การทำ เกษตรผสมผสาน โดยเน้นทำด้านการประมงเป็นหลัก ผสมผสานกับการปลูกพืช และเลี้ยงสัตว์
เดิมเกษตรกรส่วนใหญ่จะทำการเกษตรอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ตัวเองชอบหรือถนัด แต่ผลลัพธ์ คือ เมื่อไม่ได้ผลผลิตตามที่คาดหวังไว้ก็จะขาดทุน จนทำให้เป็นหนี้สินจากการไปกู้ยืมเงินมาลงทุนใหม่ แต่ปัจจุบันเกษตรกรเริ่มหันมาทำการเกษตรแนวใหม่ คือ การทำ เกษตรผสมผสาน ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้หลายทาง หากขาดทุนจากการทำอย่างหนึ่งก็จะมีรายได้จากอีกอย่างหนึ่งมาทดแทนกันได้ เหมือนมีภูมิคุ้มกันในการประกอบอาชีพ
ทางทีมงานนิตยสารสัตว์น้ำจึงจะพาผู้อ่านทุกท่านไปรู้จักศูนย์การเรียนรู้ เกษตรผสมผสาน ตามแนวพระราชดำริ (ไร่พอเพียงตามรอยพ่อ) ที่อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย ก่อตั้งโดย “คุณสุรพินโญ พลาพล” หรือ “อาจารย์โญ” โดยการทำ เกษตรผสมผสาน โดยเน้นทำด้านการประมงเป็นหลัก เน้นการ เลี้ยงกบ เลี้ยง ปลาน้ำจืด ปลาหมอ ปลาสลิด ปลาช่อน ปลาดุก, การเลี้ยงไก่ไข่ และ ปลูก ไม้ผล
เริ่มต้นอาจารย์โญได้ตั้งชื่อว่า “ไร่พอเพียงตามรอยพ่อ” โดยใช้พื้นที่ที่มีอยู่ประมาณ 20 ไร่ ขุดบ่อเลี้ยงปลา ปลูกพืช แต่เน้นไปทางด้านที่ถนัดที่สุด คือ ประมง โดยเริ่มที่การ เลี้ยงกบ เพราะคิดว่าทำง่ายที่สุด โดยขุดบ่อน้ำขนาด 1 ไร่ แล้วใช้กระชังแขวน เลี้ยงกบ ในบ่อ
หลังจากเลี้ยงได้ 3 เดือนแรก จับกบขายแล้วขาดทุน 60,000 บาท จึงเปลี่ยนมาเลี้ยงในบ่อลูกเล็กๆ ก็ยังขาดทุน ทำให้ต้องมาหาสาเหตุว่าปัญหาเกิดจากอะไร และพบว่าลูกกบที่ซื้อมาเลี้ยงมีราคาค่อนข้างสูง และไม่แข็งแรง รวมถึงการจัดการการเลี้ยงที่ยังไม่ดีพอ
ในที่สุดอาจารย์โญได้ทำการศึกษาหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต หนังสือ และสอบถามจากผู้ที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับวิธีการเพาะเลี้ยงลูกกบ เพื่อที่จะเพาะลูกกบเอง แต่ช่วงแรกๆ ที่ลองเพาะก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ จึงใช้วิธีสังเกตดูพฤติกรรมของกบที่เลี้ยงไว้ รวมถึงปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม และปัจจัยด้านอื่นๆ แล้วนำมาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลทางวิชาการที่ได้ศึกษามา เพื่อหาวิธีเพาะพันธุ์ลูกกบโดยไม่ใช้ฮอร์โมน “ซูพรีแฟค (Suprefact)” ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้อายุพ่อแม่พันธุ์สั้นลง และลูกกบอ่อนแอ
จนในที่สุดได้พบวิธีการเพาะ เลี้ยงกบ โดยเน้นพึ่งพาธรรมชาติ ทำให้ได้ลูกกบจำนวนมาก แข็งแรง และมีอัตรารอดสูง ลดต้นทุนจากการซื้อลูกกบมาเลี้ยงเป็นกบเนื้อและยังสามารถจำหน่ายลูกกบ รวมถึงปัจจัยต่างๆ ที่ใช้ เลี้ยงกบ ทำให้มีรายได้เพิ่มอีกด้วย
เลี้ยงกบ ดีมีกำไรแน่นอน
บ่อ เลี้ยงกบ ของอาจารย์โญขุดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าพื้นที่ 1 งาน ลึก 1.5 เมตร มีคันบ่อสูงไม่ต่ำกว่า 60 เซนติเมตร ล้อมบ่อด้วยตาข่าย และมีหลังคาบังแดดไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของบ่อ โรยปูนขาวและปูนโดโลไมท์ 50 กิโลกรัม แล้วตากบ่อไว้ 7-15 วัน
หลังจากนั้นเติมน้ำเข้าบ่อประมาณ 30-50 เซนติเมตร และใส่ผักบุ้งเพื่อให้มีสภาพแวดล้อมเลียนแบบธรรมชาติ และเป็นที่หลบซ่อนสำหรับลูกกบ ระหว่างการเลี้ยงให้เน้นเรื่องน้ำ ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำ และใส่จุลินทรีย์ 2-3 ครั้งต่อการเลี้ยงหนึ่งรอบ
การคัดเลือกสายพันธุ์กบ
การคัดเลือกสายพันธุ์กบมาเพาะเลี้ยง คือ อีกหนึ่งปัจจัยเริ่มต้นที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ ซึ่งอาจารย์โญจะคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์กบที่มีความสมบูรณ์และแข็งแรงที่สุดไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์ และรวบรวมพ่อแม่พันธุ์จากแหล่งอื่นๆ มาไว้ผสมไขว้สายพันธุ์ เพื่อไม่ให้เกิดสายพันธุ์เลือดชิด
ทำให้ลูกกบมีอัตราการรอดสูง และทนทานต่อโรค การอนุบาลลูกอ๊อดจะใช้บ่อขนาด 1 งาน เตรียมน้ำเพื่ออนุบาล แล้วนำลูกอ๊อดไปปล่อยในอัตราส่วน 50-70 ตัว/ตารางเมตร ใช้เวลาอนุบาล 30 วัน
การให้อาหารกบ (ให้คำนวณจากอายุของกบ) ดังนี้
- อายุ 5-35 วัน ให้อาหารขนาดเม็ดเล็กสุด โปรตีน 40 %
- อายุ 36-45 วัน ให้อาหารเม็ดเบอร์ 1 โปรตีน 35 %
- อายุ 46-59 วัน ให้อาหารเม็ดเบอร์ 2 โปรตีน 35 %
- อายุ 60 วันขึ้นไป ให้อาหารเม็ดเบอร์ 3 โปรตีน 30 %
การเลี้ยงแต่ละรอบใช้เวลาประมาณ 2-3 เดือน โดยใช้อาหารประมาณ 200 กระสอบ/บ่อ ได้ผลผลิตประมาณ 5-6 ตัน/บ่อ ต้นทุนการผลิตประมาณ 24-30 บาท/กบ 1 กิโลกรัม ราคาขึ้นอยู่กับราคาขาย แต่ไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 40 บาท แต่หากขายปลีกได้ราคาประมาณกิโลกรัมละ 80-100 บาท
การเพาะเลี้ยง ปลาน้ำจืด ปลาหมอ ปลาสลิด ปลาช่อน ปลาดุก, การเลี้ยงไก่ไข่ และ ปลูก ไม้ผล
จากความสำเร็จในการเพาะ เลี้ยงกบ อาจารย์โญก็เริ่มมาศึกษาด้านการเพาะเลี้ยง ปลาน้ำจืด บ้าง โดยมี ปลาหมอ ปลาสลิด ปลาช่อน ปลาดุก เป็นต้น ยกเว้นปลานิล ปลายี่สก และปลานวลจันทร์ ที่รับจากฟาร์มอื่นมาเลี้ยง
รวมไปถึงมีการเลี้ยงสัตว์ เช่น ไก่ไข่ โดยพัฒนาสายพันธุ์เอง และจำหน่ายทั้งลูกไก่ ไก่สาว และแม่ไก่ไข่ ด้วย พร้อมกับรับซื้อไข่จากเกษตรกรที่ซื้อแม่ไก่ไปมาจำหน่ายต่ออีกด้วย
นอกจากนี้ยังทำนา ปลูกพืช มีทั้ง ไม้ผล และไม้ยืนต้น รูปแบบวิธีทำการเกษตรของอาจารย์โญจะเน้นที่การปลอดสารเคมี ปลอดภัยต่อผู้บริโภค
การพัฒนาสายพันธุ์ปลาหมอ
นอกจากกบที่เป็นจุดเด่นแล้ว ปลาหมอชุมพร 1 คือ อีกหนึ่งชนิดสัตว์น้ำที่เด่นไม่แพ้กัน โดยการนำ ปลาหมอ ทุกสายพันธุ์ทั่วประเทศไทยมาพัฒนาสายพันธุ์ แล้วทำการแปลงเพศ โดยใช้ฮอร์โมน 17 β-estradiol (EST) 60 มิลลิกรัม ผสมกับอาหาร 1 กิโลกรัม ให้ลูกปลากินเป็นเวลา 23-28 วัน ปลาหมอ ก็จะเป็นเพศเมียเกือบทั้งหมด
ลักษณะจำเพาะของปลาหมอสายพันธุ์ชุมพร 1
- ส่วนหัวมีขนาดเล็ก ความกว้างและความยาวน้อยกว่าความกว้างของลำตัว
- ลำตัวค่อนข้างแบน
- ความกว้างของลำตัวมีค่าอยู่ระหว่าง 30-40 % ของความยาวลำตัว
- ความหนาของลำตัวมีค่าประมาณ 19-27 % ของความยาวลำตัว
- เจริญเติบโตเร็ว และให้ผลผลิตสูง
การเลี้ยงปลาหมอชุมพร 1
ปลาหมอชุมพร 1 ใช้ระยะเวลาการเลี้ยงประมาณ 4 เดือน ก็จะสามารถจับขายได้ โดยมีขนาด 3-6 ตัว/กิโลกรัม แต่ลูกพันธุ์ของอาจารย์โญ ถ้าเกษตรกรซื้อไปเลี้ยงใช้เวลาเพียง 3 เดือน เท่านั้น เนื่องจากจำหน่ายลูกพันธุ์ขนาดใหญ่ 4-6 เซนติเมตร และมีอัตราการรอดตายสูง สามารถเลี้ยงได้ทั้งในบ่อดิน บ่อปูน บ่อพลาสติก กระชัง
แต่การเลี้ยงในบ่อดินนั้นดีที่สุด บ่อขนาด 1 ไร่ ลึก 1.5-2.0 เมตร สามารถเลี้ยงปลาหมอชุมพรได้ถึง 10,000 ตัว และไม่ต้องทำสีน้ำให้เขียวก่อนการปล่อยเลี้ยง เพราะว่าปลาหมอชุมพร 1 เป็นปลากินเนื้อ และมีความแข็งแรง สามารถใช้เวลาเตรียมบ่อ 4-5 วัน แล้วปล่อยลูกปลาลงเลี้ยงได้ ไม่ควรเตรียมบ่อนานเป็นเดือน เพื่อป้องกันศัตรูของลูกปลามาวางไข่
หากพบว่ามีศัตรูลูกปลาอยู่ในบ่อ แนะนำให้ใช้น้ำมันพืชประมาณ 1 ลัง เทลงในบ่อ เพื่อไม่ให้แมลงวางไข่ได้ วิธีการนี้ไม่เป็นอันตรายต่อลูกปลา ช่วงแรกให้อาหารที่มีโปรตีน 40 % ขึ้นไป หลังจากนั้นใช้อาหารปลาดุกเบอร์ 1 เมื่อปลาโตขึ้นอีกให้ใช้อาหารปลาดุกเบอร์ 2 หรือใช้อาหารกบ ซึ่งมีโปรตีนสูงกว่าก็ได้ ให้อาหารวันละ 2 ครั้ง คือเช้า และเย็น ใช้อาหารประมาณ 125-140 กระสอบ
การเลี้ยง ปลาหมอ แปลงเพศ
ปลาหมอ แปลงเพศเป็นปลาเพศเมียเกือบทั้งหมด จะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ ทำให้เกษตรกรได้ผลผลิตมากขึ้น แต่มีข้อเสีย คือ ปลาเป็นโรคง่าย อัตราการรอดตายต่ำ อาจเกิดฮอร์โมนตกค้างในเนื้อปลาแล้วสะสมในร่างกายของผู้บริโภคได้ เกษตรผสมผสาน เกษตรผสมผสาน เกษตรผสมผสาน เกษตรผสมผสาน เกษตรผสมผสาน เกษตรผสมผสาน
ซึ่งตรงข้ามกับ ปลาหมอ ไม่แปลงเพศที่ทนทานต่อโรค อัตราการรอดตายสูง ตัวเมียมีขนาดเท่าปลาหมอแปลงเพศ แต่ปัญหา คือ ปลาอาจจะมีการแตกไซส์มากกว่าปลาหมอแปลงเพศ แต่ปัญหาการแตกไซส์มีหลากหลายสาเหตุ ปัญหาที่สำคัญ คือ ความสมบูรณ์ของพ่อแม่พันธุ์ปลา ถ้าพ่อแม่พันธุ์ปลายังไม่พร้อมแล้วทำการเร่งผสม ลูกปลาที่ได้มาเลี้ยงยังไงปลาก็จะแตกไซส์
นอกจากนี้ยังมีเรื่องของอัตราการปล่อย ควรปล่อยในอัตราความหนาแน่นที่ 30 ตัว/ตารางเมตร ระดับความลึกของน้ำ 1.5-2.0 เมตร และต้องให้อาหารในปริมาณที่เพียงพอ ถ้าน้อยเกินไปลูกปลาที่ไม่ได้รับอาหารจะแคระแกร็น ส่งผลให้ปลาแตกไซส์มากขึ้น เกษตรผสมผสาน เกษตรผสมผสาน
สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์การเรียนรู้ เกษตรผสมผสาน ตามแนวพระราชดำริ (ไร่พอเพียงตามรอยพ่อ) คุณสุรพินโญ พลาพล โทรศัพท์ 081-297-2399 ID Line: yo25191602