CS ออโต้ฟีด ทำไมเป็นแชมป์โลก??

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเชิงธุรกิจ “อาหาร” คือ ต้นทุนหลัก และเป็นตัวกำหนด กำไร-ขาดทุน โดยตรงเกษตรกรบางคนไม่ได้ใส่ใจเรื่องอาหาร โอกาสขาดทุนมีมาก แต่คนที่ใส่ใจเรียนรู้จริงจัง รวยเพราะอาหารกันทั้งนั้น คนแรก คือ “ผู้ผลิต” หยิบชิ้นปลามันมากิน โดยเฉพาะช่วงที่ธุรกิจสัตว์น้ำบูม คนที่ 2 คือ ผู้ใช้อาหารสัตว์ หรือเกษตรกรหัวก้าวหน้า เช่น ผู้เลี้ยงกุ้ง ยุคกุ้งไทยยิ่งใหญ่ในตลาดโลก

แต่เกษตรกรที่ไม่เรียนรู้เรื่อง การให้อาหาร ก็ตายน้ำตื้น เพราะอาหารแทนที่จะเป็น “คุณอนันต์” กลายเป็น “โทษมหันต์” หมดตัวกันหลายคน เพราะเมื่อให้อาหารไม่ถูกต้อง ก็กลายเป็นมลพิษ นำสารพัดโรคมาทำลายกุ้ง ต้องเสียเวลาในการแก้ปัญหา ถ้าหยุดไม่ได้เจ๊ง แม้แต่เรื่องกุ้งเองก็เป็นเรื่องใหญ่ เพราะมันหิว กัดกินกันเองด้วย

1.ออโต้ฟีด01

การผลิตออโต้ฟีดเดอร์

หนึ่งในผู้จ่ายเงินก้อนโตเสียรู้ในเรื่องนี้ ได้แก่ คุณเผชิญศักดิ์ เชื้อฟัก เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งกุลาดำมาก่อน แต่ด้วยความเป็นคนไม่ยอมแพ้ ไม่ท้อ ต่อสู้ ด้วยการเรียนรู้และแสวงหา แม้จะต้องใช้เงินและเวลาก็ยอม ในที่สุดก็กลายมาเป็นผู้ผลิตออโต้ฟีดเดอร์ CS Auto Feed ชื่อดัง ทั้งในไทยและต่างประเทศ

จากช่วงแรกตะลุยไต้หวัน เพื่อเอาต้นแบบเครื่องไปให้เขาผลิต เพราะถ้าผลิตในไทยไม่คุ้ม เนื่องจากวอลุ่มยังน้อย “วอลุ่มน้อย ลงทุนสูงมาก เมื่อก่อนโมฯ ตัวหนึ่งเป็นล้าน ข้างในเป็นพลาสติก 6 แสนถึงล้าน แล้วต้องจ้างผลิต ทำน้อยเขาก็ไม่ทำให้ ลงทุน 10 ล้านครั้งแรก กว่าจะได้ พอทำแล้วก็เจอปัญหาต้องมาแก้” คุณเผชิญศักดิ์ เปิดเผย แต่เมื่อใช้งานจริง ปรากฏว่าพลาสติกที่แข็งแกร่งที่สุดเมื่อ 20 ปีที่แล้ว สู้ไม่ไหว อุปกรณ์บางตัว เช่น หลอดเหวี่ยง ปรากฏว่าให้อาหารกุ้งไป 100 กก. ก็ขาดแล้ว เพราะทนต่อความคมและความแข็งของ เม็ดอาหาร ไม่ไหว ก็เลยต้องลงทุนใช้ เหล็กกล้าสแตนเลส ซึ่งมีคาร์บอนสูง

นอกจากการทดสอบอุปกรณ์ต่างๆ จนลงตัวแล้ว ยังต้องออกแบบให้เกิดการเหวี่ยงเม็ดอาหารไกลที่สุด และกระจายได้ดีในบ่อใหญ่ๆ มันเป็นงานดีไซน์ แล้วทดลองผลิต กว่าจะตอบโจทย์ได้ชัดเจนใช้เวลาพัฒนาทั้งหมด 7 รุ่น หมดเงินไปหลายล้านบาท “เราไม่หยุดนิ่งในการพัฒนา เพราะฉะนั้นในเรื่องการออกแบบฟังก์ชัน เรามองว่าทำยังไงผู้ใช้จะทดแทนแรงงานได้มากที่สุด คนใช้สบายที่สุด” คุณเผชิญศักดิ์ เปิดเผย

2.ออโต้ฟีด02

การออกแบบและผลิตเครื่องให้อาหาร

เมื่อฮาร์ดแวร์ในการผลิตลงตัว โดยเฉพาะการออกแบบและผลิต 6 ขนาด ได้แก่ 15 กก. 30 กก. 60 กก. 100 กก. 175 กก. และ 200 กก. นั้น เป็นเรื่องใหญ่มาก แต่การออกแบบ “ซอฟท์แวร์” การตั้งเวลาให้อาหารก็เป็นเรื่องใหญ่ ทางบริษัทต้องให้ผู้เชี่ยวชาญ อาจารย์มืออาชีพในมหาวิทยาลัย จัดการคิด “คำสั่ง” ให้ใช้โปรกรมเป็นภาษาอังกฤษ จากนั้นก็ให้มืออาชีพผลิตเครื่องควบคุมใน 6 ขนาด

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การผลิตเครื่องให้อาหารอัตโนมัติ ตั้งโปรแกรมให้ที่สัมพันธ์กับพันธุ์สัตว์น้ำแต่ละชนิด ในบ่อแต่ละขนาด โดยการทยอยให้ เป็นการให้อาหารอย่างมีประสิทธิภาพ วิเคราะห์ให้ลึก จะพบว่ามันเป็นธุรกิจที่มี “ความเสี่ยง” ด้านความเชื่อของเกษตรกรที่ยังศรัทธาการให้อาหารโดยคนหว่าน แต่ บริษัท ชุมแสงเทคโนโลยี จำกัด มั่นใจว่า ถ้าเกษตรกรศึกษาการทำงานของเครื่องจะเห็นประโยชน์ที่มากกว่า

3.ออโต้ฟีด03

การให้อาหารกุ้ง

ต้องยอมรับว่าการหว่านอาหารด้วยมือให้กุ้งกินในบ่อ แค่ 30 นาที มันจะพองขึ้น 100% เพราะน้ำซึมเข้าไปในเม็ดอาหาร เพราะเกิดการแลกเปลี่ยนความเข้มข้นตามหลักออสโมซิส ทำให้คุณค่าอาหารและความหอมสูญเสียไป หากคลุกยาหรือวิตามินในอาหาร 10 นาที หายไปหมด นี่คือจุดอ่อนของการหว่านอาหารกุ้ง

ตรงกันข้ามกับการใช้ออโต้ฟีด โดยให้ทีละน้อย และให้บ่อยๆ ณ จุดเดียว กุ้งทุกตัวที่หิวจะมากินอาหารอย่างสม่ำเสมอ ไม่ต้องหวั่นเรื่องตัวใหญ่รังแกตัวเล็ก “เพราะฉะนั้นเมื่อไหร่หิวเขาต้องมา กุ้งมีประสาทสัมผัสรับกลิ่นที่ดีมาก หลายคนไม่รู้ เราเลี้ยงกุ้งเอง เราทดสอบอาหาร พอไม่พอเราเอาอาหารกำมือหนึ่งไปกองห่างจากฝั่ง 50 ซม. ความลึก 30 ซม. ยังมองเห็น ถ้ากุ้งหิวเดี๋ยวเดียวมาเต็มน้ำขุ่นเลย แต่ถ้าไม่หิวไปกองไว้ก็ไม่มา เราจึงทดสอบได้ว่าอาหารพอหรือไม่ โดยกองอาหารริมบ่อจะรู้ เพราะฉะนั้นเครื่องให้อาหารช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ลดอัตราแลกเนื้อ ลดปัญหาแรงงาน และลดสุขภาพจิตเจ้าของ” คุณเผชิญศักดิ์ ยืนยัน

ดังนั้น  “ชุดจ่ายอาหาร” ที่มีศักยภาพจ่ายอาหาร 24 กรัม/วินาที หรือ 30 วินาที 700 กรัม จะมีความคลาดเคลื่อนเพียง 3% และเมื่อให้ไปเพียง 2-3 นาที กุ้งจะกินของหอม อร่อย ได้คุณค่าอาหาร โดยใช้รยางค์ 3 คู่ กอดเม็ดอาหารไว้ ว่ายน้ำกินไปเรื่อยๆ ไม่ต้องห่วงตัวใหญ่คุมพื้นที่ จึงไม่แปลกใจที่การให้อาหารด้วยเครื่อง กุ้งโตสม่ำเสมอดีกว่าการให้อาหารด้วยมือ เจ้าของบ่อไม่ต้องปวดหัว คนเบิกเงินเกิน ลางาน เป็นต้น

จึงฟันธงได้เลยว่า บ่อ 4-5 ไร่ ใช้เครื่องตัวเดียว ราคาหมื่นกว่าบาท ครอปแรกก็คืนทุนแล้ว

เวลาอากาศแปรปรวน เช่น ฝนตก กุ้งไม่กินอาหาร ก็ปิดสวิทช์เครื่อง พอฝนหยุด อากาศดี ก็เปิด ไม่ต้องกลัวเรื่องความจำ ยังอยู่ เพราะใช้แบตเตอรี่สำรองไฟข้างใน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

4.ออโต้ฟีด04

การพัฒนาผลิตภัณฑ์

ด้วยความเป็นมืออาชีพ และมีวิสัยทัศน์ด้านการตลาด ทั้งในและต่างประเทศ ทางบริษัทได้คำนึงถึงประโยชน์สูง ประหยัดสุด ของลูกค้า แม้แต่ “ถังอาหาร” ก็ทำมาตรฐาน โดยใช้พลาสติกที่เหนียวและทน เป็น “สีน้ำเงิน” เป็นสีทึบแสง ป้องกัน “แสงแดด” ส่องให้เกิดความร้อน เกิดปฏิกิริยากรีนเฮ้าส์เอฟเฟค ซึ่งจะทำให้อาหารเสื่อมคุณภาพ ขาดกลิ่นรสนั่นเอง และถูกออกแบบเป็นระบบน็อคดาวน์ เพราะสะดวกเวลาส่งไปต่างประเทศทางเรือ ลูกค้าประกอบเอง “ประกอบหน้างาน เช่น ขาและถัง มีความสูงท่ากันพอดี ค่าขนส่งถูกลงเท่าตัว บริษัทอื่นจึงสู้เราไม่ได้ในเรื่องการออกแบบให้ประหยัดพื้นที่ในการขนส่ง” คุณเผชิญศักดิ์ เปิดเผยถึงความละเอียดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพราะจัดส่งฟรีทุกขนาดในประเทศ

5.ออโต้ฟีด05

การบริหารจัดการบ่อกุ้ง

แม้กระทั่งเวลาใช้งาน โดยการตั้งเวลาให้อาหาร เช่น หลังจาก 6 โมงเย็น ถ้าตั้งลดมันก็จะลดทุกวัน และต้องการให้หยุดกี่โมง ก็จะหยุด ก็กดปุ่ม 1 กับ 3 เป็นต้น มันเป็นคำสั่งพิเศษ นานๆ กดครั้งหนึ่ง ซึ่งคำสั่งพิเศษนี้ต้องคำนึงถึง กลางวัน กลางคืน อุณหภูมิน้ำ หรือ ฤดู เป็นต้น ล้วนมีผลต่อการกินอาหารของกุ้งทั้งสิ้น หรือการใช้ ขนาดเครื่อง และ ขนาดถัง ที่ไม่สัมพันธ์กับ “ขนาดบ่อ” ต่อรอบการเลี้ยงกุ้ง ก็เป็นปัญหาด้านทุนการจัดการ เพราะการเติมอาหารให้เต็มแต่ละครั้งล้วนต้องใช้เวลาทั้งสิ้น “การใช้ถังใหญ่ราคาต่างกันไม่มาก 2 วัน เติมที แต่ถ้าใช้ถังเล็ก กุ้งต้องกินอาหารวันละ 100 กก. ต้องเติม 3 หน” คุณเผชิญศักดิ์ ยกตัวอย่าง

หรืออาหารเม็ดแต่ละเบอร์ ถ้าเบอร์ 1 กับ 2 ใกล้เคียงกัน และปริมาตรไม่เท่าเบอร์ 3 เบอร์ 4 ดังนั้นเมื่อความหนาแน่นไม่เท่ากัน ต้องมีการเติมอาหาร จึงต้องใช้ โรตารีวาล์ว จะตอบโจทย์ได้ชัดเจน จึงไม่ต้องแปลกใจที่บริษัทระดับโลกต้องเป็นลูกค้ารายใหญ่ ฟาร์มเดียวใช้เกือบ 100 เครื่อง “เครื่องของเราเก็บข้อมูลเหมือนงานวิจัยบริษัทอันดับต้นๆ ของโลก ใช้เลี้ยงปลา เพราะเราได้พิสูจน์ให้เขาเห็นว่าความแม่นยำในการกำหนดปริมาณอาหารถึง 98%” คุณเผชิญศักดิ์ ยืนยันด้วยความภูมิใจ และบริษัทในเกาหลีใต้ยืนยันว่าใช้งานง่ายที่สุด

6.ออโต้ฟีด06

ด้านตลาดและช่องทางจำหน่ายเครื่องให้อาหารกุ้งและปลา CS ออโต้ฟีด

10 ประเทศ ได้แก่ เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เม็กซิโก ไต้หวัน เอกวาดอร์ และ นิวแคลิโดเนีย เป็นลูกค้าประจำ

เมื่อค้าขายกับต่างประเทศด้วย บริษัทจึงต้องใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาช่วยพัฒนาคุณภาพสินค้าตลอดเวลา ได้จัดทำคู่มือออนไลน์ เป็นวิดีโอ ตั้งแต่ถอดและการประกอบชิ้นส่วน โดยไม่เสียหาย และการใช้เครื่องในฟาร์ม

นวัตกรรมตัวใหม่ คือ กำลังพัฒนาตัวคอนโทรล ณ จุดเดียว แต่สามารถควบคุมได้จากทั่วโลก โดยใช้เครื่องเดียวเป็นตัวแม่ส่งสัญญาณไปยังเครื่องลูกในรัศมี 1 กม. เหมาะกับฟาร์มขนาดใหญ่ เป็นแอพพลิเคชันผ่านมือถือ หรือคอมพิวเตอร์ เจ้าของฟาร์มสามารถดูความเคลื่อนไหวของกุ้งทุกเรื่องแบบเรียลไทม์ โดยร่วมวิจัยกับบริษัทที่ทำเรื่องสมาร์ทฟาร์มนั่นเอง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

นี่คือ มันสมอง และ ความอุตสาหะ ของคนไทย ในการพัฒนาการให้อาหารกุ้งและสัตว์น้ำด้วยเทคโนโลยี ที่ประหยัดต้นทุน และเพิ่มผลผลิต ให้คนไทยและต่างประเทศ ภายในห้วงเวลากว่า 2 ทศวรรษ ในนาม บริษัท ชุมแสงเทคโนโลยี จำกัด ที่มี คุณเผชิญศักดิ์ เป็นกรรมการผู้จัดการ

สนใจติดต่อสอบถาม ได้ที่ โทร.089-8345778  ID Line : @cs1900  Facebook Page : เครื่องให้อาหารกุ้งและปลา cs auto feed

อ้างอิง : นิตยสารสัตว์น้ำ ฉบับที่ 410