โปรตีนสูง อัตรารอดดี เพราะอาหารปลาโมโม่
จากโชเฟอร์ ขับรถแท๊กซี่ในเมืองกรุง ได้หันเหมาร่วมลงทุนกับเพื่อนสร้างอาชีพที่มั่นคงจากเดิม อาชีพการเลี้ยงปลาในกระชังกับโครงการของบริษัท ที่ให้ความมั่นใจ ว่ามีตลาดรับซื้อคืน แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะราคาอาหารสูง ปลาขายออกไปในราคาต่ำ จึงเลิกกิจการ ต่างคนต่างไป ด้วยใจสู้อยากที่จะสานฝันต่อไป คุณธนพฤทธิ์ ชาติศถาวร หรือ คุณแจ๊ค เมื่อประมาณปี 2555 เริ่มต้นฉายเดียวในวงการเลี้ยงปลากระชังที่ 24 กระชัง ประจวบเหมาะกับราคาปลาถูก 55 บาท/กิโลกรัม ไปต่อไม่ไหวจึงหันจากการเลี้ยงปลาเนื้อมาเป็นการชำลูกปลาในกระชัง ส่งต่อให้คนเลี้ยงที่มีทุน ลูกค้ารายแรกเป็นคุณป้าทองไสย์ไร่ขามที่มีกว่าร้อยกระชังเป็นลูกค้าหลัก
การอนุบาลลูกปลาในกระชังอัตรารอดเพียง 20% เหตุผลเพราะในเขื่อนสารพัดเชื้อจะรวมตัว จูโจมลูกปลาได้ง่ายและค่อนข้างรุนแรงมาก ตัวที่อ่อนแอจะทยอยตาย ลูกปลาที่เหลือรอด ถ้าในภาษาเรียกของคนเลี้ยงปลา คือ ปลาผ่านเชื้อ
เตรียมบ่อก่อนลงลูกปลา บ่อที่ใช้งานแล้วจะทำการลอกบ่อ กำจัดเลนของเสียก่อน แล้วตากบ่อให้แห้ง หว่านปูนขาว 10 ลูก จากนั้นจะเริ่มทำน้ำเขียวและหาลูกไรมาปล่อยให้ขยายพันธุ์ในบ่อ ประมาณ 1 สัปดาห์ จึงนำลูกปลาลงปล่อยเลี้ยงในอัตรา 50,000 ตัว/บ่อ
ปัจจุบัน คุณแจ๊ค ปรับเปลี่ยนวิธีการอนุบาลจากกระชังไปเป็นการอนุบาลในบ่อดินขนาด 2 งาน อัตราปล่อย 50,000 ตัว ใช้ระยะเวลาการชำในบ่อดิน 25-30 วัน ได้ไซส์ประมาณ 100-150 ตัว/กิโล แล้วจึงย้ายไปชำในกระชัง 5×5 เมตร ปล่อยอนุบาลต่อในอัตรา 8,000 ตัว ใช้ระยะเวลา 25-30 วัน แล้วคัดไซส์จำหน่าย
อาหารและการให้อาหาร เมื่อปล่อยปลาลงเลี้ยง และในบ่อมีลูกไรเป็นอาหาร ช่วง1-2 วันแรกจะยังไม่มีการให้อาหาร เมื่อเข้าวันที่ 3 จะหว่านรำและให้อาหารปลาโมโม่ คุณแจ๊คจะไม่ให้อาหารเม็ดสำเร็จรูทันที แต่จะใช้เทคนิคโดยจะนำอาหารไปแช่ให้เม็ดอาหารนิ่ม เกิดการพองตัวก่อน เพื่อให้ลูกปลากินอาหารได้ง่าย และอาหารไม่ไปอืดอยู่ในท้องลูกปลา วันละ 2 มื้อ จากอัตรารอด 20 % หลังจากใช้อาหารปาโมโม่ อัตรารอดเพิ่มขึ้นเป็น 70-80 %
เทคนิคเพิ่มความแข็งแรง
การเพิ่มความแข็งแรงให้กับลูกปลาในบ่ออนุบาล คุณแจ๊คจะใช้ภูมิปัญญาชาวบ้าน โดยใช้มะขามเปียก 1 กก. ละลายในน้ำอุ่น 3 ลิตร และผสมเกลือ 1 กำมือ ทิ้งค้างคืน ให้เกิดการแตกตัว
การใช้ จากนั้นจะคั้นเอาแต่เนื้อละเอียด เก็บไว้ใช้ ในอัตรา 5 ช้อนโต๊ะ เจือจางในน้ำสะอาด 1 ลิตร ผสมในอาหาร 5 กิโลกรัม ให้กินอาทิตย์ละ 1 ครั้ง
วิตามิน จากมะขามเปียกคืออะไร จากที่ใช้สูตรนี้มา คุณแจ๊คสังเกตว่าลูกปลาจะแข็งแรง มีภูมิต้านทานที่ดีขึ้น ส่วนเกลือที่มีส่วนประกอบของแคลเซียมจะลดความเครียดให้ลูกปลาในระหว่างการขนย้ายหรือในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป
ความแตกต่างจากอาหารที่ใช้
อาหารปลาโมโม ที่ใช้เลี้ยงลูกปลา จากการทดลองใช้มากแล้ว 4 เดือน เท่าที่สัมผัสมา คุณแจ๊คกล่าวว่า ในเรื่องของราคาไม่แตกต่างกับอาหารยี่ห้อเดิมที่ใช้ แต่ความแตกต่างอยู่ที่วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตอาหาร ระดับโปรตีนที่ค่อนข้างสูง 32% เวลาหว่านไปแล้วอาหารไม่จม ซึ่งแตกต่างจากอาหารเดิมที่ใช้ ที่เม็ดอาหารจะจม ใช้เลี้ยงปลาหางหรือปลาไม่ได้ขนาด ที่เห็น คือ สันจะขึ้น ปลาโตดี อัตราแลกเนื้อดี ถ้าให้เทียบในเรื่องคุณภาพ ถือว่าอาหารปลาโมโม่ ใช้ได้ อยากให้ทดลองใช้ ราคาเหมาะสมกับคนเลี้ยงปลากระชังและใช้เพื่อการอนุบาลลูกปลา
เขื่อนกระเสียว เขื่อนดินที่มีความยาวมากที่สุดในประเทศไทย ถือเป็นแหล่งเพาะเลี้ยงปลาขนาดใหญ่แห่งหนึ่ง แต่ด้วยระดับน้ำที่ลดลงในปีนี้ทำให้คนเลี้ยงปลาในเขื่อนได้รับความเดือดร้อน
อาหาร ตัวแปรสำคัญของคนเลี้ยงปลา ทีมงานนิตยสารสัตว์น้ำได้เข้าไปเยี่ยมชมกระชังปลาของคุณป้าทองไสย์ ไร่ขาม ที่เลี้ยงปลามากกว่า 10 ปี ในเขื่อนกระเสียว จากประสบการณ์ที่ผ่านมาปัญหาที่พบในการเลี้ยงปลากระชัง คือ คุณภาพน้ำในปีนี้ไม่ดี เกิดปัญหาปลาตากหนักที่สุด และปัญหาอาหารปลาราคาสูง เกิดเป็นหนี้สินสะสม
การเลี้ยงปลา คุณป้าทองไสย์กล่าวว่า ตนมีทั้งหมด 5 แพ 1 แพ มี 20 กระชัง รวมทั้งหมด 100 กระชัง เป็นกระชังขนาด 5*5 และ4*6เมตร ปล่อยปลาขนาด 15-20 ตัว/กิโลกรัม ที่รับมากคุณแจ๊ค ในอัตราปล่อย 1,500 ตัวปลาหนึ่งกระชัง กินอาหาร 80-90 กระสอบ ใช้ระยะเวลาการเลี้ยงไม่เกิน 4 เดือน ขนาดจับ อยู่ที่ตัวละ 800-1,000 กรัม/ตัว
เปิดใจรับอาหารใหม่ ราคาอาหารกระสอบละ 500-600 บาท ปลา 1 กระชัง จะกินอาหารมากกว่า 80-90 กระสอบ คุณป้ากล่าวว่า ตนทดลองใช้อาหารปลาโมโม เหตุผลหนึ่งคือ เรื่องของราคาที่ถูกลง เมื่อเลี้ยงเปรียบเทียบคุณภาพแล้วสามารถลดต้นทุนการผลิตต่อรอบลงได้เกือบ 2 แสนกว่าบาท
เมื่อเปรียบเทียบในเรื่องของการเจริญเติบโต คุณป้าทองไสย์กล่าวว่า ที่หันมาใช้อาหารปลาโมโม 100% เพราะได้ข้อมูลจากการเลี้ยงปลา เปรียบเทียบ 4 กระชัง แบ่งเป็นปลาเลี้ยงด้วยอาหารปลาโมโม่และอาหารบริษัทอื่น ในแพเดียวกัน ผลงานตรวจสุ่มในแต่ละเดือน ปรากฎว่าปลากระชังที่ใช้อาหารปลาโมโมมีน้ำหนักที่มากกว่า 100 กรัม ในระยะเวลาการจัดการเดียวกัน เป็นคำตอบความพอใจ ทั้งในคุณภาพที่เลี้ยงปลาแล้วปลามีการเจริญเติบโตที่ดีกว่าและราคาที่ถูกลง เป็นข้อมูลตัดสินใจ จากความแตกต่างที่เห็นชัดเจน จึงหันมาใช้อาหารปลาโมโม่ 100 %
คุณลุงวันชัย คงคาหลวง เริ่มต้นเลี้ยงปลาในกระชังเขื่อนกระเสียวมากว่า 5 ปี คุณลุงวันชัยกล่าวว่า แต่ก่อนนี้ การเลี้ยงปลาไม่ยากเท่านี้ ตอนนี้เลี้ยงยาก ปัญหาเยอะ ทั้งเรื่องน้ำเสียในเขื่อน ปลาตาย ราคาอาหารแพง เลี้ยงได้กำไรไม่ดีเหมือนแต่ก่อน
คุณลุงวันชัยเลี้ยงปลา 1 แพ 20 กว่ากระชัง กระชังที่เลี้ยงมีขนาด 4×6 เมตร ในฤดูกาลปกติจะปล่อยลูกปลาขนาด 30-35 ตัน/กิโล ลงเลี้ยงในอัตรา 1,800 ตัว แต่ถ้าช่วงหน้าร้อนปริมาณน้ำน้อยจะปล่อยเลี้ยงในอัตรา 1,500 ตัว แต่ก่อนหน้านี้คุณลุงเลี้ยงปลาจะใช้อาหารราคาลูกละ 500 กว่าบาท เป็นต้นทุนที่สูง และได้รับข้อมูลจากคุณป้าทองไสย์แนะนำให้รู้จักอาหารปลาโมโม ตนจึงทดลองใช้ได้เดือนกว่าๆ แล้ว เท่าที่สังเกตความแตกต่าง คุณลุงวันชัยกล่าวว่า เม็ดอาหารลอยน้ำ ปลากินอาหารดี การเจริญเติบโตก็ถือว่าดี แต่ที่พอใจ คือ ราคาอาหารที่ถูกลง
ผลผลิตต่อรอบการเลี้ยงที่ผ่านมา จับปลาได้ 1.2-1.3 ตัน/กระชัง โดยคุณลุงวันชัยจะทยอยขายให้กับพ่อค้า แม่ค้า และเร่จำหน่ายปลีกตามตลาดนัดเอง วันละ 100-150 กิโลกรัม ถือเป็นการตลาดอีกรูปแบบหนึ่งในการสร้างกำไรให้กับการเลี้ยงปลาของตน สำหรับเกษตรกรที่ยังไม่รู้จักอาหารปลาโมโมอยากให้ทดลองเลี้ยง เพราะว่าถ้าพูดถึงอาหารปลาดุกสามารถใช้เลี้ยงปลานิล/ทับทิมได้ ปลาโตดี อ้วน สวย ไม่แตกต่างจากอาหารราคาแพงๆ ที่เคยใช้มา จึงอยากแนะนำให้ลองใช้ ตนใช้มา เท่าที่เห็นอัตรารอดของปลาชุดนี้ น่าจะมีกำไรเพิ่มขึ้น คุณลุงวันชัยกล่าวทิ้งท้าย
จากราคาปลาที่ตกต่ำลงมา การปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ของโรงงานผลิตอาหารสัตว์น้ำ คือ การผลิตอาหารปลาดุกมาใช้ในการเลี้ยงปลากระชัง เป็นการเลือกให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนจากราคาอาหารที่แพง
อาหารปลาโมโม ถึงแม้จะเป็นอาหารปลาดุกที่พัฒนาสูตรอาหารขึ้นมา แต่โปรตีน 30-32% ที่ผลิตออกมาถือว่าคุณภาพเทียบเท่ากับอาหารปลานิล เป็นการเจาะตลาดเกษตรกรเลี้ยงปลากระชังให้มีทางเลือก
คุณพรศักดิ์ กิตติวิไลธรรม ผู้จัดการฝ่ายขายอาหารปลาโมโม่และทีมงาน ได้ทำงานทดลองและวิจัยสูตรอาหารร่วมกับห้องปฏิบัติการ โดยมีโจทย์ให้ทีมงานว่า อาหารปลาโมโม่ ที่เป็นอาหารปลาดุกนั้น ต้องเป็นอาหารปลาโปรตีนสูง 30-32 % ให้เท่ากับอาหารปลานิล/ทับทิม แต่ให้มีข้อได้เปรียบในเรื่องราคาที่ถูกกว่า การทดลองประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดความมั่นใจในคุณภาพนั้น ทีมงาน ฝ่ายขายได้ทดลองใช้เลี้ยงทั้งปลาดุกในบ่อและปลานิลในกระชัง เมื่อประมาณ ต้นปี 2557 โดยการให้เกษตรกรเลี้ยงปลา เปรียบเทียบกับอาหารเดิมที่ใช้อยู่
เรื่องของโภชนาการ อาหารปลานิล/ทับทิม กับอาหารปลาดุก ถือว่าไม่ต่าง จะมีเพียงพรีมิกซ์บางตัวที่ในอาหารปลาดุกไม่มีเท่านั้น
เห็นได้ชัดเจน“ตระกูลนิติกาญจนา”เซียนผู้ผลิตอาหารสัตว์ ที่รู้จักในนาม SPM รุ่นที่ 3 ได้ขยายบทบาทไปสู่การพัฒนาอาหารสัตว์น้ำคุณภาพสูง โดยใช้หลักวิทยาศาสตร์ ไบโอนาโน ที่กระทรวงวิทย์ฯการันตี ทำให้ผู้เลี้ยงสัตว์น้ำยอมรับ
การก้าวสู่การปฎิวัติอาหารสัตว์น้ำของเครือ SPM อาหารสัตว์ด้วยนวัตกรรม คือทางรอดของการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารสัตว์น้ำของไทย
[wpdevart_like_box profile_id=”377357182296025″ connections=”show” width=”300″ height=”220″ header=”big” cover_photo=”show” locale=”th_TH”]