โรคขี้ขาว เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งขาว พิสูจน์แล้ว แก้ปัญหาได้จริง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ปัญหาและอุปสรรคในการเลี้ยงกุ้งขาว

ปัจจุบันเกษตรกรผู้เลี้ยง “กุ้งขาว” มักประสบกับปัญหาในการเลี้ยงดูแลกุ้งมาโดยตลอด โดยเฉพาะ “ โรคขี้ขาว และโรค EMS” สร้างความเสียหายให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งขาวเป็นอย่างมาก ส่งผลให้ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการป้องกันและรักษาโรคต่างๆ ในกุ้งออกมาจำหน่ายมากมายหลากหลายยี่ห้อ

สาเหตุหลักๆ ที่ทำให้กุ้งป่วยเป็นโรค “ขี้ขาว” ได้นั้น ส่วนใหญ่มาจากบ่อเลี้ยง ที่เน้นการปล่อยกุ้งแบบหนาแน่น ซึ่งการปล่อยกุ้งลักษณะนี้ หากมีการบริหารจัดการฟาร์มไม่ดี จะส่งผลให้น้ำในบ่อเลี้ยงขุ่น และเสียง่าย

โดยเฉพาะบ่อระบบปิดหรือกึ่งปิด ที่ไม่มีการถ่ายเทน้ำหรือบำบัดคุณภาพน้ำที่ดี เพราะจากการตรวจสอบพบว่าสาเหตุหลักของการเกิด โรคขี้ขาว มาจากการอักเสบของลำไส้ที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย

เนื่องจากการดูดซึมอาหารในลำไส้ของกุ้งไม่ดีพอ ส่งผลให้กุ้งโตช้า และทยอยตายอย่างต่อเนื่อง เพราะเมื่อลำไส้ของกุ้งไม่สามารถย่อยอาหารและขับถ่ายออกมาได้ จะทำให้กุ้งเกิดความอ่อนแอ สามารถติดเชื้อได้ง่าย และเมื่อกุ้งติดเชื้อโรคแล้วจะเริ่มทยอยตายลอยขึ้นในบ่อ

ส่วนใหญ่มักพบในช่วงระหว่างการลอกคราบ เนื่องจากกุ้งอ่อนแอจากการที่ไม่ได้รับสารอาหาร เนื่องจากการอักเสบของระบบทางเดินอาหารนั่นเอง

1.คุณทรรศนะยืนยันเซ็นทร็อก-โอเอเอ็ม-เจล-ใช้ดีจริงจึงกล้าบอกต่อ
1.คุณทรรศนะยืนยันเซ็นทร็อก-โอเอเอ็ม-เจล-ใช้ดีจริงจึงกล้าบอกต่อ
2.บ่อกุ้งขาวคุณภาพ-ปู-PE-100%
2.บ่อกุ้งขาวคุณภาพ-ปู-PE-100%

สภาพพื้นที่เลี้ยงกุ้ง

ทีมงานจึงได้ลงพื้นที่พูดคุยกับเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งขาวในพื้นที่อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา ที่แต่ก่อนเคยพบปัญหาเจอโรคขี้ขาวจนเกือบจะเลิกเลี้ยงกุ้งอย่างถาวร อย่าง “คุณทรรศนะ อานุภาเวนะวัฒน์” หรือ “คุณเบิร์ด” ที่ได้ให้เกียรติกับทีมงานนิตยสารสัตว์น้ำได้เข้าพูดคุยถึงแนวทางการแก้ปัญหาและการป้องกันโรคขี้ขาวในกุ้งขาวให้ได้ผลอย่างชัดเจน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

คุณทรรศนะยอมรับว่าแต่ก่อนเดิมทีก่อนที่ตนจะหันมาเลี้ยงกุ้งขาวอย่างทุกวันนี้นั้น ทางครอบครัวได้เปิดฟาร์มเลี้ยงสุกรมาก่อน โดยมีคุณพ่อเป็นคนดูแล จนมาถึงยุคที่กุ้งกุลาดำมีราคาแพง เกษตรกรในละแวกบ้านหันมาเลี้ยงกุ้งกุลาดำเป็นจำนวนมาก

คุณพ่อจึงปรับเปลี่ยนจากฟาร์มหมูมาเป็นบ่อเลี้ยงกุ้งแทนเมื่อ 10 ปีที่แล้ว จากบ่อกุ้งเพียง 1 บ่อ และขยายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  เพราะขณะนั้นการเลี้ยงกุ้งสามารถสร้างเม็ดเงินและผลกำไรได้เป็นอย่างดี

จนกระทั่งเมื่อปี 2541 ยุคต้มยำกุ้ง ตลาดกุ้งกุลาดำตาย ผลผลิตไม่สามารถส่งออกได้ คุณพ่อจึงหันมาเลี้ยงกุ้งขาว และขณะนั้นเองคุณทรรศนะตัดสินใจลาออกจากงานประจำ และหันมาช่วยครอบครัวเลี้ยงกุ้งอย่างเป็นจริงเป็นจัง

“ด้วยตัวผมเองไม่ได้จบตรงสายการเลี้ยงกุ้งมาโดยเฉพาะ ช่วงแรกๆ ก็ต้องเริ่มจากการถามและพูดคุยกับผู้เลี้ยงกุ้งด้วยกัน ขอความรู้จากเกษตรกรรอบๆ ข้าง เพื่อนำความรู้เหล่านั้นมาประยุกต์ใช้กับฟาร์ม การพูดคุย ค้นคว้าข้อมูล เป็นสิ่งที่ช่วยพัฒนาตัวเองเสมอ”

เมื่อคุณทรรศนะเข้ามาดูแลบ่อกุ้งช่วยคุณพ่อ ก็เริ่มนำนวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามาปรับปรุงฟาร์มของตนให้ดีมากขึ้น โดยการนำองค์ความรู้ที่ศึกษาจากฟาร์มต่างๆ มาปรับใช้ในบ่อกุ้งของตน

“แต่ก่อนบ่อกุ้งยังคงเป็นบ่อพื้นดินเหมือนทั่วไป แต่สังเกตเห็นว่า กุ้งที่เลี้ยงโตค่อนข้างช้า อีกทั้งพอขึ้นกุ้งแล้วเห็นว่าก้นบ่อมีเลนค่อนข้างมาก ซึ่งในเลนนั้นเอง คือ แหล่งสะสมของเชื้อโรค ส่งผลให้กุ้งที่เลี้ยงในแต่ละครอปได้ผลผลิตค่อนข้างน้อย ไม่เป็นไปตามที่ตั้งเป้าหมายไว้

โฆษณา
AP Chemical Thailand

อีกทั้งโรคยังคงอยู่ในบ่อ โดยเฉพาะโรคขี้ขาว ที่ไม่ว่าจะแก้ปัญหาอย่างไรก็กำจัดไม่ได้สักที จนกระทั่งมีเกษตรกรแนะนำให้ตนปูพลาสติก PE ที่บ่อกุ้ง ซึ่งจะช่วยในเรื่องการกำจัดเลนก้นบ่อ ไม่ให้เป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค ซึ่งตนทดลองนำ PE มาปูพื้นบ่อ  ผลปรากฏว่าเมื่อจับกุ้งขาย  ได้ปริมาณกุ้งเพิ่มขึ้น 3-4 เท่าตัว

จากนั้นตนจึงนำพลาสติก PE มาปูบ่อทุกบ่อ  และติดตั้งเครื่องดูดเลน โดยต่อท่อจากด้านบนลงไปดูดเลนกลางบ่อ โดยใช้มอเตอร์บังคับให้เครื่องดูดเลนทุกๆ ชั่วโมง นานครั้งละ 4-5 นาที

ฟาร์มกุ้งของคุณทรรศนะ จะเน้นเลี้ยงกุ้งหนาแน่น 150,000 ตัว/บ่อ/ไร่ เมื่อลงลูกกุ้งแล้วจะทำการสาดจุลินทรีย์เพื่อช่วยย่อยเศษอาหาร จะทำการสาดทุกวัน เพื่อช่วยย่อยสารอินทรีย์ที่ตกค้างบริเวณพื้นบ่อและในน้ำ อีกทั้งช่วยปรับสภาพน้ำในบ่อเลี้ยงกุ้งให้ได้คุณภาพ

3.การเตรียมน้ำของฟาร์มจะเน้นเปิดเครื่องตีน้ำตลอด-24-ชั่งโมง
3.การเตรียมน้ำของฟาร์มจะเน้นเปิดเครื่องตีน้ำตลอด-24-ชั่งโมง
ยกยอเพื่อเช็คอาหารและการโตของกุ้ง
ยกยอเพื่อเช็คอาหารและการโตของกุ้ง

การบริหารจัดการบ่อเลี้ยงกุ้ง

ขั้นตอนการเตรียมน้ำ และเตรียมบ่อกุ้งขาว เริ่มจากการสูบน้ำเข้าบ่อพักน้ำ หลังจากนั้นใส่ด่างทับทิม และตีน้ำไว้เป็นเวลา 7 วัน แล้วจึงใส่ยาฆ่าหอย และศัตรูต่างๆ ของลูกกุ้ง ทิ้งไว้อีก 7 วัน จึงสูบเข้าบ่อเลี้ยงใส่สูงประมาณ 80 เซนติเมตร

จากนั้นปล่อยลูกกุ้งขนาดกุ้ง P หนาแน่น 150,000 ตัว/ไร่ แล้วจึงให้อาหารกุ้งในวันถัดไป เมื่อครบ 20 วัน จะค่อยๆ เติมน้ำเข้าบ่อครั้งละ 10 เซนติเมตร รักษาความเค็มของน้ำ โดยการใช้น้ำบาดาลเติมเข้าบ่อ และซื้อน้ำเค็มจากทะเลมาเสริมเพื่อให้ได้แร่ธาตุ จนความเค็มของน้ำสูงถึง 14 ppt.

“สาเหตุที่เริ่มแรกปล่อยน้ำเข้าบ่อเลี้ยงในปริมาณน้อย เนื่องจากเมื่อปล่อยลูกกุ้งลงบ่อแล้ว ลูกกุ้งจะได้จับกินอาหารง่าย และกินทันที หากเติมน้ำเต็มทั้งบ่อลูกกุ้งจะไม่ยอมจับอาหาร หรืออาจจะหาอาหารไม่เจอ จนทำให้อาหารเหลือก้นบ่อ ทำให้เป็นของเสียก้นบ่อ และสิ้นเปลืองต้นทุนด้านอาหารอีกด้วย” คุณทรรศนะกล่าว

โฆษณา
AP Chemical Thailand
4.sentrox-gel
4.sentrox-gel
ก่อนใช้ และหลังใช้ กับ โรคขี้ขาว
ก่อนใช้ และหลังใช้ กับ โรคขี้ขาว

การใช้ผลิตภัณฑ์  ในบ่อกุ้งขาว

สาเหตุที่ต้องสาดจุลินทรีย์บ่อยๆ เนื่องจากก่อนหน้านี้เคยเกิดปัญหากุ้งเป็น โรคขี้ขาว จนทำให้กุ้งในบ่อตายไปหลายตัน ส่งผลให้ในตอนนั้นเกือบจะเลิกเลี้ยงกุ้งไปแล้ว แต่ความไม่ท้อของคุณทรรศนะหาวิธีการเพื่อจะมารักษากุ้ง

เมื่อกุ้งเริ่มเป็นคุณทรรศนะเลือกที่จะซื้อผลิตภัณฑ์มารักษา แต่ผลลัพธ์ที่ได้กลับไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง การรักษาไม่ใช่ทางเลือกที่ถูกต้อง แถมยังหมดไปกับค่ายารักษาอีกมากมาย แต่โรคก็ไม่หายไปจากกุ้งสักที คุณทรรศนะเป็นคนติดตามข่าวสารผ่านอินเตอร์เน็ตอยู่สม่ำเสมอ จึงลองหาวิธีอื่น

จนวันนึงได้มาเจอกับผลิตภัณฑ์ของ บริษัท ซีแพค เอเชีย อิมเมจิง  โปรดักส์ จำกัด ลองติดต่อพูดคุยกับฝ่ายขาย ขอข้อมูล และซื้อสินค้ามาลองใช้ หลังจากได้ใช้ไปแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้น่าตกใจ กุ้งขาวที่เลี้ยงในบ่อไม่พบอาการของ โรคขี้ขาว เลย เปอร์เซ็นต์ของโรคหายไปอย่างเห็นได้ชัดเจน สังเกตจากผลผลิตกุ้งเพิ่มขึ้น

ขั้นตอนการใช้ไม่ยุ่งยาก นำผลิตภัณฑ์ของทางบริษัท 1 ซอง เติมน้ำ 200 ลิตร และอาหารเลี้ยงเชื้อลงไป ไม่ต้องให้ออกซิเจน ปิดปากถังด้วยกระสอบ ทิ้งไว้ 36-48 ชั่วโมง (แต่ถ้าเติมออกซิเจนก็จะเพิ่มประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น) ก็สามารถนำมาใช้สาดลงบ่อเลี้ยงได้ทันที ผลิตภัณฑ์ของ บริษัท ซีแพค เอเชีย อิมเมจิง โปรดักส์ จำกัด ช่วยในเรื่องกำจัดของเสีย และเบียดเชื้อที่ก่อให้เกิดโรค คุณทรรศนะใช้ตั้งแต่ก่อนลงลูกกุ้งเพื่อเตรียมน้ำ และเน้นการป้องกันตั้งแต่แรก

ในระหว่างการเลี้ยงคุณทรรศนะให้ข้อมูลว่าจะมีการคลุกเคล้าสารต้านจุลชีพลงในอาหาร เพื่อให้ไปช่วยลดเชื้อในลำไส้ของกุ้ง  โดยสารต้านจุลชีพที่ใช้จะเป็นตัว  “เซ็นทร็อก-โอเอเอ็ม เจล”  ของ  บริษัท ซีแพค  เอเชีย  อิมเมจิง  โปรดักส์ จำกัด ผลิตภัณฑ์ตัวนี้ออกฤทธิ์เป็นกรด ช่วยปรับสมดุลในลำไส้ ทำให้กุ้งขับถ่ายดี ขับพวกเชื้อต่างๆ ออกมาเป็นอุจจาระ ส่งผลให้ไม่มีของเสียสะสมในลำไส้ จะทำการคลุกกับอาหารกินมื้อ ตลอดการเลี้ยง จนถึงจับ

สิ่งสำคัญที่สุดที่จะทำให้เลี้ยงกุ้งขาวแล้วไม่เจอ โรคขี้ขาว  นั้น

1.ป้องกันไม่ให้เชื้อต่างๆ เกิดขึ้นภายในบ่อ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

2.ควบคุมคุณภาพน้ำให้คงที่

3.ดูแลไม่ให้เกิดของเสียในบ่อ แค่นี้ก็ป้องกัน โรคขี้ขาว ได้แล้ว

4.ผลิตภัณฑ์คุณภาพดีๆ ที่คอยปกป้องดูแลป้องกันไม่ให้กุ้งป่วยเป็นโรคได้ง่าย

สนใจสินค้าสารต้านจุลชีพและโปรไบโอติก ดูแลสัตว์น้ำ ติดต่อได้ที่

บริษัท ซีแพค เอเชีย อิมเมจิง โปรดักส์ จำกัด โทร.08-6822-9650, 038-554-237

[email protected] ,  www.cpacanimalhealth.com

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก คุณทรรศนะ อานุภาเวนะวัฒน์