ระบบรีดนมแบบไหน… ที่เหมาะกับฟาร์มของคุณ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

เมื่อเริ่มต้นทำฟาร์มโคนม ความหวังของชาวโคนมทุกคน คือ การได้น้ำนมคุณภาพ และค่อยๆ เพิ่มจำนวนโครีดจากหลักสิบไปเป็นหลักร้อยในสักวัน แล้วตัวช่วยของการรีดนมคืออะไร? ก็คือเครื่องรีดนมยังไงล่ะ ที่จะเป็นผู้ช่วยในการลดเวลาการรีดนม ประหยัดต้นทุนด้านแรงงาน

1.ดีลาวาล01

และที่สำคัญที่สุด การใช้เครื่องรีดนมช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเต้านมอักเสบ เมื่อคุณภาพน้ำนมดีขึ้น นั่นทำให้กำไรที่จะเข้ากระเป๋าของชาวโคนมเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

2.ดีลาวาล02

เครื่องรีดนม

ดีลาวาล บริษัทเครื่องรีดนม สัญชาติสวีเดน อายุครบ 140 ปีในปีนี้ ทำงานร่วมกับชาวฟาร์มโคนมทั่วโลก มีนวัตกรรมมากมายเพื่อรองรับงานรีดนมทุกรูปแบบอย่างครบวงจร แล้วสำหรับระบบรีดที่มีในประเทศไทยมีแบบไหนบ้างที่จะรองรับงานรีดนม ทั้งฟาร์มเล็ก จำนวนโครีดหลักสิบ ฟาร์มขนาดกลางหลักร้อย ไปจนถึงฟาร์มขนาดใหญ่หลักพัน

ระบบรีดแบบไหนบ้างที่นิยมใช้ในประเทศไทย แบบแรก คือ แบบถังรีด ขยับขึ้นไปเป็นระบบรีดแบบสปีดไลน์ยืนโรง หรือจะเป็นระบบรีดนมแบบหลุม และที่มาแรงที่สุดตอนนี้ คือ “ระบบรีดแบบวงกลม” แบบหมุนเป็นวงกลม 360 องศา เราจะมาให้ข้อมูลแบบเข้มข้น แล้วเช็คลิสกันว่าระบบรีดแบบไหนที่เหมาะกับฟาร์มของคุณ

3.ถังรีดพร้อมไลน์เนอร์
3.ถังรีดพร้อมไลน์เนอร์

ระบบรีดนมแบบถังรีด (Bucket plant)

ความเป็นมาเป็นไป ระบบรีดนมแบบถังรีด เป็นระบบรีดที่เก่าแก่ที่สุด เปลี่ยนจากการรีดนมด้วยมือ ไปเป็นการรีดนมลงถัง จนถึงการรีดนมผ่านท่อทีละตัว ทำให้สามารถรีดนมได้พร้อมกันทีได้หลายตัว ช่วยให้ชีวิตชาวโคนมง่ายขึ้น

ระบบถังรีดถือเป็นชุดรีดเริ่มต้นของแทบทุกฟาร์ม ด้วยงบประมาณหลักหมื่นก็สามารถใช้งานได้ เหมาะกับฟาร์มที่มีแม่รีดจำนวน 5 – 25 ตัว

โฆษณา
AP Chemical Thailand
4.DeLabal Bosio
4.DeLabal Bosio

ข้อดีของระบบถังรีด ราคาถูก แม้เป็นฟาร์มที่เริ่มต้นก็สามารถจับต้องได้ อีกทั้งยังใช้งานง่ายและปรับเปลี่ยนง่าย โดยสามารถทำด้วยตัวเองได้ ช่วยให้งานรีดนมง่ายขึ้นและใช้เวลารีดนมน้อยลง

ระบบรีดแบบสปีดไลน์หรือยืนโรง (Stanchion Barn)

5.ฟาร์มสปีดไลน์
5.ฟาร์มสปีดไลน์

ความเป็นมาเป็นไป ย้อนกลับไปเมื่อปี พ.ศ.2553 หรือประมาณ 13 ปีที่แล้ว ทีมวิจัยจากดีลาวาลได้เข้ามาเก็บข้อมูลที่ประเทศไทย พบว่าฟาร์มส่วนใหญ่ใช้โรงรีดแบบยืนโรง หากจะเปลี่ยนมารีดแบบหลุมต้องใช้งบประมาณที่สูง เพราะต้องทำโรงรีดใหม่ โดยมีค่าใช้จ่ายด้านการก่อสร้างในการทำโรงรีดใหม่อย่างต่ำ 4-5 แสนบาท ระบบรีดแบบสปีดไลน์จึงเกิดขึ้น ถือเป็นนวัตกรรมที่ถูกปรับให้เข้ากับรูปแบบการใช้งานของคนไทยโดยเฉพาะ โดยไม่ต้องสร้างโรงรีดใหม่ ชุดรีดสามารถยกเคลื่อนที่ได้ โดยไม่ต้องยกถังรีดนม

การทำงานของโรงรีดแบบสปีดไลน์ เป็นการลำเลียงน้ำนมผ่านท่อ ไปยังถังพักน้ำนม แล้วส่งนมไปยังถังส่งนมโดยตรง โดยไม่สัมผัสอากาศภายนอก ทำให้น้ำนมที่ได้มีคุณภาพ และลดการปนเปื้อนอีกด้วย

6.รีดนมแบบสปีดไลน์
6.รีดนมแบบสปีดไลน์

ระบบสปีดไลน์นี้เหมาะสำหรับฟาร์ม ที่มีจำนวนโครีด มากกว่า 30 ตัวขึ้นไป

ข้อดีของระบบรีดยืนโรงหรือสปีดไลน์ ที่เด่นชัดที่สุด คือ ประหยัดงบประมาณในการก่อสร้าง เพราะไม่ต้องสร้างโรงรีดใหม่ สามารถติดตั้งเข้ากับโรงรีดเดิมได้ แถมยังสะดวกไม่ต้องหิ้วถังรีดไปรีดนมทีละตัว ลดจำนวนแรงงาน เพียงใส่หัวรีดไปที่เต้านม น้ำนมจะไหลผ่านระบบท่อลงสู่ถังพักนมได้ทันที ลดการปนเปื้อนของน้ำนม อีกทั้งยังสามารถปรับจำนวนชุดรีดได้ตามความเหมาะสม รองรับการขยายฟาร์มในอนาคต

ระบบรีดแบบหลุม (parlour)

ความเป็นมาเป็นไป เป็นระบบรีดที่ใช้งานอย่างแพร่หลายทั่วโลก และยังเป็นที่นิยมอยู่ โดยได้รับการพัฒนาโรงรีดให้ใช้งานกับฟาร์มขนาดเล็ก ไปจนถึงระดับอุตสาหกรรม

7.โรงรีดแบบอุตสาหกรรม
7.โรงรีดแบบอุตสาหกรรม

โรงรีดแบบหลุมรีดมีทั้งขุดหลุมลงไปหรือยกพื้นสูงขึ้นมา โดยโครีดกับคนรีดนมจะยืนต่างระดับกัน เพื่อความสะดวกของคนรีดนมในการใส่และถอดกระบอกรีด เพราะอยู่ในระดับสายตา สามารถสังเกตสุขภาพของเต้านมได้ชัดเจน ไม่ต้องลุกนั่งในการรีด สามารถจัดกลุ่มหรือแบ่งกลุ่มในการรีดได้

โฆษณา
AP Chemical Thailand
8.โรงรีดแบบหลุม
8.โรงรีดแบบหลุม

รูปแบบโรงรีดที่ใช้กับระบบรีดแบบหลุมแบ่งออกเป็น 3 แบบ ตามลักษณะการยืนของโคนม

ซองรีดก้างปลา เป็นโรงรีดที่มีทางเดินเข้าด้านหน้า และโครีดเดินออกทางด้านหลังเรียงกัน โดยลำตัวโคจะเอียงด้านข้างให้กับคนรีด โดยจำนวนซองที่เหมาะสมและสะดวกในการทำงานต้องไม่เกิน 20 ซองต่อ 1 ข้าง

9.วัวยืนหันข้างในซองรีดแบบก้างปลา
9.วัวยืนหันข้างในซองรีดแบบก้างปลา

ซองรีดนมแบบขนาน โครีดจะเดินเข้าทางด้านหน้า ตัวโคหันเอียงตั้งฉาก รีดนมผ่านระหว่างขาหลัง ทำให้สายนมสั้นและจัดการการรีดนมได้ง่าย เมื่อรีดนมเสร็จแล้ว โครีดจะเดินออกทางด้านข้าง โดยซองบังคับโคสามารถเปิดออกได้ โดยให้ออกพร้อมกันหรือออกเป็นกลุ่ม ความยาวของหลุมรีดมีขนาดสั้น ทำให้โคเดินออกได้อย่างรวดเร็ว

10.ระบบรีดแบบสปีดไลน์
10.ระบบรีดแบบสปีดไลน์

ซองรีดแบบยืนเรียง โครีดจะเดินเข้าและหยุดตามจุดรีดนมตามลำดับ ทำให้งานรีดนมมีความต่อเนื่อง สะดวกในการรีดนมจากด้านข้าง ไม่ทำให้วัวรู้สึกเครียด ตัวไหนรีดนมเสร็จก่อนก็เดินออกได้ทันที นิยมใช้กับงานรีดนมควาย

11.รูปวาดซองรีดแบบยืนเรียง
11.รูปวาดซองรีดแบบยืนเรียง

ระบบรีดแบบหลุมมี 2 แบบได้แก่

12.ซองรีดแบบโลว์ไลน์
12.ซองรีดแบบโลว์ไลน์

-แบบโลว์ไลน์ (Low line) คือ ระบบรีดที่มีท่อน้ำนมติดตั้งอยู่บริเวณหลุมรีด

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ข้อดี ใช้แรงลมได้น้อยกว่า ทำให้รีดนมได้เร็วกว่าแบบไฮท์ไลน์

ข้อเสีย ค่าใช้จ่ายแพงกว่าแบบไฮท์ไลน์ เพราะต้องใช้ชุดรีดนมตามจำนวนของซองรีดทั้งสองข้าง ซึ่งส่งผลให้ต้องใช้ปั๊มสุญญากาศที่ใหญ่ขึ้น ท่อที่มากขึ้นตามมา

13.โรงรีดแบบไฮท์ไลน์
13.โรงรีดแบบไฮท์ไลน์

-แบบไฮท์ไลน์ (High line) คือ ระบบรีดที่มีท่อน้ำนมติดตั้งอยู่ด้านบน หรือตรงกลางโรงรีดนม

ข้อดี ค่าใช้จ่ายถูกกว่าแบบโลว์ไลน์ เพราะใช้ชุดรีดที่น้อยกว่า โดยใช้ชุดรีดนมตามจำนวนซองรีดเพียงแค่ข้างใดข้างหนึ่งเท่านั้น และเมื่อรีดเสร็จข้างหนึ่ง ก็สามารถมารีดอีกฝั่งหนึ่งได้ทันที ซึ่งทำให้มีการใช้อุปกรณ์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

ข้อเสีย ใช้แรงลมสูงกว่าระบบโลว์ไลน์ เนื่องจากท่อที่ติดตั้งอยู่สูงกว่า จึงต้องใช้แรงลมที่มากกว่า อาจจะไม่เหมาะสมกับวัวนมที่มีปริมาณน้ำนมสูง เฉลี่ย 30 กิโลกรัมขึ้นไป

 

ข้อดีของระบบรีดนมแบบหลุม คนรีดนมทำงานได้สะดวก เต้าของโคนมอยู่ในระดับสายตา ทำให้ไม่ต้องลุกนั่งเพื่อใส่กระบอกรีด สังเกตเต้านมเพื่อหาความผิดปกติของเต้านมได้ชัดเจน ทำความสะอาดง่าย สามารถจัดกลุ่มเข้ารีดได้สะดวก

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ระบบรีดนมแบบวงกลม (Rotary)

14.Swingover
14.Swingover

ความเป็นมาเป็นไป โรงรีดแบบวงกลม ได้ถูกคิดค้นขึ้นเมื่อ 93 ปีที่แล้ว ในปี พ.ศ.2473

ถ้าใครเห็นระบบรีดนี้คงต้องร้องว้าว ด้วยจุดเด่นของโครงสร้างที่ถูกออกแบบเป็นวงกลม เคลื่อนที่เหมือนม้าหมุน เมื่อเจ้าโครีดเข้าประจำที่ คนรีดนมก็พร้อมรีดนมแบบวนๆ ไป เหมาะกับอุตสาหกรรมโคนม เพราะสามารถกำหนดความเร็วในการรีดได้อย่างแม่นยำ เนื่องจากคนรีดต้องปรับพฤติกรรมการรีดให้เหมาะสมกับความเร็วของเครื่องจักร อีกทั้งยังสามารถอบรม ฝึกฝนคนรีดนมให้รีดนมอย่างมีประสิทธิภาพได้ง่าย ลดจำนวนแรงงาน

ด้วยจุดเด่นที่ถูกพัฒนาให้ช่วยลดทั้งเวลาและแรงงานในการรีดนม ระบบนี้จึงสามารถรองรับ จำนวนโครีดได้ 300-1,000 ตัว และสามารถรองรับการใช้งานได้แบบ 24 ชั่วโมง

15.โรงรีดแบบวงกลม
15.โรงรีดแบบวงกลม

ข้อดีของระบบรีดแบบวงกลม คือ สามารถกำหนดความเร็วในการรีดได้อย่างชัดเจนและเต็มประสิทธิภาพ ระบบการทำงานไม่ยุ่งยาก สามารถฝึกคนรีดให้ทำความเข้าใจในการใช้งานได้รวดเร็ว เนื่องจากคนรีด 1 คน รับผิดชอบงานแค่อย่างเดียว เป็นมิตรต่อโครีด ลดความเครียดในการรีดนม ยิ่งโครีดมีความสุข ชาวฟาร์มก็มีความสุข แต่ระบบนี้อาจใช้การลงทุนด้านโครงสร้างสูงสักหน่อยและไม่รองรับฟาร์มขนาดเล็ก

มาถึงส่วนสุดท้ายแล้ว คุณมีระบบรีดในหัวใจแล้วหรือยัง? หากยังไม่มั่นใจหรืออยากปรึกษาให้หายข้อสงสัยก็สามารถสอบถามดีลาวาลประเทศไทยได้ทุกเวลา เพราะดีลาวาล..รู้จริงเรื่องเครื่องรีดนม

ร่วมสนุกรับส่วนลด 500 บาท เมื่อซื้อสินค้าดีลาวาลชนิดใดก็ได้ ขั้นต่ำ 1,500 บาท เพียงสแกนคิวอาร์โค้ดนี้ แล้ว กรอกชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ และไลน์ไอดี วันนี้ถึง 15 พฤศจิกายน 2566

โฆษณา
AP Chemical Thailand

16.ดีลาวาล16

เช็คลิสระบบรีดนม…ที่เหมาะกับฟาร์มของคุณ

17.รีดแบบถังรีด
17.รีดแบบถังรีด

ระบบรีดนมแบบถังรีด

จำนวนโครีด 5-25 ตัว

ระบบไฟฟ้า 220V.

งบประมาณ 30,000-40,000 บาท

การดูแลรักษา ง่าย ถอดล้างทำเองได้

ข้อดีของระบบถังรีด ราคาถูก ใช้งานง่าย ปรับเปลี่ยนง่าย สามารถทำด้วยตัวเองได้

18.รีดแบบสปีดไลน์
18.รีดแบบสปีดไลน์

ระบบรีดนมแบบสปีดไลน์ยืนโรง

จำนวนโครีด มากกว่า 30 ตัวขึ้นไป

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ระบบไฟฟ้า 220V.

งบประมาณ ประมาณ 4 แสน-5 แสนบาท

การดูแลรักษา ล้างทำความสะอาดด้วยระบบ CIP

ข้อดีของระบบรีดยืนโรงหรือสปีดไลน์ ประหยัดงบประมาณ ไม่ต้องสร้างโรงรีดใหม่ ไม่ต้องหิ้วถังรีด ลดจำนวนแรงงาน น้ำนมไม่สัมผัสอากาศ ลดการปนเปื้อน ปรับจำนวนชุดรีดได้ ตามการใช้งาน

19.รีดแบบหลุม
19.รีดแบบหลุม

ระบบรีดนมแบบหลุม

จำนวนโครีด ตั้งแต่ 30-200 ตัว

ระบบไฟฟ้า 220V. และ 380V.

โฆษณา
AP Chemical Thailand

งบประมาณ 4 แสน-8 แสนบาท แล้วแต่จำนวนหัวรีด

การดูแลรักษา ล้างทำความสะอาดด้วยระบบ CIP

ข้อดีของระบบรีดนมแบบหลุม  รีดนมได้สะดวก  ไม่ต้องลุกนั่ง  ทำความสะอาดง่าย  สังเกตเต้านมได้ชัดเจน สามารถจัดกลุ่มเข้ารีตได้ง่าย

20.รีดแบบวงกลม
20.รีดแบบวงกลม

ระบบรีดนมแบบวงกลม

จำนวนโครีด 300-1,000 ตัว

ระบบไฟฟ้า 380V.

งบประมาณ  8 ล้านบาท

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การดูแลรักษา ล้างทำความสะอาดด้วยระบบ CIP

ข้อดีของระบบรีดนมแบบวงกลม กำหนดความเร็วในการรีดได้ ระบบการทำงานไม่ยุ่งยาก  เป็นมิตรต่อโครีด ลดความเครียดในการรีดนม ลดจำนวนชั่วโมงการทำงานและจำนวนคนรีดนม

อ้างอิง : นิตยสารสัตว์บก ฉบับที่ 366