ก้าวหน้าฟาร์ม สร้างเครือข่าย ผลิต “ เนื้อโคขุน ” สู้เนื้อนอก

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ก้าวหน้าฟาร์ม สร้างเครือข่าย ผลิต “ เนื้อโคขุน ” สู้เนื้อนอก ยุคที่โลกเข้าสู่ระบบการค้า ที่เรียกว่า “แฟร์เทรด” แบบทวิภาคี FTA ประเทศคู่ค้าที่มีต้นทุนการผลิตต่ำจะได้เปรียบ เพราะภาษีการนำเข้าเป็นศูนย์

เช่น FTA ไทย-ออสเตรเลีย เรื่องเนื้อวัว ไทยจะเสียเปรียบ เพราะต้องสั่งเนื้อมากขึ้น อันเนื่องมาจากราคาที่ไม่แพง เพราะไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า

แน่นอนผู้บริโภคคนไทยได้บริโภคของดี ราคาถูก แต่ชาวโคบาลที่เลี้ยงวัวเนื้อเป็นธุรกิจอาจเดือดร้อน เพราะเนื้อวัวแพง ขายยากนั่นเอง

เรื่องนี้รัฐไทยรู้ทัน กว่าจะเปิด FTA กับออสเตรเลีย ก็ตอกย้ำผู้เลี้ยงโคมาตลอดให้ปรับตัว

1.คุณสมพงษ์ เทพอาษา เจ้าของก้าวหน้าฟาร์ม
1.คุณสมพงษ์ เทพอาษา เจ้าของก้าวหน้าฟาร์ม

การเลี้ยงวัว

คุณสมพงษ์ เทพอาษา นักธุรกิจก่อสร้าง ได้แบ่งบทบาทตัวเองมาเป็นโคบาลเต็มตัว เพื่อขยายธุรกิจของครอบครัวที่ยึดอาชีพเลี้ยงวัวเนื้อมาตลอด จนวันนี้ “ก้าวหน้าฟาร์ม” คือ ฟาร์มวัวเนื้อครบวงจรขนาดใหญ่ในจังหวัด มีเครือข่ายเกษตรกรทั่วประเทศที่เลี้ยงวัวเนื้อขายให้ก้าวหน้าฟาร์ม

“FTA มันมาทำลายกระบวนการทุกอย่าง ที่จะทำให้เราสู้ต่างประเทศได้ยาก หากเราไม่พัฒนา” คุณสมพงษ์เปิดประเด็นเรื่อง FTA วัวเนื้อ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ดังนั้นการพัฒนาในค่านิยมของคุณสมพงษ์ ก็คือ จะต้องผลิต “เนื้อวัว” ในประเทศให้มีคุณภาพ และบริหารเรื่อง “ราคา” ให้สู้กับเนื้อวัวจากต่างประเทศได้

2.เนื้อวัวเกรดพรีเมียมพร้อมจำหน่าย
2.เนื้อวัวเกรดพรีเมียมพร้อมจำหน่าย

ด้านตลาดและช่องทางจำหน่ายเนื้อวัว

เรื่องแรกของก้าวหน้าฟาร์ม คือ จะต้องทำธุรกิจโคเนื้อให้ครบวงจร ตั้งแต่การผลิตพ่อแม่พันธุ์ การขุน การฆ่า และการขายเนื้อเข้าสู่ตลาด โดยควบคุม “ต้นทุน” ตลอดห่วงโซ่อุปทาน ทั้งการผลิตและการตลาด

ห่วงโซ่ตลาดภายในปีนี้ บริษัท ก้าวหน้าฟาร์ม จำกัด จะมีร้านขายเนื้อ ในนาม “ก้าวหน้าบีฟ” และในเครือ “แมกบีฟ” 30 สาขา กระจายทั่วประเทศ ภายใต้โคเนื้อ 500 ตัว ที่จะถูกเชือดเอาเนื้อเข้าขายในร้าน ถ้ารวมโคของ เกษตรกรฟาร์มเครือข่าย ที่เป็นพันธมิตรทางการค้า จะต้องเชือดโคถึง 4,000 ตัว ป้อนตลาดแมคโคร โลตัส ด้วย

ในจำนวนเนื้อโคที่เข้าตลาดก้าวหน้าฟาร์ม ต้องผลิตเนื้อพรีเมียมเกรดถึง 60% อีก 40% ส่งออก และส่งเขียงในประเทศ

3.โรงเรือนวัว
3.โรงเรือนวัว

การบริหารจัดการภายในฟาร์มวัว

เมื่อการวางแผนการตลาดเนื้อชัดเจน ก็ต้องวางแผนการผลิตให้รัดกุมเรื่องแรก คือ พันธุ์โค คุณสมพงษ์เจาะจง ลูกผสมบราห์มัน ลูกผสมชาโรเลย์ และลูกผสมแองกัส แบรงกัส เลือด 75% เป็นหลัก

เรื่องที่ 2 รูปแบบการเลี้ยง มุ่งส่งเสริมเกษตรกรเลี้ยงแม่พันธุ์ที่สายเลือดสูงกว่าโคพื้นเมือง โดยบริษัท ก้าวหน้าฟาร์มฯ นำ “น้ำเชื้อ” พันธุ์โคเมืองหนาว อย่าง ชาโรเลย์ ไปผสม เป็นต้น บางคนมีแม่แองกัส ก็จัดหาน้ำเชื้อแองกัสไปผสม จะได้ลูกโคเนื้อคุณภาพ มีไขมันแทรกเนื้อ โดยบริษัทซื้อในราคาตามน้ำหนักคิดเป็นกิโลกรัม เกษตรกรมีโคกี่ตัวก็เอามาขายได้

โฆษณา
AP Chemical Thailand

เรื่องที่ 3 ก้าวหน้าฟาร์ม มีฟาร์มเลี้ยง และแปลงหญ้า เป็นของตัวเอง พื้นที่กว่า 200 ไร่ โดยแบ่งเป็น ฟาร์มแม่พันธุ์ ฟาร์มโคขุน โรงอาหาร แปลงหญ้า และศูนย์ตัดแต่งเนื้อ จากเริ่มต้นเลี้ยงโคแม่พันธุ์ 30 แม่ เมื่อ 5 ปีที่แล้ว วันนี้มีประชากรแม่โคพรีเมียม 200 ตัว เพื่อผลิตลูกโคเนื้อเข้าสู่ธุรกิจโคขุน

ในส่วนของโคขุน ทางฟาร์มรับซื้อโคต้นน้ำ น้ำหนัก 200-250 กก. หรือโคกลางน้ำ (250-350 กก.) มาขุนต่อให้ได้น้ำหนัก 500-600 กก. ถ้าโคพรีเมียมน้ำหนัก 700 กก. แล้วเข้าโรงเชือด และโรงตัดแต่งเนื้อ

เรื่องที่ 4 เร่งศึกษาการเลี้ยงในโรงเรือนอีแวป ซึ่งประเทศไทยเป็นเมืองร้อนชื้น แต่ต้องเลี้ยงโคเนื้อเลือดเมืองหนาว 75% ในฟาร์มเปิด ซึ่งมีผลกระทบต่ออัตราการเจริญเติบโต และสุขอนามัยสัตว์ คุณสมพงษ์ได้ศึกษาโรงเรือนระบบปิด และระบบโรงเรือนพัดลมระบายอากาศ ว่าแบบไหนเหมาะสมที่สุด

4.การให้อาหารวัว
4.การให้อาหารวัว

การให้อาหารวัว

สำหรับ “อาหาร” โคเนื้อ จะเลือกใช้วัตถุดิบที่มีในท้องถิ่น ส่วนใหญ่จะเป็นหญ้าเนเปียร์ มันสำปะหลัง และกากปาล์มกากปาล์ม ส่วนสัดส่วนของอาหารก็แล้วแต่ความเหมาะสมในช่วงวัยของโค

และนอกจากนี้ทางก้าวหน้าฟาร์มได้ทำบังเกอร์สำหรับเก็บอาหารหยาบ เพื่อป้องกันปัญหาการขาดแคลนอาหารหยาบในช่วงหน้าแล้ง

ก้าวหน้าฟาร์ม ภายใต้การขับเคลื่อนของ คุณสมพงษ์ เทพอาษา มีการพัฒนาตลอดเวลา เพื่อทำให้ต้นทุนการผลิตและการตลาดสู้กับเนื้อโคต่างประเทศได้ จึงเป็นฟาร์มต้นแบบของชาวโคบาลทั่วประเทศ

โฆษณา
AP Chemical Thailand
5.คอกแม่พันธุ์แบรงกัส
5.คอกแม่พันธุ์แบรงกัส

ฝากถึงเกษตรกรที่สนใจเลี้ยงวัว

สุดท้ายคุณสมพงษ์ได้ฝากทิ้งท้ายถึงเกษตรกรที่สนใจอยากหันมาเลี้ยงโคว่า อยากให้เกษตรกรได้ศึกษาก่อน อย่าเลี้ยงตามกระแส ศึกษาเรื่องการตลาดให้ดี และถ้าเรามีแม่พันธุ์ พื้นฐานให้เริ่มพัฒนาจากตรงนั้นก่อน และสิ่งที่เกษตรกรต้องคำนึง คือ การเลี้ยง พันธุกรรม และการตลาด

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก คุณสมพงษ์ เทพอาษา ก้าวหน้าฟาร์ม โทร.065-121-5939

อ้างอิง : นิตยสารสัตว์บก ฉบับที่ 336