อาทิตยาฟาร์ม เด่นด้านสิ่งแวดล้อม เก่งการเลี้ยง “หมูขุน” ให้โตไว

โฆษณา
AP Chemical Thailand

อาทิตยาฟาร์ม เด่นด้านสิ่งแวดล้อม เก่งการเลี้ยง “หมูขุน” ให้โตไว

ในยุคที่เต็มไปด้วยโรคระบาดโควิด-19 ซึ่งส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์เป็นจำนวนมาก แต่สำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรยังต้องเฝ้าระวังการระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกันในสุกร (African Swine Fever หรือ ASF) อีกด้วย ซึ่งส่งผลกระทบอย่างมากต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรในหลายประเทศ

1.คุณนิรุต อุดมศิลป์ เจ้าของอาทิตยาฟาร์ม และครอบครัว
1.คุณนิรุต อุดมศิลป์ เจ้าของอาทิตยาฟาร์ม และครอบครัว

จุดเริ่มต้นการเลี้ยงหมู

นิตยสารสัตว์บกได้มาเยือน อาทิตยาฟาร์มฟาร์มสุกรขุนแห่ง อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี และได้พูดคุยกับคุณนิรุต อุดมศิลป์ เจ้าของอาทิตยาฟาร์ม เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรขุนมานานกว่า 12 ปี ถึงการดูแลจัดการฟาร์มอย่างไรในยุคที่เต็มไปด้วยโรคระบาด ไม่ว่าจะเป็น ASF หรือโควิด-19 ให้ได้ผลผลิตสุกรขุนที่โตไว และน้ำหนักดี

เมื่อถามถึงจุดเริ่มต้นของอาชีพคนเลี้ยงสุกร คุณนิรุตให้เหตุผลว่า เมื่อก่อนมีหลายบริษัทเริ่มเปิดตลาดการเลี้ยงสุกร จึงมองว่าอาชีพการเลี้ยงสุกรเป็นอาชีพที่มั่นคง และได้ศึกษาเรียนรู้ด้วยตัวเอง และถามผู้มีประสบการณ์  จึงตัดสินใจเลี้ยงสุกรปีพ.ศ.2551 ลงทุนซื้อที่ใหม่พื้นที่ 15 ไร่ และเลี้ยงในระบบคอนแทรคกับเบทาโกร แล้วต่อมาได้มาร่วมหุ้นกับ คุณจักราวุธ มั่นซื่อตรงดีฟาร์ม

2.โรงเรือนหมู
2.โรงเรือนหมู

สภาพพื้นที่เลี้ยงหมู

ฟาร์มที่ผมดูแลเองจะมีทั้งหมด 3 โรงเรือน  มีหมูขุน 3 พันตัว  เลี้ยงในโรงเรือนระบบปิด  และทำโรงเรือนไว้ให้ คุณจักราวุธเช่าด้วยส่วนหนึ่ง  ส่วนตัวผมจะช่วยดูแล ในเรื่องของสถานที่  โครงสร้างโรงเรือน  ดูแลจัดการความเร็วลมใน โรงเรือนให้เหมาะสม โดยอาศัยจากการสังเกต และประสบการณ์” คุณนิรุตให้ความเห็น

โรงเรือนเปรียบเสมือนบ้าน ดังนั้นทางฟาร์มจึงได้ออกแบบภายในโรงเรือนเป็นแบบทางเดินตรงกลางทางเดียว เพื่อที่จะขยายคอกให้กว้างขึ้น ลดระดับของฝ้าเพดานลงมาให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ทางด้านหน้าทำให้สูงเพื่อให้อากาศเข้าได้เยอะ เพราะแต่ก่อนฝ้าเพดานสูงจะทำให้แรงลมหนีขึ้นไปด้านบนหมด

โฆษณา
AP Chemical Thailand

เมื่อปรับโรงเรือนใหม่ทำให้ลดต้นทุนค่าไฟลงได้ เนื่องจากลดการใช้พัดลม ซึ่ง 1 โรงเรือน จะเลี้ยงสุกรขุน1 พันตัว ใช้พัดลมแค่ 6 ตัว และมีการวางคูลลิ่งแพดแบบซิกแซก ทำให้แรงลมเข้าได้เยอะกว่าแบบทั่วไป ช่วยให้การจัดการง่ายขึ้น ขนาดของโรงเรือน กว้าง 24 เมตร ลึก 70 เมตร อุณหภูมิที่ควบคุมในโรงเรือนอยู่ที่ 30-33 องศาเซลเซียส

ส่วนรูปแบบการเลี้ยง ที่ฟาร์มจะเป็นระบบเข้าพร้อมกัน ออกพร้อมกัน (all-in, all-out) คือ ในโรงเรือนเดียวกัน จะมีการจัดการให้สุกรเขาเลี้ยงพรอมกันทั้งหลัง และเมื่อครบกำหนดส่งออกก็จะขายสุกรออกไปพรอมกันทั้งหลัง ซึ่งจะช่วยให้การจัดการ การให้อาหาร และการควบคุมปองกันโรคง่ายขึ้น

โดยจะซื้อลูกสุกรหย่านมที่อายุ 18-20 วัน เข้ามา ราคาตัวละ 2,400 บาท ราคาตามประกาศของซีพี (ราคาอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามประกาศในแต่ละช่วง) ลูกสุกรหย่านมที่นำมาเลี้ยงจะมาแบบคละเพศ เมื่อมาถึงที่ฟาร์มจะแบ่งแยกคอกตัวผู้-ตัวเมีย แล้วนำมากกต่อ 7-14 วัน ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศในแต่ละช่วง

3.หมูโตไว น้ำหนักดี
3.หมูโตไว น้ำหนักดี

การจำหน่ายหมู

จากนั้นจะเลี้ยงขุนต่อไปอีก 4-5 เดือน จะได้น้ำหนักประมาณ 110-115 กิโลกรัม ราคาสุกรขุนช่วงนี้ขายได้ที่กิโลกรัมละ 78-80 บาท (ราคา ณ วันที่ 20 กรกฎาคม 2563)

ก่อนนำส่งโรงเชือดจะต้องหยุดการใช้ยาก่อนส่งสุกร 7-14 วัน หรือตามคำแนะนำของฉลากยา และเก็บปัสสาวะของสุกรเพื่อนำส่งตรวจหาสารเร่งเนื้อแดงที่กรมปศุสัตว์ก่อนส่งโรงเชือด เพราะการเคลื่อนย้ายไปโรงเชือดทุกครั้งต้องมีใบรับรองจากกรมปศุสัตว์

เมื่อถึงกำหนดส่งโรงเชือดจะทำการงดอาหาร 12 ชั่วโมง แต่จะมีน้ำให้กินตลอดเวลา เมื่อสุกรนำส่งโรงเชือดหมดจะทำการพักเล้าประมาณ 15 วัน เพื่อทำความสะอาดโรงเรือน อุปกรณ์ต่างๆ กำจัดสัตว์พาหะ พ่นยาฆ่าเชื้อภายในและบริเวณรอบโรงเรือน

โฆษณา
AP Chemical Thailand
4.ปุ๋ยมูลสุกรแบบอัดเม็ด
4.ปุ๋ยมูลสุกรแบบอัดเม็ด

ปัญหาและอุปสรรคภายในฟาร์มหมู

ในด้านการจัดการของเสียในฟาร์ม  ได้ทำบ่อไบโอแก๊ส 2 บ่อ ขนาด 4,000 ลบ.ม.  และ 900 ลบ.ม. จะนำมูลและน้ำเสียจากการล้างคอกเป็นสารตั้งต้นในการผลิตไฟฟ้าใช้เองภายในฟาร์ม และนำ กากตะกอน ที่เหลือไปตากแห้งเพื่อนำมาผลิตเป็นปุ๋ยมูลสัตว์ต่อไป โดยมีแบบธรรมดาขายกระสอบละ 30 บาท และแบบอัดเม็ดขายกระสอบละ 150 บาท

เมื่อถามถึงมลพิษทางกลิ่น การทำเกี่ยวกับธุรกิจปศุสัตว์มันต้องมีผลกระทบอยู่แล้ว กลิ่นในโรงเรือนพัดลมดูดอากาศแล้วพัดไปมันมีกลิ่นอยู่แล้ว ปัญหาคือทำยังไงให้อยู่ร่วมกับชุมชนได้ ซึ่งเราค่อนข้างใส่ใจในเรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อม ทางฟาร์มเคยได้รับรางวัลฟาร์มรักษ์สิ่งแวดล้อมระดับ 5 ดาว 2 ปีซ้อน คุณนิรุตให้ความเห็นถึงการลงทุนกำจัดของเสียในฟาร์ม

5.การให้อาหารหมู
5.การให้อาหารหมู

การบริหารจัดการภายในฟาร์มหมู

ส่วนการจัดการเรื่องอาหาร วัคซีน ยารักษาโรคต่างๆ และการตลาด คุณจักราวุธจะเป็นคนจัดการให้ รวมทั้งการวางโปรแกรมการกินสำหรับสุกรขุนในแต่ละช่วง โปรแกรมการทำวัคซีน และการให้ยา เพื่อการป้องกันรักษาโรคต่างๆ

เนื่องจากทางฟาร์มมีระบบการจัดการที่ดีอยู่แล้ว มีการตรวจสอบคนก่อนเข้า-ออกฟาร์ม มีน้ำยาฆ่าเชื้อให้จุ่ม และฉีดพ่นรถทุกคันก่อนเข้าสู่โรงเรือน แต่ในช่วงที่มีข่าวการแพร่ระบาดของโรค ASF ถึงจะยังไม่พบในเขตพื้นที่บริเวณฟาร์ม แต่ทางฟาร์มก็มีการตรวจที่เข้มงวดขึ้น และมีการประชุมซ้อมแผนรับมือการระบาดทุกอาทิตย์ และเฝ้าระวัง

ส่วนเป้าหมายในอนาคตตั้งใจจะขยายฟาร์มต่อไปอีกภายใน 2 ปี ก็จะเริ่มหยุด แล้วมาพัฒนาในเรื่องลดการใช้พลังงานในฟาร์มเพื่อลดค่าใช้จ่าย นอกจากไบโอแก๊สแล้วอาจจะมีการนำเอาระบบโซลาร์เซลล์มาใช้ แต่หากใช้แล้วมีต้นทุนที่สูง อาจหาวิธีการอื่นที่จะสามารถช่วยลดการใช้พลังงานได้

6.คูลลิ่งแพด
6.คูลลิ่งแพด

ฝากถึงเกษตรกรผู้เลี้ยงหมู

สุดท้ายคุณนิรุตฝากทิ้งท้ายถึงเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรว่า สำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูส่วนมากก็มีประสบการณ์และความรู้กันอยู่แล้ว เรื่องที่อยากฝาก ก็คือ อยากให้เน้นที่ช่วยกันดูแลจัดการป้องกันโรคต่างๆ โดยเฉพาะโรค ASF ถ้ามีการระบาดเข้ามาจะส่งผลกระทบต่อคนเลี้ยงหมดอย่างมาก เทียบเท่ากับการทำลายอาชีพของเรา ถ้าเราป้องกันได้ เชื่อว่าอนาคตของเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูสามารถไปต่อได้อีกไกล

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก คุณนิรุต อุดมศิลป์ ที่อยู่ 131 ม.13 ต.ดอนคา อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี โทร.087-169-8448

อ้างอิง : นิตยสารสัตว์บก ฉบับที่ 328

ใบสมัครสมาชิก