การเลี้ยงโคนม วัวนม
สำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมที่มีความต้องการที่จะผลิตน้ำนมดิบให้ได้คุณภาพทัดเทียมกับต่างประเทศ สิ่งที่ขาดเสียมิได้ คือ ความมุ่งมั่นเอาใจใส่ดูแลของเจ้าของฟาร์ม รวมไปถึงงบประมาณการลงทุน เพื่อนำมาใช้บริหารจัดการและเพื่อพัฒนาฟาร์มในหลายๆ เรื่อง อาทิ พันธุ์โคที่ใช้เลี้ยง อาหารสัตว์ สภาพแวดล้อม การวางระบบจัดการฟาร์ม ฯลฯ เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดี และฟาร์มได้มาตรฐานสากล
ทว่าการลงทุนในที่นี้มิได้หมายความถึง การใช้เงินในรูปแบบทุนนิยมเพียงอย่างเดียว หากแต่เป็นการสร้างสรรค์ “พิมพ์เขียน” หรือความรู้ ความสามารถ การวางแผนธุรกิจในการบริหารจัดการฟาร์มเลี้ยงโคนมของเจ้าของฟาร์มว่า คุณรู้จักฟาร์มของคุณดีพอแค่ไหน รู้จักวางแผน และเดินตามเป้าหมายปีนี้ ปีถัดไป และในอนาคต คุณได้วาดฝันฟาร์มของคุณไว้เช่นไร ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต่างหากที่เป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้ฟาร์มเติบโต และประสบผลสำเร็จ
ดังนั้นการจะเป็น Smart Farmer หรือ เกษตรกรยุคไทยแลนด์ 4.0 ที่หลายๆ คนให้คำนิยามความหมายกันไปต่างๆ นานา “ปฏิวัติ อินทร์แปลง” (เบส) วัย 25 ปี เกษตรกรคนรุ่นใหม่เจ้าของฟาร์ม “ฟาร์มอินทร์แปลง” ในจังหวัดชุมพร ได้พิสูจน์ให้หลายคนในแวดวงคนเลี้ยงโคนมด้วยกัน และอีกหลายต่อหลายคนให้ได้ประจักษ์แล้วว่า “เบส คือ Smart Farmer ตัวจริง เสียงจริง”
คุณปฏิวัติ หรือ “เบส” วาดฝันฟาร์มโคนมของตัวเองที่อยากเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาอาชีพ การเลี้ยงโคนม ในท้องถิ่นให้มีมาตรฐานมากยิ่งขึ้น ตลอดจนอยากจะผลิตน้ำนมดิบมีคุณภาพให้กับเด็กนักเรียน และเยาวชน แต่ละโรงเรียนในจังหวัดชุมพรได้ดื่มกิน ถือเป็นจุดเริ่มต้นเล็กๆ แต่มีความหมายยิ่งใหญ่ ซึ่งวันนี้เบสได้เดินและทำตามความฝันให้กลายเป็นจริงได้สำเร็จแล้วอย่างงดงาม
ปัจจุบัน “ฟาร์มอินทร์แปลง” มีชื่อเสียงกลายเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง โดยเป็นธุรกิจฟาร์มโคนมแห่งแรกและแห่งเดียวในจังหวัดชุมพรที่ได้มาตรฐาน โดยนอกจากจะเลี้ยงโคนมไว้ผลิตน้ำ นมดิบ ส่งจำหน่ายให้กับสหกรณ์โคนมจังหวัดชุมพร และกลุ่มลูกค้าธุรกิจร้านเครื่องดื่ม เบเกอรี่ ในพื้นที่แล้วนั้น
หนุ่มเบสยังต่อยอดแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่ได้จากน้ำ นมดิบ ในฟาร์มของตัวเองส่งจำหน่ายในตลาดสร้างรายได้อย่างเป็นกอบเป็นกำอีกมากมายภายใต้แบรนด์ “อินทร์มิลค์” (IN MILK) ได้แก่ นมพาสเจอร์ไรส์ 6 รสชาติ , โยเกิร์ตรสธรรมชาติ , ไอศกรีมเจลาโต้ และผลิตภัณฑ์ชีส (เฟตาชีส มอซซาเรลล่าชีส) เป็นต้น
ด้านตลาดผลิตภัณฑ์แปรรูปจากน้ำ นมดิบ
ด้านการตลาด ปัจจุบันผลิตภัณฑ์แปรรูปจากน้ำ นมดิบ ภายใต้แบรนด์ “อินทร์มิลค์” มีจำหน่าย โดยกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ส่งร้านอาหาร เครื่องดื่ม ในพื้นที่จังหวัดชุมพร และจังหวัดใกล้เคียง (อ.หาดใหญ่ จ.ภูเก็ต อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี เป็นต้น) และร้านอาหาร เครื่องดื่ม บางแห่งในกรุงเทพฯ
ซึ่งในเรื่องคุณภาพของน้ำ นมดิบ คุณเบสการันตีว่าทุกหยดที่ผลิตจาก “ฟาร์มอินทร์แปลง” คุณภาพทัดเทียมต่างประเทศอย่างแน่นอน โดยอ้างอิงจากข้อมูลวิชาการจากประเทศญี่ปุ่น เรื่องค่าองค์ประกอบน้ำนม (Facts) ที่ได้มาตรฐานสากลตามที่กำหนด ซึ่งเป็นไขมันนมโคที่มีประโยชน์สูง มีแคลเซียมและโปรตีนสูง ซึ่งผู้บริโภคควรดื่ม
จุดเริ่มต้นของการทำ ฟาร์มโคนม
ฉากความสำเร็จของ “ฟาร์มอินทร์แปลง” ที่หลายคนเห็นทุกวันนี้ ทว่าในอดีตคุณเบสเริ่มต้นอาชีพเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมจากการตัดสินใจในสภาวะที่จำเป็นต้องเลือก อีกทั้งยังเริ่มต้นอาชีพเลี้ยงโคนมจากต้นทุนชีวิตที่มีอยู่อย่างจำกัด เพราะชีวิตที่ผ่านมาไม่ได้ง่าย หรือสวยหรู อย่างเช่นวันนี้
ครอบครัวของคุณเบสแต่แรกสมัยคุณตาก็เป็นเกษตรกรผู้เลี้ยงโครายหนึ่ง เลี้ยงปล่อยทุ่งแบบบ้านๆ ตามวิถีชาวบ้านทั่วไป ขณะที่พ่อแม่ของเบสก็ทำงานประจำ ทำบริษัท และทำโรงงาน อนาคตของเบสกำลังรออยู่ ในขณะนั้นเบสศึกษาระดับมัธยมศึกษา (ม.3) ซึ่งอีกไม่กี่ปีจะเข้ามหาวิทยาลัยแล้ว
แต่จุดเปลี่ยนก็เกิดขึ้นกับครอบครัวเมื่อคุณพ่อมาด่วนจากไป ทำให้ครอบครัวขาดเสาหลัก ทิ้งมรดกไว้ให้ครอบครัว คือ เงินประกันชีวิตจำนวนไม่ถึง 200,000 บาท และโคเนื้อที่เลี้ยงเอาไว้อีก 2-3 ตัว กระทั่งเบสได้ปรึกษากับคุณแม่ และตัดสินใจเลิกเรียนหันมาประกอบอาชีพ และเลี้ยงดูคุณแม่ ทดแทนคุณพ่อที่จากไป
“ตอนนั้นประมาณ ปี 2548 ผมได้ศึกษาและได้ขอวิชาความรู้การเลี้ยงวัวจากคุณตาที่เลี้ยงโคนมจำนวน 4-5 ตัว โดยคุณตาสอนผมรีดนมวัว และให้หนังสือวิธี การเลี้ยงโคนม ให้ผมเอาไว้อ่าน ผมจึงได้ทราบว่า อาชีพโคนมเป็นอาชีพพระราชทานของในหลวงรัชกาลที่ ๙
โดยนมวัวที่รีดได้มาเริ่มแรกผมนำมาต้มกิน เหลือแจกจ่ายให้เพื่อนบ้านและทดลองนำบรรจุใส่ขวดไปขายให้กับเพื่อนๆ ที่โรงเรียน ผลปรากฏได้รับการตอบรับดี ผมจึงมองเห็นโอกาส และมีแนวคิดที่อยากจะทำฟาร์มโคนมของตัวเองอย่างจริงจัง
ประมาณปี 2548 ผมเขียนจดหมายถึงโครงการสวนจิตรลดาเพื่อขอโคนมพระราชทานฯ กระทั่งต่อมาปี 2549 ผมได้รับโคนมพระราชทานฯ ซึ่งผมและครอบครัวจดจำได้อย่างซาบซึ้ง เป็นพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ ยังความปลาบปลื้มมาให้คนในครอบครัว คุณแม่จึงตัดสินใจลาออกจากงานมาช่วยผมทำฟาร์มโคนมอย่างจริงจังตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โดยใช้เงินจากประกันชีวิตที่คุณพ่อทำเอาไว้ให้ครอบครัวเป็นเงินทุนตั้งต้นก้อนแรก
นอกจากนี้มีคุณตาที่คอยดูแลช่วยเหลือซื้อโคนมมาเลี้ยงเพิ่ม ทำให้ฟาร์มของผมมีจำนวนโคนมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยปี 2553 มีโคนมจำนวนทั้งหมด 14 ตัว แต่ชีวิตผมเกิดจุดเปลี่ยนอีกครั้ง เมื่อคุณแม่ประสบอุบัติเหตุรถล้ม ทำให้ได้รับบาดเจ็บ สภาพร่างกายไม่แข็งแรงเหมือนเดิม ตั้งแต่นั้นมาผมจึงเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงหลักในการบริหารจัดการฟาร์มอินทร์แปลงของผมด้วยตัวเองทั้งหมด” เบสเล่าย้อนจุดเริ่มต้นของการทำฟาร์มโคนม
การบริหารจัดการฟาร์มโคนม
เบสก้าวสู่เจ้าของฟาร์มอินทร์แปลงในวัยไม่ถึง 20 ปี ดูแลบริหารจัดการฟาร์มด้วยตัวเองทั้งหมด ตั้งแต่ตื่นเช้าให้อาหาร รีดนมวัว ทำความสะอาดฟาร์ม และแพ็คน้ำ นมดิบ ใส่ถุงส่งขายให้กับ “สหกรณ์โคนมจังหวัดชุมพร จำกัด” ตั้งแต่ปี 2549-2550 ส่งขายทุกวันๆ ละ 20-30 กก.
โดยเบสต้องขี่มอเตอร์ไซด์บรรทุกน้ำนมดิบไปส่งให้สหกรณ์ฯ ซึ่งหากจากฟาร์มเป็นระยะทางไปกลับกว่า 70 กม. และต้องส่งวันละ 2 รอบ แต่เพราะนี่คือรายได้หลัก เบสจึงเพียรทำอย่างไม่เคยคิดย่อท้อ และมีความสุขกับสิ่งที่ทำ ประสบการณ์ต่างๆ ได้สอน และเปิดโลกทรรศน์ให้กับเบส ทำให้มีแนวคิดขยายตลาด และสร้างฐานลูกค้าเพิ่ม
โดยเริ่มเสนอขายน้ำ นมดิบ ให้กับร้านเครื่องดื่มชา กาแฟ และร้านขนมเบเกอรี่ ในพื้นที่ ซึ่งก็ได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการ ออเดอร์น้ำ นมดิบ จากฟาร์มของเบสทำให้เบสมีออเดอร์น้ำ นมดิบ เพิ่มมากขึ้น อีกทั้งการขนส่งง่าย และระยะทางใกล้กว่าส่งให้สหกรณ์ฯ ดังนั้นเบสจึงมีกลุ่มลูกค้าเพิ่ม และรายได้ที่เพิ่มขึ้น จากการผลิตและจำหน่ายน้ำนมดิบของฟาร์มตัวเองในพื้นที่ตัวเมืองของจังหวัดชุมพร
น้ำนมดิบที่เบสส่งขายให้สหกรณ์ฯ ขณะนั้นราคา 14 บาท/ลิตร และขายให้กับร้านเครื่องดื่ม เบเกอรี่ ราคา 20 บาท/ลิตร ซึ่งสร้างรายได้ดีให้กับเบส เพราะน้ำนมดิบผลิตและส่งให้กลุ่มลูกค้าทุกวัน และตลอดทั้งปี และด้วยคุณลักษณะความเป็นผู้นำและแสวงหาความรู้ไม่หยุดนิ่ง เบสจึงเข้าคอร์สเรียนการพาสเจอร์ไรส์นมแบบง่ายๆ จากสถานอบรมฝึกอาชีพแต่ละแห่ง นำมาประยุกต์ใช้ต่อยอดในฟาร์มตนเอง ส่งผลให้เบสคิดค้นพัฒนาการแปรรูปน้ำนมดิบสร้างมูลค่าเพิ่มได้สำเร็จในเวลาต่อมา
โดยผลิตภัณฑ์แปรรูปจากน้ำนมดิบ ได้แก่ นม 6 รสชาติ คือ นมจืด นมช็อคโกแลต ชาเขียว ชาไทย สตรอว์เบอรี่ กาแฟ และมีรสพิเศษคือ “นมสมุนไพร” (Herb Milk) ซึ่งเกิดจากเวทีประกวดของ ธนาคารออมสิน โดยเคลมว่า เป็น นมเพื่อสุขภาพ ดื่มก่อนนอน (Bed Time Milk) ซึ่งเป็นส่วนผสมระหว่างน้ำนมดิบ ใบเตย และตะไคร้หอม ดึงดูดความสนใจจากผู้เข้าร่วมงาน และคณะกรรมการ ได้เป็นอย่างดี
การส่งประกวดการพัฒนาฟาร์มโค
ทั้งนี้จากการประกวดครั้งนี้ เบสได้เขียนแผนธุรกิจการพัฒนาฟาร์มโคเนื้อส่งประกวดเข้า “โครงการประกวดออมสินสุดยอดธุรกิจแนวคิดวิถีไทย” เมื่อปี 2558 มีเงินรางวัลชนะเลิศสูงถึงล้านบาท ซึ่งมีผลิตภัณฑ์น่าสนใจแต่ละชุมชนจากทั่วประเทศกว่า 1,600 สินค้า ร่วมชิงชัยภายใต้คอนเซ็ปต์ที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดธุรกิจวิถีไทย ซึ่งในที่สุดโครงการบริหารจัดการฟาร์มโคนมของเบสก็ได้รับรางวัลชนะเลิศ!
“ผมได้รางวัลชนะเลิศ ไม่ใช่เพราะโชคช่วย หรือความบังเอิญ แต่เกิดจากการหยั่งรู้ว่ารู้จักตัวเองดีแค่ไหน เราทำอะไรได้ และเราต้องการพัฒนาฟาร์มโคนมให้เป็นไปอย่างไร ผมจึงเริ่มเขียนแผนธุรกิจอย่างละเอียดในทุกๆ กระบวนการ และขั้นตอนการบริหารจัดการทุกอย่าง
โดยผมยึดถือคติการทำงาน คือ ทำทุกอย่างที่ใช้ และใช้ทุกอย่างที่ทำ กระทั่งมัดใจคณะกรรมการ และได้รับรางวัลชนะเลิศ และเงินรางวัลจำนวน 1 ล้านบาท ซึ่งผมนำมาใช้ในการต่อยอดพัฒนาฟาร์มในทุกมิติ อาทิ ซื้อโคนมจากฟาร์มโชคชัยมาเลี้ยงเพิ่ม, ลงเครื่องจักรรีดอัดแห้งมูลวัวโดยไม่ง้อแดด , ลงเครื่องรีดนม, เครื่องต้มนมพาสเจอร์ไรส์ ตลอดจนการสร้างระบบฟาร์มให้มีความทันสมัย และได้มาตรฐานสากลมากขึ้น” คุณเบสกล่าวเสริม
Local Farm to go.. Global Farm
“เบส” ได้นำพาความสำเร็จที่ได้จากการประกวดเขียนแผนธุรกิจ “โครงการประกวดออมสินสุดยอดธุรกิจแนวคิดวิถีไทย” ในครั้งนั้นมาต่อยอดใน “ฟาร์มอินทร์แปลง” ยกระดับให้ทันสมัยได้มาตรฐานสากล เสมือนเกิดใหม่ไฉไลกว่าเดิม นอกจากนี้ยังได้รับการสนับสนุนแหล่งเงินทุนจากสถาบันการเงินชั้นนำในประเทศไทยอย่างต่อเนื่องอีกด้วย อาทิ ธ.ออมสิน ธ.เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) และ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Bank)
โรงเรือนเลี้ยงโคนม
สำหรับการบริหารจัดการ “ฟาร์มอินทร์แปลง” แม้จะเป็นฟาร์มโคนมที่ได้มาตรฐานสากลแห่งแรกแห่งเดียวในตัวเมืองชุมพร แต่กลับมีพื้นที่ใช้สอยไม่มากนักเพียง 1 ไร่ กับอีก 3 งาน โดยเลี้ยงโคนมแบบยืนโรง ปูพื้นด้วยแผ่นยางพารา มีถ้วยจ่ายน้ำให้วัวดื่มกินเองได้อัตโนมัติ
ในส่วนโรงเรือนมีขนาดความยาวประมาณ 30 เมตร กว้าง 11 เมตร ความจุวัวจำนวน 40 ตัว ส่วนสายพันธุ์หลักๆ ที่เลี้ยง คือ พันธุ์ขาว-ดำ โฮลสไตน์ฟรีเชี่ยน” (Holstein Friesian) เหตุที่เลี้ยงพันธุ์ดังกล่าว คุณเบสบอกว่าเป็นพันธุ์ที่นิยมเลี้ยงมากที่สุดในโลก และเหมาะสมที่สุดกับสภาพอากาศในประเทศไทย และในท้องถิ่น
อย่างไรก็ดีสิ่งที่โดดเด่นเปรียบเป็นจุดแข็งของฟาร์มแห่งนี้ คือ การวางระบบการจัดการภายในฟาร์มของคุณเบสที่เนรมิตกระบวนการจัดการในฟาร์มได้อย่างลงตัว วัตถุดิบ และผลผลิต ทุกอย่างเอื้อประโยชน์ และเกื้อกูลกัน ภายในฟาร์ม ทำให้นึกย้อนกลับไปกับคติการทำงานที่เบสบอกเอาไว้ คือ “ทำทุกอย่างที่ใช้ และใช้ทุกอย่างที่ทำ”
ประโยชน์ของขี้ วัวนม
โดยแม้แต่ขี้วัวก็มีประโยชน์ เพราะเบสลงทุนนำเข้าเครื่องแยกกากจากประเทศอิตาลี ที่ทำให้ขี้วัวแห้งโดยไม่ต้องตากแดด เพราะภาคใต้อย่างที่หลายคนทราบดี เรื่องสภาพอากาศ “ฝนแปดแดดสี่” โดยมูลที่ได้นำมาผลิตเป็นแก๊สชีวภาพใช้เป็นพลังงานหมุนเวียนภายในฟาร์ม
ซึ่งในฟาร์มมีการจัดสร้างบ่อไบโอแก๊สเตรียมเอาไว้เรียบร้อยขนาด 100 คิว ความจุ 100,000 ลิตร โดยคุณเบสใช้บริการของ “ประจวบไบโอแก๊ส” ซึ่งราคาค่าติดตั้งถูกมาก ราคาไม่ถึงหลักแสนบาท เป็นการลดต้นทุนเรื่องรายจ่ายด้านพลังงานได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้ยังมีเครื่องแยกกากมูลวัวออกต่างหาก โดยกากที่ได้นำไปทำปุ๋ยส่งขายให้กับพี่น้องเกษตรกรในพื้นที่มารับซื้อ ซึ่งในหนึ่งวันสามารถผลิตปุ๋ยส่งขายได้ 40 กระสอบ ขายราคากระสอบละ 50 บาท ทำให้คุณเบสมีรายได้เข้าฟาร์มแน่นอนแล้ว 2,000 บาท/วัน
ในส่วนแก๊สขี้วัวที่ได้จากวัวที่เลี้ยงในฟาร์มนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงต้มน้ำ นมดิบ เพื่อส่งจำหน่ายให้กลุ่มลูกค้าและผู้บริโภคทั่วไป ส่วนระบบภายในฟาร์มได้รับการออกแบบเป็นระบบท่อยาวกว่า 50 เมตร มีระบบแยกกรองกากและของเสีย และทำความสะอาดป้องกันบ่ออุดตัน
เพราะฉะนั้นระบบน้ำและสิ่งปฏิกูลจะไหลเวียนเป็นวงกลมผ่านการแปรรูปนำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งโมเดลระบบฟาร์มนี้คุณเบสได้มีโอกาสไปศึกษาดูงานในประเทศอิสราเอล และประเทศญี่ปุ่น และนำมาประยุกต์จัดสร้างขึ้นภายในฟาร์มของตัวเอง
การผลิตน้ำ นมดิบ
สำหรับการผลิตน้ำ นมดิบ ในแต่ละวัน คุณเบสเปิดเผยว่า ปัจจุบันมีโคนมทั้งสิ้น 50 ตัว มีวัวที่รีดนมได้จำนวน 27 ตัว ผลผลิตน้ำนมวันละ 500 กก. นอกจากนี้ยังมีฟาร์มคอนแทรคซึ่งเป็นฟาร์มเครือข่ายที่คุณเบสสร้างขึ้น ป้อนน้ำ นมดิบ ส่งให้คุณเบสอีกเฉลี่ยวันละ 100 กก. ถือเป็นกลยุทธ์การกระจายรายได้ การสร้างความสัมพันธ์อันดี และสร้างเครือข่ายเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในฟาร์มท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี
ด้านกระบวนการรีดนมวัวจะใช้ระบบ “ไปป์ไลน์” (Pipe Line) จะรีดนมวัวจำนวน 27 ตัว รีดในครั้งเดียว ใช้เวลาไม่ถึง 1 ชม. ก็เสร็จเรียบร้อย (รีดครั้งละ 5 ตัว) โดยใช้คน 1 คน คุมเครื่องรีด โดยน้ำ นมดิบ จะไหลขึ้นไปตามท่อไปรวมที่คูลลิ่งแทงค์ ขนาดความจุ 1 ตัน โดยเมื่อรับน้ำ นมดิบ แล้วระบบจะทำความเย็นทันที
การปรับปรุงสายพันธุ์โค
เมื่อถามถึงการปรับปรุงสายพันธุ์ คุณเบสกล่าวว่าที่ฟาร์มสามารถผลิตวัวตัวเมียได้มาก เพราะมีเทคนิคโดยการใช้ “น้ำเชื้อแยกเพศ” แต่ต้องอาศัยประสบการณ์ความแม่น โดยให้เลือกผสมกับแม่พันธุ์ที่ตั้งใจจะเก็บเป็นแม่พันธุ์จริงๆ เพราะน้ำเชื้อมีราคาค่อนข้างสูง ต้องคัดเลือกให้ดี ต้องพิจารณาสุขภาพแม่วัวตัวนั้นๆ ด้วยว่าเหมาะสมในการใช้น้ำเชื้อมากแค่ไหน เพราะหากบกพร่องในเรื่องการเตรียมแม่วัวที่ดี จะผสมไม่ติด หรือติดยาก หรือบางทีอาจต้องใช้ฮอร์โมนกระตุ้นให้ไข่ตก มิฉะนั้นเวลาอาจจะคลาดเคลื่อน
มุมมอง…อาชีพเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม
เมื่อถามถึงภาพรวมอาชีพเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในประเทศไทย คุณเบสถ่ายทอดมุมมองเอาไว้อย่างน่าสนใจว่า ปัจจุบันเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในประเทศไทยมีจำนวนลดลงเรื่อยๆ อย่างน่าใจหาย โดยปัจจุบันเหลือเพียง 14,000 ราย จากเดิมที่ 5-10 ปีที่แล้ว เคยมีมากสูงถึง 100,000 ราย แต่ต้องล้มหายตายจากไป
เนื่องจากพิษของเศรษฐกิจ, ต้นทุนเรื่องของอาหารสัตว์ รวมถึงการไม่ปรับตัวตามยุคสมัย และยังขาดองค์ความรู้การบริหารจัดการของเจ้าของฟาร์มเอง ตลอดจนขาดเงินทุนสนับสนุนเท่าที่ควรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วยเช่นกัน
“สิ่งที่ผมอยากจะบอก คือ การเข้ามาสนับสนุนของภาครัฐ และหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับฟาร์มโคนมของเกษตรกรไทย ที่ควรเข้าถึงให้มากกว่านี้ เพราะยังมีเกษตรกรอีกหลายรายที่เก่ง มีความรู้ ความสามารถ แต่ยังเข้าไม่ถึงแหล่งเงินทุน หรือการสนับสนุนในเรื่องต่างๆ จากภาครัฐ ส่วนตัวผมโชคดี และอาจจะอยู่ถูกที่ ถูกเวลา และส่วนตัวชอบคิด ชอบเขียน ชอบวางแผน จึงสามารถสร้างสรรค์แผนธุรกิจของฟาร์มตนเอง และนำไปเสนอกับแหล่งเงินทุน จึงได้รับโอกาสนี้มา การเลี้ยงโคนม การเลี้ยงโคนม การเลี้ยงโคนม การเลี้ยงโคนม การเลี้ยงโคนม การเลี้ยงโคนม
ฝากถึง…เกษตรกรผู้สนใจ การเลี้ยงโคนม
ในส่วนเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม สิ่งที่ผมอยากฝากบอก คือ ให้มองเรื่องเงินเป็นปัญหาระยะสั้น ถ้าได้รู้จักตัวตนของผมจริงๆ จะรู้ว่าผมเองก็เริ่มต้นจากการไม่ได้มีอะไรเลยเหมือนกัน แต่สิ่งที่มี คือ ผมมีเป้าหมายชัดเจนว่าต้องการจะเป็นฟาร์มโคนมที่ได้คุณภาพในท้องถิ่นให้ได้ ดังนั้นไม่ว่าคุณจะเลี้ยงโคนม หรือทำฟาร์มไก่ , ฟาร์มหมู
เมื่อถึงเวลาก็ต้องปรับตัว ต้องยืนให้ได้ด้วยขาของตัวเองเสียก่อน ก่อนจะไปพึ่งพาคนอื่น เพราะถ้าเอาตัวเองไปพึ่งพาคนอื่น หรือเอาฟาร์มตัวเองไปแขวนไว้กับบริษัทใหญ่ๆ ท้ายที่สุดคุณจะไม่มีอะไรเป็นของตัวเองเลยสักอย่าง
สำหรับคนที่ทำฟาร์มปศุสัตว์ ผมย้ำว่าให้มองการไม่มีเงินทุนให้เป็นปัญหาชั่วคราว แต่ให้มองว่าการไม่มีการวางแผนเป็นเรื่องใหญ่มากกว่า ผมอยากให้คุณตั้งเป้าฟาร์มคุณปีนี้ ปีหน้า หรือปีต่อๆ ไป ว่าคุณจะกำหนดทิศทางฟาร์มให้เป็นอย่างไร เช่น จะเพิ่มจำนวนสัตว์เลี้ยง จะขยายฟาร์ม หรือขยายตลาด หรือไม่ จะลงทุนเครื่องจักร เครื่องมือทำมาหากิน อะไรบ้าง ฯลฯ แล้วลองเขียนทำแผนออกมาให้ชัด เสมือนการหยั่งรู้ตนเองว่าเราเก่งอะไร เด่นและเชี่ยวชาญเรื่องอะไร แล้วคุณจะสามารถบริหารจัดการฟาร์มของคุณได้อย่างชัดเจน และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่นานผมเชื่อว่าคุณจะเป็นเจ้าของฟาร์มที่เก่ง ร่ำรวย และมีความสุข ที่สุด” การเลี้ยงโคนม การเลี้ยงโคนม การเลี้ยงโคนม
ขอขอบคุณ คุณปฏิวัติ อินแปลง (เบส) “ฟาร์มอินทร์แปลง” ที่อยู่ติดต่อเลขที่ 69/2 หมู่ 7 ต.ทุ่งคา อ.เมือง จ.ชุมพร 86100 โทร.077-613-559 www.farminpleang.com การเลี้ยงโคนม การเลี้ยงโคนม