพื่อรู้ปริมาณอาหารที่แท้จริง การเปลี่ยนถ่ายน้ำทุกอาทิตย์เพื่อลดแอมโมเนียและของเสียภายในบ่อ ลดน้ำ ดูคุณภาพน้ำ ดูค่าต่างๆ ควบคุมคุณภาพในแบบของเฮียแฟท คือ
- pH 7.5-8
- อัลคาไลน์ 150-200
- ออกซิเจน 3 ขึ้นไป
- แอมโมเนียไม่เกิน 1
- แมกนีเซียมต้องมี 3 เท่า ของแคลเซียม
- โดยแคลเซียมจะยืนที่ 200 ขึ้น
ใช้ระยะเวลาการเลี้ยงมาจนได้กุ้ง 30-40 วัน ช่วงนี้แหละที่ถือเป็นปัญหาหนักใจของเฮียแฟท เป็นช่วงอันตราย รอด ไม่รอด ก็ช่วงนี้ เพราะกุ้งในช่วงนี้มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ลดไซส์ เพิ่มขนาดทุกวัน เฮียแฟทได้เล่าถึงสถานการณ์ที่ไม่คาดฝันแบบไม่เจตนา คือ เจอไนไตรท์ และแอมโมเนียสูง และขี้ขาว โรคยอดฮิต ทำให้กุ้งตายไปบางส่วน แต่ยังดีที่เฮียแฟทเตรียมตัวมาดี บวกกับที่ได้ปรึกษากรมประมง ก็เลยเอาตัวรอดมาได้
การแก้ปัญหาดังกล่าวคือ การตีน้ำเพิ่ม ดูดเลนออก เปลี่ยนถ่ายน้ำเข้า-ออกอยู่เสมอ ส่วนขี้ขาวไม่ต้องไปไหนไกล แก้ปัญหาด้วยน้ำมันกระเทียม ให้กินติดต่อกัน 7 วัน หลังครบ 7 วัน กินอาหารเหมือนเดิมตามปกติ สูตรนี้ได้ผลดี คุมอยู่ เฮียแฟทพิสูจน์มาแล้ว
ระบบการจัดการน้ำ
จากการระบาดของโรค EMS ที่ยังหาวิธีการเอาชนะไม่ได้ ส่วนหนึ่งของสาเหตุที่นักวิชาการกล่าวว่าเป็นปัจจัยของการเกิดโรค คือ ระบบการจัดการน้ำ ดังนั้นเพื่อตัดวงจรที่ทางฟาร์มสามารถควบคุมได้ต้องเริ่มที่น้ำ โดยเริ่มจากการดูดน้ำดิบจากคลองส่งน้ำเข้ามากักเก็บไว้ในบ่อพัก 7 วัน ผ่านการกรองแล้วกระจายไปยังบ่อชง บ่อชงซึ่งก็คือ บ่อเลี้ยงที่ผ่านการฆ่าเชื้อ และปรับสภาพมาแล้ว ก่อนปล่อยน้ำเข้าจะใช้ copper 5 กก./ไร่ เพื่อฆ่าศัตรูและพาหะ
จากนั้นจะเปิดน้ำเข้าจนได้ระดับ 1.5-2 เมตร ต่อด้วยการใช้กากชา 100 กก./ไร่ หว่านให้ทั่วบ่อ โดยจะผ่านการหมักก็ได้ไม่ว่ากัน ทิ้งไว้สักพัก ต่อด้วยการเปิดเครื่องตีน้ำทิ้งไว้ 1 ชั่วโมง เพื่อให้คลอรีนที่ใส่ลงไปฆ่าเชื้อร่วมด้วย ละลายอัตราการใช้คลอรีนจะใช้ที่ความเข้มข้น 35 ppm. เทให้ทั่วบ่อ ตีน้ำต่ออีก 12 ชั่วโมง แล้วค่อยพักบ่อ ก่อนปล่อยลูกกุ้งลงเลี้ยง คลอรีนที่ใช้จะสลายตัวภายใน 4 วัน
การชำลูกกุ้ง
หลังจากได้ลูกกุ้งมา เฮียแฟทอธิบายว่าจะมี 2 แบบ แบบแรกชำก่อน 1 เดือน จะใช้กับลูกกุ้ง cp ถ้าเลี้ยงผ่านโตเร็ว ได้ไซส์ โดยบ่อชำจะเป็นบ่อ 2 ไร่ ทำคล้ายระบบปิด ควบคุมสภาพแวดล้อม และศัตรูลูกกุ้ง ปล่อยกุ้ง 600,000 ตัว ให้อาหารวันละ 6 มื้อ 3 วันแรก ให้กินเบอร์ 1 ต่อด้วยเบอร์ 2 จนถึง 10 วัน ปิดท้ายด้วยเบอร์ 3 จนครบ 1 เดือน
การให้อาหารลูกกุ้งชำในบ่อจะใช้แรงงานคนหว่านมือให้รอบบ่อ ส่วนแบบสองจะปล่อยตรงเลย จะเป็นลุกกุ้งที่ใช้ของ จากแหล่ง อาทิ ชุติกาญจน์ แฮทเชอรี่ เพราะมีความสด ความห้าว แข็งแรง ทนทานต่อโรค ตั้งแต่เป็นลูกกุ้ง จึงสามารถปล่อยลงเลี้ยงได้ทันที แต่ถ้าบ่อชำว่างจะต้องการชำลูกกุ้งก่อนก็ได้ เพื่อให้ลุกกุ้งแข็งแรงกว่าเดิมก่อนปล่อยลูกกุ้ง
การจัดการบ่อเลี้ยงกุ้ง
ส่วนการจัดการเพิ่มเติมในบ่อชำ ในช่วงนี้เฮียแฟทจะเน้นมาก ไล่ลงไปตั้งแต่การจัดการขัดขอบบ่อ ลดการสะสมของเชื้อโรค ด้วยการเปลี่ยนถ่ายน้ำปริมาณ 10 เซนติเมตร การดูดน้ำออกทางเซ็นทรัลเลน วัดคุณภาพน้ำอาทิตย์ 6-8 ครั้ง โดยเฉพาะช่วงวันโกน วันพระ ใช้ระยะเวลาการชำลูกกุ้ง 1 เดือน แล้วจึงค่อยขยายลูกกุ้งลงบ่อใหญ่
บ่อเลี้ยง หรือบ่อชง เป็นบ่อที่เตรียมพร้อมเพื่อที่จะลงลูกกุ้งเลี้ยง การเคลื่อนย้ายลูกกุ้งจากบ่อชำ หรือการปล่อยลูกกุ้งลงเลี้ยง จะเลือกปล่อยช่วงเช้าลงในอัตราการปล่อยลูกกุ้ง 100,000 ตัว/ไร่ วันแรกไม่มีการให้อาหาร อาศัยอาหารธรรมชาติที่สร้างขึ้นก่อนหน้านี้เป็นอาหาร วันที่ 2 แล้วค่อยให้อาหาร
คำแนะนำ…การเลี้ยงกุ้งขาว
การเลี้ยงกุ้งขาวถ้ามีการจัดการที่ดี เน้นการป้องกัน และรู้จักพลิกแพลง ไม่ย่ำอยู่กับที่ โอกาสที่จะประสบความสำเร็จบนเส้นทางที่เต็มไปด้วยขวากหนามก็มี เหมือนกับเฮียแฟท เจ้านายใหญ่ผู้จัดการฟาร์ม ที่ตอนนี้มีทั้งความสนุก ท้าทายกับการเลี้ยงกุ้งของคนวัยเกษียณ ชนิดเรียกว่าฮิตติดลมบนไปแล้ว สำหรับเกษตรกรนักเลงกุ้งด้วยกัน เฮียแฟทยินดีที่จะให้คำแนะนำปรึกษาแบบไม่ต้องเกรงใจตามประสาคนกันเองที่เบอร์ 08-1687-6747
สุดท้ายนี้ทีมงานต้องขอขอบคุณ คุณกิตบัณฑูรย์ สืบสมาน (เฮียแฟท) ว่าที่ ร.ต.วิชัย สังขรรค์ (นักวิชาการหน่อง) โทร.08-9642-2097 สามารถติดต่อสอบถามเทคนิค เคล็ดไม่ลับ ของเฮียแฟท เพิ่มเติมได้ที่ 33/2 หมู่ 3 ตำบลบางเล่า อำเภอคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา 24000
และสำหรับเกษตรกรที่สนใจพลิกแพลงมาทดลองใช้ลูกกุ้งคุณภาพดี F0 ของ ชุติกาญจน์ (ไทยแลนด์) แฮทเชอรี่ ซึ่งในไม่ช้านี้กำลังจะเปิดตัวสายพันธุ์ พัฒนาการเจริญเติบโตควบคู่กับอัตรารอดสูง ออกสู่สายตาคนเลี้ยงกุ้งได้พิสูจน์ นำไปเลี้ยงเพื่อสร้างรายได้ และลดความเสียหาย สามารถสั่งจอง และสอบถามข้อมูลได้ที่ ชุติกาญจน์ฟาร์ม (ไทยแลนด์) แฮทเชอรี่ 44/6 หมู่ 1 ต.บางตีนเป็ด อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา หรือ โทร.08-1570-2418