การเลี้ยงวัวบรามัน
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า หากคุณคือ “โคบาล” ขนานแท้ จะต้องรู้จักวัวอเมริกันบราห์มันนำเข้าจากต่างประเทศ จากสุดยอดฟาร์มในรัฐเท็กซัส “เจ.ดี.ฮันจิ้นส์” ( J.D.Hudgins) ซึ่งต้นตระกูลจนกระทั่งทายาทในปัจจุบันประกอบอาชีพทำฟาร์มปศุสัตว์เลี้ยววัวมาอย่างยาวนานมากว่า 5 ชั่วอายุคน ก่อตั้งฟาร์มมายาวนานถึง 179 ปี วัวบรามัน
“เจ.ดี.ฮันจิ้นส์” ได้สร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้ประกอบการฟาร์มเลี้ยงวัวหรือโคทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย โดยมี “คนเลี้ยงวัว” ที่มีเป้าหมายต้องการพัฒนาปรับปรุงอาชีพเลี้ยงวัวในประเทศสู่มาตรฐานระดับสากล และปัจจุบันประสบความสำเร็จแล้ว
การพัฒนาสายพันธุ์วัว
ซึ่ง นิตยสารสัตว์บก กำลังพูดถึง “JS จันทร์สุวรรณฟาร์ม สุพรรณบุรี” บริหารโดย คุณธนพงศ์ จันทร์สุวรรณ หรือ “กำนันบอย” แห่งตำบลหนองมะค่าโมง อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี
คุณธนพงศ์ หรือ “กำนันบอย” อาจกล่าวได้ว่า มีการบริหารจัดการ “JS จันทร์สุวรรณฟาร์ม” โดยถอดแบบความสำเร็จมาจาก “เจ.ดี.ฮันจิ้นส์” ก็ว่าได้ โดยสืบทอดกิจการฟาร์มวัวมาจากรุ่นคุณพ่อ (กำนันดิน) ซึ่งคุณธนพงศ์ถือเป็น “โคบาล” รุ่นที่ 2 แห่งอาณาจักร “JS จันทร์สุวรรณฟาร์ม สุพรรณบุรี” แห่งนี้ และปัจจุบันมีทายาทเป็นบุตรสาว 2 คน ซึ่งก็ดูจะมีแววลูกไม้หล่นไม่ไกลต้นในอนาคต
“JS จันทร์สุวรรณฟาร์ม สุพรรณบุรี” หรือ “JS จันทร์สุวรรณฟาร์ม” ขึ้นชื่อว่าเป็นฟาร์มชั้นนำแถวหน้าของเมืองไทย ที่มีการพัฒนาปรับปรุงวัวบราห์มันพันธุ์แท้ที่ได้คุณภาพมากที่สุด โดยมีวิธีการบริหารจัดการภายในฟาร์ม ตลอดจนเทคนิคการเลี้ยงดูวัวบราห์มันให้ได้คุณภาพ ขายได้ราคาสูง ในแบบฉบับเฉพาะตัวของคุณธนพงศ์ หรือ “กำนันบอย” อย่างน่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว
สำหรับประวัติความเป็นมาของ “JS จันทร์สุวรรณฟาร์ม” โดยมีวิสัยทัศน์มุ่งมั่นปรับปรุงพันธุ์วัวบราห์มันพันธุ์แท้ จนก้าวขึ้นมาเป็นฟาร์มปรับปรุงพันธุ์ในอันดับต้นๆ ของประเทศ ซึ่งวันนี้หากเอ่ยชื่อ “JS จันทร์สุวรรณฟาร์ม” ไม่มีใครไม่รู้จัก
โดยคุณธนพงศ์ หรือ “กำนันบอย” ได้เล่าย้อนประวัติความเป็นมาให้ฟังว่า JS จันทร์สุวรรณฟาร์ม เริ่มต้นเลี้ยงวัวเมื่อประมาณ 16 ปี โดยเริ่มจากการเลี้ยงและพัฒนา “วัวเอฟ” (F) หรือการขึ้นทะเบียนวัวลูกผสมบราห์มัน F1-F4 โดยไล่ระดับสายเลือดไทยบราห์มันให้สูงขึ้นเรื่อยๆ ฯลฯ และปัจจุบันยังเลี้ยงและปรับปรุง “วัวเอฟ” ควบคู่กับการเลี้ยง “วัวบราห์มันเลือดร้อย” ไปด้วย
การส่งวัวเข้าประกวด
สำหรับวัวบราห์มันพันธุ์แท้ ทาง “JS จันทร์สุวรรณฟาร์ม” ได้พัฒนาปรับปรุงพันธุ์ จนกระทั่งเป็นที่ยอมรับในแวดวงคนเลี้ยงวัวในประเทศไทย ในเรื่องตัดแต่งพันธุกรรมที่สมบูรณ์ ได้มาตรฐาน การันตีจากความสำเร็จที่ผ่านมา
จากการส่งวัวเข้าสนามประกวด จนกระทั่งกวาดถ้วยรางวัลมาแล้วเกือบทุกสำนักที่มีการจัดเวทีประกวดของประเทศไทย อาทิเช่น รางวัลประกวดจากกรมปศุสัตว์, รางวัล Reserve Junior Champion และ Senior Champion ทั้งวัวเทา/วัวแดง ฯลฯ
และที่ภาคภูมิใจมากที่สุด เป็นเกียรติประวัติแด่วงตระกูล“จันทร์สุวรรณ” คือ การคว้ารางวัลสูงสุดในระดับแกรนด์แชมป์ ถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
ซึ่งความสำเร็จที่กล่าวมานี้ส่งผลให้แบรนด์“JS” ถูกแบ่งและนำไปปรับปรุงพันธุ์ต่อยอดให้กับผู้ที่สนใจเลี้ยงวัว ตลอดจนถูกนำไปเป็นต้นพันธุ์ให้กับเกษตรกรทั่วไปได้นำไปเลี้ยง และที่สำคัญ คือ วัวทุกตัวของ “JS จันทร์สุวรรณฟาร์ม” เป็นราคาที่เกษตรกรจับต้องได้
การบริหารจัดการฟาร์มวัว
“JS จันทร์สุวรรณฟาร์ม” ปัจจุบันเลี้ยงวัวจำนวน 457 ตัว แบ่งเป็นบราห์มันลูกผสมจำนวน 400 ตัว และบราห์มันพันธุ์แท้จำนวน 57 ตัว (อเมริกันบราห์มันพันธุ์แท้) ซึ่งสำหรับลูกผสมพันธุ์ “อเมริกันบราห์มัน”
เริ่มต้นพัฒนามาจากระดับ F1 ซึ่งปรับปรุงพันธุ์มาตลอดตั้งแต่สมัยรุ่นคุณพ่อ (กำนันดิน) และนำเข้าวัวจากสหรัฐอเมริกา ทั้งหมด 2 แม่พันธุ์ จากฟาร์ม “เจ.ดี.ฮันจิ้นส์” (J.D.Hudgins)
“ผมเริ่มเข้าสู่วงการปศุสัตว์ตอนอายุ 18 ปี สมัยคุณพ่อเริ่มเลี้ยงวัวสายพันธุ์ฮินดูบราซิล ในสมัยแรกๆ โดยคุณพ่อเลี้ยงวัวกว่า 4,000 ตัว พื้นที่กว้างกว่า 1,000 ไร่ โดยช่วยดูแลกับคนงานทั้งหมด 9 คอก จนกระทั่งเริ่มดูแลไม่ทั่วถึง วัวเริ่มมีป่วย และล้มตาย บางตัวที่อยู่ถัดออกไปไกลๆ ถูกสุนัขกัดตายบ้าง และนกแร้งจิกกิน หรือผอมโซบ้าง จึงปรึกษากับคุณพ่อให้ลดปริมาณการเลี้ยงน้อยๆ แต่ให้ได้คุณภาพจะดีกว่า
ต่อมาจึงลดจำนวนเลี้ยงเหลือเพียง 2,300 ตัว เหลือประมาณ 5 คอก ทว่าขณะนั้นคุณพ่อล้มป่วยเป็นอัมพฤกษ์ ผมจึงได้เข้ามาบริหารฟาร์มอย่างจริงจัง และตัดสินใจลดจำนวนเลี้ยงลงอีก จนกระทั่งเหลือเลี้ยงไว้ประมาณ 400 ตัว หลังจากนั้นผมจึงก้าวเข้ามาพัฒนาวัวอย่างเต็มตัว พร้อมกับค่อยๆ สร้างแบรนด์ JS จันทร์สุวรรณฟาร์ม สุพรรณบุรี ให้เป็นที่รู้จักเฉกเช่นปัจจุบันนี้” คุณธนพงศ์ หรือกำนันบอย กล่าว
คุณธนพงศ์เล่าให้ฟังต่อว่าสมัยก่อนยังไม่มีสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ที่ทันสมัยและรวดเร็วเหมือนเช่นทุกวันนี้ ได้แต่โปรโมทตีพิมพ์ลงนิตยสารเกี่ยวกับวัว แต่ด้วยความที่ต้องการให้คนรู้จัก คุณธนพงศ์จึงเริ่มเดินสายสร้างการรับรู้โดยผ่านการออกงานสนามประกวดวัวแต่ละแห่ง พร้อมกับเริ่มซื้อแม่พันธุ์เข้ามาในฟาร์มเพื่อผสมพันธุ์ลูกวัวเอง แล้วนำไปประกวดสนามแข่งขันกวาดรางวัลมากมาย
ซึ่งคุณธนพงศ์บอกว่ากว่าจะสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักใช้เวลาร่วม 5 ปี จนกระทั่งเริ่มพัฒนาปรับปรุง “โคพันธุ์อเมริกันบราห์มันเลือดร้อย” อย่างเต็มรูปแบบเรื่อยมาจนถึงทุกวันนี้
ด้านการจัดการฟาร์ม และการให้อาหารวัว คุณธนพงศ์เผยว่าให้อาหารวัว (อาหารข้น) วัวประกวดจะให้กินอาหาร 8 กก./ตัว/วัน และแม่พันธุ์จะให้กินอาหาร 4 กก./ตัว/วัน โดยจะมีคนงานคอยช่วยตักอาหาร ในส่วนตัวจะเดินดูในฟาร์มทุกๆ วัน เพื่อสังเกตอาการ หากพบพฤติกรรมวัวป่วย เช่น ซึม ไม่กินอาหาร ก็จะมีฉีดยาป้องกันตามมาตรฐานทั่วไป
โดยฟาร์มได้รับการรับรองจากกรมปศุสัตว์ ในเรื่องฟาร์มปลอดเชื้อ และปัจจุบันกำลังขึ้นทะเบียนฟาร์มมาตรฐานในเครือของกรมปศุสัตว์อีกด้วย
สายพันธุ์วัว
ด้านสายพันธุ์วัวที่พัฒนาปรับปรุงของ “JS จันทร์สุวรรณฟาร์ม” ปัจจุบันมี “อเมริกันบราห์มันพันธุ์แท้” และ “อเมริกันบราห์มันลูกผสม” เหตุที่เลือกสายพันธุ์ดังกล่าว คุณธนพงศ์เผยว่าเพราะทนต่อสภาพอากาศร้อนของเมืองไทย และทนต่อโรคอีกด้วย โดยจะนำมาพัฒนาเป็นสายพันธุ์ “เลือดร้อย”
ทั้งนี้การปรับปรุงพันธุ์ลูกผสมนั้น หลักการผสมพันธุ์รวมถึงกลไกซื้อขายในตลาดไม่มีอะไรซับซ้อน ยกตัวอย่างเช่น แม่วัว 220 ตัว จะผสมได้ลูกวัวประมาณ 120-135 ตัว ภายใน 1 ปี โดยที่ได้จำนวนน้อยกว่าแม่ เพราะอัตราผสมเฉลี่ยอยู่ที่ 50% อยู่แล้ว
การให้อาหารวัว
ในส่วนของอาหาร “JS จันทร์สุวรรณฟาร์ม” จะให้อาหารข้นกับ “ฟาง” และ “หญ้า” (หญ้ารูซี่, หญ้าแพงโกล่า) โดยมีแปลงปลูกหญ้าแบ่งออกเป็น 3 แปลงหลักๆ โดยแปลงที่ 1 พื้นที่ 550 ไร่, แปลงที่ 2 พื้นที่ 360 ไร่ และแปลงที่ 3 พื้นที่ 220 ไร่ ล้อมรอบด้วยลวดหนามทั้งหมด
โดยขั้นตอนการให้อาหาร ยกตัวอย่างเช่น หากเป็นฤดูแล้งจะให้ “ฟาง วันละ 90 ก้อน” สำหรับวัวลูกผสม เพราะฉะนั้นภายในฟาร์มจะมีต้นทุนค่าอาหารวัวหลักๆ แค่ค่าฟาง กับค่าจ้างแรงงานคน เท่านั้น
ด้านตลาดและช่องทางจำหน่ายลูกวัว และพ่อแม่พันธุ์วัว
สำหรับรายได้ “JS จันทร์สุวรรณฟาร์ม” ปัจจุบันมาจากการขาย “ลูกวัว” และขาย “พ่อแม่พันธุ์” ด้วย ในส่วนการขายลูกวัว คุณธนพงศ์กล่าวว่าถ้าเป็น “พันธุ์ลูกผสม” จะขายช่วงอายุไม่เกิน 12 เดือน และถ้าเป็น “เลือดร้อย” จะขายในช่วงอายุประมาณ 6-8 เดือน ในส่วนการตั้งราคาซื้อ/ขาย ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของตนเองและลูกค้าที่เข้ามาเยี่ยมชมหน้าฟาร์ม ทั้งนี้อยู่ในราคาที่เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงของวัวแต่ละตัวด้วย
“การขายวัวให้กับลูกค้า ผมยึดหลักการจะต้องซื่อสัตย์กับลูกค้า ถ้าวัวมีตำหนิ เราจะบอกลูกค้าก่อน หรือถ้าวัวท้อง หรือวัวไม่ท้อง เราจะบอกลูกค้าตามตรง ซึ่งอย่างที่บอกไปหลักการตั้งราคาขาย
สำหรับผมขึ้นอยู่กับความพึงพอใจ ของทั้งคนซื้อ และคนขาย ยกตัวอย่างเช่น ราคาขายเริ่มต้นตัวละ 200,000 บาท ไปจนถึง 400,000-500,000 บาท โดยมีลูกค้าบางรายกล้าสู้ราคา ผมก็กล้าขาย ทั้งนี้การขายวัวแต่ละครั้งจะมีใบรับรองคุณภาพมาตรฐานรับรองให้ โดยลูกค้าสามารถตรวจสอบย้อนกลับคุณภาพได้
และในส่วนการขายพ่อพันธุ์ จะแบ่งเป็น 2 เกรด กล่าวคือ วัวลูกผสมราคาจับต้องได้ หรือพูดง่ายๆ ว่า เกษตรกรระดับรากหญ้าก็สามารถซื้อได้ และในส่วนพ่อพันธุ์แท้ ซึ่งเกรดนี้ราคาก็จะสูงขึ้น ซึ่งถ้าลูกค้าสู้ราคาไหว ฟาร์มก็กล้าขายเช่นกัน
ทั้งนี้ข้อดีของการทำฟาร์มปศุสัตว์ คือ ผู้ประกอบการฟาร์มสามารถกำหนดราคาเองได้ หากเลี้ยงสัตว์ได้คุณภาพจริงๆ ซึ่งไม่เหมือนกับการทำเกษตร การปลูกพืชไร่ ซึ่งเกษตรกรไม่สามารถกำหนดราคาเองได้เลย เพราะต้องอิงตามราคาตลาด และมักโดนพ่อค้าคนกลางกดราคา และเป็นผู้กำหนดราคาซื้อขายอยู่เสมอ”
การบำรุงดูแลรักษาวัว
เมื่อถามถึงเรื่องเทคนิคการผสมวัวให้ติดและได้คุณภาพ “กำนันบอย” บอกว่าเน้นเรื่องบำรุงและดูแลสุขภาพ รวมถึงความสะอาดของวัว ซึ่งสำคัญมากมีผลต่อการผสม โดยยกตัวอย่าง การดูแลรักษา หลังวัวออกลูก จะทำการฉีดยาแก้อักเสบ เพื่อไม่ให้มดลูกอักเสบ นอกจากนั้นโดยทั่วไปจะหมั่นอาบน้ำวันเว้นวัน, ฉีดยาทุกวัน, ให้วัวกินยาถ่ายพยาธิทุกเดือน เป็นต้น
หลังจากนั้นไม่เกิน 1 เดือน จะให้หมอ หรือสัตวบาล เข้ามาตัดแต่งกีบ เพื่อกำจัดเชื้อโรค หรือหนอง และทำให้วัวสะอาด จะทำให้จับสัดได้เร็วขึ้น พร้อมผสมพันธุ์ต่อได้ ซึ่งมาตรฐานวัวคลอดลูกอยู่ที่ 9 เดือน หรือประมาณ 270 วัน ใกล้เคียงกับมนุษย์
จุดเด่นและจุดด้อยของวัว
ในตอนท้ายคุณธนพงศ์ หรือ “กำนันบอย” ยังได้กล่าวฝากถึง “โคบาล” หรือ “คนเลี้ยงวัว” ทั่วประเทศ ที่อยากประสบความสำเร็จในสายอาชีพ รวมถึงคว้าถ้วยรางวัลการประกวด มาครอบครองเป็นเกียรติประวัติและความภาคภูมิใจของตนเองและครอบครัว
โดยกล่าวฝากว่า“การบีบวัวขึ้นมาประกวด เป็นศาสตร์ และศิลป์ ของคนเลี้ยงวัว เจ้าของต้องหาจุดเด่น จุดด้อย ของวัวให้เจอ ต้องมองให้แตกฉานในการคัดเลือกวัวเพื่อส่งเข้าประกวด
ยกตัวอย่าง โดยส่วนตัวผมฝึกวัวทุกตัว ให้จูงได้ทุกตัว และใช้การสังเกต เลือกตัวที่สมบูรณ์แบบที่สุด ซึ่งมีการเจริญเติบโตดีที่สุด ซึ่งส่วนตัวผมชอบสไตล์วัวที่มีเนื้อ หรือมัดกล้ามเยอะๆ ไม่จำเป็นต้องรูปทรงใหญ่เสมอไป แต่ดูสมบูรณ์ และสง่างาม
ฝากถึงผู้ที่สนใจวัวบรามัน
และสำหรับผู้ที่สนใจวัวของ JS จันทร์สุวรรณฟาร์มเรายินดีให้คำปรึกษาทุกท่านด้วยความจริงใจ ซื่อสัตย์ และเป็นกันเองการันตี ลูกค้าของฟาร์มมีอยู่หลายจังหวัดทั่วประเทศ และที่ซื้อวัวของฟาร์มเราไป ทุกคนแฮปปี้ มีความสุข
เพราะได้วัวที่สมบูรณ์แข็งแรง ได้คุณภาพมาตรฐาน ซึ่งหากวัวมีตำหนิ ผมจะบอกลูกค้าตามตรง หรือจับส่งโรงเชือดอย่างเดียว เพราะต้องการเห็นวัวจากฟาร์มของเราไปอยู่กับลูกค้า แล้วมีความสุข ซึ่งผมก็จะมีความสุขตามไปด้วย”
ขอขอบคุณคุณธนพงศ์ จันทร์สุวรรณ (กำนันบอย) โทร.081-944-3998
แห่ง “JS จันทร์สุวรรณฟาร์ม สุพรรณบุรี” ที่อยู่ติดต่อ เลขที่ 1008 หมู่ 18 ตำบลหนองมะค่าโมง อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี 72180
วัวบรามัน วัวบรามัน วัวบรามัน วัวบรามัน วัวบรามัน วัวบรามัน วัวบรามัน วัวบรามัน วัวบรามัน วัวบรามัน วัวบรามัน วัวบรามัน วัวบรามัน วัวบรามัน วัวบรามัน วัวบรามัน วัวบรามัน วัวบรามัน วัวบรามัน