พอเอ่ยนาม อิสราเอล ชาวโลกร้องอ๋อ เพราะชาติพันธุ์นี้ได้รับการยอมรับว่า เป็นมนุษย์พันธุ์พิเศษ เก่งกาจเกือบทุกด้าน และเป็น “ผู้นำตัวจริง” ในมิติเศรษฐกิจ สังคม และ การเมือง สุดยอดฟาร์มโคนมไฮเทค
ชาวอิสราเอลมีหลายชาติพันธุ์ ทั้ง ชาวยิว และ ชาวอาหรับพื้นเมือง ประชาสุดยอดฟาร์มโคนมไฮเทค กร ณ 31 ธ.ค. 64 มีประมาณ 9.4 ล้านคน 90% อาศัยในเขตเมืองใหญ่ๆ เช่น เทลอาวีฟ เยรูซาเล็ม และ ไฮฟา ที่เหลือกระจายไปตามพื้นที่การเกษตรทั่วประเทศ 79.8% นับถือศาสนายูดาย (Judaism) 14% อิสลาม และ 2% คริสต์ พื้นที่ทั้งหมด 27,800 ตร.กม. จากเหนือถึงใต้ยาว 470 กม. เดินทางด้วยรถยนต์ 9 ชม. และจากตะวันตกไปตะวันออก 135 กม.
อิสราเอล (ISRAEL) หรือรัฐอิสราเอล อยู่ในตะวันออกกลาง และเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ บนชายฝั่งเหนือของทะเลแดง ทิศเหนือติดเลบานอน ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดซีเรีย และทิศตะวันออกติดจอร์แดน แม้จะเป็นทะเลทราย แต่เป็น HOLY LAND ดินแดนของพระเจ้าผู้ศักดิ์สิทธิ์ ทั้งชาวยิวและชาวปาเลสไตน์ ก็ต่อสู้กันเรื่อยมา เพื่อทวงสิทธิครอบครองดินแดนศักดิ์สิทธิ์ให้ได้
ท่ามกลางสงคราม ก็ต้องสร้างความมั่นคงด้านอาหาร ดังนั้นรัฐบาลจึงต้องสร้างยุทธศาสตร์เกษตร เพื่อเพิ่มผลผลิตให้เพียงพอ โดยใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี ทั้งเรื่องดิน น้ำ เครื่องจักรกลการเกษตร ปุ๋ย พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ อาหารสัตว์ รวมทั้งพลังงานยั่งยืน เป็นต้น จนประสบความสำเร็จ ส่งโนว์ฮาวไปขายทั่วโลก
โมเดลธุรกิจเกษตรที่รู้จักกันทั้งโลก ได้แก่ โมชาฟ (MOSHAV) ชุมชนเกษตรกรรมแบบวงกลม แล้วขยายออกไป พื้นที่ที่ถูกล้อม คือ พื้นที่เกษตรกรรม เช่น โมชาฟ นาฮาร่า ส่วน นิคมคิมบุตซ์ เป็นฟาร์มเกษตร มีทั้งรัฐและเอกชนเป็นเจ้าของ เป็นนิติบุคคล มีประมาณ 270 แห่ง ในอิสราเอล ทั้งโมชาฟ และคิมบุตซ์ เกือบ 700 แห่ง ทั้ง 2 แห่ง คือ แหล่งทำงานของคนไทยที่มาจากภาคเหนือและอีสานเป็นหลัก
การสัมมนา พลิกวิกฤตเป็นโอกาส จากแรงงานอิสราเอลสู่เจ้าของฟาร์มโคนมมืออาชีพ
การส่งแรงงานไทยสู่อิสราเอล ผ่าน กรมแรงงาน และบางส่วนเกิดจากสถาบันการศึกษาบางแห่ง ส่งนักศึกษา ปวช. ไปเรียนต่อ และทำงานด้วย อย่าง อาจารย์สุทธาพันธ์ โพธิ์กำเนิด ได้เปิดตัวเรื่องนี้ ในงานสัมมนา “พลิกวิกฤตเป็นโอกาส จากแรงงานอิสราเอลสู่เจ้าของฟาร์มโคนมมืออาชีพ” 7/1/67 ที่ อสค. มวกเหล็ก โดยมี วิทยากร 3 คน มาให้ความจริงเรื่องการเลี้ยงโคนมในฟาร์มไฮเทคของอิสราเอล โดยมี ดร.ธำรงศักดิ์ พลบำรุง ข้าราชการบำนาญ กรมปศุสัตว์ ดำเนินการสัมมนา โดยเปิดประเด็นว่า แรงงาน 30,000 คน ในอิสราเอล นำเงินเข้าประเทศเฉลี่ย 2 แสนล้านบาท/ปี หรือคนละ 6 แสนกว่าบาท/ปี โดยทุกๆ 63 เดือน จะต้องกลับมา 8,000 คน แล้วอีก 8,000 คน เข้าไปทดแทน
หลายคนไปทำงานในฟาร์มเกษตรและปศุสัตว์ ทั้งพืช และโคนม โดยเฉพาะนักศึกษาจากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี อาจารย์สุทธาพันธ์ โพธิ์กำเนิด เปิดเผยว่า โครงการส่งนักศึกษาอาชีวะไปทำงานอิสราเอล เมื่อตั้งแต่ปี 2543 ส่งคณะครูไปเรียนรู้ “หลักสูตรทวิภาคี” คือ นักเรียนได้เรียนหนังสือ และได้เงินจากการทำงานเกษตรด้วย
เรียน 1 ปี ในสถานศึกษา และเรียนอีก 1 ปี ในสถานประกอบการ เพื่อให้มีรายได้ ซึ่งตั้งอยู่ใน เขตอาละวา ใกล้จอร์แดน ไม่มีสงคราม จากวันนั้นถึงวันนี้ 23 รุ่น นักศึกษาได้เรียนรู้ศาสตร์ต่างๆ จากห้องเรียน ทำฟาร์ม และทัศนศึกษา จนเข้าใจ “ธุรกิจ” ทั้งพืช ปศุสัตว์ การเงิน และ การตลาด เป็นต้น ช่วงแรกๆ ต้องมี ล่าม 2 คน เพราะนักศึกษาไทยไม่เก่งภาษาอังกฤษ ต่อมาก็ลดเหลือ 1 คน นักศึกษาได้เรียนและทำงานกับต่างประเทศ
“เด็กของเราคัดเลือกจากทั่วประเทศ ไม่ใช่เฉพาะภาคอีสาน ตอนแรกๆ รับจากวิทยาลัยเกษตรทั่วประเทศ ช่วงหลังเด็กเกษตรมีน้อย จึงเปิดโอกาสเด็กจบมัธยม 6 หรือ ปวช. ทุกสาขา ทั้งพืช ประมง ปศุสัตว์” อาจารย์สุทธาพันธ์ เปิดเผยถึงการรับเด็ก 80-100 คน แต่ละรุ่น ให้ทำงานที่ภาคใต้ของอิสราเอล เพราะเป็นโซนปลอดภัย และร่วมมือกันมา 24 ปี เมื่อกลับมาอยู่เมืองไทยทำธุรกิจเกษตร ก็ได้ติดต่อกับเพื่อนๆ ต่างประเทศ เพราะภาษาอังกฤษดีขึ้น หลายคนทำงานและเรียนในบริษัทต่างประเทศ บางคนเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยในไทย 20 กว่าปี 2,000 กว่าคน มีอนาคตทั้งหมด
เทคโนโลยีในฟาร์มโคนม
ถามว่าทำไมต้องเจาะจงอิสราเอล อาจารย์สุทธาพันธ์ บอกว่า เพราะเป็นประเทศทะเลทราย พื้นทะเลที่ถูกยกตัวขึ้นมาแห้งแล้งมาก กลางวันอุณหภูมิกว่า 40 องศาเซลเซียส กลางคืน 0 องศาเซลเซียส ทำไมชาวอิสราเอลต่อสู้กับธรรมชาติสำเร็จ และทางอิสราเอลมุ่งรับนักศึกษาไปเทรนนิ่ง แม้ไม่เก่งภาษาอังกฤษ และรับครั้งละมากๆ กว่าประเทศอื่น ประกอบกับคนไทยนิสัยดี น่ารัก เอื้ออาทร การทำงานในฟาร์ม ชาติอื่นเมื่อเลิกงานต้องเลิก จะไม่ยอมทำให้นายจ้าง แต่คนไทยยอม เมื่อเห็นว่าเป็นงานด่วน
อย่าง คุณธนวัฒน์ ทวนไธสง แรงงานไทยที่เคยทำงานในอิสราเอล เปิดเผยว่า ตนประทับใจเทคโนโลยีในฟาร์มโคนม โคเยอะมาก แต่คนทำงานไม่ถึง 10 คน นั่นเพราะทางฟาร์มได้นำเทคโนโลยีต่างๆ เช่น รถตัดแต่งกีบโค ที่ยกขึ้นสูง ให้คนที่ตัวสูงทำได้ หรือ รถส่งอาหารแบบผสมเสร็จ สั่งให้ลงฟาร์มละกี่ กก.ได้ หรือ รถชงนม (แท็กซี่มิลด์) เพื่อให้ลูกโคกิน ขับด้วยแบตเตอรี่ ส่งถึงฟาร์ม หรือ รถพุชเชอร์ (รถดันอาหาร) ขนาดเล็ก ขับโดยไม่ต้องมีลายเส้นขับรถแทรกเตอร์ หรือ เครื่องหนีบโค เมื่อมันป่วยต้องยกขึ้นรถ “2 คน ก็สามารถยกวัวตันครึ่งตันได้ โดยไม่ใช้แรงงานเยอะ หรือวัวรีด 250-300 ตัว ใช้ 2 คน รีดภายใน 2 ชั่วโมงครึ่ง ได้นมประมาณ 4,000 กก. ฟาร์มเดียว ถัง 5,000-6,000 ลิตร วันละ 12,000 ลิตร ฟาร์มเดียว คนรีด 4 คน แค่สลับคนเปลี่ยนพักเที่ยง คนเช้าก็มาต่อเที่ยง อีกคนก็มาเสริมสลับกันไป แค่ 4 คน 4,000 กก. – 1 คาบ ไม่หนักทำได้” คุณธนวัฒน์ เปิดเผย และที่ต้องกลับประเทศไทย เพราะวัวนมที่ตนทำงานอยู่เขตชายแดน 10 กม. สงครามฮามาส-อิสราเอลรุนแรงมาก ตอนนี้ได้อบรมหลักสูตรการผสมเทียมที่ ม.สารคาม เพื่อต้องการเป็น หมอผสมเทียม นั่นเอง
แต่ประสบการณ์หลายอย่างก็ไม่ลืม เพราะทำงานในฟาร์มที่อิสราเอล ทำทุกวัน แม้กระทั่งทำคลอดวันละ 60 ตัว ก็ทำมาแล้ว เพราะรับผิดชอบวัว 300 แม่ ที่อิสราเอล กับวัว 10 แม่ ของภรรยาที่มหาสารคาม ใช้เวลาเท่ากัน เหนื่อยเท่ากัน ทั้งนี้เพราะเราตามเทคโนโลยีของเขาไม่ทัน “ทุกอย่างใช้แรงงานมากกว่าความคิดที่ไทย ลำบาก เหนื่อย ก็ไม่อยากทำ บางฟาร์มต้องเลิก” เจ้าของเพจลุงสีฟาร์ม ยืนยัน เรื่องนี้ รศ.ดร.โอภาส พิมพา ให้ความเห็นว่า เป็นเรื่องวิถีคนไทยในอีสาน มีงานประเพณีมากมาย ต้องเสียเวลา แต่วัวนมไม่มีวันหยุด ต้องดูแลทุกวัน อย่างไรก็ดี คุณ ธนวัฒน์ต้องการลงทุนฟาร์มโคนมเพราะรัก กำไรน่าพอใจ
สภาพพื้นที่เลี้ยงวัวนม
คุณรัษฎากร ศรีแก้ว หรือ บอย หนองบัว 5 ปี ในอิสราเอล ฟาร์มวัวนม 2,700 กว่าตัว วัวรีด 980-1,000 ตัว มีถังเย็นเก็บน้ำนม 70,000 ลิตร น้ำนมวันละ 6 หมื่นกว่าลิตร พนักงานในฟาร์ม 20 คน แบ่งเป็นชาวอิสราเอล 5 คน คนซีเรียชาติอาหรับ 8 คน ไทย 6 คน การรีดนม 1,000 ตัว ใช้คนรีดขั้นต่ำ 3 คน คนหนึ่งไล่วัว คนหนึ่งเช็คเต้านม คนหนึ่งรีดนม ใช้เวลา 4.5 ชั่วโมง 86 โรงเรือน บนพื้นที่ 100 ไร่ บอย หนองบัว เปิดเผยว่า ฟาร์มวัวนมในอิสราเอลทุกฟาร์มรีด 3 เวลา หรือทุกๆ 8 ชั่วโมง ดังนั้นตอน 7 โมงเช้า ตนต้องสแกนลายนิ้วมือ แล้วผสมนมผงเพื่อให้ลูกวัวคลอดเดือนละ 200 กว่าตัว เพศเมีย 100 ตัว เพศผู้จะขายแล้วนำมาซื้อนมผง ส่วนลูกวัวหย่านมให้กินอาหารเม็ด และหญ้า ประมาณ 200 ตัว ใช้เวลา 1.5 ชั่วโมง เมื่อลูกวัวกินนมหมด 10-20 นาที จึงจะให้กินน้ำป้องกันการท้องเสีย จากนั้นก็ให้อาหารเม็ด พอ 10 โมงเช้า ก็เริ่มรีดนม 12 โรงเรือน มีวัวคลอดใหม่ 240 ตัว/1 โรงเรือน
“วัวรีดนมของผมในฟาร์ม 12 โรงเรือน คอกแรกเป็นวัวคลอดใหม่ ไม่แบ่งในกลุ่มว่าให้มันแข็งแรงก่อน คลอดเสร็จรีดทันที รีดทิ้ง 2 วัน เป็นนมน้ำเหลืองไว้ป้อนลูกวัว” คุณรัษฎากร เปิดเผย และยืนยันว่า ตนจบ ปวส.ก่อสร้าง ได้โควต้าเรียน การเมือง การปกครอง ปริญญาตรี แต่เมื่อทำงานในฟาร์มโคนม แรกๆ ไม่กล้าเข้าใกล้ ไม่รู้อะไรเลยเรื่องวัวนม ดังนั้น 2 อาทิตย์แรกจึงต้องเรียนรู้เพื่อเป็นลูกมือรุ่นพี่ ให้นายจ้างดู ส่วนภาษาอังกฤษก็ค่อยๆ เรียนรู้ และตอนเย็นถึงกลางคืนคนไทยทำงาน เพราะคนอาหรับชอบทำงานกลางวัน นี่คือเสน่ห์ของคนไทยที่ทำงานได้ทุกเวลา
ปัญหาและอุปสรรคในฟาร์มวัว
คุณสุรชัย ขวัญรัก ศิษย์เก่าปริญญาโทแม่โจ้ ผู้ผ่านประสบการณ์ในอิสราเอล เมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว ฝึกงาน 10 เดือน เขตอาละวา ตอนอายุ 18 ปี ได้เรียนรู้และฝึกงานในฟาร์มพริกหวาน พอกลับมาเมืองไทยก็เรียนหนังสือ และเป็นเซลล์ขายเมล็ดพันธุ์ และได้นำการใช้น้ำหยดจากอิสราเอลเข้ามาส่งเสริมในไทย ในแปลงข้าวโพด และแปลงหญ้า และตนก็ทำฟาร์มวัวเนื้อแบรงกัส ขายตัวผู้ 100,000 บาท ขณะที่พันธุ์อื่นๆ ราคาตก คุณสุรชัยเลี้ยงแบรงกัสเพื่อส่งเข้าประกวดเป็นหลัก
สำหรับธุรกิจโคนมในไทย คุณเจษฎาพร รองผู้จัดการราชบุรี แดรี่ฟาร์ม เมื่อ 1 มิ.ย. 66 “เถ้าแก่ ผมมองบวก ทำไมอิสราเอลทำได้ ประเทศร้อน บ้านเราครบทุกอย่าง ทำไมทำไม่ได้ นี่คือคำท้าทายคำแรกที่ผมมาทำ ต้องทำได้ก่อนเริ่มงาน พบปัญหาหลายอย่าง โดยเฉพาะเต้านมอักเสบ” ปัญหาวัวไม่ยอมพักผ่อน ไม่กิน ไม่เป็นสัด คุณบอยตัดสินใจเอาวัวไปอาบน้ำในโรงเรือนที่ว่าง จากนั้นก็ให้พรวนดินในฟาร์ม เปิดน้ำ 5 นาที เปิดพัดลม 5 นาที สลับกัน แล้วปล่อยวัวเข้าฟาร์ม ปรากฏวัวแฮปปี้ เพราะได้พื้นที่ใหม่นุ่มๆ ไม่มีกลิ่น แล้วมันก็กินอาหารเยอะขึ้น อาการกลายเป็นสัดบ่อยขึ้น ทุกเช้า-เย็น คนผสมแทบจะไม่ทัน จากประสบการณ์วัวนม 5 ปี ที่อิสราเอล ทำให้เขามองทะลุปรุโปร่ง
ต้นทุนการเลี้ยงโคนม
ในสายตาสถาบันการเงิน อย่าง ธกส. คุณเชษฐา แหล่ป้อง รองผู้จัดการ เปิดเผยว่า ตนเคยตั้งใจเป็นเจ้าของฟาร์มโคนม แต่ต้องมาเป็นลูกจ้างหลวง ต้องปล่อยสินเชื่อ โคนม โคเนื้อ ประมาณ 1.3 แสนล้านบาท จากสินเชื่อทั้งหมด 1.6 ล้านล้านบาท แต่สินเชื่อโคเนื้อ 120,000 ล้านบาท และโคนม 10,000 ล้านบาท และ NPL ของ โคเนื้อ โคนม ประมาณ 5.5 ก็ต้องหาทางลดลงนฃ
ตบท้ายด้วยข้อคิดเห็นของ คุณเทอดชัย ระลึกมูล รองผู้อำนวย อสค. ยืนยันว่า ต้นทุนการเลี้ยงโคนมสูงขึ้น 18 บาท/น้ำนม 1 กก. แต่เกษตรกรขาย 18-19 บาท จึงไม่ต้องแปลกใจ ปี 66 เหลือ 16,000 ฟาร์ม จาก 24,000 ฟาร์ม ทำให้ปริมาณน้ำนมดิบลดลง ราคาจึงขยับขึ้นเป็น 21 บาทกว่าๆ
จะเห็นได้ว่า ฟาร์มโคนมอิสราเอลถูกพัฒนาด้วยระบบไฮเทค ต้นทุนการผลิตน้ำนมดิบต่ำ แต่ผลผลิตสูง ดังนั้นถ้านำเทคโนโลยีต่างๆ มาประยุกต์ใช้กับฟาร์มวัวนมในไทย จะทำให้ฟาร์มที่เหลืออยู่พอประคองตัวไปได้