การทําฟาร์มไก่ไข่ เตรียมรับมาตรฐาน GMP เพื่อขยายธุรกิจไข่ไก่คุณภาพ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ถือเป็นนาทีที่น่าจับตามองสำหรับสถานการณ์ราคาไข่ไก่ช่วงที่ผ่านมา ซึ่งมีการปรับตัวสูงมากขึ้น สูงกว่าต้นทุนการผลิต โดยราคาไข่ไก่คละปรับเพิ่มขึ้นในช่วงสัปดาห์แรกของเดือนกรกฎาคม 2562 เฉลี่ยฟองละ 2.83 บาท ทีมข่าวสัตว์บกได้มีโอกาสสัมภาษณ์เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ท่านหนึ่ง ผู้ซึ่งยินดีเปิดใจเกี่ยวกับการเลี้ยงไก่ไข่กับสภาวะสภาพเศรษฐกิจที่ตกต่ำเช่นนี้ว่าควรปรับตัวเช่นไรต่อไป การทําฟาร์มไก่ไข่

1.คุณยศพงศ์ ถิระวุฒิ เจ้าของฟาร์มไก่ไข่เกาะเเต้ว
1.คุณยศพงศ์ ถิระวุฒิ เจ้าของฟาร์มไก่ไข่เกาะเเต้ว

จุดเริ่มต้น การทําฟาร์มไก่ไข่

เกษตรกรผู้นั้น คือ คุณยศพงศ์ ถิระวุฒิ ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการสมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ภาคใต้ และเจ้าของฟาร์มไก่ไข่เกาะเเต้ว ที่รับช่วงต่อธุรกิจการเลี้ยงไก่ไข่มากกว่า 30 ปี จุดเริ่มต้นมาจากคุณพ่อที่เริ่มเลี้ยงเป็นแบบปล่อยพื้น พัฒนามาเรื่อยๆ จนเป็นแบบยืนกรง ซึ่งต้องยอมรับว่าในอดีตข้อมูลข่าวสารต่างๆ นั้นเข้าถึงเกษตรกรผู้เลี้ยงได้ยาก และมีความล่าช้ามาก ทำให้ช่องทางเดียวที่สามารถสร้างรายได้จากการเลี้ยง คือ การส่งขายทางแม่ค้า พ่อค้า ตามตลาดนัด

คุณยศพงศ์เล่าย้อนไปถึงอดีตว่า แต่ก่อนคุณพ่อประกอบอาชีพครู ส่วนคุณแม่ก็เป็นแม่บ้าน พอเริ่มต้นทำธุรกิจไปสักระยะหนึ่งมีแนวโน้มว่าจะดี คุณพ่อจึงตัดสินใจลาออกจากงาน หันมาเลี้ยงไก่อย่างจริงจัง เป็นอาชีพหลัก ตอนนั้นเลี้ยงไม่ถึง 20,000 ตัวด้วยซ้ำ ยังดีที่มีรายได้เสริมจากการทำสวนยาง จึงพอเลี้ยงปากท้องไปได้

คุณยศพงศ์เริ่มเข้ามารับช่วงต่อกิจการจากคุณพ่อเมื่อปี 2555 และเริ่มต้นพัฒนาระบบการเลี้ยงไก่ไข่จากการเลี้ยงแบบเปิดเป็นการเลี้ยงในระบบปิด (Evaporative cooling system) เป็นการเลี้ยงไก่แบบยืนกรงตับ 4 ชั้น  เริ่มแรกเลี้ยงประมาณ 50,000 ตัว ปัจจุบันพัฒนาและปรับปรุงตอนนี้เลี้ยงทั้งหมด 5 โรงเรือน โรงเรือนละ 30,000 ตัว รวมทั้งฟาร์มประมาณ 150,000 ตัว เป็นไก่ไข่ยืนกรงทั้งหมด ผลผลิตไข่ที่ได้เฉลี่ย 120,000 ฟองต่อวัน

แต่ก่อนคุณยศพงศ์เป็นพนักงานประจำอยู่ในบริษัทเอกชน จนวันหนึ่งธุรกิจเริ่มขยายมากขึ้น คุณพ่อดูแลไม่ไหว จุดนี้จึงทำให้ต้องเลือกระหว่างงานออฟฟิศกับธุรกิจตัวเอง คุณยศพงศ์เปิดเผยว่า การทำธุรกิจเองนั้น ถ้ามีช่องทางในการขยายและจัดจำหน่ายก็ควรคว้าเอาไว้ ยิ่งช้าก็ยิ่งพัฒนาได้ยาก และมีคู่แข่งมากขึ้น เพราะโลกที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ผู้บริโภคมีความรู้มากขึ้น ข่าวสารที่เข้าถึงประชาชนมากขึ้น ผลดีสำหรับการลงมือทำทันที คือ ช่องทางในการจำหน่ายที่มากขึ้นเช่นกัน

2.โรงเรือนไก่ไข่
2.โรงเรือนไก่ไข่ การทําฟาร์มไก่ไข่ การทําฟาร์มไก่ไข่ การทําฟาร์มไก่ไข่ การทําฟาร์มไก่ไข่ การทําฟาร์มไก่ไข่

สภาพพื้นที่เลี้ยงไก่ไข่

ฟาร์มไข่ไก่เกาะเเต้วไม่ได้เลี้ยงลูกไก่เอง แต่รับไก่มาจากซีพีหนองข้อง เป็นไก่สาวอายุประมาณ 16 สัปดาห์ สายพันธุ์ HY-LINE BROWN ซึ่งทางฟาร์มก็ต้องทำการศึกษาและทำความเข้าใจสายพันธุ์ไก่ที่ได้รับมา เพื่อให้สามารถดูแลและจัดการโปรแกรมได้อย่างเหมาะสม

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ฟาร์มไก่ไข่เกาะเเต้วปัจจุบันดำเนินการเลี้ยงไก่ไข่เป็นระบบอัตโนมัติ (AutoFeed) ทั้งหมด มีอุปกรณ์สายพานลำเลียงไข่ไก่จากกรงภายในโรงเรือนมารวมกันบริเวณหน้าเล้าที่เดียว โดยไม่ต้องใช้แรงงานคนมาเก็บไข่ เมื่อในอดีตใช้เพียงคนคัดแยกไข่เปื้อนหน้าเล้าเท่านั้น แล้วจะมีรถมารับไข่ไก่ไปยังโรงคัด ซึ่งห่างจากตัวฟาร์มประมาณ 1 กิโลเมตร

3.การให้อาหารผ่านไซโลลงไปตามรางอาหาร ใน การทำฟาร์มไก่ไข่
3.การให้อาหารผ่านไซโลลงไปตามรางอาหาร ใน การทำฟาร์มไก่ไข่

การให้อาหารไก่ไข่

การให้อาหารก็เช่นกันโดยส่งผ่านไซโลลงไปตามรางอาหารควบคุมโดยใช้ไฟฟ้าทั้งหมด ในส่วนการเติมอาหารในไซโลใช้เป็นระบบเครน อาหารไม่มีการสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมภายนอกแน่นอน เพื่อป้องกันการเกิดเชื้อรา และการปนเปื้อนในอาหารไก่ และในส่วนอาหารนั้นทางคุณยศพงศ์ยอมรับว่าตนใช้เป็นอาหารสำเร็จรูปที่ผสมมาจากบริษัทชั้นนำของประเทศแต่แรกอยู่แล้ว ตอนนี้ก็ยังคงเป็นเช่นนั้น เนื่องจากฟาร์มแห่งนี้อยู่ไม่ไกลจากโรงงานผลิตอาหารสัตว์ที่ได้รับมาตรฐานระดับประเทศ

4.ฮิปปร้าเวียร์-โคลน-เฮช-120
4.ฮิปปร้าเวียร์-โคลน-เฮช-120
ฮิปปร้าเวียร์-บีพีแอล-ทู
ฮิปปร้าเวียร์-บีพีแอล-ทู

การป้องกันและกำจัดโรคระบาดในฟาร์มไก่ไข่

นอกจากนี้กรณีของการป้องกันโรค ฟาร์มไม่มีการใช้ยาปฏิชีวนะ เนื่องจากป้องกันการตกค้างของยาในผลผลิต แต่เน้นความเข้มงวดของ Biosecurity แทน รวมทั้งมีการใช้วัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันอย่างต่อเนื่อง โดยเป็นวัคซีนจากบริษัทชั้นนำของโลก คือ ฮิปปร้า (HIPRA) ได้แก่ วัคซีนป้องกันโรคนิวคาสเซิล และหลอดลมอักเสบ

ทั้งเชื้อเป็น และเชื้อตาย ภายใต้ชื่อ ฮิปปร้าเวียร์ โคลน เฮช 120 (HIPRAVAIR CLON/H120) และฮิปปร้าเวียร์ บีพีแอล ทู (HIPRAVIAR BPL2) โดยเน้นเลือกใช้วัคซีนที่ให้ภูมิคุ้มกันสูง ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ จึงไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อควบคุมปัญหาการแพ้วัคซีน

5.ไข่ฟองใหญ่-สวย-สด
5.ไข่ฟองใหญ่-สวย-สด

การบริหารจัดการฟาร์มไก่ไข่

ในส่วนการปลดไก่และมูลของไก่นั้น ทางฟาร์มไก่ไข่เกาะแต้วมีการจัดการโดยการปลดไก่ไข่เมื่ออายุได้ 78 สัปดาห์ เพราะหลังจากนี้การให้คุณภาพไข่ไก่ โดยเฉพาะสีเปลือกไข่ และความสดของไข่ไก่ จะไม่มีคุณภาพตามอายุไก่ไข่ ไก่ที่ปลดก็จับขายให้พ่อค้า แม่ค้า ภายในอำเภอหาดใหญ่ และ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

ทางฟาร์มยึดหลักการตามที่กรมปศุสัตว์แนะนำ คือ แบบเข้า-ออกพร้อมกันเป็นชุดๆ ในส่วนของมูลไก่จะนำใส่กระสอบๆ ละ 20-23 กก. แล้วขายให้เกษตรกรที่ทำไร่ ทำสวน เช่น สวนแตงโม โดยมีบริการให้ด้วยในราคากระสอบละ 50 บาท แต่รับประกันคุณภาพเกินร้อย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ตอนแรกฟาร์มไก่ไข่เกาะแต้วยังไม่ได้ทำบ่อไบโอแก๊ส แต่ปีนี้จะเริ่มทำบ่อแก๊ส และจะเปลี่ยนโรงเรือนเป็นแบบกรงแบตเตอรี่ H เฟรม ที่มีสายพานลำเลียงไข่ไก่ระบบอัตโนมัติ เพื่อเป็นตัวช่วยลดต้นทุนค่าไฟลง เพราะเลี้ยงรอบหนึ่งค่าใช้จ่ายไฟฟ้าค่อนข้างสูง ไก่ตัวหนึ่งหมดค่าไฟประมาณเกือบ 2 บาท ด้วยเหตุนี้ผู้ประกอบการทุกคนจึงต้องปรับตัวเพื่อประคองต้นทุนไม่ให้สูงเกินไป

6.ไข่ไก่พร้อมจำหน่าย
6.ไข่ไก่พร้อมจำหน่าย

ด้านตลาดและช่องทางจำหน่ายผลผลิตไข่ไก่

อย่างไรก็ดีฟาร์มไก่ไข่เกาะแต้วนี้กำลังอยู่ในช่วงการขอมาตรฐาน GMP (Good Manufacturing Practice) ซึ่งหมายถึง โรงคัดแห่งนี้มีการจัดการด้านความปลอดภัยอาหาร ให้ได้ไข่ที่มีมาตรฐาน เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคมากขึ้น สามารถส่งมอบไข่ที่ปลอดภัยและเหมาะสมกับการบริโภค สร้างความมั่นใจว่าไข่ที่ส่งจากศูนย์รวบรวมไข่มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ไม่ก่อให้เกิดการเจ็บป่วย สร้างความเชื่อถือให้กับลูกค้าที่ทำการค้าขายกับบริษัทฯ คุณยศพงศ์ยืนยันว่าอยู่ในช่วงการรวบรวมและตรวจสอบเอกสาร ซึ่งแล้วเสร็จไปแล้วกว่า 90 %

การขอมาตรฐาน GMP นี้ จะเป็นการเปิดโอกาสในการจัดจำหน่ายที่มากขึ้น โดยทางคุณยศพงศ์มีโครงการจะขยายตลาดให้เข้าถึงผู้บริโภคมากขึ้น และเป็นการเพิ่มมูลค่าของตัวสินค้าให้สูงขึ้นอีกด้วย แต่เดิมช่องทางการจำหน่ายของทางฟาร์มไก่ไข่เกาะเเต้ว คือ

-กลุ่มลูกค้าตามร้านค้าขายทั่วไป เช่นโรงแรม และเรือเดินสมุทร ลูกค้ากลุ่มแท่นขุดเจาะน้ำมัน ร้านเบเกอรี่ เป็นต้น

-กลุ่มลูกค้ารายย่อย เช่น พ่อค้า แม่ค้า ในตลาด หรือร้านขายส่งทั่วไป และอีกหนึ่งช่องทางใหม่ โมเดิร์นเทรด ท็อปส์ ซุปเปอร์มาร์เก็ต (TOPS SUPER MARKET) โดยทางฟาร์มให้บริการขนส่งสินค้าเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าและเข้าถึงผู้บริโภคมากขึ้น

ด้วยความที่เทคโนโลยีนั้นก้าวไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้ประกอบการต้องมีการปรับตัว โดยหลักการที่ฟาร์มแห่งนี้ยึดมั่นเสมอมา คือ ไข่ทุกฟองที่ออกจากฟาร์มแห่งนี้ต้องสด สะอาด ปลอดภัยจากสารตกค้างและยาปฏิชีวนะ  สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ มีการส่งตรวจกับทางห้องแลปเอกชนอยู่อย่างสม่ำเสมอตามที่ลูกค้าต้องการ คุณยศพงศ์เปิดเผยว่า “คุณต้องเข้าใจความต้องการของลูกค้า เพราะผู้บริโภคมีความรู้ ความเข้าใจ ที่มากขึ้น คนส่วนใหญ่ใส่ใจเรื่องการกินมากขึ้น โดยราคานั้นต้องไม่สูงมากจนเกินไปด้วย กล่าวคือ สินค้าต้องดีและคุณภาพสม่ำเสมอ มีมาตรฐานรับรองด้วย”

โฆษณา
AP Chemical Thailand

นอกจากนี้ทางฟาร์มไก่ไข่เกาะแต้วยังมีโครงการรณรงค์ให้คนหันมาบริโภคไข่มากขึ้น เพื่อให้ผู้บริโภครู้ถึงคุณค่าที่แท้จริงของการกินไข่ไก่ เห็นประโยชน์ของไข่ไก่มากขึ้น รู้ว่าควรจะบริโภคอย่างไรจึงได้ประโยชน์สูงสุด และจากโครงการนี้ก็ทำให้คนรู้จักมากขึ้น ยอดขายเพิ่มขึ้น มีคนสนใจมาร่วมกิจกรรมมากขึ้น ยังมีบริษัทต่างๆ ให้ความสนใจช่วยออกเป็นหนังสือ โฆษณาเป็นกิจกรรมต่างๆ มีการเชื่อมกับทางโรงพยาบาล ให้คุณหมอเข้ามาช่วยให้คำแนะนำมากขึ้น ยังมีการนำคนที่ประสบความสำเร็จในการควบคุมอาหารมาให้ความรู้และคำแนะนำ ทำให้คนหันมาสนใจและบริโภคไข่ไก่มากขึ้น อย่างน้อยก็วันละ 1 ฟอง จัดเป็นการส่งเสริมการขายที่ดีมาก

7.สด สะอาด ได้คุณภาพ
7.สด สะอาด ได้คุณภาพ การทําฟาร์มไก่ไข่ การทําฟาร์มไก่ไข่ การทําฟาร์มไก่ไข่ การทําฟาร์มไก่ไข่

เป้าหมายในอนาคตของ การทําฟาร์มไก่ไข่

คุณยศพงศ์วางแผนว่าจะเปิดช่องทางการขายอีกหนึ่งช่องทาง คือ เปิดช็อปเป็นของตนเองเลย ทำออกมาในรูปแบบคล้าย Cafe’s Shop ที่ทำการขายไข่ไก่ ผักออแกนิค สินค้าชุมชนในพื้นที่ โดยการรับเข้ามาขาย เพื่อส่งเสริมอาชีพของชาวบ้านในพื้นที่โดยรอบให้มีช่องทางในการขายเพิ่มขึ้น เพิ่มรายได้แก่ชุมชน เป็นการช่วยเหลือสังคมหรือคนในพื้นที่ ท่านใดที่ยังไม่มีงานทำและสนใจจะร่วมงานกับทางฟาร์ม ทางฟาร์มก็ยินดี หากมีตำแหน่งงานที่ว่างอยู่ เรื่องรายได้และสวัสดิการดีไม่แพ้โรงงานทั่วไปแน่นอน และอาจมีเวลามากขึ้นด้วยซ้ำไป

คุณยศพงศ์ยังกล่าวถึงข้อดีของสมาคมหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงไก่ไข่ว่า สมาคมเป็นที่ที่ทุกคนสามารถแสดงความคิดเห็นและเสนอแนะ โดยต้องมีคนกลางอย่างประธานสมาคม ผู้ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นเสียงของเกษตรกรทั้งหลาย และคอยดูแลสมาชิกจัดสรรพื้นที่การเลี้ยง รวมทั้งแชร์ข้อมูลที่สำคัญให้เกษตรกรด้วย

สุดท้ายสิ่งสำคัญที่ทุกฟาร์มควรยึดเป็นแนวทางเดียวกัน คือ ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ  (Biosecurity) มันย่อมดีกว่าต้องแบกรับความเสียหายหากมันเกิดขึ้น ทั้งนี้ถึงแม้ราคาไข่ไก่จะยังไม่สูงมากเท่าอดีต แต่ก็พอจะมีกำไรขึ้นมาบ้าง เมื่อเทียบกับปี 2561 ที่เกิดภาวะไข่ไก่ล้นตลาด ดังนั้นทุกคนต้องเสียสละบางอย่างบ้าง เช่น การปลดไก่ไข่ที่อายุเกิน 80 สัปดาห์ไปแล้ว ตามประกาศของกรมปศุสัตว์ มีการเข้าไก่ตามรอบและเหมาะสม ไม่เพิ่มปริมาณการเลี้ยงจนเกินกำลัง เป็นต้น เพื่อทุกคนจะสามารถก้าวเดินไปพร้อมกันได้

“ผมจะไม่แข่งขันกับเกษตรกรรายย่อยในพื้นที่ จะไม่แย่งช่องทางทำมาหากินของเขา เพราะทุกคนย่อมมีภาระหน้าที่ต้องดูแล การแข่งขันที่ถูกต้อง คือ แข่งขันกับบริษัทที่ใหญ่กว่า มีเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งมันท้าทายและสนุกกว่ามาก” นี่คือปณิธานที่แน่วแน่ของคุณยศพงศ์

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก คุณยศพงศ์ ถิระวุฒิ (กรรมการสมาคมผู้เลี้ยงไกไข่ภาคใต้ และเจ้าของฟาร์มไก่ไข่เกาะแต้ว) ที่อยู่ 288 หมู่ 9 ต.เกาะแต้ว อ.เมือง  จ.สงขลา 90000

โฆษณา
AP Chemical Thailand

อ้างอิง : นิตยสารสัตว์บก ฉบับที่ 318