บริษัท ไทยเจริญสุกร จำกัด ลูกฟาร์มเบทาโกร เซียน “ ไบโอแก๊ส ” ฟาร์มสุกรยุคใหม่

โฆษณา
AP Chemical Thailand

 

ฟาร์มหมูไทยเจริญ copy

บริษัท ไทยเจริญสุกร จำกัด ลูกฟาร์มเบทาโกร

เซียน “ ไบโอแก๊ส ” ฟาร์มสุกรยุคใหม่

คุณธรรศพงศ์ กรรมการผู้จัดการ
คุณธรรศพงศ์ กรรมการผู้จัดการ

ฟาร์มปศุสัตว์ปัจจุบันต้องปรับตัวให้เป็น Green Farm เพื่อชุมชน และสิ่งแวดล้อม

นั่นเพราะ“ ขี้หมู ” เป็นมลพิษทางกลิ่นที่สังคมรังเกียจเมื่อตั้งฟาร์มที่ใดจะต้องได้รับฉันทานุมัติจากชุมชนผ่านการปกครองส่วนท้องถิ่น

เส้นทางธุรกิจไบโอแก๊ส ของ คุณธรรศพงศ์  ปิยเศรษฐศิริ  (คุณธรรศ)

ฟาร์มหมู

กลิ่นจากขี้หมู คือ “ ก๊าซมีเทน ”  ที่เป็นเชื้อเพลิงเขียวใช้หุงต้ม หรือปั่นไฟใช้ หรือขายให้หลวงซึ่งวงการสุกรนำโดยฟาร์มสุกรขนาดใหญ่ได้ลงทุนติดตั้ง “ ไบโอแก๊ส ” เมื่อ 20 กว่าปีที่แล้วและพัฒนาเรื่อยมาจนเป็นงานหลักของธุรกิจสุกรในปัจจุบัน ขณะเดียวกัน กากตะกอน ที่ผ่านการบำบัดในระบบไบโอแก๊ส ยังเป็น วัตถุดิบหลัก ในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ และน้ำจากบ่อหมักถูกนำไปใช้ประโยชน์ต่าง ๆในฟาร์มแต่การทำให้ได้ ไบโอแก๊ส มากต้องใช้ ฝีมือสูงหรือเป็นขั้นเทพจริง ๆ

เรื่องนี้ต้องยกฝีมือให้ คุณธรรศพงศ์  ปิยเศรษฐศิริ  (คุณธรรศ) กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยเจริญสุกร จำกัด เจ้าของฟาร์มหมูขุน ไทยเจริญสุกร ลูกเล้าเบทาโกรที่เปิดตัวให้สัมภาษณ์เส้นทางธุรกิจไบโอแก๊ส และฟาร์มสุกรระบบอีแวป ด้วยการใช้ทักษะและเทคโนโลยีในการลงทุนจนได้ “ ผลผลิต ” คุ้มค่าตอบโจทย์ธุรกิจได้ชัดเจน ที่เขาได้คัดเลือกเบทาโกรมาส่งเสริมการเลี้ยงหมูขุน 2  เฟส ๆ ละ 6 โรงเรือน บรรจุ 800 ตัว/โรงเรือน ด้วยระบบอีแวปเพราะมั่นใจใน ระบบไบโอซีเคียวริตี้ ของเบทาโกร

ฟาร์มหมู 2

“ เรื่องป้องกันโรคต้องยกให้เบทาโกรอันดับ 1 ท่ามกลางวิกฤติโรคที่ผ่านมา เราทำตามระบบ

ไบโอซีเคียวริตี้ของเบทาโกรจึงอยู่รอดปลอดภัย ตั้งแต่ต้นทางไม่ว่าจะเป็นบุคลากรของเบทาโกร รถส่งอาหาร ส่งยา มีการสกรีน ต้องพ่นยาฆ่าเชื้อก่อนถึงฟาร์ม พอถึงฟาร์มก็พ่นย่าฆ่าเชื้อ อาบน้ำ สระผม เปลี่ยนชุด และรองเท้ามีการหยุดพักเชื้อ 30-40 นาที ก่อนเข้าฟาร์ม คุณธรรศพงศ์  เปิดเผย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

เป็นโรงเรือนกว้าง 13.5 เมตร ยาว 80 เมตร ระบบปิดมาตรฐานให้อาหารแบบออโต้ฟีด เป็นมาตรฐานของเบทาโกรทั้งหมดจึงเลี้ยงสุกรได้ง่ายจัดการง่ายให้ผลผลิตดีปลอดภัยต่อผู้บริโภค

 “เบทาโกรเน้นอาหารปลอดภัยจึงซัพพอร์ตเรื่องเวชภัณฑ์ของผมไม่ได้เลี้ยงปลอดยาเพียงแต่

ช่วงระยะหยุดยาก่อนเข้าโรงเชือดก็ยาวอยู่ แล้วมันเป็นภาพลักษณ์ของเบทาโกร ดังนั้นทางเบทโกร

ห้ามซื้อมาใช้เด็ดขาดในเรื่อง “ อาหาร ” ก็แบ่งเป็นเบอร์ตามอายุตั้งแต่เบอร์ 0 เบอร์ 1 3 4 5 เพียงแต่รายละเอียดเชิงลึกด้านโภชนาการอยู่ที่ทีมเบทาโกรคำนวณมาให้ เราทำหน้าที่เลี้ยงให้หมูกินมากที่สุดให้หมูรอดและโต

ประวัติคร่าว ๆ ของคุณธรรศ ก่อนจะมาลงทุนเลี้ยงหมูกับเบทาโกร

ก่อนที่ คุณธรรศพงศ์ จะลงทุนเลี้ยงหมูกับเบทาโกรเขาก็มีประสบการณ์ด้านสัตวบาลคุมฟาร์ม 4 ปี อยู่ที่ อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี จากนั้นก็เบนเข็มเข้ามาทำงานกับ บริษัท เกษตรภัณฑ์อุตสาหกรรม จำกัด (KPI) จึงมีประสบการณ์ด้านการติดตั้งอุปกรณ์ในโรงเรือนอีแวปเป็นเวลา 6 ปี เมื่อวิชาแก่กล้าก็ลาออกมาตั้ง บริษัท ไทยเจริญสุกร จำกัด โดยเลี้ยงสุกรขุนจำนวน 9,600 ตัว และยังมีอีกธุรกิจเกี่ยวกับอุปกรณ์ฟาร์ม และระบบไบโอแก๊ส นั่นเอง เพื่อวางระบบอีแวปให้ลูกค้าพร้อม ๆ ติดตั้งระบบไบโอแก๊สฟาร์มสุกร และไก่ช่วยให้ลูกค้าประหยัดค่าไฟได้กำไรมากขึ้น

“ ผมทดลองทำฟาร์มเล็ก ๆ 1 ฟาร์ม 3 หลัง พอเห็นว่ามันเป็นธุรกิจที่ดีก็เลยมาทำฟาร์มตรงนี้ให้ใหญ่ขึ้นผมเปิดบริษัทขายอุปกรณ์ซัพพลายจากหลายแหล่ง จากจีน จากยุโรป และ แอฟริกาใต้ ผมชอบทำฟาร์มมันเป็นหลักแหล่งที่ดี่ทำควบคู่กันไปได้แล้วก็ส่งเสริมการขายอุปกรณ์ และสินค้าต่าง ๆ เราก็ได้ทดลองใช้เองด้วย” คุณธรรศพงศ์ เปิดเผยเรื่องที่มาของการลงทุนธุรกิจอุปกรณ์โรงเรือนอีแวป และไบโอแก๊สโดยมี คุณแดงน้อย พหลทัพ เจ้าของบริษัท แทนไทย เฟิร์สเทค จำกัด ให้กำลังใจมาตลอด

โฆษณา
AP Chemical Thailand

เมื่อถามถึงธุรกิจทั้ง 2 อย่าง

 

ท่อไบโอแก๊ส

คุณธรรศพงศ์ ยอมรับว่าการเลี้ยงหมูขุนกับเบทาโกรภายใต้ระบบไบโอซีเคียวริตี้ เรื่องการบริหารคนเป็นเรื่องสำคัญ เพราะโรคทางเดินหายใจ กับโรคทางเดินอาหารในหมูขุนก็ประมาทไม่ได้ ดังนั้น ทั้งสัตวบาล หัวหน้างาน และคนงานประจำฟาร์ม 1 คน /เล้า จะต้องได้รับการเอาใจใส่เพราะเขาต้องผ่านการอบรมจากนักวิชาการเบทาโกรด้านการป้องกันโรคเป็นระยะ ๆ จึงให้สลับหยุดงานสัปดาห์ละวัน ต้องอยู่ในฟาร์มตลอดเพราะทุกคนต้องเอาใจใส่ เพื่อมิให้หมูสูญเสียหรือถูกคัดทิ้งเกิน 8% ตามสัญญากับเบทาโกร ดังนั้น ต้องสร้างแรงจูงใจ เช่น แต่ละเดือนหมูตายไม่เกิน 7 ตัว/เดือน ก็จะได้รับรางวัลตอนสิ้นเดือน เช่นได้ ข้าวสาร ไข่ หรือปลากระป๋อง เป็นต้น เป็นของใช้ประจำวัน ดังนั้น การทำหมูขุนเม้ รายได้ ไม่มากแต่มีความมั่นคงระดับหนึ่ง แต่ด้วยความชำนาญในการผลิต “ ไบโอแก๊ส ” ทำให้ได้แก๊สมากเอาไปเป็นเชื้อเพลิงผลิต ไฟฟ้า ใช้ในฟาร์มเกือบ100% จึงลดรายจ่ายได้มากโดยเฉพาะการใช้ พัดลม ในโรงเรือนอีแวปที่เป็นระบบ Inverter ทำให้ลดการใช้กระแสไฟฟ้าลงมาประมาณ 45% จึงทำให้เครื่องยนต์ไบโอแก๊สทำงานเบาลงมากจึงประหยัดแก๊สมากขึ้น ประกอบกับเขามีระบบไบโอแก๊สที่ดี “ ของผมมีระบบไบโอแก๊สที่ดี มีขนาดใหญ่ได้ปริมาณแก๊สเยอะช่วงท้ายๆ ที่หมูมันใหญ่ของเสียเยอะปั่นไฟ 24 ชั่วโมงก็ยังมีแก๊สเหลือนำไปแจกจ่ายหรือเอาไปเผาขยะหรือไปเป็น เตาเผาซาก ”คุณธรรศพงศ์ เปิดเผยถึงข้อดีของการวางระบบไบโอแก๊สที่ถูกต้อง

บ่อไบโอแก๊ส

จุดด้อย ของบ่อไบโอแก๊สทั่วไปในทัศนะ ของคุณธรรศพงศ์ ก็คือบ่อเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าจะมี น้ำเสีย เข้าหัวบ่อแล้วล้นไปท้ายบ่อ จุลินทรีย์ทำงานเฉพาะกลางบ่อและท้ายบ่อมันเดินมาไม่ถึงหัวบ่อ และน้ำเสียก็เข้ามาทุกวันส่วน

“ กากตะกอน ” ที่เกิดจากการบำบัดก็รวมตัวกับโคลนจนกลายเป็นดินเหนียวเอาออกยาก จนเต็มบ่อปริมาณแก๊สมีน้อย ดังนั้น คุณธรรศพงศ์ จึงออกแบบบ่อให้มีพื้นที่ให้เหมาะในการหมักจุลินทรีย์อย่างน้อย 40 วัน เพื่อรีดแก๊สออกมาให้หมดแล้วค่อยเปลี่ยนถ่ายเอาของเก่าออกแล้วเติมใหม่เข้าไป

ขนาดของบ่อไบโอแก๊ส

บ่อไบโอแก๊ส02

ขนาดของ “ บ่อไบโอแก๊ส ” ขึ้นอยู่กับการคำนวณ ปริมาณของเสียต้อง 40 ลิตร/ตัว/วัน แล้วคูณด้วย 40 วัน ออกมาเป็นของเสียในบ่อแก๊สซึ่งจะทำให้ตัวเลขการลงทุนเกิดประโยชน์สูงประหยัดสุด เพราะมีการย่อยสลายได้ดีได้แก๊ส และ กากตะกอน กลายเป็นวัตถุดิบชั้นดีในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง และบ่อไบโอแก๊สแทบจะไม่มีกลิ่นแอมโมเนีย เลย และยังนำน้ำที่บำบัดแล้วมาใช้ประโยชน์หลายอย่าง

คำแนะนำและการให้ความรู้แก่ลูกค้าหลังการติดตั้งบ่อไบโอแก๊ส ของคุณธรรศ

“ ทุกครั้งที่ผมทำระบบไบโอแก๊สให้ลูกค้าผมได้แนะนำต่อเนื่องไปยังระบบบำบัดแก๊สและเครื่องปั่นไฟให้ลูกค้าทุกฟาร์ม เพราะแก๊สมีซัลเฟอร์สูงจะต้องนำออกจากแก๊สก่อนที่จะนำแก๊สไปปั่นเครื่องยนต์ป้องกันการถูกกัดกร่อนจากซัลเฟอร์ลูกค้าผมแฮปปี้ทุกคน คุณธรรศพงศ์ เปิดใจถึงการให้ความรู้แก่ลูกค้า ดังนั้น วัสดุทุกชนิดในระบบไบโอแก๊สต้องมาตรฐาน ทนกรด ทนแดด ทนฝน ทั้งในประเทศ และนำเข้าจากต่างประเทศ ผลงานทั้งหมดของเขาล้วนเกิดจากประสบการณ์ด้านไบไอแก๊สในฟาร์มสุกรหลายแห่งที่เจอปัญหาหลายอย่าง เช่นขนาดบ่อไม่เพียงพอระบบไม่ดี จุลินทรีย์ย่อยไม่เต็มที่ได้แก๊สน้อย

ไบโอแก๊ส 04 (2)

“ เราเน้นไบโอแก๊สจากมูลสุกรเป็นหลัก เพราะเป็นของฟาร์มที่ต้องทำตามข้อบังคับของกรมปศุสัตว์ทุกฟาร์มต้องทำเพียงแต่ทำอย่างไรให้เกิดประโยชน์มากที่สุดประหยัดค่าไฟได้จริง ” คุณธรรศพงศ์ ให้ความเห็น ทุกวันนี้การลงทุนบ่อไบโอแก๊สถูกกว่าแต่ก่อนมากโรงเรือน 12 หลัง ขนาดบ่อ 20,000 คิว/วันกึ่งๆ คัฟเวอร์ลากูน ลงทุนไม่เกิน 2.5 ล้านบาท ถ้าจะทำเล็กสุดควร 8,000-10,000 คิว/วัน ลงทุนไม่เกิน1 ล้านบาท และลงทุนบำบัดก๊าซซัลเฟอร์ไม่มาก เลี้ยงหมูขุน 2 รุ่นก็คืนทุนแล้ว

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ไบโอแก๊ส 04

เกือบ 10 ฟาร์มที่ติดตั้งระบบของเขาไม่นับฟาร์มเก่า ๆ หลายฟาร์มที่เขาปรับปรุงระบบให้เวิร์คมากขึ้น “ ระบบไบโอแก๊สจริง ๆ ไม่มีอะไรมากแนะนำให้กวนบ่อเป็นระยะ ๆ เพื่อให้มูลไม่รวมตัวกันที่ก้นบ่อเมื่อจุลินทรีย์เดินทั่วบ่อก็เกิดแก๊สดีขึ้น เมื่อถึงฤดูกาลก็เอากากตะกอนมาตากหรือเอาไปทำปุ๋ยเพื่อเคลียร์บ่อให้มีพื้นที่ใช้งานได้ตลอด คุณธรรศพงศ์ ให้ความเห็น

การลงทุน และ แหล่งเงินทุนมาจากไหนบ้าง

คุณธรรศพงศ์ เปิดเผยว่าลงทุนทั้งหมดประมาณ 40 ล้านบาท ปลายปี 2562 ช่วงวัสดุไม่แพงพอปลายปี 2563 ราคาวัสดุพุ่งเท่าตัว แต่ 40 ล้านใช้เงิน ธนาคารออมสิน 70% อีก 30% ใช้เงินส่วนตัว ดอกเบี้ย 4% กว่า ๆ

“ ธุรกิจหมูธนาคารยังโอเคจนถึงทุกวันนี้เพราะเป็นธุรกิจปัจจัย 4 ต้องกิน ซีพี เบทาโกร ไทยฟู้ดส์ ยังมีการขยายแม้ชะลอไปบ้างเป็นเรื่องปกติ คุณธรรศพงศ์ ยืนยัน แต่ก็ประมาทในเรื่องโรคไม่ได้ต้องเฝ้าระวังตลอด

ต้องการปรึกษาเรื่องไบโอแก๊สติดต่อ บริษัท ไทยเจริญสุกร จำกัด
เลขที่  55/5 หมู่ 1 ต.ลาดทิพรส อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ 60260
โทร. 061-145-4982 คุณธรรศพงศ์  ปิยเศรษฐศิริ  (คุณธรรศ)
ขอขอบคุณข้อมูล และภาพประกอบจาก บจก.ไทยเจริญสุกร 

 

อ้างอิง : นิตยสารสัตว์บก ฉบับ 377 (ก.ย 67)