เลี้ยงไก่เนื้อ 200,000 ตัว และทำ ฟาร์มไก่เนื้อ แบบ ระบบคอนแทรคฟาร์มมิ่ง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

บริษัท เมืองรัตน์ฟาร์ม จำกัด เป็นฟาร์มเลี้ยงไก่เนื้อในระบบคอนแทรคฟาร์มมิ่งที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในธุรกิจไก่เนื้อ โดยเริ่มต้นจากฟาร์มเล็กๆ เชิงครอบครัว จนกระทั่งเป็นฟาร์มขนาดกลางในอำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี บริหารโดย คุณจักรินทร์ และคุณพันธิภา เมืองรัตน์ ด้วยความมุ่งมั่นทำฟาร์ม เลี้ยงไก่เนื้อ แม้ว่าจะเจออุปสรรคมากมาย แต่ก็สามารถดำเนินธุรกิจต่อจากพ่อแม่เรื่อยมา

คุณจักรินทร์เล่าว่า ตนคลุกคลีในครอบครัวที่ทำอาชีพเลี้ยงไก่มาตั้งแต่เด็ก ก่อนไปโรงเรียนก็ต้องช่วยพ่อ-แม่ทำงานในฟาร์มทุกวัน ขณะนั้นเลี้ยงไก่กับบริษัทหนึ่งมีไก่ประมาณ 5-6 หมื่นตัว ตั้งอยู่แถวถนนร่มเกล้า เขตมีนบุรี พอเลี้ยงได้ระยะหนึ่งเริ่มมีความเจริญมากขึ้น ฉะนั้นพื้นที่ตรงนั้นจึงไม่เหมาะกับการเลี้ยงไก่ จึงย้ายมาเลี้ยงที่ลำลูกกา ปทุมธานี ซึ่งตอนนั้นยังไม่มีความเจริญเหมือนปัจจุบัน โดยลักษณะการเลี้ยงเป็นแบบเลี้ยงไก่บนบ่อปลา เพื่อให้ปลากินเศษอาหารที่ตกหล่น

แต่การทำฟาร์มก็มิได้ราบรื่นด้วยปัจจัยหลายอย่าง ความเจริญมีมากขึ้น ทำให้พื้นที่ดังกล่าวไม่เหมาะสมในการทำฟาร์ม จึงตัดสินใจขายฟาร์ม และย้ายไปสร้างฟาร์มอยู่อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี เริ่ม เลี้ยงไก่เนื้อ จำนวนแสนตัว มีทั้งฟาร์มที่เป็นของตัวเอง และฟาร์มเช่า เลี้ยงได้ประมาณ 30 ปี เกิดการระบาดของโรคไข้หวัดนก ทางฟาร์มก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน จึงตัดสินใจขายฟาร์ม และย้ายมาตั้งที่ 44/1 ม.8 ต.ธารเกษม อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี จนถึงปัจจุบันเป็นเวลา 14 ปีแล้ว เลี้ยงไก่เนื้อ 200,000 ตัว และมีโรงเรือน 8 หลัง บนเนื้อที่ 25 ไร่

โรงเรือนไก่เนื้อ
โรงเรือน เลี้ยงไก่เนื้อ
1.คุณจักรินทร์-เมืองรัตน์-เจ้าของ-บ.เมืองรัตน์ฟาร์ม-จก.
1.คุณจักรินทร์-เมืองรัตน์-เจ้าของ-บ.เมืองรัตน์ฟาร์ม-จก.
2.การป้องกันโรคระบาดในการ เลี้ยงไก่เนื้อ ใน ฟาร์มไก่เนื้อ
2.การป้องกันโรคระบาดในการ เลี้ยงไก่เนื้อ ใน ฟาร์มไก่เนื้อ

การป้องกันโรคระบาดในการ เลี้ยงไก่เนื้อ

“การเลี้ยงไก่เนื้อในตอนนั้นถือว่าอยู่ได้ สามารถหารายได้ให้แก่ครอบครัว สามารถส่งลูกเรียนจนจบ ดีกว่าการทำไร่นาที่ได้ผลผลิตปีละครั้ง อาชีพเลี้ยงไก่สามารถจับขายปีละ 5-6 รุ่น เป็นโรงเรือนแบบง่ายๆ หลังคามุงด้วยใบจาก ไม่ต้องใช้ระบบอีแวป (Evap) การจัดการจึงไม่ยุ่งยากเหมือนสมัยนี้ ที่สำคัญต้นทุนในการเลี้ยงก็ไม่สูง และโรคก็น้อยกว่าปัจจุบัน”

หลังจากเกิดวิกฤตไข้หวัดนกระบาด ถือว่าเป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนรูปแบบการเลี้ยงจากดั้งเดิมมาเป็นการเลี้ยงเชิงอุตสาหกรรมมากขึ้น คือ การเลี้ยงในโรงเรือนควบคุมอุณหภูมิ (Evap) มีระบบการจัดการที่เข้มงวดให้ถูกต้องตามมาตรฐานของกรมปศุสัตว์ และมีการนำ Biosecurity มาใช้

“ในช่วงแรกการเลี้ยงไก่ในระบบควบคุมอุณหภูมิ (Evap) ถือว่ายากพอสมควร เนื่องจากไม่มีประสบการณ์มาก่อน อาศัยถามจากผู้รู้และเข้าร่วมอบรม ทำให้ทราบว่าอุณหภูมิ ความชื้น และแรงลม ที่เหมาะสมของไก่ในแต่ละช่วงอายุ มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตมาก”

โฆษณา
AP Chemical Thailand
3.ไซโลอาหารของบิ๊กดัชท์แมน
3.ไซโลอาหารของบิ๊กดัชท์แมน
อุปกรณ์ภายในโรงเรือนของบิ๊กดัชท์แมน
อุปกรณ์ภายในโรงเรือนของบิ๊กดัชท์แมน

การบริหารต้นทุนในภาวะเศรษฐกิจขาลง ของ ฟาร์มไก่เนื้อ

ต้นทุนการเลี้ยงจะขึ้นอยู่กับแต่ละฤดูกาล หากทุกอย่างได้มาตรฐาน ไม่ว่าจะเป็นการจัดการ อาหาร หรือแม้กระทั่งลูกไก่ที่ได้จากบริษัท หากทุกอย่างดี การจัดการก็ง่ายขึ้น เปอร์เซ็นต์การสูญเสียน้อย กำไรก็ได้มากขึ้น แต่ผลกำไรก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆ ด้าน อย่างทางฟาร์มเคยเลี้ยงกับหลายบริษัท

และปัจจุบันเลี้ยงกับ บริษัท ซันฟู๊ด จำกัด เป็นบริษัทที่ผลิตและจำหน่ายตลาดในประเทศ ฉะนั้นราคาจะอิงกับราคาตลาด ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เกษตรกรไม่สามารถควบคุมได้ ทำได้เพียงลดต้นทุน และพยายามให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด

อีกอย่างที่เป็นการลดต้นทุน คือ การเลือกใช้อุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน ซึ่งทางฟาร์มใช้ของบิ๊กดัชท์แมนทั้งระบบ เพราะมีอายุการใช้งาน และความทนทานสูง 10 กว่าปี ที่ใช้อุปกรณ์ยี่ห้อดังกล่าวยังไม่เกิดปัญหาแต่อย่างใด โดยเฉพาะคูลลิ่งแพ็ด และลูกปืนพัดลมค่อนข้างทนทาน เมื่อเทียบกับยี่ห้ออื่น

4.ลูกไก่เนื้อ
4.ลูกไก่เนื้อ

ด้านการตลาดไก่เนื้อ 

“อาชีพเลี้ยงไก่ถือเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับครอบครัว ถึงแม้ว่าทำแล้วไม่ได้รวยแบบทันตาเห็น แต่เราทำแบบเรียนรู้ไปด้วยเพื่อเป็นการพัฒนาตนเอง แน่นอนว่าต้องอยู่รอด อาชีพเลี้ยงไก่เป็นอาชีพหนึ่งที่ต้องเรียนรู้แบบไม่จบสิ้น เพราะการเลี้ยงไก่แต่ละรุ่นจะประสบปัญหาที่แตกต่างกัน อยู่ที่ว่าจะสามารถแก้ไขสถานการณ์ หรือประคองให้ผ่านพ้นไปได้อย่างไร”

หลายคนถามว่าเลี้ยงไก่มาหลายสิบปี รู้จักคนในวงการค่อนข้างมาก ทำไมถึงไม่เลี้ยงแบบอิสระแบบครบวงจร ซึ่งได้รับคำตอบว่าการลงทุนทำ ฟาร์มไก่เนื้อ สมัยนี้ใช้ทุนค่อนข้างสูง และโรงเชือดหลายแห่งเริ่มประสบปัญหาขาดทุน อยู่ได้เฉพาะโรงเชือดขนาดเล็กที่มีการเชือด 2-3 พันตัว/วัน และเชือดจำหน่ายในพื้นที่ จะได้กำไรมากกว่า เพราะไม่มีค่าขนส่งเข้ามาเกี่ยวข้อง

ที่ผ่านมาเศรษฐกิจในประเทศค่อนข้างมีปัญหา ทางฟาร์มได้รับผลกระทบพอสมควร ถึงแม้ว่าจะเลี้ยงในระบบประกันราคา แต่เมื่อภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย สินค้าขายไม่ออก ทางบริษัทที่เป็นคอนแทรคฟาร์มมิ่งก็ปรับตัวเช่นกัน ถึงแม้จะมีการทำสัญญาก็ตาม ทำให้เกษตรกรแบกรับต้นทุนการเลี้ยงที่สูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นต้นทุนค่าอาหาร และค่าไฟฟ้า บางครั้งยอมได้กำไรน้อยดีกว่าขาดทุน ยิ่งเกษตรกรที่ต้องผ่อนชำระเงินกับธนาคารยิ่งลำบาก

โฆษณา
AP Chemical Thailand

จากประสบการณ์ที่ทำ ฟาร์มไก่เนื้อ มานาน ปัญหาการทำ ฟาร์มไก่เนื้อ ส่วนใหญ่ไม่ได้อยู่ที่ระบบหรือการจัดการแต่อย่างใด แต่เป็นปัญหาทางด้านแรงงาน ยิ่งเป็นงานด้านปศุสัตว์ ยิ่งไม่มีใครอยากทำ เพราะเป็นงานที่หนัก และต้องใช้ความอดทนสูง ดังนั้นเจ้าของ ฟาร์มไก่เนื้อ ต้องสร้างแรงจูงใจให้กับลูกน้อง และให้ความช่วยเหลือ เวลามีปัญหาก็ร่วมกันแก้ไข จึงอยู่ได้นาน

“เป็นคนใจดีแล้วต้องใจเด็ดด้วย การทำธุรกิจต้องรู้ว่าตรงกลางอยู่จุดไหน ต้องดึงตัวเองให้อยู่ตรงจุดศูนย์กลางให้ได้ถึงจะประสบความสำเร็จ” วลีเด็ดทิ้งท้ายของคุณจักรินทร์

ขอขอบคุณ บริษัท เมืองรัตน์ฟาร์ม จำกัด คุณจักรินทร์ เมืองรัตน์ เลขที่ 44/1 ม.8 ต.ธารเกษม อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรีโทร.081-903-7459