ชาวหมูรายย่อย อยู่ได้อย่างไรในปีนี้??

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ณ โรงแรมเพชรรัชต์การ์เด้น จังหวัดร้อยเอ็ด 22 ธ.ค. 66 มีเวทีเสวนาเรื่อง “รายย่อยอยู่รอดได้อย่างไร ปี 67” โดยวิทยากรในวงการธุรกิจสุกร ผู้ดำเนินการเสวนา ได้แก่ คุณอุดมศักดิ์ แก้วจันทร์วงษ์ โดยใช้เวลา 60 นาที โดยเกริ่นประเด็นว่า ชาวหมูรายย่อยเผชิญชะตากรรมเกือบปี หลายคนล้มหายตายจาก และดีใจที่ยังมีผู้อยู่รอดในวันนี้ และต้องเร่งฟื้นฟูสิ่งที่เสียไป ปี 66 ให้กลับมา เพราะชาวหมูเป็นอาชีพที่อยู่คู่กับประเทศไทย เพราะผลิตอาหารให้คนกิน แต่ไม่ได้ประกอบอาชีพเพื่อจะขาดทุน เหมือนที่คุณสิทธิพันธ์ นายกสมาคมหมู บอกเราไม่ได้ตั้งโรงทาน

1.ชาวหมูรายย่อย01

การเลี้ยงหมู

การนำเสนอจะนำพระราชดำรัส ร.9 เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา มานำเสนอให้ครอบคลุมประเด็น เพื่อจะเอาตัวรอดอย่างไร โดยเริ่มต้นจากรายย่อย เพราะ “รายย่อย” ได้ใช้ในการต่อสู้กับ ต้นทุน กับ หมูเถื่อน โดยมี คุณหมอวิวัฒน์ พงษ์วิวัฒนชัย ผู้นำในการสร้างตัวตนรายย่อย ตั้งแต่ 20 ก.ย. 66 เป็นต้นมา และปี 67 นี้ จะนำรายย่อยไปอย่างไร ซึ่งคุณหมอวิวัฒน์เปิดเผยว่า เรื่องหมูเถื่อนมันลึก เมื่อได้คุยกับคนเก่าคนแก่ที่เลี้ยงหมูเยอะๆ ไม่น่าเชื่อว่าวันนี้มันมาสุดตรงนี้ มีคนแซวว่าตนเป็นหัวหน้าบางระจัน บางคนเรียกนายจันหนวดเขี้ยว หมู่บ้านบางระจัน แต่ตอนนี้เป็น ชุมชนพระเจ้าตาก ต้องทำให้รอด เพราะบางระจันจบไปแล้ว หมูเถื่อน ได้ทำลายอิสรภาพของชาวหมู

“รายย่อยที่ส่งชื่อมา เป็นชมรม เป็นกลุ่ม ประมาณ 70 แต่ยังมีรายย่อยที่สงบเสงี่ยมหลายจังหวัด พวกนี้โชคดีไปก่อน พร้อมจะเลิก รอบแรกจบ วันนี้พัก พร้อมจะเลิก แต่ชุมชนรุ่นใหม่ที่มีความหวัง มีพลังเยอะ ไม่เหมือนพวกเราสู้ไปอ่อนไป ไม่ย่อยจริง เล็กบ้าง กลางบ้าง เพราะฉะนั้น ธกส. และ กรมปศุสัตว์ ส่งรายชื่อทั้งหมดแล้ว โครงการคนละ 3 แสน ดอกเบี้ย 1% 1,000 คน 3,000 ล้าน ผ่านบิ๊กบอร์ด ผ่าน ครม. และอนุมัติงบกลาง ธกส.รับไม่ไหว”

2.คุณสิทธิพันธ์ ธนาเกียรติภิญโญ
2.คุณสิทธิพันธ์ ธนาเกียรติภิญโญ

การให้ความรู้แก่เกษตรกร

สำหรับนายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ คุณสิทธิพันธ์ ธนาเกียรติภิญโญ ให้มุมมองว่า ตนเป็นนายกสมาคมหมูอีสาน 2 ปี เจอโควิด และ ASF ได้นำอาจารย์ทั้งหลายให้ความรู้แก่เกษตรกร จนผู้เลี้ยงรายย่อยเข้มแข็งมาก ยกเว้นรายย่อยที่ตามไม่ทัน ได้รับความเสียหาย และเมื่อ หมูเถื่อน เข้ามา รายย่อยจมูกไว ร้องเรียนสมาคมให้ช่วยแก้ปัญหา แต่หมูเถื่อนมันทำลายผู้เลี้ยงหมูทั้งหมด “รายใหญ่ยิ่งเจอหนัก อันนี้เรื่องจริง ของผมรายกลางก็พยายามให้อยู่รอด ทำเรื่องประสิทธิภาพในการลดต้นทุน อย่าไปรังเกียจว่า รายกลาง รายใหญ่ เพราะเราอยู่ในอาชีพเดียวกัน

3.ชาวหมูรายย่อย03

จากประสบการณ์รายใหญ่มีส่วนช่วยสนับสนุน เช่น การจัดอบรม เวชภัณฑ์ต่างๆ เพราะอยากให้ทุกคนอยู่รอด ปลอดภัย ปรับเปลี่ยนสัดส่วนให้มันได้ เว้นพื้นที่ให้รายย่อยค้าขาย มีพื้นที่เลี้ยงให้เขาอยู่ได้ รายใหญ่ควรมุ่งด้านการส่งออก ทั่วโลกยอมรับผลิตภัณฑ์ หมูของเราส่งออกได้ และในท้องถิ่น ให้เป็นของรายย่อย ในฐานะที่เข้ามาก็พยายามผลักดันการเชื่อมต่อระหว่าง รายย่อย รายใหญ่ ให้ได้”

คุณอุดมศักดิ์ แก้วจันทร์วงษ์ ในฐานะผู้ดำเนินการสัมมนา ตั้งคำถามว่า การมี บิ๊กดาต้า ของกรมปศุสัตว์ ที่เชื่อมโยงผู้เลี้ยงทุกระดับ ผู้เลี้ยงหมูเหมือนชาวประมงที่อยู่ในเรือลำเดียวกันในอ่าวไทย ดังนั้นเรือเล็กประมงพื้นบ้าน เรือใหญ่ออกทะเลลึก แต่ตอนนี้ต้องนำสินค้ามาขายในตลาดเดียวกัน โอกาสขายได้น้อย คือ ผู้เลี้ยงรายย่อยทางกรมมี นโยบายเรื่องนี้อย่างไร เพื่อให้รายย่อยอยู่รอด

โฆษณา
AP Chemical Thailand
4.นายสัตวแพทย์บุญญกฤช ปิ่นประสงค์ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์
4.นายสัตวแพทย์บุญญกฤช ปิ่นประสงค์ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์

การป้องกันโรคระบาด

นายสัตวแพทย์บุญญกฤช ปิ่นประสงค์ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า ตนเข้ามาทำเรื่องนี้ช่วงเดือน มิ.ย.66 เพื่อค้นหาว่า หมูเถื่อนอยู่ที่ไหน เพื่อหาทางป้องกันและจับกุม พร้อมๆ กับการคิดโครงการส่งออกเนื้อหมูให้มากที่สุด “รายย่อย ทางสมาคมได้ทำหนังสือเพื่อให้ลดขีดจำกัดในการส่งหมูไปประเทศข้างเคียง เราก็ได้ปรับเปลี่ยนกฎเกณฑ์ต่างๆ ให้เกิดความเหมาะสม”

ขณะเดียวกันก็ต้องป้องกันโรคมิให้เกิดการสูญเสียเหมือนปี 64 และ 65 เหมือนการปิดรูโหว่ของกำแพง ดังนั้นฟาร์ม GFM สำหรับรายย่อยเกิดขึ้นเพื่อป้องกันโรค “มีหลายฟาร์มที่ผมไปส่งเสริม GFM และไม่เกิดโรคช่วงที่ระบาด เพราะได้ยึดแนวทางป้องกัน เช่น ไม่เอาเชื้อเข้าไป ใครบอกว่าเชื้อ ASF รุนแรง ถ้าป้องกันให้ดี หมูในฟาร์มตรงกันข้ามก็เกิดโรค” รองอธิบดี ยืนยัน

การสร้างภูมิคุ้มกันด้วย วัคซีน ทางกรมก็ได้ทดลอง ถ้าสำเร็จก็เท่ากับอุดรูโหว่ของกำแพงโรคนั่นเอง

5.อาจารย์คัมภีร์ กอธีระกุล
5.อาจารย์คัมภีร์ กอธีระกุล

การบริหารจัดการฟาร์มหมู

วิทยากรที่สำคัญ อาจารย์คัมภีร์ กอธีระกุล ให้ความเห็นว่า สิ่งที่วงการสุกรเป็นห่วงก็คือ การนำลูกหมูที่ไม่มีเชื้อ อมโรค จากอีสาน จากกลุ่มฟาร์มไร้โรค ธกส.จะปล่อยเงินกู้แก่คนเลี้ยงที่แข็งแกร่ง รู้จริง รู้วิธี “เลี้ยงหมู 3 ท้อง 4 ท้อง หรือ 5 ท้อง แล้วแต่เหตุการณ์ จากนั้นเก็บกำไรไว้ก้อนหนึ่ง แล้วซื้อหมูดีเข้าฟาร์ม ต้องเริ่มต้นกับหมูสะอาด วัคซีนก็ทดลองได้ ศึกษาได้ หมูขุนเข้ามาปิดกรุเลย จับครั้งเดียว เหตุการณ์ระบาดช่วง 65, 66 เกิดจากรถจับหมูที่ไม่พ่นยา ก็ขอเตือนทุกท่านว่าต้องจัดการฟาร์มให้ดี ได้หมูสะอาด ตัวท่านต้องฝึกอบรม ส่วนการช่วยเหลือนอกฟาร์มเป็นหน้าที่ของกรมปศุสัตว์ที่จะสร้างสิ่งเกื้อหนุนต่างๆ”

6.รศ.ดร.เยาวมาลย์ ค้าเจริญ
6.รศ.ดร.เยาวมาลย์ ค้าเจริญ

ปัญหาและอุปสรรค วัตถุดิบอาหารสัตว์

ในเรื่องวัตถุดิบอาหารสัตว์ ซึ่งเป็นต้นทุนหลักถึง 70% รศ.ดร.เยาวมาลย์ ค้าเจริญ ผู้เชี่ยวชาญวัตถุดิบและสูตรอาหารสัตว์ กล่าวว่า ตนเป็นห่วงเรื่องจัดซื้อวัตถุดิบของเกษตรกรรายย่อย “ข้าวที่เราซื้อมาปนเปื้อน ระบาดหนักใน ปลายข้าว และรำข้าว ทั้งรำสด และรำสกัด หมูก็หางไหม้ อยู่ดีๆ พ่อแม่ตายรุนแรงมาก เกิดที่ สุรินทร์ บุรีรัมย์ ส่วนใหญ่ในโมเดลข้าวสาลี ข้าวบาเลย์ นำเข้ามา เราดูไม่เป็น อย่าง กากถั่ว นำเข้าจากบราซิลเป็นหลัก ก็ต้องดูให้เป็น ต้องมาตรฐาน มันสำปะหลังก็เป็นตัวช่วยถึง 85%  กากถั่ว 15% เป็นสูตรอาหาร”

7.ชาวหมูรายย่อย07

ซึ่งทางกรมปศุสัตว์ก็มีศักยภาพพอสมควร มีสูตรอาหารสัตว์ แต่ต้องระวังวัตถุดิบอาหารสัตว์ เรื่องการโตของสุกรก็ต้องพอ 30 กก.ก็ต้องคำนวณให้เป็น ทั้งหมูรุ่น หมูขุน เมื่อผู้ดำเนินการประชุมถามว่า ต้นทุนการเลี้ยงสูง แต่ราคาหมูเป็นต่ำกว่าต้นทุน อ.เยาวมาลย์ ให้ความเห็นว่า ราคามันมากับผู้บริโภค เมื่อเกิดโรค ASF ราคาหมูสูงมาก เพราะของขาด ตอนนี้ปริมาณหมูมากขึ้น ทั้งในและนอกระบบ ราคาตกแต่ต้นทุนไม่สูง ก็พออยู่กันได้ ซึ่งเรื่องนี้ กรมปศุสัตว์ ก็ได้ทำงานร่วมกับ กรมการค้าภายใน เพื่อทำให้ผู้บริโภคเข้าใจราคาหมูที่ขยับขึ้น ทั้งๆ ที่ผู้เลี้ยงรายย่อยขายต่ำกว่าต้นทุน นอกจากนี้ยังผลิตเนื้อหมูคุณภาพ ภายใต้มาตรฐาน ปศุสัตว์ OK

โฆษณา
AP Chemical Thailand

จากการเสวนาของวิทยากรดังกล่าว จะเห็นว่า วันนี้การเลี้ยงสุกรต้องให้ความสำคัญกับผู้เลี้ยงรายย่อยที่มีฝีมือในการเลี้ยงมากขึ้น

อ้างอิง : นิตยสารสัตว์บก ฉบับที่ 369