ทุกวันนี้อุตสาหกรรมผลิตปลากะพงต้องกำลังต่อสู้กับปัญหาหลายๆ อย่าง ทำให้เกิดผลกระทบเป็นวงกว้างต่อหลายๆ ฝ่าย ซึ่งเกิดปัญหาโดยตรงถึงเกษตรกรผู้เลี้ยงเป็นอย่างมาก เพราะในภาคผู้เลี้ยงยังคงต้องเลี้ยงปลากะพงกันต่อไป เพราะเป็นอาชีพเดียวที่เกษตรกรมีอยู่ จึงไม่อาจหยุดเลี้ยงแบบกะทันหันได้เลย ต้องคอยประคับประคองผลผลิตที่อยู่ภายในบ่อให้ตลอดรอดฝั่ง อาหารปลากะพง
เพราะทั้งหมด คือ เงินที่ใช้เป็นต้นทุนในการเลี้ยง ปัจจุบันเกษตรกรผู้เลี้ยงปลากะพงต้องมีความเอาใจใส่ในกระบวนการเลี้ยงให้มากที่สุด เพื่อก้าวผ่านปัญหาในสถานการณ์แบบนี้ไปให้ได้
สภาพพื้นที่เลี้ยงปลากะพง
นิตยสารสัตว์น้ำยังคงตามหาแรงบันดาลใจมาฝากเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำทุกท่าน ครั้งนี้พามาพบกับเกษตรกรผู้เลี้ยงปลากะพงมากฝีมืออีกหนึ่งท่าน ที่มีแนวคิดในการปรับตัวเพื่อให้ทันกับสถานการณ์ปัจจุบัน ลองมาฟังแนวคิดจากทาง “กำนันไฝ” อดีตกำนันคนเก่งของ ตำบลโรงเข้ อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ที่มากประสบการณ์ในวงการสัตว์น้ำกว่า 34 ปี ทำให้กำนันเป็นผู้เชี่ยวชาญที่สามารถถ่ายทอดเทคนิคต่างๆ ให้กับเกษตรกรหลายๆ คนในพื้นที่
โดยกำนันไฝเล่าให้เราฟังว่า “ได้เริ่มเลี้ยงกุ้งกุลาดำตั้งแต่ปี พ.ศ.2529 ต่อมาได้เริ่มเลี้ยงทั้งกุ้งขาวแวนนาไมและกุ้งก้ามกรามอยู่หลายปี หลังจากนั้นได้หันมาเริ่มเลี้ยงปลาดุก เพื่อรองรับตลาดในช่วงนั้น เมื่อมีประสบการณ์ด้านการเลี้ยงปลาแล้ว
จึงสนใจหันมาเริ่มเลี้ยงปลากะพงจนถึงปัจจุบัน อาจมีสลับกับการเลี้ยงกุ้งขาวสลับกันไปแล้วแต่ช่วง ปัจจุบันได้เลี้ยงปลากะพงเป็นหลัก และส่งผลผลิตสู่ท้องตลาดมากขึ้น มีบ่อเลี้ยงปลากะพงทั้งหมด 4 บ่อ บนเนื้อที่ 20 กว่าไร่ ทุกวันนี้ถ้าถ้าปลาติดดีจะได้ผลผลิตต่อบ่อกว่า 17 ตัน ซึ่งเป็นที่ต้องการของพ่อค้าแม่ขาย และต่างการันตีว่าปลาที่มาจากบ่อกำนันไฝจะเนื้ออร่อย ไร้กลิ่น มีคุณภาพเป็นอย่างมาก”
เทคนิคการเลี้ยงปลากะพงคุณภาพ ฉบับ “กำนันไฝ”
กำนันไฝ ผู้ผลิตปลากะพงขาวคุณภาพ โดยผ่านกระบวนการเลี้ยงที่ได้รับการใส่ใจดูแลเป็นอย่างดี โดยมีมาตรฐานการผลิตที่มีประสิทธิภาพ และปลอดภัยสำหรับผู้บริโภคเป็นอย่างมาก เพราะเลือกใช้ปัจจัยในการผลิตที่มีคุณภาพ คัดเลือกสายพันธุ์จากแหล่งที่เชื่อถือได้ คัดสรรอาหารเม็ดสูตรพิเศษที่เหมาะสม ทำให้ผลผลิตที่ออกจากฟาร์มเป็นที่ต้องการของตลาดเป็นอย่างมาก โดยภายในฟาร์มของกำนันประกอบไปด้วยบ่อเลี้ยงขนาด 5 ไร่ จำนวน 4 บ่อ โดยมีเทคนิคการเลี้ยงดังนี้
ตากบ่อทิ้งไว้ประมาณ 15 วัน หรือรอให้ดินแตกนิดหน่อย จากนั้นหว่านปูนขาว 30 ถุง/บ่อ ( ถุงละ 10 กก.) ในพื้นที่ 5 ไร่ ส่วนใหญ่หว่านแนวกองเลน ตรงกลางเลน ทิ้งไว้ 1 คืน จากนั้นเอาน้ำเข้าผ่านถุงกรองกันปลาใหญ่ไม่ให้เข้ามากินลูกปลา นำน้ำเข้า 50% ของบ่อ ทรีตน้ำรอประมาณ 5-7 วัน เพื่อรออนุบาลลูกปลา
ล้อมอวนอนุบาลลูกปลาภายในบ่อ กว้างประมาณ 6 เมตร ยาวประมาณ 10 เมตร ฝังปลายอวนกับพื้นดินกันลูกปลาหลุดออก พร้อมติดตั้งเครื่องตีน้ำจำนวน 3 ตัว และเครื่องให้อากาศใต้น้ำให้พร้อม
ปล่อยลูกพันธุ์ปลากะพงลงในพื้นที่รออนุบาล บ่อขนาด 5 ไร่ ทางฟาร์มเลือกปล่อยลูกปลาขนาด 3 นิ้ว จำนวน 35,000 ตัว/บ่อ จากนั้นจะอนุบาลในอวนอนุบาลประมาณ 30-35 วัน
เมื่อลงลูกปลาเรียบร้อย วันพรุ่งนี้สามารถเริ่มให้อาหารปลาได้เลย ค่อยๆ ฝึกให้ปลากินอาหารเบอร์เล็ก ปลาจะกินอาหารเยอะหรือไม่ขึ้นอยู่กับการฝึกมา ถ้าลูกปลาฝึกกินอาหารเม็ดมาดีจะเข้ากลุ่มเร็ว จะกินอาหารเก่งและทั่วถึง ช่วงแรกการให้อาหารต้องใจเย็น ค่อยๆ หว่าน หว่านจุดเดียวให้มารวมกลุ่มเพื่อลดการแตกไซซ์ของลูกปลา
เมื่ออนุบาลครบระยะเวลาประมาณ 30 วัน กระจายปลาจากจุดอนุบาลจุดแรกสู่ภายในบ่อ แต่ยังล้อมอวนอนุบาลอีกรอบในสัดส่วนประมาณครึ่งบ่อเลี้ยง อนุบาลต่อไปอีกประมาณ 2 เดือน จะสามารถปล่อยปลาออกเต็มบ่อได้เลย และค่อยๆ เติมระดับน้ำภายในบ่อเลี้ยงขึ้นมาตามความเหมาะสม
การให้ อาหารปลากะพง
การให้อาหารระหว่างการเลี้ยง ทางฟาร์มเลือกให้ 2 มื้อ/วัน โดยอัตราการให้อาหาร คือ
- ปลาขนาด 3 นิ้ว กินอาหารเบอร์ 3,
- ประมาณ 5-6 วัน จะเปลี่ยนเป็นเบอร์ 4,
- ประมาณ 35 วัน จะเปลี่ยนเป็นเบอร์ 5,
- ประมาณ 60 วัน จะเปลี่ยนมาให้อาหารเบอร์ 6,
- พอครบ 90 วัน จะเริ่มให้อาหารเบอร์ 7 เพราะเม็ดเล็กปลาจะไม่กิน หรืออาจกินไม่เต็มที่
- เมื่อปลากะพงขนาดได้ประมาณ 7-8 ขีด จะปรับให้กินอาหารเบอร์ 8 ช่วงนี้จะสังเกตการเจริญเติบโตได้ดีกว่าเม็ดเล็ก สามารถขยับไซซ์จากปลา 7-8 ขีด ขึ้นไป 1 กิโลกรัม เลย
ที่สำคัญอาหารที่ให้ล้วนไม่ได้คลุกสารเคมีอะไรใดๆ ทั้งสิ้น แต่จะให้ความสำคัญในช่วงระหว่างการกินอาหารอยู่อย่างประจำ เพื่อปรับขนาดเม็ดอาหารให้เหมาะสมกับปลากะพงภายในบ่อเลี้ยง จะสามารถลดปัญหาการแตกไซซ์ของปลาได้เป็นอย่างดี
ระหว่างการเลี้ยงทางฟาร์มมีการเติมจุลินทรีย์ลงในบ่อเลี้ยงอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยอาทิตย์ละ 1 ครั้ง เพื่อลดและย่อยของเสียสะสมภายในบ่อเลี้ยง บำบัดน้ำภายในบ่อเลี้ยงไปในตัวโดยไม่ต้องใช้สารเคมี
ใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงต่อรอบประมาณ 4-5 เดือน จะได้ปลากะพงภายในบ่อขนาดประมาณ 1-1.2 กิโลกรัม (กำนันให้เหตุผลว่าเพราะถ้าเราเลี้ยงยาวไป 6-7 เดือน ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงจะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย แต่ถ้าคงระยะไว้ให้ไม่เกิน 5 เดือน ต้นทุนจะลดลง) ผลผลิตทั้งหมดภายในบ่อจะอยู่ที่ประมาณ 24 ตัน/บ่อ โดยมีแม่ค้ามาจองผลผลิตไว้ทั้งหมด
ข้อดีของ อาหารปลากะพง Uni-President
กำนันไฝเล่าให้ฟังถึงการคัดเลือก อาหารปลากะพง มาใช้ภายในฟาร์มไว้ว่า ตนเองเลือกใช้อาหารที่มีคุณภาพ เพราะเป็นส่วนสำคัญเป็นอย่างมากในเรื่องการเจริญเติบโตของปลากะพง จึงต้องเลือกค่ายผู้ผลิตอาหารที่มั่นใจในเรื่องมาตรฐานการผลิต
โดยเลือกใช้อาหาร Uni-President (กะพงทอง) ของ บริษัท อะเมซอน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด มาตั้งแต่เริ่มเลี้ยง เพราะสามารถคงอัตราแลกเนื้อ หรือFCR 1.1-1.2 มาอย่างต่อเนื่อง และตนยังเป็นเกษตรกรในเครือข่ายของบริษัท ได้รับการดูแลตั้งแต่เรื่องอาหาร จนถึงการจับผลผลิตส่งสู่ท้องตลาดเลยทีเดียว อีกอย่างผลผลิตจะมีคุณภาพ อัตราการเจริญเติบโตดี สีสวยเหลืองทอง ไม่ออกดำ เพราะถ้ามีเกล็ดดำราคาจะตกลงมาก
อีกทั้งยังต่างจากการเลี้ยงด้วยอาหารสดด้วย เพราะจะสามารถควบคุมต้นทุนได้เป็นอย่างดี และช่วยลดกระบวนการจัดการลงได้เยอะมาก ด้วยต้นทุนที่ใกล้เคียงกัน แต่สามารถได้คุณภาพเนื้อ และอัตราการเจริญเติบโต ที่ดีกว่าอย่างเห็นได้ชัด
ฝากถึงเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลากะพง
กำนันไฝยังฝากถึงพี่น้องเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลากะพงไว้ว่า “ช่วงนี้พยายามลดต้นทุน เพื่อสู้กับวิกฤต ตอนนี้ส่วนใหญ่ขาดทุนเกือบทุกบ่อ ต้นทุนสูง ต้นทุนอยู่ที่อาหารเป็นสำคัญ วันนี้เราต้องพึ่งตัวเองก่อน อย่ารอน้ำบ่อหน้า พยายามเลี้ยงให้น้อย เลี้ยงเอง ดูแลเอง เลี้ยงให้ได้คุณภาพ อัตราการรอดสูง ผลิตปลาให้ตรงตามความต้องการตลาดว่าต้องการปลาไซซ์ไหน เราก็จะอยู่ได้”
สำหรับท่านใดที่สนใจสอบถามข้อมูล อาหารปลากะพง Uni-President (กะพงทอง) เพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ AMAZON International Co.,Ltd. โทร.091-740-0584 คุณอัลเบิร์ต และ 083-247-4400 คุณโอ็ต ได้เลย
ขอบคุณข้อมูลการเลี้ยงจาก คุณไฝ ปิ่นแก้ว หรือกำนันไฝ ติดต่อสอบถาม โทร.081-401-7812 ที่ตั้ง 44 หมู่ 2 ตำบลโรงเข้ อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร