เลี้ยงปลานิล 3 เดือนจับขายราคาดี
ปลานิล ปลาเศรษฐกิจที่มีคุณค่าต่อเกษตรกรไทยในหลายๆด้าน ทั้งการนำไปเลี้ยงเพื่อบริโภค หรือ เลี้ยงปลานิล เพื่อเป็นอาชีพหาเลี้ยงครอบครัว ซึ่งไม่ว่าจะในด้านไหน ต่างก็มีประโยชน์ต่อเกษตรกรไทยแทบทั้งสิ้น จึงทำให้ปลาชนิดนี้ได้รับความนิยม และเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย รวมไปถึงประเทศเพื่อนบ้านอย่าง ลาว และพม่า ที่ได้นำปลาตัวนี้ไปเลี้ยงอย่างแพร่หลายในประเทศของตัวเองด้วย
เพราะนอกจากจะเลี้ยงง่าย โตไว และสามารถเพาะพันธุ์ได้ต่อเนื่อง ยังเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคและและบรรดาร้านอาหารต่างๆ แต่ทั้งนี้อุตสาหกรรม การเพาะเลี้ยงปลานิล ของไทยนั้นต้องยอมรับว่า การจะ เลี้ยงปลานิล ให้สามารถประสบความสำเร็จได้นั้น ต้องอาศัยการเพาะพันธุ์ และการอนุบาล ให้ได้ปลาที่แข็งแรงไม่เป็นโรคและที่สำคัญ ต้องไม่หลุดหมัน
เช่นนั้นเกษตรกรจึงจะสามารถ เลี้ยงปลานิล ได้ประสบผลสำเร็จ และได้ราคาดี แต่จะดียิ่งขึ้นอีกหาก เข้าร่วมระบบโครงการรับซื้อกลับที่จะทำให้เกษตรกรกรหมดห่วง เรื่องการหาตลาด
ดังนั้นในนิตยสารสัตว์น้ำฉบับประจำเดือนเดือน พฤศจิกายนนี้ทีมงานจะพาไปพบกับเจ้าของฟาร์มอนุบาลปลานิลรายใหญ่ ของ จ.ราชบุรี คุณเผือก ที่วันนี้ได้พัฒนาศักยภาพการผลิต ด้วยเทคนิคการอนุบาลลูกปลา และปรับปรุงฟาร์มให้ได้มาตรฐานตามที่ กรมประมงกำหนด อีกทั้งยังมีโครงการรับซื้อปลาเนื้อกลับจาก เกษตรกร จึงถือได้ว่าเป็นฟาร์มที่ ระบบการซื้อขายครบวงจร และมีคุณภาพตามที่กรมประมงกำหนด กับ “เผือกเจริญฟาร์ม” แห่ง จ.ราชบุรี
เริ่มต้นจาก 0 เพื่อก้าวขึ้นไปเป็นผู้นำในสายการผลิตลูกปลานิล
เผือกเจริญฟาร์ม คือ ผลจากความมุ่งมั่นและทุมเท คุณเผือก ที่มีความมุ่งมั่นจะผลิตปลานิลที่มีคุณภาพ และขึ้นเป็นผู้ผลิตปลานิลอันดับต้นๆจองประเทศ คุณเผือกได้เล่าถึงความเป็นมา ของเผือกเจริญฟาร์มว่า เกิดจากที่ตนเอง เริ่มต้นโดยมีต้นทุนจาก 0 ตั้งแต่อายุ 14 ที่ได้มีโอกาสทำปลาขาย
โดยเริ่มต้นจากการชำลูกปลา จากไซส์ ใบมะขาม ขึ้นมาเป็นปลา ไซส์ 30-35 ตัว/กิโลกรัมเพื่อจำหน่าย โดยเรียนรู้วิธีการและเทคนิคต่างๆด้วยตนเองและเปิดกิจการแรก อยู่ที่บริเวณ อ.บางแพ จ.ราชบุรี เป็นพื้นที่ 30 ไร่ และได้พัฒนาการอนุบาลและระบบการ เลี้ยงปลานิล ขึ้นมา
จนถึงวันนี้ เป็นเวลากว่า 20 ปีแล้วที่คุณเผือกได้ดำเนินกิจการอยู่ในวงการปลานิล และได้ขยายกิจการมาอยู่ในพื้นที่ จ.นครปฐม โดยมีพื้นที่ การเลี้ยงทั้งหมด กว่า 150 ไร่และสามารถอนุบาลลูกปลานิลจำหน่ายได้ถึงเดือนละ 400,000 ตัว นอกจากนี้ยังได้เริ่มขยายตลาดมาในส่วนของการจำหน่ายลูกปลาทับทิมและมียอดการผลิตต่อเดือนอยู่ที่ 50,000 – 100,000 ตัว
เทคนิคการอนุบาล
ลูกปลาที่ทางฟาร์มนำมาใช้อนุบาลนั้นจะเป็นลูกปลาไซส์ใบมะขาม โดยใช้ลูกปลาของ ป.เจริญฟาร์ม , น้ำใสฟาร์ม และกรเกียรติฟาร์ม โดยจะนำมา อนุบาลในบ่อดิน ที่ทางฟาร์มอยู่ทั้งหมด 7 บ่อโดยเป็นบ่อ ขนาด 5 ไร่ ซึ่งใน 1 บ่อนั้นจะใช้ ลูกปลาประมาณ 300,000 ตัวต่อรอบ
โดยก่อนที่จะลงลูกปลาได้นั้น จะต้องมีการล้างและฆ่าเชื้อภายในบ่อด้วยปูนขาว ก่อนทุกรุ่น เมื่อล้างและฆ่าเชื้อเรียบร้อยแล้ว จึงจะนำน้ำเข้าบ่อได้โดยจะใช้น้ำเลี้ยงอยู่ที่ระดับ 1 เมตร 80 เซนติเมตร พักน้ำไว้ก่อน 7 วันระหว่างนั้นจะมีการใช้ น้ำปุ๋ยหมักชีวภาพ เพิ่มทำน้ำเขียวและสร้างอาหารธรรมชาติ
เมื่อครบ 7 วันจึงจะสามารถนำลูกปลาลงบ่อได้ ในเริ่มแรกนั้นการจะทำลูกปลาให้มีคุณภาพนั้น ต้องให้อาหารที่มีโปรตีนสูงก่อน ประมาณ 10 – 15 วัน โดยจะใช้เป็นอาหารโปรฟีด 42 เปอร์เซ็นต์โปรตีน และนอกจากอาหารเม็ดแล้ว ยังมีในส่วนของ อาหาร ก้นโม่ ที่จะมีโปรตีนสูง โดยอยู่ที่ 38-40 เปอร์เซ็นต์โปรตีน
และมีลักษณะเป็นผงจึงเหมาะแก่การนำมาอนุบาลลูกปลาทั้งแบบหว่านเป็นผล หรือปั้นเป็นก้อน แล้ววางตามจุดต่างๆในบ่อเพื่อให้ลูกปลาว่ายขึ้นไปตอดกิน ซึ่งการให้อาหารโปรตีนสูงนั้นจะช่วยให้ลูกปลามีภูมิต้านทาน มีโครงสร้างที่ดี และกินอาหารได้เก่ง
ระหว่าง การเลี้ยงปลานิล จะต้องมีการใส่ จุลินทรีย์ทุกๆ 7 วัน เพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำ และเติมน้ำเข้าบ่อเพื่อรักษาระดับน้ำเรื่อยๆ การอนุบาลจะใช้ระยะเวลาประมาณ 50-60 วัน ได้อัตรารอด ประมาณ 80-90 เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้าลูกค้าต้องการเจาะจงมาว่าต้องการปลาวันไหน
จากนั้นทางฟาร์มจะต้องเร่งการผลิตโดยจำเป็นต้องใช้เครื่อง Auto Feed ในการให้อาหาร ซึ่งการใช้เครื่อง Auto feed ลงให้อาหารทั้งเดือนจะใช้เวลาในการขุนอนุบาลเพียง 40 วัน ก็จะได้ปลาขนาด30 – 35 ตัว/กิโลกรัม ตามที่ลูกค้าต้องการ โดยลงลูกปลา 100,000 ตัว จะได้ลูกปลา 90,000 ตัว
อาหารก้นโม่ อีกหนึ่งเคล็ดลับของเผือกเจริญฟาร์ม
ตอนนี้ทางฟาร์มจะใช้เป็นอาหารก้นโม่ เพราะประหยัดต้นทุน ซึ่งอาหารก้นโม่นั้นคืออาหารส่วนที่เหลือจากการผลิตอาหารของโรงงานใหญ่ เช่นสายการผลิตอาหารไก่ อาหารหมู เพราะจะมีส่วนที่ตกหล่นหรือตกเกรด ที่โอนกลายเป็นฝุ่นบ้าง หรือที่เป็นเม็ดบ้าง หรือบางเรทก็จะเป็นอาหารหมดอายุ ทางฟาร์มก็จะรับมา
โดยจะรับมาจากหลายโรงงานมารวมกัน ซึ่งทางโรงงานก็จะมีเรทราคา หรือถ้าอาหารบางล็อตที่โรงงานระบายไม่ทัน อย่าง 3 เดือนระบายไม่หมด ก็จะกลายเป็นอาหารล่วงอายุ ซึ่งก็จะถูกตีออกมาเป็นอีกเกรดหนึ่ง โดยที่ไม่มีตรา ทางฟาร์มก็จะไปรับตรงนั้นมา อย่างต้นทุนของโรงงานราคา 20 บาท ทางฟาร์มก็จะได้ในราคา 10 บาท ซึงจะมีราคาถูก และถือเป็นอีกเกรด ซึ่งช่วยให้ต้นทุนการผลิตลดลงไปได้อย่างมาก
คัดล่อนไซต์ เพื่อให้ลูกค้า ได้ปลาเท่ากันทุกตัว
ก่อนที่จะจับทางฟาร์มจะต้องมีการล่อนไซต์ จึงทำให้ลูกค้า จะได้ปลาที่มีไซส์ค่อนข้างเสมอกันตลอด ห่างน้อย ในการล่อนคัดไซส์ทางฟาร์มจะมีตะแกรงล่อนที่มีตาขนาดแตกต่างกันออกไป โดยจะมีไซต์ 25 – 29 ตัว/กิโลกรัม 30 – 34 ตัว/กิโลกรัม โดยปลาแต่ละขนาดก็จะมีเรท ราคาการขายที่ต่างกันออกไป
ซึ่งต่อเดือนหนึ่งนั้น เผือกเจริญฟาร์มสามารถผลิตและจำหน่ายลูกปลานิล ได้ถึง 400,000 ตัว/เดือน และในส่วนของปลาทับทิมสามารถผลิตและจำหน่ายได้ 50,000-100,000 ตัว/เดือน ซึ่งคุณเผือกกล่าวว่า ยังถือว่าไม่เพียงต่อความต้องการของตลาดในปัจจุบัน ที่ยังมีปริมาณการสั่งเข้ามาต่อเดือนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ผู้ซื้อและบริการ
กลุ่มลูกค้าของทาง เผือกเจริญฟาร์ม มีทั้งกลุ่มลูกค้าบ่อดินและกลุ่มลูกค้ากระชัง โดยกลุ่มลูกค้าบ่อดินส่วนมากจะอยู่ในบริเวณเขตจัง ราชบุรี นครปฐม เสียส่วนใหญ่ ส่วน ลูกค้ากระชังนั้นตอนนี้มีอยู่ในพื้นที่ จ.กาญจนบุรี โดยแต่ละรายจะมีกระชังถึง 200- 700 กระชัง โดยจะมีทั้งปลาทับทิมและปลานิล
ผลผลิตหลักทางฟาร์มจะ เน้นไปที่ ปลานิล ทีสามารถผลิตได้ ประมาณ 4 แสนตัว/เดือน เป็น ไซส์ 30 – 35 ตัว/กก เป็นส่วนมาก แต่ทางฟาร์มจะมีไว้บริการทุกไซส์ ตั้งแต่ 7 ตัว ถึง 30 – 35 ตัว/กก แล้วแต่ลูกค้าสั่งส่วนปลาทับทิมลูกค้าจะสั่งอยู่ที่ไซส์ 25 – 35 ตัว/กก
บริการขนส่ง และการเคลม
ส่วนการขนส่งนั้นทางฟาร์มก็มีบริการเช่นกันโดยขึ้นอยู่ที่การขนส่งว่าไปไกลแค่ไหน โดยจะใช้เป็นกระบะขนถังไฟเบอร์ และมีการปรับอุณหภูมิระหว่างการขนส่งให้อยู่ที่ 5-10 องศาเซลเซียส โดยแต่ละรอบสามารถขนส่งได้ 15,000 – 16,000 ตัว ต่อ 1 คัน แต่ถ้าเป็นปลาแดง จะอยู่ที่ 12,000 – 13,000 สาเหตุที่ไม่สามารถขนส่งปลาทับทิมได้เยอะเท่าปลานิลนั้น
คุณเผือกกล่าวว่า “ปลาทับทิมจะใจเสาะกว่าและนิล และจะมีโรคมากกว่า” เมื่อไปถึงหน้าฟาร์ม จะต้องทำการปรับอุณหภูมิให้อยู่ในระดับเดียวกันกับแหล่งน้ำที่ เลี้ยงปลานิล ก่อน โดยจะใช้เวลาประมาณ ครึ่ง ชั่วโมงในการ หมุนวนน้ำจากแหล่งเลี้ยงขึ้นมาในถังบรรจุปลา จน ซึ่งในการขายลูกปลาแต่ละครั้งนั้นทางฟาร์มจะมีการแถมลูกปลาให้ 3% เสมอ และหากลูกซื้อปลาไปแล้ว เกิดความเสียหาย คุณเผือกจะเข้าไปหาเกษตรกร และสอบถามปัญหาโดยตรง เพื่อทำการเคลมให้
ระบบการให้ยา เพื่อป้องกันความเสียหาย
ในการ เลี้ยงปลานิล ของลูกค้าแต่ละรายนั้นทางฟาร์มจะมีการแนะนำ มีระบบการให้ยา เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นระหว่างการ เลี้ยงปลานิล โดยจะ มีนักวิชาการทั้งหมด 6 คนที่ทำหน้าที่ ดูแลบริการตรงนี้ให้ โดยจะประจำอยู่ตามจังหวัดต่างๆ ซึ่งยาที่ทางฟาร์มแนะนำให้ลูกค้าใช้นั้น จะเป็นของ
บริษัท เบ็ทเทอร์ฟาร์ม่า เป็นส่วนมาก เพราะยามีทะเบียนทั้งหมด และไว้ใจได้ในคุณภาพ ซึ่งระบบการให้ยาแต่ละแห่งนั้นจะแตกต่างกันออกไปเพราะแต่ละแหล่งน้ำสภาพไม่เหมือนกัน โรคที่เกิดจึงจะแตกต่างกันออกไปด้วย
ระบบรับจับกลับ อีกหนึ่งบริการของเผือกเจริญฟาร์ม
คุณเผือกกล่าวว่าระบบรับจับกลับนี้ ได้เริ่มต้นทำมาได้พักใหญ่แล้วอย่างคนที่พึ่งหัด เลี้ยงปลานิล ที่ใกล้พื้นที่ฟาร์มเรา เราก็จะรับจับกลับ โดยทางฟาร์มจะไม่ได้จำกัดว่า ต้องใช้อาหารอะไร หรือต้องมี วิธีการเลี้ยงปลานิล แบบไหน เพียงแต่ต้องใช้ลูกปลาจาก เผือกเจริญฟาร์ม โดยลูกค้าของฟาร์มก็จะมีหลากหลายทั้งลูกค้าบ่อดิน และกระชัง
ข้อแตกต่าง วิธีการเลี้ยงปลานิล ของแต่ละเกษตรกร ทางฟาร์มก็รับจับกลับด้วย แต่ถ้าเขาได้ราคาดีกว่าที่ฟาร์มจับก็ให้เกษตรกรขายไป บางครั้งไกลๆเกินไปทางฟาร์มก็ก็ไปให้ไม่ไหว เพราะถ้าทางฟาร์มจับให้ราคาสูงต้นทุนก็จะสูงไปด้วย โดยทางฟาร์มจะมีทีมจับ ถ้าเกิดไม่ขายให้จะขายให้กับแม่ค้าคนกลางก็มีคนจับให้ แต่ก็ตกลงราคากันเองซึ่งต่อวันเคยจับได้สูงสุดถึง 4 ตัน
โดยหลังจากรับจับกลับแล้ว จะนำไปที่ขายตลาดบางแพ หรือบาครั้งก็จะมีแม่ค้ามาเอาหน้าบ่อ แต่ส่วนมากจะติดต่อขายหน้าบ่อมากกว่า เพราะขายหน้าบ่อคัดผอมกับกลางอย่างเดียวและเทเลย จะดีกว่า ถ้าเข้าตลาด เพราะจะมีการแบ่งตามขนาด 1,2 และ 3
จับมือกรมประมง นำร่องทำระบบโซนนิ่ง
ปัจจุบัน เผือกเจริญฟาร์ม ได้เข้าร่วมโครงการ Zonig ที่จัดโดยกรมประมง เพื่อส่งเสริมด้านการเลี้ยงและข้อมูลวิชาการ ให้กับเกษตรกร อีกทั้งยังเพื่อเป็นการเก็บผลการเลี้ยง และค่าสถิติต่างๆ เพื่อเก็บรวบรวมไวสำหรับดำเนินการพัฒนา การเลี้ยงของเกษตรกรให้ประสบผลสำเร็จมากยิ่งขึ้น
โดยเผือกเจริญฟาร์มถือเป็นฟาร์ม ปลานิลรายใหญ่ในพื้นที่ จึงเหมาะที่จะเป็นผู้นำของเกษตรกรในบริเวณนี้ เพราะด้วยพื้นที่เลี้ยงในเขต อ.บางแพ มีอยู่กว่าทั้งหมด 20,000 ไร่ มีเกษตรกรอยู่กว่า 1,000 ราย จึงทำให้การรวบรวมข้อมูลค่อนข้างยาก เผือกเจริญฟาร์มจึงเหมาะสมที่จะเป็นฟาร์มนำร่องในการเข้าร่วมโครงการดังกล่าว
อีกทั้งตอนนี้ทางเผือกเจริญฟาร์มยังได้ผ่านการประเมิน มาตรฐานฟาร์ม ในระดับ Safety Level และกำลังอยู่ในระหว่างปรับปรุงฟาร์มเพื่อให้ได้รับมาตรฐาน GAP ตามที่กรมประมงกำหนด เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือให้ลูกค้า และบรรดาเกษตรกรที่ซื้อกับทางฟาร์มได้มีความมั่นใจใน ลูกปลาของ เผือกเจริญฟาร์มให้มากยิ่งขึ้นด้วย
สุดท้ายนี้ หากเกษตรกรท่านใดสนใจสอบถามข้อมูลด้านการเลี้ยงหรือต้องการสั่งซ้อลูกปลานิลและปลาทับทิม จาก เผือกเจริญ ฟาร์ม สามารถติดต่อได้ที่ 089-548-9994 หรือ 0871683424